บล.บีฟิท ยืนยันพร้อมเปิดรับดีลควบรวมกิจการทั้งจากพันธมิตรใหม่และเก่า หวังช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ หลังดีล UOBKH ล้มด้วยสาเหตุผู้บริหารตกลงกันไม่ได้ แต่ย้ำมีกระแสเงินสดถึง 2 พันล้าน ช่วยอยู่รอดแม้ไม่มีใครร่วม ด้านผู้บริหารมั่นใจไม่หวั่นตลาดหลักทรัพย์ ตรวจสอบข้อมูลเชิงลึก เพราะขั้นตอนต่างๆ มีการเปิดเผยอยู่ตลอด ส่วนปีนี้ตั้งเป้ามาร์เก็ตแชร์ที่ 6%
นายประสิทธิ์ ศรีสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บีฟิท จำกัด (มหาชน) หรือ BSEC เปิดเผยว่า แม้แผนควบรวมกิจการกับทาง บล.ยูโอบี เคเฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (UOBKH) ต้องเป็นอันยุติลงไป แต่ทางบริษัทก็ยังไม่ได้ปิดกั้นโอกาสและพร้อมที่จะเปิดรับข้อเสนอจากพันธมิตรรายใหม่ หรือการพูดคุยกับทาง UOBKH ในการดีลอีกครั้ง เพียงแต่ว่าดีลดังกล่าวนั้นต้องสามารถช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับ BSEC ได้ในอนาคต และการที่จะเข้ามาของพันธมิตรนั้นควรแจ้งทาง BSEC ทราบก่อน
“เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ที่ผ่านมา บริษัทได้มีการประชุมและได้พูดคุยกับทาง UOBKH เรื่องโครงสร้างผู้บริหาร แต่ไม่สามาตกลงในเรื่องนี้ได้ก็เลยทำให้ดีลต้องเป็นอันล้มไป ขณะเดียวกัน ในส่วนของ BSEC เอง ไม่ว่าจะมีพันธมิตรเข้ามาหรือไม่ก็สามารถที่จะอยู่ได้ เพราะมีกระแสเงินสดอยู่เกือบ 2 พันล้าบบาท ส่วนทาง UOBKH จะเข้ามาคุยอีกรอบหรือไม่นั้นเรื่องนี้คงไม่สามารถตอบได้” นายประสิทธิ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวไม่วิตกกังวลต่อการที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) จะทำการตรวจสอบข้อมูลเชิงลึก (อินไซด์) ในเรื่องดีลการควบรวมของบริษัท กับ UOBKH เพราะที่ผ่านมาได้มีการแจ้งข้อมูลต่างๆ ต่อตลาดหลักทรัพย์และสื่อมวลชนอยู่ตลอดเวลา จึงเชื่อว่าขั้นตอนการดำเนินงานเป็นไปด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
สำหรับในปี 2552 บริษัทตั้งเป้ามีส่วนแบ่งทางการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) 5-6% จากปีที่ผ่านมาซึ่งมีมาร์เก็ตแชร์กว่า 4% อีกทั้งจะพยายามทำให้ BSEC ติดอันดับ 1 ใน 5 ของธุรกิจหลักทรัพย์ในปีนี้ โดยมาร์เก็ตแชร์ที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากการให้บริการลูกค้าที่ดี และทีมผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงลูกค้าส่วนใหญ่เคยติดต่อกับบริษัทเป็นระยะเวลานาน
พร้อมกันนี้ BSEC มีแผนจะเดินหน้าขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งการขยายฐานลูกค้า เพิ่มทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจให้กับผู้ลงทุนเพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ เพื่อลดความเสี่ยงในช่วงที่ภาวะตลาดหุ้นผันผวนสูง จากปัญหาเศรษฐกิจโลกที่เป็นปัจจัยกดดันตลาดทั่วโลก ซึ่งเชื่อว่าด้วยการบริหารจัดการต้นทุนการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และกระจายช่องทางสร้างรายได้ให้หลากหลายมากขึ้น จะทำให้ BSEC สร้างรายได้และผลกำไรให้ขยายตัวต่อเนื่องได้
ทั้งนี้ จากผลสำรวจในปี 2551 พบว่า มีบริษัทหลักทรัพย์ที่ติดอยู่ใน 5 อันดับแรก คือ 1.กิมเอ็ง(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (KSET) 2.บล.ภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ PHATRA 3.บล.เอเซียพลัส จำกัด (มหาชน) (ASP) 4.บล.เครดิต สวิส (ประเทศไทย) จำกัด 5.บล.ซิมิโก้ จำกัด (มหาชน) (ZMICO)
โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 BSEC มีกำไรสุทธิในงบการเงินรวมบริษัทย่อยจำนวน 94.54 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 0.1171 บาท/หุ้น มีมูลค่าหุ้นตามบัญชี (Book Value) อยู่ที่ 2.63 บาท/หุ้น มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้นกว่า 2,500 ล้านบาท และมีกระแสเงินสดจำนวน 2,000 ล้านบาท ที่สำคัญมีหนี้เสียเพียง 3.6 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าบริษัทฯ มีฐานะทางการเงินที่ดี ในขณะเดียวกันสามารถบริหารลูกหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจนทำให้หนี้เสียอยู่ในอัตราค่อนข้างต่ำดังกล่าว
ดร.ประสิทธิ์ กล่าวต่อถึงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ว่า เริ่มจากเมื่อวันที่ 18 ก.พ.2552 บริษัทได้แจ้งผ่านทางตลาดหลักทรัพย์ ว่า ตามที่มีข่าวปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับกระแสนักลงทุนต่างชาติเจรจาขอซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่นั้น บริษัทขอชี้แจงให้ทราบว่าปัจจุบันบริษัทยังคงมีการบริหารงานตามปกติและไม่ทราบถึงการเจรจาขอซื้อหุ้นดังกล่าวแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ทำหนังสือสอบถามไปยังบริษัท เงินทุนกรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน) (BFIT) ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยให้ตอบกลับมา
