ตลาดหุ้นไทยยังวิกฤตจากเหตุการณ์ทางการเมือง ถล่มซ้ำวิกฤตเศรษฐกิจโลกหดตัว ทำให้ 11 เดือนแรกปีนี้ นักลงทุนต่างชาติทิ้งหุ้นรวมกว่า 1.5 แสนล้านบาท กดดัชนี-มาร์เกตแคป วูบ มากกว่า 50% เหลือแค่ 401 จุด และ 3.19 ล้านล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเดือน พ.ย.ต่ำสุดในรอบปีเฉลี่ย 10,851 ล้านบาทต่อวัน ด้านตลาดหลักทรัพย์ คาดการณ์วอลุ่มเฉลี่ยปีหน้าเหลือ 1.3 หมื่นล้านบาท หากสถานการณ์ยังไม่ได้ข้อยุติ ส่วนโบรกเกอร์ สั่งจับตาการเมืองใกล้ชิด หวังนายกฯ “สมชาย วงศ์สวัสดิ์” ยุบสภา หนุนดัชนีตลาดหุ้นเด้งแรง
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย นับตั้งแต่ต้นปี 2551 ที่ผ่านมา ต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐฯ ที่ลุกลามสู่สถาบันการเงินทั่วโลก และส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวลงอย่างรุนแรง ขณะที่ปัจจัยในประเทศเรื่องของสถานการณ์ทางการเมืองที่คุกรุ่น และส่งสัญญาณทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยลบที่กดดดันตลาดหุ้นไทยให้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง
ASTV ผู้จัดการ ได้เปรียบเทียบดัชนีตลาดหุ้นไทยล่าสุด ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 51 กับดัชนีตลาดหุ้นไทยเมื่อสิ้นปี 2550 (31 ธ.ค.51) พบว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงเหลือที่ระดับ 401.84 จุด มูลค่าตามราคาตลาดรวม (มาร์เกตแคป) อยู่ที่ 3.19 ล้านล้านบาท จากสิ้นปี 2550 ดัชนีตลาดหุ้นอยู่ที่ 858.10 จุด มาร์เกตแคป 6.64 ล้านล้านบาท หรือดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงไปแล้วกว่า 456.26 จุด คิดเป็น 53.17% ขณะที่มาร์เกตแคปลดลง 3.45 ล้านล้านบาท คิดเป็น 51.96%
ขณะที่มูลค่าการซื้อขายได้ปรับตัวลดลงจากปีที่ผ่านมาเช่นกัน โดยในปี 2551 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันปรับตัวลดลงเหลือประมาณ 16,000 ล้านบาท ลดลงจากปี 2550 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 17,097.05 ล้านบาท โดยในเดือนล่าสุด (พ.ย.) มีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดเหลือ 10,851.90 ล้านบาท ซึ่งเป็นเดือนที่มีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยน้อยที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 2551
สำหรับสาเหตุที่ทำให้มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลง สืบเนื่องจากนักลงทุนไม่มีความมั่นใจในตลาดทุน รวมถึงนักลงทุนต่างประเทศเทขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำเงินไปสำรองสภาพคล่องจากวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมานักลงทุนต่างประเทศมียอดขายสุทธิรวมทั้งสิ้นกว่า 150,310.82 ล้านบาท
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ประเมินวิกฤตการเงินสหรัฐฯ และสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังคงมีความยืดเยื้อ จะส่งผลต่อมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยในปี 2552 ลดลงเหลือเฉลี่ยวันละ 13,500 ล้านบาท แต่หากเหตุการณ์ทุกอย่างคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น จะทำให้มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่วันละ 18,000 ล้านบาท จากการคาดการณ์ว่าในปี 51 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันจะอยู่ที่ประมาณ 17,000 ล้านบาท
“เหตการณ์ชุมนุมประท้วงด้วยการปิดสนามบินสุวรรณภูมิ ได้ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และการส่งออก ซึ่งรุนแรงมากกว่าเหตุการณ์ปฏิวัติรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เพราะปัญหาขณะนี้ยังไม่มีทางออก”
