สบน.วางกรอบ 1 เดือนศึกษาแนวทาง ปัญหา และอุปสรรคในการออกอิสลามมิกบอนด์ เพื่อทางเลือกระดมเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ แบงก์อิสลามรับลูกเปิดโครงการนำร่องออกพันธบัตรสกุลเงินริงกิต มาเลเซีย ล็อตแรก 100 ล้านริงกิต หรือ 2 พันล้านบาทประเดิม ก่อนสยายปีกรุกตะวันออกกลางออกพันธบัตรดูดเงินเศรษฐีน้ำมัน ยอมรับอาจเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกู้วิกฤตการบินไทยได้
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า จากความจำเป็นในการใช้เงินของภาครัฐจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นโครงการเมกะโปรเจกต์ เช่น รถไฟฟ้า หรือสาธารณูปโภคอื่น และ การกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องของรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) THAI ที่ประสบปัญหา สบน.และคณะทำงานการระดมทุนตามหลักศาสนาอิสลาม หรือ ซูกุก อัล มูดอราบะฮ์ จึงได้ประชุมกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 ก.พ.ที่ผ่านมา เพื่อเร่งระดมทุนผ่านซูกุก อัล มูดอราบะฮ์ ซึ่งถือเป็นแหล่งระดมทุนที่เหมาะสมในสภาพตลาดพันธบัตรขณะนี้ที่ตลาดพันธบัตรทั่วโลกไม่เปิด เพราะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินสหรัฐฯ ขณะที่นักลงทุนจากกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ยังมีเงินทุนที่พร้อมจะลงทุนอีกมาก ประเทศไทยจึงควรถือโอกาสนี้ดึงเงินทุนจากแหล่งดังกล่าวมาใช้ในโครงการตามความจำเป็น
ซึ่งคาดว่า หลังจากนี้ 1 เดือนจะได้ข้อสรุปว่า การออกซูกุก อัล มูดอราบะฮ์ จะมีรูปแบบอย่างไร จากนั้นจะเสนอกระทรวงการคลังพิจารณาต่อไป ซึ่งขณะนี้ได้สั่งการให้คณะทำงานศึกษาใน 3 รูปแบบดังนี้ 1.จัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ หรือ Special Purpose Vehicle (เอสพีวี) เพื่อเป็นตัวกลางในการบริหารโครงการและระดมทุน 2.จัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หรือพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์ โดยทั้งสองรูปแบบขณะนี้ได้รับการยกเว้นภาษี และ 3.ตั้งกองทุนทรัสต์ตาม พ.ร.บ.ทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน โดยคณะกรรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดทรัพย์ (ก.ล.ต.) อยู่ระหว่างกำหนดเกณฑ์ยกเว้นภาษี ขณะที่การออกซูกุก อัล มูดอราบะฮ์ ยังติดปัญหานี้ จึงจำเป็นต้องใช้ระยะเวลา 1 เดือน เพื่อศึกษาพิจารณายกเว้นภาษีเช่นเดียวกับพันธบัตรทั่วไป เพื่อได้รับสิทธิทางภาษีเท่าเทียมกัน
