ปัตตานี - “กษิต ภิรมย์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จัดประชุมมอบนโยบายมิติต่างประเทศ 3 ระดับชายแดนใต้ เพื่อพัฒนาเชิงบูรณาการณ์ต่อกรณีปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
วันนี้ (19 ม.ค.) ที่โรงแรมซีเอส ปัตตานี นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เป็นประธานเปิดการประชุมระหว่างผู้บริหารระดับสูงในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นำโดย นายพระนาย สุวรรณรัฐ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้, ผู้ว่าราชการจังหวัด 5 จังหวัด, แม่ทัพภาคที่ 4, ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 และคณะกรรมการบริหารสถานเอกอัครราชทูตไทยจากประเทศมาเลเซีย, สิงคโปร์, บรูไน และอินโดนิเซีย เพื่อมอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานในมิติต่างประเทศต่อกรณีปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
โดย นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า สถานการณ์ความไม่สงบชายแดนภาคใต้ถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ ที่ต้องเร่งชี้แจงทำความเข้าใจระหว่างประเทศใน 3 ระดับ คือ 1.ระดับทวิภาคี ทำความเข้าใจกับประเทศเพื่อนบ้าน 2.ระดับภูมิภาค ภายใต้กฎบัตรอาเซี่ยน และ 3.ระดับสากล ภายใต้กรอบสหประชาชาติและในฐานะที่ไทยเป็นสมาชิกผู้สังเกตการณ์ณ์ของกลุ่มประเทศมุสลิมโลก (OIC) ซึ่งเรื่องสำคัญ คือ เรื่องสิทธิมนุษยชนในการจัดการแก้ปัญหาความไม่สงบ ซึ่งทุกฝ่ายต้องระมัดระวังและเร่งคลี่คลายทำความเข้าใจต่อต่างประเทศ
เช่น กรณีการหายตัวของทนายความมุสลิม นายสมชาย นีละไพจิตร ซึ่งยังเป็นที่สงสัยของต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศมุสลิม จึงถือเป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องเร่งสืบค้นหาข้อมูลเพื่อชี้แจงต่อประชาชนชาวไทยและประชาคมโลก
ในวันเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ยังได้เชิญ ส.ส., ส.ว.และสถาบันการศึกษา ในพื้นที่ 5 จ.ชายแดนภาคใต้ และสื่อจากประเทศมาเลเซียร่วมหารือทำความเข้าใจถึงแนวทางแก้ปัญหาความไม่สงบชายแดนภาคใต้ โดยหลังการประชุมนายกษิต ได้เปิดแถลงข่าวว่า สิ่งที่ทางสื่อมาเลเซียมีความกังวล คือ กรณีการตั้งด่านตรวจสกัดในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นใจในการเข้ามาท่องเที่ยว ซึ่งในเรื่องนี้ตนได้ทำความเข้าใจแก่สื่อมาเลเซียถึงความจำเป็นของงานด้านความมั่นคงและเพื่อความปลอดภัยของประชาชน เพราะเหตุการณ์ไม่สงบชายแดนภาคใต้จะเกิดในพื้นที่เมือง ไม่ได้เกิดในป่าเหมือนประเทศอื่น จึงจำเป็นต้องมีการระมัดระวังเส้นทางท้องถนนอย่างใกล้ชิด
ในส่วนการหารือร่วมกับ ส.ส. ส.ว.ในพื้นที่ได้มีข้อเสนอแนะอย่างสร้างสรรค์จำนวนมาก ซึ่งตนจะนำกลับไปพิจารณาต่อไป ตนในฐานะที่สวมหมวก 2 ใบ คือ ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และในฐานะรัฐมนตรีที่ทำงานร่วม กับ ครม.ภาคใต้ นอกจากการประสานงานด้านนโยบายกับกระทรวงต่างๆแล้ว จะมุ่งเน้นการทูตภาคประชาชน เพื่อให้ข้อมูลกระจายไปสู่ระดับรากหญ้า, ชุมชน, อบต.