นางภัทรียา กล่าวว่า ขณะนี้อยากให้ทั้ง 2 ฝ่าย คือ รัฐบาล และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ร่วมกันหาทางออก เพื่อให้ประเทศสามารถเดินหน้าต่อไปได้ เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นในขณะนี้ทำให้ประเทศไทยเสียโอกาส และอาจรุนแรงขึ้น หากประเทศคู่ค้ายกเลิกการทำธุรกิจกับประเทศไทย
ด้าน นายวิเชฐ ตันติวานิช รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ กล่าวถึงแผนการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ ว่า ในปี 2552 ตลาดหลักทรัพย์ตั้งเป้าเพิ่มบริษัทจดทะเบียนอีก 46 บริษัท โดยเป็นบริษัทขนาดใหญ่ 4 บริษัท และจะมีบริษัทต่างชาติในแถบอินโดจีนเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย 1 บริษัท ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มมูลค่าตลาดรวม (มาร์เกตแคป) ได้ประมาณ 250,000 ล้านบาท รวมทั้งตั้งเป้าเพิ่มผู้ลงทุนบุคคลอีกประมาณ 100,000 ราย หรือคิดเป็นสัดส่วน 5% และเพิ่มสัดส่วนนักลงทุนสถาบันอีก 10%
***ดัชนีหุ้นไทยต่ำสุดกลางปีหน้า
นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ขณะนี้เศรษฐกิจของไทยต้องเผชิญกับปัจจัยลบ 2 ด้าน ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่กำลังชะลอตัว และสถานการณ์ทางการเมืองที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวไปอีก 1-2 ปี โดยคาดว่าอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2552 อาจจะเป็นไปได้ยากที่จะโตได้ถึงระดับ 3%
ส่วนผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อตลาดทุนนั้น ตลาดหุ้นจะยังคงมีความผันผวน โดยจะมีจุดต่ำสุดในช่วงกลางปีหน้า ก่อนที่จะเริ่มฟื้นตัวขึ้นมาได้บ้าง
“ขณะนี้เม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทยคงเหลืออยู่ประมาณ 1 แสนล้านบาท โดยมีแรงเทขายเฉลี่ยวันละ 700 ล้านบาท ทำให้มีโอกาสน้อยที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะหลุดต่ำกว่า 300 จุด เพราะยังมีแรงซื้อเข้ามาจากนักลงทุนในประเทศอย่างต่อเนื่อง”
นายอภิสิทธิ์ ลิมป์ธำรงกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เกียรตินาคิน จำกัด กล่าวว่า สัปดาห์นี้ตลาดหุ้นไทยน่าจะได้รับข่าวดีจากกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย แถลงปิดคดีในวันที่ 2 ธ.ค.นี้ ซึ่งจะส่งผลให้สถานการณ์ทางการเมืองมีความชัดเจนมากขึ้น และมีแนวโน้มความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศจะจบได้ในเร็ววัน
ขณะเดียวกัน ตลาดหุ้นไทยอาจจะได้รับอิทธิพลจากการคาดหวังของการประชุมโอเปกจะประกาศให้มีการลดกำลังการผลิตน้ำมัน เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคา ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้น และส่งผลดีต่อราคาหุ้นในกลุ่มพลังงานด้วย ซึ่งถือเป็นจังหวะดีที่จะเข้าไปเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มพลังงาน หลังจากราคาหุ้นได้ปรับลดลงก่อนหน้านี้
“แม้สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ คาดว่า ตลาดหุ้นไทยปีหน้าจะซบเซาหนัก จากปัจจัยลบเรื่องของวิกฤตเศรษฐกิจโลกและสถานการณ์ทางการเมือง ซึ่งเชื่อว่าเรื่องดังกล่าวน่าจะส่งผลต่อจิตวิทยาของนักลงทุนในแง่ของความเชื่อมั่นเท่านั้น แต่ขณะนี้ราคาหุ้นไทยอยู่ในระดับที่ถูกมาก ดังนั้น อาจจะเป็นแรงจูงใจให้นักลงทุนเข้ามาเก็งกำไรได้เช่นกัน”
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะเคลื่อนไหวอิงกับสถานการณ์ทางการเมือง หากไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้นจะส่งผลให้ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้ามหากเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง จะส่งผลให้ดัชนีปรับตัวลดลงเช่นกัน ดังนั้น นักลงทุนต้องติดตามการเมืองอย่างใกล้ชิด โดยประเมินแนวรับไว้ที่ 398-400 จุด และแนวต้านที่ 410-420 จุด
