ตลาดหลักทรัพย์ฯ ปลื้มเดือนมี.ค. นักลงทุนต่างชาติส่งสัญญาณขนเงินกลับเข้าตลาดหุ้นไทย โดยมียอดซื้อสุทธิรวมกว่า 2 พันล้านบาท แม้รวม 3 เดือนยังมียอดขายสุทธิ 5.5 พันล้านบาท จากวิกฤตการเงิน-เศรษฐกิจโลกหดตัว ด้าน “ภัทรียา” ชี้ม็อบไข่แม้วยืดเยื้อกระทบความเชื่อมั่นนักลงทุนฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยวูบ พร้อมเตรียมนักถกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์หาข้อยุติเปิดเสรีใบอนุญาตธุรกิจหลักทรัพย์-ค่าคอมมิชชัน
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยถึง ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยช่วงไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ปี 2552 ว่า ในช่วงเดือนมีนาคม 52 ที่ผ่านมาเริ่มมีสัญญาณจากนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยมากขึ้น เทียบกับช่วง 2 เดือนแรก (ม.ค.-ก.พ.) ที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยค่อนข้างน้อย หลังจากที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินและปัญหาเศรษฐกิจที่ลุกลามไปทั่วโลก
ทั้งนี้ จากการสำรวจข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่า ตั้งแต่เดือนม.ค. – มี.ค. 52 นักลงทุนต่างประเทศมียอดขายสุทธิรวม 5,546.43 ล้านบาท โดยในเดือนมี.ค. มียอดซื้อสุทธิ 2,148.12 ล้านบาท ขณะที่เดือนม.ค. และก.พ. นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 4,218.90 ล้านบาท และ 3,475.64 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับกรณีที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ชุมนุมกดดันให้นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ประกาศยุบสภานั้น นางภัทรียา กล่าวว่า ขณะนี้การชุมนุมดังกล่าวเริ่มส่งผลกระทบต่อความมั่นใจและตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนแล้ว หากหากการชุมนุมยังคงยืดเยื้อต่อไปอาจจะกลายเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความเชื่อมันของนักลงทุน และทำให้นักลงทุนชะลอการลงทุนในตลาดหุ้นไทยออกไป
ส่วนความคืบหน้าการตรวจสอบหลักทรัพย์ที่มีความเคลื่อนไหวผิดปกตินั้น ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมาพบหุ้นที่เคลื่อนไหวผิดปกติบ้าง แต่มีจำนวนไม่มากนัก เนื่องจากปริมาณการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ เฉลี่ยต่อวันค่อนข้างเบาบาง หรือประมาณ 8-9 พันล้านบาทเท่านั้น แต่หากตรวจสอบพบหลักทรัพย์ใดที่เข้าข่ายตลาดหลักทรัพย์ฯ จะนำส่งให้สำนักงานคณะกรรมกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ดำเนินการพิจารณาต่อไป
นางภัทรียา กล่าวเพิ่มเติมถึง เรื่องที่นายกัมปนาท โลหเจริญวานิช กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทรีนิตี้ จำกัด ในฐานะนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นวาระที่ 3 มีแนวคิดจะเสนอให้พิจารณาเลื่อนการเปิดเสรีใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์จากกำหนดเดิมในปี 2553 ว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะนัดหารือกับสมาคมบริษัทหลักทรัพย์อีกครั้ง แต่ทุกฝ่ายจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับภาวการณ์แข่งขันที่ทวีรุนแรงมากขึ้น
“ตลาดหุ้นไทยจะได้รับผลกระทบ และมีขนาดเล็กลง หากตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเปิดเสรี ขณะที่ตลาดหุ้นยังเองยังไม่ได้เปิดเสรี”
