xs
xsm
sm
md
lg

ลดสเปรดช่วงราคาหุ้น ซื้อง่าย-ขายคล่อง..รายย่อยรับกรรม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ใครที่งง! กับราคาหุ้นว่ามันเกิดอะไรขึ้นบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณก็ไม่ต้องสงสัยอะไรไปมาก ไม่ต้องไปคิดว่าเกิดความผิดพลาดประการใดในของระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ราคาหุ้นบางตัวจากเดิมที่เคยขึ้น-ลงครั้งละ 0.50 บาท จะเหลือเพียง 0.25 บาท หรือหุ้นบ้านปู (BANPU)ที่เคยขึ้นลงทีละ 2 บาท จะเหลือเพียง 1บาท **เพราะวันนี้จะเป็นวันแรกของการเริ่มใช้มาตรการ ปรับปรุงหลักเกณฑ์ช่วงราคาซื้อขาย (Price Spread) นั่นเอง**

ทั้งนี้ เพราะตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)ต้องการเสริมสภาพคล่องและลดต้นทุน ในการซื้อขายทรัพย์ (Execution Cost) โดยให้ลดจำนวนระดับราคาจากเดิม 10 ระดับ (เริ่มใช้ตั้งแต่ พ.ย. 2544) เหลือเพียง 8 ระดับ และ ปรับลดระดับความกว้างของช่วงราคาจากเดิม 0.48-0.97% เป็น 0.34-0.79% ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ผ่านการรับฟังความเห็นจากที่ประชุมสมาชิกแล้ว โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ส่งหนังสือเวียนไปยังบริษัทหลักทรัพย์สมาชิกทุกแห่งและบริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สมาชิก เพื่อบอกกล่าวให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องรับทราบ

ขณะเดียวกัน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังได้ปรับปรุงการเผยแพร่ข้อมูลราคาและปริมาณเสนอซื้อที่ดีที่สุด (Best Bid) และราคาเสนอขายที่ดีที่สุด (Best Offer) ให้แก่สมาชิก และ ผู้รับข้อมูลจาก 3 ระดับราคาเป็น 5 ระดับราคา เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับปรุงช่วงราคาซื้อขายใหม่ที่เริ่มใช้ อีกทั้งเป็นการเพิ่มข้อมูลประกอบการตัดสินใจซื้อขายให้แก่ผู้ลงทุน เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถวิเคราะห์ภาวะตลาดและเสนอราคาซื้อขายได้ตรงความต้องการมากที่สุด

**“การปรับเกณฑ์ช่วงราคาซื้อขายใหม่โดยปรับให้ช่วงราคาซื้อขายตั้งแต่ 50 บาท ขึ้นไปแคบลงนั้น จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการซื้อขายของผู้ลงทุนมากขึ้น และสอดคล้องกับตลาดหุ้นต่างประเทศที่มีแนวโน้มจะปรับช่วงราคาให้แคบลง จึงนับเป็นการเพิ่มความน่าสนใจให้ตลาดทุนไทย ที่มุ่งอำนวยความสะดวกและลดต้นทุนในการซื้อขายของผู้ลงทุน สอดคล้องกับกลยุทธ์การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของตลาดทุนไทย”** ภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและและผู้จัดการ

**สำหรับช่วงราคาเสนอซื้อขายที่ปรับใหม่ ได้กำหนดให้ราคาเสนอซื้อขายหลักทรัพย์ตั้งแต่ 25 บาท แต่ต่ำ กว่า 100 บาท มีช่วงราคาเท่ากับ 0.25 บาท ราคาเสนอซื้อขายตั้งแต่ 100 บาท แต่ต่ำกว่า 200 บาท มีช่วงราคาที่ 0.50 บาท ราคาเสนอซื้อขายตั้งแต่ 200 บาท แต่ต่ำกว่า 400 บาท มีช่วงราคาซื้อขายที่ 1.00 บาท และ ราคาเสนอซื้อขายตั้งแต่ 400 บาท ขึ้นไป จะมีช่วงราคาที่ 2.00 บาท ส่วนราคาเสนอซื้อขายของหลักทรัพย์ที่ต่ำกว่า 50 บาท ทางตลาดหลักทรัพย์ยังให้ใช้ช่วงราคาเดิม**

อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวจะนับว่าเป็นการกล่าวอ้างจากตลาดหุ้นเพียงฝ่ายเดียวได้หรือไม่ งานนี้ต้องลองมารับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องนั่นคือบรรดาโบรกเกอร์ว่าการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในครั้งนี้จะมีผลดี ผลเสียอย่างไร?

