บอร์ดตลาดหลักทรัพย์ฯ อนุมัติเงิน 200-250 ล้านบาท หนุนแผนเพิ่มทุนปรับโครงสร้างหนี้บล.เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์สำเร็จ หรือ TFSE พร้อมให้บล.ธนชาตศึกษาข้อมูลการดำเนินธุรกิจเพิ่มเติม ขณะที่ผู้ถือหุ้นเดิม “บล.ดีบีเอสฯ” พร้อมใส่เงินเพิ่มเติม แม้จะยังไม่ตัดสินใจจะเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้น ด้านบล.กิมเอ็งฯ ออกเดินสายหาผู้ร่วมทุนใหม่
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ในวานนี้ (28 มกราคม 52) มีมติเห็นชอบในหลักการในการร่วมลงทุนตามแผนปรับโครงสร้างหนี้และทุนของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด (Thailand Financial Securities Corporation หรือ TSFC) ในวงเงิน 200-250 ล้านบาท
ทั้งนี้ คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มอบหมายให้บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำการพิจารณาศึกษาประเด็นรายละเอียดบางประเด็นเพิ่มเติม ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนในเร็วๆ นี้ เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจในอนาคตของ TSFC ว่าจะมีผลประกอบการอย่างไร รวมถึงประเมินธุรกิจใหม่ที่จะดำเนินการนั้นจะให้ผลตอบแทนที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มแก่บริษัทอย่างไร
“ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเป็นแกนนำในการที่จะสนับสนุนให้ TSFC เพิ่มทุนปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จ แต่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ให้ทางบริษัทที่ปรึกษาฯ เข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม เช่น การศึกษาส่วนต่าง (สเปรด)ของการทำธุรกรรม เช่น การปล่อยมาร์จิ้นจะเป็นเท่าไร และจะให้ผลตอบแทนเป็นอย่างไร ทั้งในลักษณะของการดำเนินธุรกิจแบบเดิม หรือธุรกิจรูปแบบใหม่ จะมีผลตอบแทนอย่างไร” นายปกรณ์กล่าว
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า TSFC เป็นกลไกสำคัญใน ตลาดทุน ในการช่วยรับโอนลูกหนี้สินเชื่อหลักทรัพย์จากบริษัทหลักทรัพย์ ผ่านการให้บริการสินเชื่อแก่นักลงทุน ช่วยเสริมสภาพคล่องให้บริษัทหลักทรัพย์ ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ลงทุนในลักษณะต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเห็นว่า TSFC น่าจะได้รับการสนับสนุนเงินลงทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการจากทั้งผู้ถือหุ้นเดิม และผู้ลงทุนใหม่
นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะผู้ถือหุ้นของTSFC กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่าบริษัทจะมีการใช้สิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของTSFC ตามสัดส่วนที่ถือหุ้นอยู่ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ทาง TSFC สามารถที่จะดำเนินธุรกิจต่อไปได้
“การที่บริษัทจะเพิ่มทุนมากกว่าสัดส่วนหุ้นที่ถือหุ้นอยู่หรือไม่นั้น ต้องรอให้ทางคณะกรรมการบริหารบริษัทเป็นผู้พิจารณา ซึ่งส่วนตัวก็จะมีการนำข้อมูลของ TSFC จากที่ได้มีการรับฟังจากบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินเข้ามานำเสนอเกี่ยวกับแผนการดำเนินธุรกิจในอนาคต
แหล่งข่าวจากบล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินกล่าวว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการเดินสายเข้าพบกับสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ เพื่อชวนเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหม่ของ TSFC รวมถึงธนาคารพณิชย์ที่เป็นบริษัทแม่ ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่เป็นเจ้าหนี้ของ TSFC หรือธนาคารพาณิชย์ หลังจากที่บริษัทได้มีการเชิญโบรกเกอร์ต่างๆ เข้ามาฟังข้อมูลไปแล้ว