นายประสิทธิ์ ศรีสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บีฟิท จำกัด (มหาชน) หรือ BSEC เปิดเผยว่า แม้แผนควบรวมกิจการกับทาง บล.ยูโอบี เคเฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (UOBKH) ต้องเป็นอันยุติลงไป แต่ทางบริษัทก็ยังไม่ได้ปิดกั้นโอกาสและพร้อมที่จะเปิดรับข้อเสนอจากพันธมิตรรายใหม่ หรือการพูดคุยกับทาง UOBKH ในการดีลอีกครั้ง เพียงแต่ว่าดีลดังกล่าวนั้นต้องสามารถช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับ BSEC ได้ในอนาคต และการที่จะเข้ามาของพันธมิตรนั้นควรแจ้งทาง BSEC ทราบก่อน
“เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ที่ผ่านมา บริษัทได้มีการประชุมและได้พูดคุยกับทาง UOBKH เรื่องโครงสร้างผู้บริหาร แต่ไม่สามาตกลงในเรื่องนี้ได้ก็เลยทำให้ดีลต้องเป็นอันล้มไป ขณะเดียวกัน ในส่วนของ BSEC เอง ไม่ว่าจะมีพันธมิตรเข้ามาหรือไม่ก็สามารถที่จะอยู่ได้ เพราะมีกระแสเงินสดอยู่เกือบ 2 พันล้าบบาท ส่วนทาง UOBKH จะเข้ามาคุยอีกรอบหรือไม่นั้นเรื่องนี้คงไม่สามารถตอบได้” นายประสิทธิ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวไม่วิตกกังวลต่อการที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) จะทำการตรวจสอบข้อมูลเชิงลึก (อินไซด์) ในเรื่องดีลการควบรวมของบริษัท กับ UOBKH เพราะที่ผ่านมาได้มีการแจ้งข้อมูลต่างๆ ต่อตลาดหลักทรัพย์และสื่อมวลชนอยู่ตลอดเวลา จึงเชื่อว่าขั้นตอนการดำเนินงานเป็นไปด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
สำหรับในปี 2552 บริษัทตั้งเป้ามีส่วนแบ่งทางการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) 5-6% จากปีที่ผ่านมาซึ่งมีมาร์เก็ตแชร์กว่า 4% อีกทั้งจะพยายามทำให้ BSEC ติดอันดับ 1 ใน 5 ของธุรกิจหลักทรัพย์ในปีนี้ โดยมาร์เก็ตแชร์ที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากการให้บริการลูกค้าที่ดี และทีมผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงลูกค้าส่วนใหญ่เคยติดต่อกับบริษัทเป็นระยะเวลานาน
พร้อมกันนี้ BSEC มีแผนจะเดินหน้าขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งการขยายฐานลูกค้า เพิ่มทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจให้กับผู้ลงทุนเพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ เพื่อลดความเสี่ยงในช่วงที่ภาวะตลาดหุ้นผันผวนสูง จากปัญหาเศรษฐกิจโลกที่เป็นปัจจัยกดดันตลาดทั่วโลก ซึ่งเชื่อว่าด้วยการบริหารจัดการต้นทุนการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และกระจายช่องทางสร้างรายได้ให้หลากหลายมากขึ้น จะทำให้ BSEC สร้างรายได้และผลกำไรให้ขยายตัวต่อเนื่องได้
ทั้งนี้ จากผลสำรวจในปี 2551 พบว่า มีบริษัทหลักทรัพย์ที่ติดอยู่ใน 5 อันดับแรก คือ 1.กิมเอ็ง(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (KSET) 2.บล.ภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ PHATRA 3.บล.เอเซียพลัส จำกัด (มหาชน) (ASP) 4.บล.เครดิต สวิส (ประเทศไทย) จำกัด 5.บล.ซิมิโก้ จำกัด (มหาชน) (ZMICO)
โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 BSEC มีกำไรสุทธิในงบการเงินรวมบริษัทย่อยจำนวน 94.54 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 0.1171 บาท/หุ้น มีมูลค่าหุ้นตามบัญชี (Book Value) อยู่ที่ 2.63 บาท/หุ้น มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้นกว่า 2,500 ล้านบาท และมีกระแสเงินสดจำนวน 2,000 ล้านบาท ที่สำคัญมีหนี้เสียเพียง 3.6 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าบริษัทฯ มีฐานะทางการเงินที่ดี ในขณะเดียวกันสามารถบริหารลูกหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจนทำให้หนี้เสียอยู่ในอัตราค่อนข้างต่ำดังกล่าว
ดร.ประสิทธิ์ กล่าวต่อถึงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ว่า เริ่มจากเมื่อวันที่ 18 ก.พ.2552 บริษัทได้แจ้งผ่านทางตลาดหลักทรัพย์ ว่า ตามที่มีข่าวปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับกระแสนักลงทุนต่างชาติเจรจาขอซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่นั้น บริษัทขอชี้แจงให้ทราบว่าปัจจุบันบริษัทยังคงมีการบริหารงานตามปกติและไม่ทราบถึงการเจรจาขอซื้อหุ้นดังกล่าวแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ทำหนังสือสอบถามไปยังบริษัท เงินทุนกรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน) (BFIT) ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยให้ตอบกลับมา