เจ้าหน้าที่การตลาด (มาร์เก็ตติ้ง)รายหนึ่งให้ความเห็นว่า การปรับช่วงราคาขึ้นลงแคบลง จะเพิ่มโอกาสในการซื้อหรือขายหุ้นให้แก่นักเก็งกำไร โดยเฉพาะรายที่ซื้อขายผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่มีค่าธรรมเนียม ในการซื้อขาย (คอมมิชชัน) เพียง 0.15% ของมูลค่าการซื้อขาย และช่วงราคาที่แคบลงสำหรับหุ้นที่มีราคาสูงๆอีกทั้ง ยังช่วยให้การตกลงซื้อขายเป็นไปได้มากขึ้น

“เรื่องนี้ถือเป็นประโยชน์แก่คนที่ซื้อเพราะที่ผ่านมา หุ้นที่มีราคา 50 บาท แต่ไม่ถึง 100 บาท ขึ้นลงได้ครั้งละ 0.50 บาท แต่ของใหม่ราคาเปลี่ยนแปลงได้ครั้งละ 0.25 บาท อีกทั้งเกณฑ์ใหม่ราคาหุ้นที่สูงกว่า 400 บาทขึ้นลงมากที่สุดแค่ 2 บาท เทียบกันไม่ได้กับ 4 บาท หรือ 6 บาท ในหุ้นที่ราคา ต่ำกว่า 800 บาท และมากกว่า 800 บาท”

ขณะเดียวกันมองว่าการปรับลดช่วงราคาซื้อขายในครั้งนี้ ถือเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ตลาดหลลักทรัพย์ฯต้องการแก้ไขปัญหาวอลุ่มการซื้อขายที่หดตัวตามภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น เพราะต้องไม่ลืมว่าในช่วงเวลาปกติการใช้เกณฑ์ช่วงราคาซื้อขายเดิมกับหลักทรัพย์ที่มีมูลค่า 200 – 300 บาทนั้นจะไม่มีปัญหาแต่อย่างใด แต่จากมรสุมทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ต่างทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลงไปจากเดิมมาก จึงมองว่าช่วงราคาเสนอซื้อขายที่มีอยู่ไม่มีความเหมาะสมกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น การไล่ราคาหุ้นให้ปรับตัวขึ้นไปก็เป็นเรื่องที่ทำได้ลำบาก เพราะช่วงราคามีความห่วงมากเกินไป หรือ Ratio ห่างกันไม่ถึง 10 เท่า

**ดังนั้นวิธีนี้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่จะช่วยดึงดูดความสนใจของนักลงทุนให้หันกลับมาในตลาดหุ้นได้ในระดับหนึ่ง เพราะเมื่อช่องว่างราคาต่ำลง การปรับตัวขึ้นของราคาหุ้นก็จะมีการรเคลื่อนไหวเร็วมากขึ้น จึงเป็นการปรับเปลี่ยนทางเทคนิคที่มีผลดีต่อจิตวิทยาการลงทุนในสถานการณ์เช่นนี้ แต่เมื่อสถานการณ์ต่างๆกลับมาอยู่ในภาวะปกติ ช่วงราคาใหม่นี้อาจเป็นอุปสรรคในการกลับไปไล่ราคาขึ้นได้ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นเชื่อว่าตลาดหุ้นจะต้องมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวอีกครั้ง**

แต่รู้กันหรือไม่ว่า? การปรับปรุงหลักเกณฑ์ในครั้งนี้ ยังช่วยสร้างโอกาสในการอยู่รอดของตลาดหลักทรัพย์ฯและบรรดาบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆด้วย ....เนื่องจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้มูลค่า-ปริมาณการซื้อขายหุ้นในตลาดลดลงไปมาก เหล่าโบรกเกอร์ได้รับผลกระทบจากจุดนี้กันไปถ้วนหน้าไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่หรือเล็ก ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีหลายรายเริ่มมองหาช่องทางธุรกรรมใหม่ออกมานำเสนอลูกค้าเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะช่องทางด้านอนุพันธ์ (ฟิวเจอร์ส)ที่ต่างหวังกันว่าจะสามารถช่วยทดแทนส่วนที่ขาดหายไป **เพราะทุกวันนี้โบรกเกอร์อยู่ได้ด้วยเสาหลักที่มาจากค่าคอมมิชชั่นการลงทุนซื้อขายหุ้นของรายย่อย รายกลาง รายใหญ่ แมงเม่าทุกๆคน และเมื่อวิกฤตได้ฉุดเม็ดเงินซื้อขายเบาบางลงไป โบรกเกอร์จะอยู่ได้หรือ?**