***ทิ้งหุ้นพลังงานกดดัชนีรูด 1.41 จุด***
ด้านความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทยวานนี้ (1 เม.ย.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงสวนทางตลาดหุ้นเอเชีย ยกเว้นตลาดหุ้นฮ่องกง โดยปรับตัวแตะระดับสูงสุดที่ 433.55 จุด ต่ำสุดที่ 429.22 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ระดับ 430.09 จุด ลดลงจากวันก่อน 1.41 จุด หรือคิดเป็น 0.33% มูลค่าการซื้อขาย 6,736.38 ล้านบาท
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในแดนลบเป็นส่วนใหญ่ สอดคล้องกับตลาดหุ้นฮ่องกง ขณะที่ตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียส่วนใหญ่ยืนแดนบวก โดยมีแรงขายทำกำไรออกมาในหุ้นกลุ่มพลังงานเป็นหลัก หลังจากที่ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าได้ปรับตัวลง
สำหรับปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อภาวะการลงทุนในช่วงนี้ นักลงทุนต้องติดตามผลการประชุมจี 20 และการประชุมอาเซียน ซัมมิต รวมทั้งรอดูผลการประชุมของธนาคารกลางยุโรปในวันที่ 2 เม.ย.นี้ ซึ่งนักลงทุนได้คาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.5% ขณะที่ปัจจัยในประเทศที่จะมีผลกระทบต่อตลาดหุ้นคือ การชุมนุมทางการเมือง หากยืดเยื้อออกไปจะส่งผลต่อการลงทุนในตลาดหุ้นด้วยเช่นเดียวกัน
ส่วนแนวโน้มการลงทุนในวันนี้ ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับตัวขึ้น โดยมีแรงหนุนจากประเด็นเศรษฐกิจโลกได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว ทำให้อาจะมีแรงซื้อเข้ามาได้ แต่ตลาดหุ้นไทยอาจจจะได้รับปัจจัยลบจากปัจจัยการเมืองและตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาส 1/52 โดยให้แนวรับไว้ที่ 420 จุด แนวต้าน 436 จุด
****สมาคมตราสารหนี้หนุนออกหุ้นกู้
นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) กล่าวว่า ในช่วงเดือนเมษายนของทุกปีจะเป็นช่วงที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จะมีการประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งที่น่าสนใจก็คือในปีนี้มีบริษัทจดทะเบียน ขออนุมัติต่อผู้ถือหุ้นเพื่อออกหุ้นกู้กันหลายแห่ง อย่างล่าสุด เมื่อวันที่ 31มีนาคม ที่ผ่านมา ทางบริษัท ปตท.สผ. จำกัด(มหาชน) ก็ได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้น ให้ออกหุ้นกู้จำนวน 50,000 ล้านบาทได้ โดยการที่บริษัทจดทะเบียนที่มีเรทติ้งสูงๆ มีผลประกอบการที่ดี มาออกหุ้นกู้กันมากขึ้น ก็จะเป็นการช่วยให้ตลาดตราสารหนี้มีความคึกคักมากยิ่งขึ้น
โดยประการสำคัญการออกหุ้นกู้ในช่วงนี้ จะช่วยสร้างตลาดนักลงทุนที่เป็นรายย่อยให้เข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดลงมาค่อนข้างมาก ทำให้ผู้ออมเงินต้องมองหาทางเลือกเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปีนี้กระทรวงการคลังก็มีนโยบายในการออกพันธบัตรออมทรัพย์ในจำนวนที่ไม่สูง ทั้งปีจะมีการออกทั้งสิ้นประมาณ 10,000 ล้านบาทเท่านั้น หุ้นกู้เอกชนจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากไว้กับธนาคาร
“ที่สำคัญจังหวะนี้นักลงทุนสถาบันจำนวนไม่น้อย ที่ยังมีความวิตกกังวลในทิศทางการลงทุน จึงทำให้ ไม่ลงทุนในหุ้นกู้นัก เพราะนักลงทุนสถาบันจะห่วงในเรื่องของการปรับลดเรตติ้งในภาวะที่เศรษฐกิจไม่สู้ดีเช่นในปัจจุบัน ผู้ออกหุ้นกู้ในช่วงนี้จึงเน้นในการขายให้แก่นักลงทุนรายย่อยกันมากขึ้น ซึ่งเป็นจังหวะพอดีที่นักลงทุนรายย่อยกำลังมองหาทางเลือกในการลงทุนใหม่จึงหันมามาลงทุนในหุ้นกู้ได้เพิ่มมากขี้น เพราะนักลงทุนรายย่อยมักเป็นการลงทุนระยะยาวซื้อแล้วถือจนครบกำหนด จึงไม่กังวลที่จะขาดทุนเวลาที่เรทติ้งตกลงมาเหมือนนักลงทุนสถาบัน”นายณัฐพลกล่าว
