ตลาดหลักทรัพย์ฯเล็งเสนอบอร์ดซื้อหุ้นทีเอสเอฟซีจากกองทุนฟื้นฟูฯทั้งหมด 28% ราคา 0.60 บาท มูลค่า16 ล้านบาท หวังเป็นแกนนำแก้ไขปัญหา ขณะที่ ก.ล.ต. ขยายระยะเวลาการยื่นแผนฟื้นฟูของ TSFC ไปจนถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2552 และให้บริษัทแจ้งลูกค้าให้ถอนเงินสดหรือหลักประกันส่วนเกินได้
นางนงราม วงษ์วานิช รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯจะมีการเจรจาซื้อหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (TSFC) จากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ที่ถือในสัดส่วน 28% ในราคาตามมูลค่าทางบัญชี (บุ๊คแวลู) ที่ 0.60 บาทต่อหุ้น ซึ่งจะใช้เงินซื้อประมาณ 16 ล้านบาท โดยจะทำให้ตลาดหลักทรัพย์กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 32% ซึ่งจะนำเรื่องนี้ขอมติที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด)ตลาดหลักทรัพย์ฯที่จะมีขึ้นในปลายเดือนม.ค.นี้
ทั้งนี้ การที่ตลาดหลักทรัพย์ฯจะเข้าไปซื้อหุ้นในส่วนที่กองทุนฟื้นฟูฯถือเนื่องจาก ตลาดหลักทรัพย์ฯต้องการเป็นแกนนำในการเพิ่มทุน ประสานให้ผู้ถือหุ้นอื่นเพิ่มทุน และเจรจากับเจ้าหนี้ เพื่อที่จะเร่งแก้ไขปัญหาของทางTSFCให้เสร็จ จากที่ผ่านมาTSFCไม่มีผู้ที่จะเข้ามาดูแลบริษัท หรือ เจ้าของที่แท้จริงที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง และที่ผ่านมากองทุนฟื้นฟูฯก็ไม่ได้ใช้สิทธิออกเสียงในการประชุมต่างๆ ขณะที่มีสัดส่วนการถือหุ้นในสัดส่วนที่สูง ซึ่งหากตลาดหลักทรัพย์ถือหุ้นในสัดส่วนดังกล่าวก็สามารถที่จะออกเสียงในการลงมติต่างๆได้ทำให้แก้ไขปัญหาของทางTSFCได้เร็วขึ้น
สำหรับการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯเข้าไปถือหุ้นใหญ่ในTSFCนั้นจะเป็นการถือในช่วงระยะแรกและหลังจากการที่การแก้ไขปัญหาต่างๆเป็นไปในทิศทางที่ดีแล้ว ตลาดหลักทรัพย์ฯก็จะมีการกระจายหุ้นในส่วนที่ซื้อเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้นเดิม นักลงทุนรายใหม่ หรือหน่วยงานอื่นๆต่อไป ที่สนใจที่จะเข้ามาบริหารงานของTSFCอย่างจริงจังต่อไป
"จากที่ตลาดหลักทรัพย์ฯจะใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนTSFCรวมเป็น 200 ล้านบาทนั้น และมีแนวคิดที่จะซื้อหุ้นจากกองทุนฟื้นฟูฯ 28% เพื่อต้องการเป็นแกนนำทั้งเพิ่มทุน ประสานงานกับเจ้าหนี้ตกลงกันนอกศาล เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาให้สะดวกและรวดเร็วขึ้น" +นางนงราม กล่าว
แหล่งข่าวจาก บริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (TSFC) กล่าวว่า หลังจากที่ ก.ล.ต.อนุมัติให้บริษัทสามารถฟื้นฟูกิจการนอกศาลได้นั้น ซึ่งทาง TSFC จะต้องมีการเจรจากับเจ้าหนี้จำนวน 32 ราย ในเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ให้เสร็จเรียบร้อย และมีความชัดเจนในเรื่องการเพิ่มทุนให้เสร็จภายใน 12 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งหากมีเจ้ารายใดมีการคัดค้านทำให้การปรับโครงสร้างหนี้มีปัญหาไม่สามารถที่จะทำเสร็จในวันดังกล่าว และ TSFC จะต้องเข้าแผนฟื้นฟูกิจการของศาลล้มละลายกลาง ซึ่งหากกระทรวงการคลังตัดสินใจให้การสนับสนุนแผนเพิ่มทุนของTSFC มีความเป็นไปได้ว่า ผู้ถือหุ้นที่เป็นสถาบันการเงินและอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงอาจใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนด้วย