เรื่องนี้ไม่เรื่องเล่นๆ หากพิจารณาการให้ข่าวของบรรดาผู้บริหารบล.ชั้นนำในช่วงที่ผ่านมา จะพบว่าแทบทุกบริษัทได้หันมาให้ความสำคัญกับธุรกรรมอื่นๆเพิ่มขึ้น รวมไปถึงการควบรวมกิจการเพื่อความอยู่รอด

นอกจากนี้ เมื่อรายได้หลักเกิดปัญหา การควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่าย การปิดสาขา การควบรวม แม้จะเป็นมาตรการแก้ไขที่ดี แต่ดูเหมือนยังไม่เพียงพอ สิ่งที่โบรกเกอร์ต้องการนอกจากนี้คือ การได้รับความอนุเคราะห์จากตลาดหลักทรัพย์ที่จะช่วยลดการเรียกเก็บส่วนแบ่งค่าคอมมิชชั่นจากการซื้อขายหุ้นของนักลงทุนนั่นเอง โดยที่ผ่านมามีบล.หลายรายต้องการให้ตลาดหลักทรัพย์เข้ามาช่วยเหลือ ด้วยการลดค่าจัดเก็บ หรือยกเว้นให้เป็นการชั่วคราว....แต่ตลาดหลักทรัพย์ฯก็ไม่สามารถตอบสนองเรื่องนี้ได้

**เพราะนั่นจะหมายถึงรายได้ของตลาดหลักทรัพย์ที่สมควรจะได้รับลดลงไปด้วย อันจะมีผลไปถึงแผนการดำเนินธุรกิจ แผนการลงทุนต่างๆตามนโยบายระยะสั้น – ระยะยาวของตลาดทุนมีผลกระทบตามไปด้วยนั่นเอง และอีกอย่างหากตัดใจปรับลดให้โบรกเกอร์แล้ว ทีนี้เวลาจะประกาศปรับขึ้นจะเป็นเรื่องที่ยากลำบากแน่!**

ดังนั้นเมื่อฝ่ายนี้ไม่อยากเสีย อีกฝ่ายไม่อยากเฉือนเนื้อตัวเอง ผลลัพธ์ในอีกมุมมองหนึ่งก็ต้องตกมาอยู่ที่นักลงทุนนั่นเอง เพราะเมื่อช่วงราคาซื้อขายแคบลงการไล่ราคาปรับเพิ่มของหุ้นต่างๆก็ทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะถือเป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในครั้งนี้ แต่เมื่อคุณหลงใหลกับมัน นั่นย่อมหมายถึงคุณกลับเข้าไปลงทุน และช่วงราคาที่แคบก็ยิ่งทำให้ความต้องการลงทุนในหุ้นในจำนวนหรือปริมาณที่มากๆเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว....แต่จะได้หรือเสียนั้นไม่มีใครสรุปแทนกันได้ แต่ที่สามารถสรุปแทนได้นั่นคือ...ค่าคอมมิชชั่นที่ต้องเสียให้กับบริษัทหลักทรัพย์จะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน เพราะการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในครั้งนี้ไม่ได้มีการพูดถึงค่าธรรมเนียมต่างๆเลย **ดังนั้นเมื่อมีการซื้อขายหุ้นในปริมาณที่มากขึ้น ค่าธรรมเนียมหรือค่าคอมมิชชั่นก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แล้วทีนี้เหล่าบริษัทจดทะเบียนก็จะอยู่รอด ตลาดหลักทรัพย์ฯก็ไม่มีปัญหากับรายได้ที่ลดลง และใครล่ะ?ที่เสีย และท้ายที่สุดภาพจะเรียกว่าใครเป็นผู้รับเคราะห์ดีล่ะเนี่ย?**

กองทุนหุ้นไม่ห่วงลดสเปรด

ด้าน**พนุกร จันทรประภาพ ผู้อำนวยการฝ่ายตราสารทุน บลจ.แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด**กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า โดยปกติการปรับลดสปเรดไม่ได้ทำให้การลงทุนในหุ้นของกองทุนรวมเปลี่ยนไป แต่ที่เปลี่ยนไปคือความผันผวนของดัชนีหุ้นและราคาหลักทรัพย์ฯที่จะปรับตัวลดลงไปเล็กน้อย เพราะถ้ามีการปรับสเปรด จะช่วยลดความผันผวนและความเสี่ยงลดลงไปด้วย หากไม่ดีตลาดหุ้นคงไม่นำมาใช้ เพราะจะเป็นผลดีต่อตลาดหลักทรัพย์และนักลงทุนเป็นอย่างมาก ดลงไปด้วย่ยงไปเล็กน้อย เพราะถ้ามีการปรับสเปรด จะช่วยลดความผันผวนอลของกองทุนรวมเปลี่ยนไป แต่ที่เปลี่ยนไปคือความผันผวนของตลาดหลัก
กำลังโหลดความคิดเห็น