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นสัปดาห์นี้ขึ้นอยู่กับทิศทางการเมือง หากรัฐบาลใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จะส่งกระทบต่อความมั่นใจของนักลงทุน ทำให้มีแรงเทขายออกมาเป็นจำนวนมาก และดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง แต่หาก นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ประกาศลาออก หรือยุบสภา เพื่อแก้ปัญหาความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น จะส่งผลดีต่อตลาดหุ้น โดยดัชนีตลาดหุ้นจะปรับตัวขึ้นแรงถึง 30-40 จุด
ขณะเดียวกัน นักลงทุนจะต้องติดตามการประชุมฉุกเฉินของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก หรือ โอเปก ที่อาจจะมีการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันลง ซึ่งจะมีผลต่อทิศทางราคาน้ำมันและหุ้นกลุ่มพลังงาน รวมทั้งการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อพิจารณาดอกเบี้ยนโยบายในสัปดาห์นี้เช่นกัน โดยกลยุทธ์ แนะนำชะลอการลงทุน ประเมินแนวรับ 383 จุด แนวต้าน 400 จุด
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย นับตั้งแต่ต้นปี 2551 ที่ผ่านมา ต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐฯ ที่ลุกลามสู่สถาบันการเงินทั่วโลก และส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวลงอย่างรุนแรง ขณะที่ปัจจัยในประเทศเรื่องของสถานการณ์ทางการเมืองที่คุกรุ่น และส่งสัญญาณทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยลบที่กดดดันตลาดหุ้นไทยให้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง
ASTV ผู้จัดการ ได้เปรียบเทียบดัชนีตลาดหุ้นไทยล่าสุด ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 51 กับดัชนีตลาดหุ้นไทยเมื่อสิ้นปี 2550 (31 ธ.ค.51) พบว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงเหลือที่ระดับ 401.84 จุด มูลค่าตามราคาตลาดรวม (มาร์เกตแคป) อยู่ที่ 3.19 ล้านล้านบาท จากสิ้นปี 2550 ดัชนีตลาดหุ้นอยู่ที่ 858.10 จุด มาร์เกตแคป 6.64 ล้านล้านบาท หรือดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงไปแล้วกว่า 456.26 จุด คิดเป็น 53.17% ขณะที่มาร์เกตแคปลดลง 3.45 ล้านล้านบาท คิดเป็น 51.96%
ขณะที่มูลค่าการซื้อขายได้ปรับตัวลดลงจากปีที่ผ่านมาเช่นกัน โดยในปี 2551 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันปรับตัวลดลงเหลือประมาณ 16,000 ล้านบาท ลดลงจากปี 2550 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 17,097.05 ล้านบาท โดยในเดือนล่าสุด (พ.ย.) มีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดเหลือ 10,851.90 ล้านบาท ซึ่งเป็นเดือนที่มีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยน้อยที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 2551
สำหรับสาเหตุที่ทำให้มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลง สืบเนื่องจากนักลงทุนไม่มีความมั่นใจในตลาดทุน รวมถึงนักลงทุนต่างประเทศเทขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำเงินไปสำรองสภาพคล่องจากวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมานักลงทุนต่างประเทศมียอดขายสุทธิรวมทั้งสิ้นกว่า 150,310.82 ล้านบาท