นายอัครรัตน์ ณ ระนอง กรรมการผู้จัดการ TFSC กล่าวถึงการประชุมผู้ถือหุ้นของTSFC ที่มีขึ้นวานนี้ว่า เป็นเพียงการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบถึงความคืบหน้าที่ได้ดำเนินการเรื่องขอฟื้นฟูกิจการนอกศาลกับเจ้าหนี้ และมีระยะเวลา 1 เดือนในการดำเนินการ หรือภายในวันที่ 12 ก.พ.นี้ ซึ่งในรายละเอียดของแผนจะระบุถึงการเพิ่มทุนด้วย และขณะนี้ทางTSFC ได้ส่งแบบสอบถามไปยังเจ้าหนี้ทั้ง 32 ราย ว่าแต่ละรายสนใจที่จะมีการปรับโครงสร้างหนี้จะแปลงหนี้เป็นทุน ยืดเวลาชำระหนี้ หรือรับชำระหนี้ทันที
นางอัศวินี ไตลังคะ กรรมการผู้จัดการ บล.ธนชาต กล่าวว่า ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีการหารือถึงแผนธุรกิจของTSFCด้วย แต่ความจริงธุรกิจเดิมคือการให้ปล่อยสินเชื่อเพื่อซื้อหุ้น(มาร์จินโลน) นั้น ถือว่าเป็นธุรกิจที่สร้างกำไรอยู่แล้ว และมีส่วนแบ่งการตลาดใหญ่ที่สุด แต่การกลับมาทำธุรกิจอีกครั้งอาจไม่หวือหวา เริ่มจากจุดเล็ก ๆ เพื่อเป็นส่วนช่วยในการให้วงเงินกับวงการตลาดทุน
ขณะที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุน ได้ขยายระยะเวลาให้แก่ TSFC ในการยื่นคำร้องขอความยินยอมในการฟื้นฟูกิจการภายใต้ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ ไปจนถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2552 ตามที่ TSFC ร้องขอ พร้อมทั้งสั่งการให้ TSFC แจ้งให้ลูกค้าทุกรายทราบถึงสิทธิในการถอนเงินสดหรือหลักประกันส่วนเกินออกจาก TSFC
เนื่องจากเป็นผลจากการที่ คณะกรรมการของ TSFC แจ้งความประสงค์จะดำเนินการเพื่อนำบริษัทเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 และคณะกรรมการกำกับตลาดทุนพิจารณาเห็นว่าแนวทางดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้ที่มีส่วนได้เสียของ TSFC คณะกรรมการกำกับตลาดทุนจึงมีมติให้เวลาแก่บริษัทเพื่อจัดทำเอกสารประกอบการขอความยินยอมในการฟื้นฟูกิจการ ซึ่ง TSFC ในฐานะที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอความยินยอมต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ตามที่ประกาศกำหนด นั้น
เมื่อถึงเวลาที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนกำหนด TSFC ได้มีหนังสือขอให้คณะกรรมการกำกับตลาดทุน ขยายระยะเวลาในการยื่นคำร้องดังกล่าวต่อไปจนถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2552 และกลุ่มเจ้าหนี้ก็มีหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ( ก.ล.ต.) เช่นกัน เพื่อให้พิจารณาตามที่บริษัทร้องขอ เพื่อให้เจ้าหนี้และบริษัทมีเวลาพอสมควรในการพิจารณาการปรับโครงสร้างหนี้โดยไม่ผ่านกระบวนการทางศาล ซึ่งจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ได้รวดเร็วขึ้น และหากการฟื้นฟูกิจการตามแนวทางดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการได้ภายในระยะเวลาที่ร้องขอ TSFC จะขออนุมัติฟื้นฟูกิจการภายใต้ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ ต่อไป
คณะกรรมการกำกับตลาดทุนพิจารณาแล้วมีความเห็นว่า ที่ผ่านมา TSFC มีความคืบหน้าและความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาฐานะการเงินมาโดยตลอด และได้เปิดเผยข้อมูลฐานะการเงินของบริษัทที่เป็นปัจจุบันให้สาธารณชนรับทราบแล้ว คณะกรรมการกำกับตลาดทุนจึงมีมติขยายระยะเวลาตามที่ TSFC ขอมา พร้อมกันนี้ เนื่องจากการดำเนินการเพื่อแก้ไขฐานะการเงินของ TSFC ต้องใช้เวลา ดังนั้น เพื่อลดผลกระทบที่อาจมีต่อลูกค้าของ TSFC คณะกรรมการกำกับตลาดทุนจึงได้สั่งการให้ TSFC มีหนังสือถึงลูกค้าเพื่อแจ้งฐานะการเงินของบริษัทในปัจจุบัน พร้อมทั้งบอกสิทธิของลูกค้าด้วยว่า หากลูกค้าไม่มีหนี้คงค้าง หรือมีหลักประกันวางไว้กับบริษัทเกินกว่าอัตราที่ต้องดำรงไว้ตามเกณฑ์หรือตามข้อตกลงที่ทำไว้ ลูกค้าสามารถถอนเงินสดหรือหลักประกันส่วนที่เกินนั้นออกไปได้