***ประเดิมออกบอนด์มาเลย์ 2 พัน ล.
นายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ กรรมการผู้จัดการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธอท.) กล่าวว่า เพื่อเป็นการทดลองตลาดซูกุก อัล มูดอราบะฮ์ ธอท.มีแผนจะออกซูกุก อัล มูดอราบะฮ์ จำนวน 2 พันล้านบาท หรือประมาณ 100 ล้านริงกิต อายุ 5 ปี เพื่อเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 2 (Tier II Capital) เพื่อทดสอบตลาดว่าสามารถระดมทุนจากตราสารทางการเงินตามหลักชาริอะฮ์ในประเทศไทยได้
โดยธนาคารจะออกพันธบัตร เพื่อใช้เพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 2 ในตลาดมาเลเซีย เนื่องจากมาเลเซียเป็นแหล่งระดมทุนซูกุก อัล มูดอราบะฮ์ ขนาดใหญ่ของภูมิภาคและอัตราผลตอบแทนต่ำกว่าตลาดในประเทศประมาณ 0.5-0.75% โดยคาดผลตอบแทนจะอยู่ที่ 2.5+1.5% ซึ่งธอท.จะนำเม็ดเงินจากการออกซูกุก อัล มูดอราบะฮ์ ดังกล่าวมาปล่อยสินเชื่อในระบบธนาคารซึ่งจะปล่อยได้ 1 หมื่นล้านบาท
“บทบาทของธนาคารกับการออกพันธบัตรตามหลักศาสนาอิสลาม คือ การเป็นที่ปรึกษาในการจัดทำโครงสร้างทางการเงินของพันธบัตรที่จะระดมทุนในตลาดโดยไม่ให้ขัดต่อหลักศาสนารวมทั้งเป็นผู้จัดหานักลงทุนทั้งทั่วเป็นและอิสลาม ซึ่งโครงการนำร่องที่มาเลเซียหากสามารถเริ่มต้นได้ก็จะเป็นการการันตีว่าไทยเรามีศักยภาพที่จะไประดมทุนตามหลักศาสนาอิสลามในประเทศแถบตะวันออกกลางที่มีเม็ดเงินมหาศาลได้” นายธีรศักดิ์ กล่าว
***เพิ่มช่องระดมทุนเสริมสภาพคล่อง รสก.
นายพงษ์ภาณุ กล่าวต่อว่า การระดมทุนตามหลักศาสนาอิสลามเป็นการเพิ่มทางเลือกเนื่องจากการระดมทุนในรูปแบบทั่วไปเกิดปัญหาจากวิกฤตการเงินของโลก แต่วิธีการนี้ยังสามารถทำได้และมีปริมาณเงินมหาศาลในประเทศมุสลิมโดยเฉพาะในตะวันออกกลาง อีกทั้งรัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจึงต้องหาช่องทางระดมทุนอื่นๆ เพิ่มเติมจากที่มีอยู่เดิม นอกจากนี้ อาจใช้สำหรับเสริมสภาพคล่องให้กับรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะบมจ.การบินไทย THAI ที่กำลังประสบปัญหา
“มองว่า การระดมทุนตามหลักศาสนาอิสลาม ถือเป็นโอกาสของไทยในการนำเงินทุนจากแหล่งเงินต่างๆ ตามหลักศาสนาอิสลาม เพื่อมารองรับโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลในอนาคต รวมถึงอาจจะนำเงินระดมทุนดังกล่าวมาเสริมสภาพคล่องให้การบินไทย” นายพงษ์ภาณุ กล่าว
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า จากความจำเป็นในการใช้เงินของภาครัฐจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นโครงการเมกะโปรเจกต์ เช่น รถไฟฟ้า หรือสาธารณูปโภคอื่น และ การกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องของรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) THAI ที่ประสบปัญหา สบน.และคณะทำงานการระดมทุนตามหลักศาสนาอิสลาม หรือ ซูกุก อัล มูดอราบะฮ์ จึงได้ประชุมกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 ก.พ.ที่ผ่านมา เพื่อเร่งระดมทุนผ่านซูกุก อัล มูดอราบะฮ์ ซึ่งถือเป็นแหล่งระดมทุนที่เหมาะสมในสภาพตลาดพันธบัตรขณะนี้ที่ตลาดพันธบัตรทั่วโลกไม่เปิด เพราะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินสหรัฐฯ ขณะที่นักลงทุนจากกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ยังมีเงินทุนที่พร้อมจะลงทุนอีกมาก ประเทศไทยจึงควรถือโอกาสนี้ดึงเงินทุนจากแหล่งดังกล่าวมาใช้ในโครงการตามความจำเป็น
ซึ่งคาดว่า หลังจากนี้ 1 เดือนจะได้ข้อสรุปว่า การออกซูกุก อัล มูดอราบะฮ์ จะมีรูปแบบอย่างไร จากนั้นจะเสนอกระทรวงการคลังพิจารณาต่อไป ซึ่งขณะนี้ได้สั่งการให้คณะทำงานศึกษาใน 3 รูปแบบดังนี้ 1.จัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ หรือ Special Purpose Vehicle (เอสพีวี) เพื่อเป็นตัวกลางในการบริหารโครงการและระดมทุน 2.จัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หรือพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์ โดยทั้งสองรูปแบบขณะนี้ได้รับการยกเว้นภาษี และ 3.ตั้งกองทุนทรัสต์ตาม พ.ร.บ.ทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน โดยคณะกรรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดทรัพย์ (ก.ล.ต.) อยู่ระหว่างกำหนดเกณฑ์ยกเว้นภาษี ขณะที่การออกซูกุก อัล มูดอราบะฮ์ ยังติดปัญหานี้ จึงจำเป็นต้องใช้ระยะเวลา 1 เดือน เพื่อศึกษาพิจารณายกเว้นภาษีเช่นเดียวกับพันธบัตรทั่วไป เพื่อได้รับสิทธิทางภาษีเท่าเทียมกัน