เทศบาล ในภูมิภาคมากขึ้นด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ยังได้เปิดเผยถึงการแก้ไขปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน กรณีการหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายของกลุ่มโรฮิงยา ว่า ในวันนี้ตนได้มอบหมายให้กระทรวงต่างประเทศเชิญทูต 4 ประเทศที่เกี่ยวข้อง คือ มาเลเซีย บังกลาเทศ พม่า และอินเดีย ร่วมหารือเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหา เพราะกรณีโรฮิงยา ถือว่า มีกระบวนการจัดการอย่างเป็นระบบของโครงข่ายค้ามนุษย์ข้ามชาติ ซึ่งเป็นปัญหาร่วมกันระหว่างประเทศ ทั้งนี้กระทรวงการต่างประเทศจะนำปัญหาดังกล่าวเข้าหารือในการประชุมกลุ่มประเทศรอบอ่าวเบงกอล หรือ BIMSTEC ประกอบด้วย บังกลาเทศ อินโดนิเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย ในเร็วๆ นี้ เพื่อร่วมหารือถึงแนวทางแก้ปัญหาร่วมกันครอบคลุมยิ่งขึ้น ส่วนกรณีที่ไทยถูกกล่าวหาละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อกลุ่มโรฮิงยาในกรณีนี้ ทางนายกรัฐมนตรีและผู้เกี่ยวข้องก็ได้มีการสืบสวนสอบสวน และได้ออกถ้อยแถลงต่อกรณีดังกล่าวไปแล้ว เชื่อว่า ทุกฝ่ายจะเข้าใจ
สำหรับความคืบหน้าเตรียมการจัดประชุมอเซี่ยนนั้น นายกษิต กล่าวว่า ขณะนี้ยืนยันได้ว่ามีความพร้อมเต็มที่ โดยทางผู้นำประเทศสามาชิก 9 ประเทศ (ไม่รวมไทย) รวมถึงผู้ติดตามและสื่อมวลชนรวมกว่า 700 คน ได้ยืนยันเข้าร่วมการประชุมอย่างแน่นอน
ต่อข้อถามถึงกรณีที่คนไทยจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ประมาณ 150 คนที่ได้อพยพไปอาศัยในประเทศมาเลเซีย ทางกระทรวงการต่างประเทศจะดำเนินการอย่างไรนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า ตนขอเวลาในการรวบรวมข้อมูลรายละเอียดสักระยะ เพราะเรื่องดังกล่าวได้เงียบหายไปนานแล้ว และตนเพิ่งจะเข้ารับตำแหน่ง แต่ยืนยันว่าทางกระทรวงการต่างประเทศจะให้ความสำคัญ และเร่งเข้าไปดูแลหรือช่วยเหลือผู้ที่อพยพอย่างดีที่สุด
วันนี้ (19 ม.ค.) ที่โรงแรมซีเอส ปัตตานี นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เป็นประธานเปิดการประชุมระหว่างผู้บริหารระดับสูงในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นำโดย นายพระนาย สุวรรณรัฐ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้, ผู้ว่าราชการจังหวัด 5 จังหวัด, แม่ทัพภาคที่ 4, ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 และคณะกรรมการบริหารสถานเอกอัครราชทูตไทยจากประเทศมาเลเซีย, สิงคโปร์, บรูไน และอินโดนิเซีย เพื่อมอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานในมิติต่างประเทศต่อกรณีปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
โดย นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า สถานการณ์ความไม่สงบชายแดนภาคใต้ถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ ที่ต้องเร่งชี้แจงทำความเข้าใจระหว่างประเทศใน 3 ระดับ คือ 1.ระดับทวิภาคี ทำความเข้าใจกับประเทศเพื่อนบ้าน 2.ระดับภูมิภาค ภายใต้กฎบัตรอาเซี่ยน และ 3.ระดับสากล ภายใต้กรอบสหประชาชาติและในฐานะที่ไทยเป็นสมาชิกผู้สังเกตการณ์ณ์ของกลุ่มประเทศมุสลิมโลก (OIC) ซึ่งเรื่องสำคัญ คือ เรื่องสิทธิมนุษยชนในการจัดการแก้ปัญหาความไม่สงบ ซึ่งทุกฝ่ายต้องระมัดระวังและเร่งคลี่คลายทำความเข้าใจต่อต่างประเทศ
เช่น กรณีการหายตัวของทนายความมุสลิม นายสมชาย นีละไพจิตร ซึ่งยังเป็นที่สงสัยของต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศมุสลิม จึงถือเป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องเร่งสืบค้นหาข้อมูลเพื่อชี้แจงต่อประชาชนชาวไทยและประชาคมโลก
ในวันเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ยังได้เชิญ ส.ส., ส.ว.และสถาบันการศึกษา ในพื้นที่ 5 จ.ชายแดนภาคใต้ และสื่อจากประเทศมาเลเซียร่วมหารือทำความเข้าใจถึงแนวทางแก้ปัญหาความไม่สงบชายแดนภาคใต้ โดยหลังการประชุมนายกษิต ได้เปิดแถลงข่าวว่า สิ่งที่ทางสื่อมาเลเซียมีความกังวล คือ กรณีการตั้งด่านตรวจสกัดในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นใจในการเข้ามาท่องเที่ยว ซึ่งในเรื่องนี้ตนได้ทำความเข้าใจแก่สื่อมาเลเซียถึงความจำเป็นของงานด้านความมั่นคงและเพื่อความปลอดภัยของประชาชน เพราะเหตุการณ์ไม่สงบชายแดนภาคใต้จะเกิดในพื้นที่เมือง ไม่ได้เกิดในป่าเหมือนประเทศอื่น จึงจำเป็นต้องมีการระมัดระวังเส้นทางท้องถนนอย่างใกล้ชิด
ในส่วนการหารือร่วมกับ ส.ส. ส.ว.ในพื้นที่ได้มีข้อเสนอแนะอย่างสร้างสรรค์จำนวนมาก ซึ่งตนจะนำกลับไปพิจารณาต่อไป ตนในฐานะที่สวมหมวก 2 ใบ คือ ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และในฐานะรัฐมนตรีที่ทำงานร่วม กับ ครม.ภาคใต้ นอกจากการประสานงานด้านนโยบายกับกระทรวงต่างๆแล้ว จะมุ่งเน้นการทูตภาคประชาชน เพื่อให้ข้อมูลกระจายไปสู่ระดับรากหญ้า, ชุมชน, อบต.เทศบาล ในภูมิภาคมากขึ้นด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ยังได้เปิดเผยถึงการแก้ไขปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน กรณีการหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายของกลุ่มโรฮิงยา ว่า ในวันนี้ตนได้มอบหมายให้กระทรวงต่างประเทศเชิญทูต 4 ประเทศที่เกี่ยวข้อง คือ มาเลเซีย บังกลาเทศ พม่า และอินเดีย ร่วมหารือเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหา เพราะกรณีโรฮิงยา ถือว่า มีกระบวนการจัดการอย่างเป็นระบบของโครงข่ายค้ามนุษย์ข้ามชาติ ซึ่งเป็นปัญหาร่วมกันระหว่างประเทศ ทั้งนี้กระทรวงการต่างประเทศจะนำปัญหาดังกล่าวเข้าหารือในการประชุมกลุ่มประเทศรอบอ่าวเบงกอล หรือ BIMSTEC ประกอบด้วย บังกลาเทศ อินโดนิเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย ในเร็วๆ นี้ เพื่อร่วมหารือถึงแนวทางแก้ปัญหาร่วมกันครอบคลุมยิ่งขึ้น ส่วนกรณีที่ไทยถูกกล่าวหาละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อกลุ่มโรฮิงยาในกรณีนี้ ทางนายกรัฐมนตรีและผู้เกี่ยวข้องก็ได้มีการสืบสวนสอบสวน และได้ออกถ้อยแถลงต่อกรณีดังกล่าวไปแล้ว เชื่อว่า ทุกฝ่ายจะเข้าใจ
สำหรับความคืบหน้าเตรียมการจัดประชุมอเซี่ยนนั้น นายกษิต กล่าวว่า ขณะนี้ยืนยันได้ว่ามีความพร้อมเต็มที่ โดยทางผู้นำประเทศสามาชิก 9 ประเทศ (ไม่รวมไทย) รวมถึงผู้ติดตามและสื่อมวลชนรวมกว่า 700 คน ได้ยืนยันเข้าร่วมการประชุมอย่างแน่นอน
ต่อข้อถามถึงกรณีที่คนไทยจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ประมาณ 150 คนที่ได้อพยพไปอาศัยในประเทศมาเลเซีย ทางกระทรวงการต่างประเทศจะดำเนินการอย่างไรนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า ตนขอเวลาในการรวบรวมข้อมูลรายละเอียดสักระยะ เพราะเรื่องดังกล่าวได้เงียบหายไปนานแล้ว และตนเพิ่งจะเข้ารับตำแหน่ง แต่ยืนยันว่าทางกระทรวงการต่างประเทศจะให้ความสำคัญ และเร่งเข้าไปดูแลหรือช่วยเหลือผู้ที่อพยพอย่างดีที่สุด