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยถึง ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยช่วงไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ปี 2552 ว่า ในช่วงเดือนมีนาคม 52 ที่ผ่านมาเริ่มมีสัญญาณจากนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยมากขึ้น เทียบกับช่วง 2 เดือนแรก (ม.ค.-ก.พ.) ที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยค่อนข้างน้อย หลังจากที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินและปัญหาเศรษฐกิจที่ลุกลามไปทั่วโลก
ทั้งนี้ จากการสำรวจข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่า ตั้งแต่เดือนม.ค. – มี.ค. 52 นักลงทุนต่างประเทศมียอดขายสุทธิรวม 5,546.43 ล้านบาท โดยในเดือนมี.ค. มียอดซื้อสุทธิ 2,148.12 ล้านบาท ขณะที่เดือนม.ค. และก.พ. นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 4,218.90 ล้านบาท และ 3,475.64 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับกรณีที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ชุมนุมกดดันให้นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ประกาศยุบสภานั้น นางภัทรียา กล่าวว่า ขณะนี้การชุมนุมดังกล่าวเริ่มส่งผลกระทบต่อความมั่นใจและตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนแล้ว หากหากการชุมนุมยังคงยืดเยื้อต่อไปอาจจะกลายเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความเชื่อมันของนักลงทุน และทำให้นักลงทุนชะลอการลงทุนในตลาดหุ้นไทยออกไป
ส่วนความคืบหน้าการตรวจสอบหลักทรัพย์ที่มีความเคลื่อนไหวผิดปกตินั้น ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมาพบหุ้นที่เคลื่อนไหวผิดปกติบ้าง แต่มีจำนวนไม่มากนัก เนื่องจากปริมาณการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ เฉลี่ยต่อวันค่อนข้างเบาบาง หรือประมาณ 8-9 พันล้านบาทเท่านั้น แต่หากตรวจสอบพบหลักทรัพย์ใดที่เข้าข่ายตลาดหลักทรัพย์ฯ จะนำส่งให้สำนักงานคณะกรรมกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ดำเนินการพิจารณาต่อไป
นางภัทรียา กล่าวเพิ่มเติมถึง เรื่องที่นายกัมปนาท โลหเจริญวานิช กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทรีนิตี้ จำกัด ในฐานะนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นวาระที่ 3 มีแนวคิดจะเสนอให้พิจารณาเลื่อนการเปิดเสรีใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์จากกำหนดเดิมในปี 2553 ว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะนัดหารือกับสมาคมบริษัทหลักทรัพย์อีกครั้ง แต่ทุกฝ่ายจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับภาวการณ์แข่งขันที่ทวีรุนแรงมากขึ้น
“ตลาดหุ้นไทยจะได้รับผลกระทบ และมีขนาดเล็กลง หากตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเปิดเสรี ขณะที่ตลาดหุ้นยังเองยังไม่ได้เปิดเสรี”
***ทิ้งหุ้นพลังงานกดดัชนีรูด 1.41 จุด***
ด้านความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทยวานนี้ (1 เม.ย.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงสวนทางตลาดหุ้นเอเชีย ยกเว้นตลาดหุ้นฮ่องกง โดยปรับตัวแตะระดับสูงสุดที่ 433.55 จุด ต่ำสุดที่ 429.22 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ระดับ 430.09 จุด ลดลงจากวันก่อน 1.41 จุด หรือคิดเป็น 0.33% มูลค่าการซื้อขาย 6,736.38 ล้านบาท