***ประเดิมออกบอนด์มาเลย์ 2 พัน ล.
นายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ กรรมการผู้จัดการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธอท.) กล่าวว่า เพื่อเป็นการทดลองตลาดซูกุก อัล มูดอราบะฮ์ ธอท.มีแผนจะออกซูกุก อัล มูดอราบะฮ์ จำนวน 2 พันล้านบาท หรือประมาณ 100 ล้านริงกิต อายุ 5 ปี เพื่อเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 2 (Tier II Capital) เพื่อทดสอบตลาดว่าสามารถระดมทุนจากตราสารทางการเงินตามหลักชาริอะฮ์ในประเทศไทยได้
โดยธนาคารจะออกพันธบัตร เพื่อใช้เพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 2 ในตลาดมาเลเซีย เนื่องจากมาเลเซียเป็นแหล่งระดมทุนซูกุก อัล มูดอราบะฮ์ ขนาดใหญ่ของภูมิภาคและอัตราผลตอบแทนต่ำกว่าตลาดในประเทศประมาณ 0.5-0.75% โดยคาดผลตอบแทนจะอยู่ที่ 2.5+1.5% ซึ่งธอท.จะนำเม็ดเงินจากการออกซูกุก อัล มูดอราบะฮ์ ดังกล่าวมาปล่อยสินเชื่อในระบบธนาคารซึ่งจะปล่อยได้ 1 หมื่นล้านบาท
“บทบาทของธนาคารกับการออกพันธบัตรตามหลักศาสนาอิสลาม คือ การเป็นที่ปรึกษาในการจัดทำโครงสร้างทางการเงินของพันธบัตรที่จะระดมทุนในตลาดโดยไม่ให้ขัดต่อหลักศาสนารวมทั้งเป็นผู้จัดหานักลงทุนทั้งทั่วเป็นและอิสลาม ซึ่งโครงการนำร่องที่มาเลเซียหากสามารถเริ่มต้นได้ก็จะเป็นการการันตีว่าไทยเรามีศักยภาพที่จะไประดมทุนตามหลักศาสนาอิสลามในประเทศแถบตะวันออกกลางที่มีเม็ดเงินมหาศาลได้” นายธีรศักดิ์ กล่าว
***เพิ่มช่องระดมทุนเสริมสภาพคล่อง รสก.
นายพงษ์ภาณุ กล่าวต่อว่า การระดมทุนตามหลักศาสนาอิสลามเป็นการเพิ่มทางเลือกเนื่องจากการระดมทุนในรูปแบบทั่วไปเกิดปัญหาจากวิกฤตการเงินของโลก แต่วิธีการนี้ยังสามารถทำได้และมีปริมาณเงินมหาศาลในประเทศมุสลิมโดยเฉพาะในตะวันออกกลาง อีกทั้งรัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจึงต้องหาช่องทางระดมทุนอื่นๆ เพิ่มเติมจากที่มีอยู่เดิม นอกจากนี้ อาจใช้สำหรับเสริมสภาพคล่องให้กับรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะบมจ.การบินไทย THAI ที่กำลังประสบปัญหา
“มองว่า การระดมทุนตามหลักศาสนาอิสลาม ถือเป็นโอกาสของไทยในการนำเงินทุนจากแหล่งเงินต่างๆ ตามหลักศาสนาอิสลาม เพื่อมารองรับโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลในอนาคต รวมถึงอาจจะนำเงินระดมทุนดังกล่าวมาเสริมสภาพคล่องให้การบินไทย” นายพงษ์ภาณุ กล่าว