ฟิทช์ เรทติ้งประกาศคงอันดับเครดิต"เอ็กซิม แบงก์-แบงก์นครหลวงไทย" ระบุเอ็กซิมแบงก์ยังมีความเป็นไปได้สูงที่จะยังได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ จากบทบาทในการสนับสนุนนโยบายด้านพัฒนาประเทศ ขณะที่แบงก์นครหลวงไทยนั้นอันดับเครดิตยังสะท้อนถึงเครือข่ายธุรกิจที่ค่อนข้างอ่อนแอและสถานะทางการเงินไม่แข็งแกร่งนัก แม้ที่ผ่านมาจะได้มีการปรับตัวดีขึ้นแล้วก็ตาม
บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ จำกัด ประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM) ได้แก่ อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว(IDR) ที่ "BBB+" แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นที่ "F2" ,อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ "AAA(tha)" แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ ,อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ "F1+(tha)" ,อันดับเครดิตสนับสนุนที่ "2" ,อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำที่ "BBB+" และอันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกันซึ่งออกโดย EXIM ที่ "AAA(tha)"
ทั้งนี้ แนวโน้มอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (IDR) ของ EXIM ได้ถูกปรับลดลงเป็น "ลบ" ในเดือนธันวาคม 2551 หลังจากที่ได้มีการปรับลดแนวโน้มอันดับเครดิตของประเทศไทย โดยปัจจัยหลักมาจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ยืดเยื้อของไทย และเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงอย่างรุนแรง อันดับเครดิตของ EXIM มีความเชื่อมโยงโดยตรงกับอันดับเครดิตของประเทศไทย เนื่องจาก EXIM เป็นธนาคารหลักที่กระทรวงการคลังใช้ในการดำเนินนโยบายการให้การสนับสนุนแก่ผู้ส่งออกไทยและนักลงทุนเพื่อการลงทุนในโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ นอกจากนั้นเมื่อพิจารณาถึงการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นทั้งหมดและมีอำนาจควบคุมการบริหารงานในธนาคาร รวมถึงบทบาทของ EXIM ในการสนับสนุนนโยบายในด้านการพัฒนาประเทศ ฟิทช์เชื่อว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ธนาคารจะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ หากมีความจำเป็น
อนึ่ง EXIM มีทรัพย์สินรวม 59.6 พันล้านบาท (ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2551) และเป็นผู้ให้บริการการประกันการส่งออกและการลงทุน จัดหาเงินทุนแก่ผู้ส่งออกไทยและนักลงทุนไทยในต่างประเทศ ในขณะที่ธุรกิจหลักของธนาคารยังคงเกี่ยวเนื่องกับภาคการส่งออก EXIM มีแผนที่จะเพิ่มการปล่อยสินเชื่อแก่โครงการลงทุนในประเทศไทยที่จะเป็นการอำนวยประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ (domestic national development projects) ซึ่งรวมถึงการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมพลังงาน ระบบสาธารณูปโภค ระบบโครงสร้างพื้นฐาน
**คงอันดับเครดิตสคิบ**
นอกจากนี้ ฟิทช์ประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคารนครหลวงไทยหรือ SCIB ได้แก่ อันดับเครดิตสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวที่ "BB" อันดับเครดิตสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นที่ "B" อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Rating) ที่ "A-(tha)" อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ "F1(tha)" อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารที่ "D" อันดับเครดิตสนับสนุนที่ "4" อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำที่ "B+" และแนวโน้มอันดับเครดิตของธนาคารมีเสถียรภาพ
อันดับเครดิตของ SCIB สะท้อนถึงเครือข่ายธุรกิจของธนาคารที่ค่อนข้างอ่อนแอ รวมถึงสถานะทางการเงินไม่แข็งแกร่งนัก แม้ที่ผ่านมาจะได้มีการปรับตัวดีขึ้นแล้วก็ตาม ในปี 2550 ธนาคารมีผลการดำเนินงานขาดทุน 2 พันล้านบาท โดยมีปัจจัยหลักมาจากการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญจำนวนมาก เนื่องจากการปฏิบัติตามเกณฑ์การจัดชั้นสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้นของธนาคาร สำหรับงวดเก้าเดือนแรกปี 2551 ผลการดำเนินงานของธนาคารปรับตัวดีขึ้น โดยมีกำไรสุทธิ 3.5 พันล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญที่ลดลงอย่างมาก อย่างไรก็ตามแนวโน้มอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ (GDP) ในปี 2552 นั้นได้ปรับตัวลดลงอย่างมาก ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของธนาคารในปีหน้า
ส่วนแนวโน้มอันดับเครดิตของธนาคารอยู่ในระดับ ‘มีเสถียรภาพ’ เนื่องจากอันดับเครดิตของธนาคารนั้นอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำแล้ว ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของความแข็งแกร่งในด้านเครือข่ายธุรกิจของธนาคาร การควบคุมความเสี่ยงและคณะผู้บริหาร ความชัดเจนในส่วนของกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจในระยะยาว และการให้ความสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นหลัก สามารถที่จะช่วยเพิ่มอันดับเครดิตได้ในระยะปานกลาง
บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ จำกัด ประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM) ได้แก่ อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว(IDR) ที่ "BBB+" แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นที่ "F2" ,อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ "AAA(tha)" แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ ,อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ "F1+(tha)" ,อันดับเครดิตสนับสนุนที่ "2" ,อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำที่ "BBB+" และอันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกันซึ่งออกโดย EXIM ที่ "AAA(tha)"
ทั้งนี้ แนวโน้มอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (IDR) ของ EXIM ได้ถูกปรับลดลงเป็น "ลบ" ในเดือนธันวาคม 2551 หลังจากที่ได้มีการปรับลดแนวโน้มอันดับเครดิตของประเทศไทย โดยปัจจัยหลักมาจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ยืดเยื้อของไทย และเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงอย่างรุนแรง อันดับเครดิตของ EXIM มีความเชื่อมโยงโดยตรงกับอันดับเครดิตของประเทศไทย เนื่องจาก EXIM เป็นธนาคารหลักที่กระทรวงการคลังใช้ในการดำเนินนโยบายการให้การสนับสนุนแก่ผู้ส่งออกไทยและนักลงทุนเพื่อการลงทุนในโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ นอกจากนั้นเมื่อพิจารณาถึงการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นทั้งหมดและมีอำนาจควบคุมการบริหารงานในธนาคาร รวมถึงบทบาทของ EXIM ในการสนับสนุนนโยบายในด้านการพัฒนาประเทศ ฟิทช์เชื่อว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ธนาคารจะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ หากมีความจำเป็น
อนึ่ง EXIM มีทรัพย์สินรวม 59.6 พันล้านบาท (ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2551) และเป็นผู้ให้บริการการประกันการส่งออกและการลงทุน จัดหาเงินทุนแก่ผู้ส่งออกไทยและนักลงทุนไทยในต่างประเทศ ในขณะที่ธุรกิจหลักของธนาคารยังคงเกี่ยวเนื่องกับภาคการส่งออก EXIM มีแผนที่จะเพิ่มการปล่อยสินเชื่อแก่โครงการลงทุนในประเทศไทยที่จะเป็นการอำนวยประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ (domestic national development projects) ซึ่งรวมถึงการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมพลังงาน ระบบสาธารณูปโภค ระบบโครงสร้างพื้นฐาน
**คงอันดับเครดิตสคิบ**
นอกจากนี้ ฟิทช์ประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคารนครหลวงไทยหรือ SCIB ได้แก่ อันดับเครดิตสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวที่ "BB" อันดับเครดิตสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นที่ "B" อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Rating) ที่ "A-(tha)" อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ "F1(tha)" อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารที่ "D" อันดับเครดิตสนับสนุนที่ "4" อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำที่ "B+" และแนวโน้มอันดับเครดิตของธนาคารมีเสถียรภาพ
อันดับเครดิตของ SCIB สะท้อนถึงเครือข่ายธุรกิจของธนาคารที่ค่อนข้างอ่อนแอ รวมถึงสถานะทางการเงินไม่แข็งแกร่งนัก แม้ที่ผ่านมาจะได้มีการปรับตัวดีขึ้นแล้วก็ตาม ในปี 2550 ธนาคารมีผลการดำเนินงานขาดทุน 2 พันล้านบาท โดยมีปัจจัยหลักมาจากการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญจำนวนมาก เนื่องจากการปฏิบัติตามเกณฑ์การจัดชั้นสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้นของธนาคาร สำหรับงวดเก้าเดือนแรกปี 2551 ผลการดำเนินงานของธนาคารปรับตัวดีขึ้น โดยมีกำไรสุทธิ 3.5 พันล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญที่ลดลงอย่างมาก อย่างไรก็ตามแนวโน้มอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ (GDP) ในปี 2552 นั้นได้ปรับตัวลดลงอย่างมาก ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของธนาคารในปีหน้า
ส่วนแนวโน้มอันดับเครดิตของธนาคารอยู่ในระดับ ‘มีเสถียรภาพ’ เนื่องจากอันดับเครดิตของธนาคารนั้นอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำแล้ว ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของความแข็งแกร่งในด้านเครือข่ายธุรกิจของธนาคาร การควบคุมความเสี่ยงและคณะผู้บริหาร ความชัดเจนในส่วนของกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจในระยะยาว และการให้ความสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นหลัก สามารถที่จะช่วยเพิ่มอันดับเครดิตได้ในระยะปานกลาง