ทั้งนี้บริษัทอยู่ระหว่างการรอให้ทางบริษัทที่สนใจที่จะเข้ามาถือหุ้นใน TSFC ยืนยัน และรอคำยืนยันกับผู้ถือหุ้นเดิมว่าจะมีการใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน เพื่อที่จะนำผลดังกล่าวไปเสนอแก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์นี้ และในส่วนเจ้าหนี้ของTSFCในหลักการเห็นชอบแนวทางการปรับโครงสร้างหนี้
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ในวานนี้ (28 มกราคม 52) มีมติเห็นชอบในหลักการในการร่วมลงทุนตามแผนปรับโครงสร้างหนี้และทุนของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด (Thailand Financial Securities Corporation หรือ TSFC) ในวงเงิน 200-250 ล้านบาท
ทั้งนี้ คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มอบหมายให้บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำการพิจารณาศึกษาประเด็นรายละเอียดบางประเด็นเพิ่มเติม ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนในเร็วๆ นี้ เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจในอนาคตของ TSFC ว่าจะมีผลประกอบการอย่างไร รวมถึงประเมินธุรกิจใหม่ที่จะดำเนินการนั้นจะให้ผลตอบแทนที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มแก่บริษัทอย่างไร
“ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเป็นแกนนำในการที่จะสนับสนุนให้ TSFC เพิ่มทุนปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จ แต่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ให้ทางบริษัทที่ปรึกษาฯ เข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม เช่น การศึกษาส่วนต่าง (สเปรด)ของการทำธุรกรรม เช่น การปล่อยมาร์จิ้นจะเป็นเท่าไร และจะให้ผลตอบแทนเป็นอย่างไร ทั้งในลักษณะของการดำเนินธุรกิจแบบเดิม หรือธุรกิจรูปแบบใหม่ จะมีผลตอบแทนอย่างไร” นายปกรณ์กล่าว
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า TSFC เป็นกลไกสำคัญใน ตลาดทุน ในการช่วยรับโอนลูกหนี้สินเชื่อหลักทรัพย์จากบริษัทหลักทรัพย์ ผ่านการให้บริการสินเชื่อแก่นักลงทุน ช่วยเสริมสภาพคล่องให้บริษัทหลักทรัพย์ ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ลงทุนในลักษณะต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเห็นว่า TSFC น่าจะได้รับการสนับสนุนเงินลงทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการจากทั้งผู้ถือหุ้นเดิม และผู้ลงทุนใหม่
นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะผู้ถือหุ้นของTSFC กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่าบริษัทจะมีการใช้สิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของTSFC ตามสัดส่วนที่ถือหุ้นอยู่ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ทาง TSFC สามารถที่จะดำเนินธุรกิจต่อไปได้
“การที่บริษัทจะเพิ่มทุนมากกว่าสัดส่วนหุ้นที่ถือหุ้นอยู่หรือไม่นั้น ต้องรอให้ทางคณะกรรมการบริหารบริษัทเป็นผู้พิจารณา ซึ่งส่วนตัวก็จะมีการนำข้อมูลของ TSFC จากที่ได้มีการรับฟังจากบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินเข้ามานำเสนอเกี่ยวกับแผนการดำเนินธุรกิจในอนาคต
แหล่งข่าวจากบล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินกล่าวว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการเดินสายเข้าพบกับสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ เพื่อชวนเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหม่ของ TSFC รวมถึงธนาคารพณิชย์ที่เป็นบริษัทแม่ ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่เป็นเจ้าหนี้ของ TSFC หรือธนาคารพาณิชย์ หลังจากที่บริษัทได้มีการเชิญโบรกเกอร์ต่างๆ เข้ามาฟังข้อมูลไปแล้ว
ทั้งนี้บริษัทอยู่ระหว่างการรอให้ทางบริษัทที่สนใจที่จะเข้ามาถือหุ้นใน TSFC ยืนยัน และรอคำยืนยันกับผู้ถือหุ้นเดิมว่าจะมีการใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน เพื่อที่จะนำผลดังกล่าวไปเสนอแก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์นี้ และในส่วนเจ้าหนี้ของTSFCในหลักการเห็นชอบแนวทางการปรับโครงสร้างหนี้