นางนงราม วงษ์วานิช รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯจะมีการเจรจาซื้อหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (TSFC) จากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ที่ถือในสัดส่วน 28% ในราคาตามมูลค่าทางบัญชี (บุ๊คแวลู) ที่ 0.60 บาทต่อหุ้น ซึ่งจะใช้เงินซื้อประมาณ 16 ล้านบาท โดยจะทำให้ตลาดหลักทรัพย์กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 32% ซึ่งจะนำเรื่องนี้ขอมติที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด)ตลาดหลักทรัพย์ฯที่จะมีขึ้นในปลายเดือนม.ค.นี้
ทั้งนี้ การที่ตลาดหลักทรัพย์ฯจะเข้าไปซื้อหุ้นในส่วนที่กองทุนฟื้นฟูฯถือเนื่องจาก ตลาดหลักทรัพย์ฯต้องการเป็นแกนนำในการเพิ่มทุน ประสานให้ผู้ถือหุ้นอื่นเพิ่มทุน และเจรจากับเจ้าหนี้ เพื่อที่จะเร่งแก้ไขปัญหาของทางTSFCให้เสร็จ จากที่ผ่านมาTSFCไม่มีผู้ที่จะเข้ามาดูแลบริษัท หรือ เจ้าของที่แท้จริงที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง และที่ผ่านมากองทุนฟื้นฟูฯก็ไม่ได้ใช้สิทธิออกเสียงในการประชุมต่างๆ ขณะที่มีสัดส่วนการถือหุ้นในสัดส่วนที่สูง ซึ่งหากตลาดหลักทรัพย์ถือหุ้นในสัดส่วนดังกล่าวก็สามารถที่จะออกเสียงในการลงมติต่างๆได้ทำให้แก้ไขปัญหาของทางTSFCได้เร็วขึ้น
สำหรับการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯเข้าไปถือหุ้นใหญ่ในTSFCนั้นจะเป็นการถือในช่วงระยะแรกและหลังจากการที่การแก้ไขปัญหาต่างๆเป็นไปในทิศทางที่ดีแล้ว ตลาดหลักทรัพย์ฯก็จะมีการกระจายหุ้นในส่วนที่ซื้อเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้นเดิม นักลงทุนรายใหม่ หรือหน่วยงานอื่นๆต่อไป ที่สนใจที่จะเข้ามาบริหารงานของTSFCอย่างจริงจังต่อไป
"จากที่ตลาดหลักทรัพย์ฯจะใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนTSFCรวมเป็น 200 ล้านบาทนั้น และมีแนวคิดที่จะซื้อหุ้นจากกองทุนฟื้นฟูฯ 28% เพื่อต้องการเป็นแกนนำทั้งเพิ่มทุน ประสานงานกับเจ้าหนี้ตกลงกันนอกศาล เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาให้สะดวกและรวดเร็วขึ้น" +นางนงราม กล่าว
แหล่งข่าวจาก บริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (TSFC) กล่าวว่า หลังจากที่ ก.ล.ต.อนุมัติให้บริษัทสามารถฟื้นฟูกิจการนอกศาลได้นั้น ซึ่งทาง TSFC จะต้องมีการเจรจากับเจ้าหนี้จำนวน 32 ราย ในเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ให้เสร็จเรียบร้อย และมีความชัดเจนในเรื่องการเพิ่มทุนให้เสร็จภายใน 12 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งหากมีเจ้ารายใดมีการคัดค้านทำให้การปรับโครงสร้างหนี้มีปัญหาไม่สามารถที่จะทำเสร็จในวันดังกล่าว และ TSFC จะต้องเข้าแผนฟื้นฟูกิจการของศาลล้มละลายกลาง ซึ่งหากกระทรวงการคลังตัดสินใจให้การสนับสนุนแผนเพิ่มทุนของTSFC มีความเป็นไปได้ว่า ผู้ถือหุ้นที่เป็นสถาบันการเงินและอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงอาจใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนด้วย
นายอัครรัตน์ ณ ระนอง กรรมการผู้จัดการ TFSC กล่าวถึงการประชุมผู้ถือหุ้นของTSFC ที่มีขึ้นวานนี้ว่า เป็นเพียงการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบถึงความคืบหน้าที่ได้ดำเนินการเรื่องขอฟื้นฟูกิจการนอกศาลกับเจ้าหนี้ และมีระยะเวลา 1 เดือนในการดำเนินการ หรือภายในวันที่ 12 ก.พ.นี้ ซึ่งในรายละเอียดของแผนจะระบุถึงการเพิ่มทุนด้วย และขณะนี้ทางTSFC ได้ส่งแบบสอบถามไปยังเจ้าหนี้ทั้ง 32 ราย ว่าแต่ละรายสนใจที่จะมีการปรับโครงสร้างหนี้จะแปลงหนี้เป็นทุน ยืดเวลาชำระหนี้ หรือรับชำระหนี้ทันที