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในแดนลบเป็นส่วนใหญ่ สอดคล้องกับตลาดหุ้นฮ่องกง ขณะที่ตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียส่วนใหญ่ยืนแดนบวก โดยมีแรงขายทำกำไรออกมาในหุ้นกลุ่มพลังงานเป็นหลัก หลังจากที่ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าได้ปรับตัวลง
สำหรับปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อภาวะการลงทุนในช่วงนี้ นักลงทุนต้องติดตามผลการประชุมจี 20 และการประชุมอาเซียน ซัมมิต รวมทั้งรอดูผลการประชุมของธนาคารกลางยุโรปในวันที่ 2 เม.ย.นี้ ซึ่งนักลงทุนได้คาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.5% ขณะที่ปัจจัยในประเทศที่จะมีผลกระทบต่อตลาดหุ้นคือ การชุมนุมทางการเมือง หากยืดเยื้อออกไปจะส่งผลต่อการลงทุนในตลาดหุ้นด้วยเช่นเดียวกัน
ส่วนแนวโน้มการลงทุนในวันนี้ ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับตัวขึ้น โดยมีแรงหนุนจากประเด็นเศรษฐกิจโลกได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว ทำให้อาจะมีแรงซื้อเข้ามาได้ แต่ตลาดหุ้นไทยอาจจจะได้รับปัจจัยลบจากปัจจัยการเมืองและตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาส 1/52 โดยให้แนวรับไว้ที่ 420 จุด แนวต้าน 436 จุด
****สมาคมตราสารหนี้หนุนออกหุ้นกู้
นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) กล่าวว่า ในช่วงเดือนเมษายนของทุกปีจะเป็นช่วงที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จะมีการประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งที่น่าสนใจก็คือในปีนี้มีบริษัทจดทะเบียน ขออนุมัติต่อผู้ถือหุ้นเพื่อออกหุ้นกู้กันหลายแห่ง อย่างล่าสุด เมื่อวันที่ 31มีนาคม ที่ผ่านมา ทางบริษัท ปตท.สผ. จำกัด(มหาชน) ก็ได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้น ให้ออกหุ้นกู้จำนวน 50,000 ล้านบาทได้ โดยการที่บริษัทจดทะเบียนที่มีเรทติ้งสูงๆ มีผลประกอบการที่ดี มาออกหุ้นกู้กันมากขึ้น ก็จะเป็นการช่วยให้ตลาดตราสารหนี้มีความคึกคักมากยิ่งขึ้น
โดยประการสำคัญการออกหุ้นกู้ในช่วงนี้ จะช่วยสร้างตลาดนักลงทุนที่เป็นรายย่อยให้เข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดลงมาค่อนข้างมาก ทำให้ผู้ออมเงินต้องมองหาทางเลือกเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปีนี้กระทรวงการคลังก็มีนโยบายในการออกพันธบัตรออมทรัพย์ในจำนวนที่ไม่สูง ทั้งปีจะมีการออกทั้งสิ้นประมาณ 10,000 ล้านบาทเท่านั้น หุ้นกู้เอกชนจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากไว้กับธนาคาร
“ที่สำคัญจังหวะนี้นักลงทุนสถาบันจำนวนไม่น้อย ที่ยังมีความวิตกกังวลในทิศทางการลงทุน จึงทำให้ ไม่ลงทุนในหุ้นกู้นัก เพราะนักลงทุนสถาบันจะห่วงในเรื่องของการปรับลดเรตติ้งในภาวะที่เศรษฐกิจไม่สู้ดีเช่นในปัจจุบัน ผู้ออกหุ้นกู้ในช่วงนี้จึงเน้นในการขายให้แก่นักลงทุนรายย่อยกันมากขึ้น ซึ่งเป็นจังหวะพอดีที่นักลงทุนรายย่อยกำลังมองหาทางเลือกในการลงทุนใหม่จึงหันมามาลงทุนในหุ้นกู้ได้เพิ่มมากขี้น เพราะนักลงทุนรายย่อยมักเป็นการลงทุนระยะยาวซื้อแล้วถือจนครบกำหนด จึงไม่กังวลที่จะขาดทุนเวลาที่เรทติ้งตกลงมาเหมือนนักลงทุนสถาบัน”นายณัฐพลกล่าว