นางอัศวินี ไตลังคะ กรรมการผู้จัดการ บล.ธนชาต กล่าวว่า ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีการหารือถึงแผนธุรกิจของTSFCด้วย แต่ความจริงธุรกิจเดิมคือการให้ปล่อยสินเชื่อเพื่อซื้อหุ้น(มาร์จินโลน) นั้น ถือว่าเป็นธุรกิจที่สร้างกำไรอยู่แล้ว และมีส่วนแบ่งการตลาดใหญ่ที่สุด แต่การกลับมาทำธุรกิจอีกครั้งอาจไม่หวือหวา เริ่มจากจุดเล็ก ๆ เพื่อเป็นส่วนช่วยในการให้วงเงินกับวงการตลาดทุน
ขณะที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุน ได้ขยายระยะเวลาให้แก่ TSFC ในการยื่นคำร้องขอความยินยอมในการฟื้นฟูกิจการภายใต้ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ ไปจนถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2552 ตามที่ TSFC ร้องขอ พร้อมทั้งสั่งการให้ TSFC แจ้งให้ลูกค้าทุกรายทราบถึงสิทธิในการถอนเงินสดหรือหลักประกันส่วนเกินออกจาก TSFC
เนื่องจากเป็นผลจากการที่ คณะกรรมการของ TSFC แจ้งความประสงค์จะดำเนินการเพื่อนำบริษัทเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 และคณะกรรมการกำกับตลาดทุนพิจารณาเห็นว่าแนวทางดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้ที่มีส่วนได้เสียของ TSFC คณะกรรมการกำกับตลาดทุนจึงมีมติให้เวลาแก่บริษัทเพื่อจัดทำเอกสารประกอบการขอความยินยอมในการฟื้นฟูกิจการ ซึ่ง TSFC ในฐานะที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอความยินยอมต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ตามที่ประกาศกำหนด นั้น
เมื่อถึงเวลาที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนกำหนด TSFC ได้มีหนังสือขอให้คณะกรรมการกำกับตลาดทุน ขยายระยะเวลาในการยื่นคำร้องดังกล่าวต่อไปจนถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2552 และกลุ่มเจ้าหนี้ก็มีหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ( ก.ล.ต.) เช่นกัน เพื่อให้พิจารณาตามที่บริษัทร้องขอ เพื่อให้เจ้าหนี้และบริษัทมีเวลาพอสมควรในการพิจารณาการปรับโครงสร้างหนี้โดยไม่ผ่านกระบวนการทางศาล ซึ่งจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ได้รวดเร็วขึ้น และหากการฟื้นฟูกิจการตามแนวทางดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการได้ภายในระยะเวลาที่ร้องขอ TSFC จะขออนุมัติฟื้นฟูกิจการภายใต้ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ ต่อไป
คณะกรรมการกำกับตลาดทุนพิจารณาแล้วมีความเห็นว่า ที่ผ่านมา TSFC มีความคืบหน้าและความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาฐานะการเงินมาโดยตลอด และได้เปิดเผยข้อมูลฐานะการเงินของบริษัทที่เป็นปัจจุบันให้สาธารณชนรับทราบแล้ว คณะกรรมการกำกับตลาดทุนจึงมีมติขยายระยะเวลาตามที่ TSFC ขอมา พร้อมกันนี้ เนื่องจากการดำเนินการเพื่อแก้ไขฐานะการเงินของ TSFC ต้องใช้เวลา ดังนั้น เพื่อลดผลกระทบที่อาจมีต่อลูกค้าของ TSFC คณะกรรมการกำกับตลาดทุนจึงได้สั่งการให้ TSFC มีหนังสือถึงลูกค้าเพื่อแจ้งฐานะการเงินของบริษัทในปัจจุบัน พร้อมทั้งบอกสิทธิของลูกค้าด้วยว่า หากลูกค้าไม่มีหนี้คงค้าง หรือมีหลักประกันวางไว้กับบริษัทเกินกว่าอัตราที่ต้องดำรงไว้ตามเกณฑ์หรือตามข้อตกลงที่ทำไว้ ลูกค้าสามารถถอนเงินสดหรือหลักประกันส่วนที่เกินนั้นออกไปได้