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ประเมินวิกฤตการเงินสหรัฐฯ และสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังคงมีความยืดเยื้อ จะส่งผลต่อมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยในปี 2552 ลดลงเหลือเฉลี่ยวันละ 13,500 ล้านบาท แต่หากเหตุการณ์ทุกอย่างคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น จะทำให้มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่วันละ 18,000 ล้านบาท จากการคาดการณ์ว่าในปี 51 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันจะอยู่ที่ประมาณ 17,000 ล้านบาท
“เหตการณ์ชุมนุมประท้วงด้วยการปิดสนามบินสุวรรณภูมิ ได้ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และการส่งออก ซึ่งรุนแรงมากกว่าเหตุการณ์ปฏิวัติรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เพราะปัญหาขณะนี้ยังไม่มีทางออก”
นางภัทรียา กล่าวว่า ขณะนี้อยากให้ทั้ง 2 ฝ่าย คือ รัฐบาล และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ร่วมกันหาทางออก เพื่อให้ประเทศสามารถเดินหน้าต่อไปได้ เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นในขณะนี้ทำให้ประเทศไทยเสียโอกาส และอาจรุนแรงขึ้น หากประเทศคู่ค้ายกเลิกการทำธุรกิจกับประเทศไทย
ด้าน นายวิเชฐ ตันติวานิช รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ กล่าวถึงแผนการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ ว่า ในปี 2552 ตลาดหลักทรัพย์ตั้งเป้าเพิ่มบริษัทจดทะเบียนอีก 46 บริษัท โดยเป็นบริษัทขนาดใหญ่ 4 บริษัท และจะมีบริษัทต่างชาติในแถบอินโดจีนเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย 1 บริษัท ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มมูลค่าตลาดรวม (มาร์เกตแคป) ได้ประมาณ 250,000 ล้านบาท รวมทั้งตั้งเป้าเพิ่มผู้ลงทุนบุคคลอีกประมาณ 100,000 ราย หรือคิดเป็นสัดส่วน 5% และเพิ่มสัดส่วนนักลงทุนสถาบันอีก 10%
***ดัชนีหุ้นไทยต่ำสุดกลางปีหน้า
นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ขณะนี้เศรษฐกิจของไทยต้องเผชิญกับปัจจัยลบ 2 ด้าน ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่กำลังชะลอตัว และสถานการณ์ทางการเมืองที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวไปอีก 1-2 ปี โดยคาดว่าอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2552 อาจจะเป็นไปได้ยากที่จะโตได้ถึงระดับ 3%
ส่วนผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อตลาดทุนนั้น ตลาดหุ้นจะยังคงมีความผันผวน โดยจะมีจุดต่ำสุดในช่วงกลางปีหน้า ก่อนที่จะเริ่มฟื้นตัวขึ้นมาได้บ้าง
“ขณะนี้เม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทยคงเหลืออยู่ประมาณ 1 แสนล้านบาท โดยมีแรงเทขายเฉลี่ยวันละ 700 ล้านบาท ทำให้มีโอกาสน้อยที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะหลุดต่ำกว่า 300 จุด เพราะยังมีแรงซื้อเข้ามาจากนักลงทุนในประเทศอย่างต่อเนื่อง”
นายอภิสิทธิ์ ลิมป์ธำรงกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เกียรตินาคิน จำกัด กล่าวว่า สัปดาห์นี้ตลาดหุ้นไทยน่าจะได้รับข่าวดีจากกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย แถลงปิดคดีในวันที่ 2 ธ.ค.นี้ ซึ่งจะส่งผลให้สถานการณ์ทางการเมืองมีความชัดเจนมากขึ้น และมีแนวโน้มความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศจะจบได้ในเร็ววัน
ขณะเดียวกัน ตลาดหุ้นไทยอาจจะได้รับอิทธิพลจากการคาดหวังของการประชุมโอเปกจะประกาศให้มีการลดกำลังการผลิตน้ำมัน เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคา ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้น และส่งผลดีต่อราคาหุ้นในกลุ่มพลังงานด้วย ซึ่งถือเป็นจังหวะดีที่จะเข้าไปเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มพลังงาน หลังจากราคาหุ้นได้ปรับลดลงก่อนหน้านี้
“แม้สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ คาดว่า ตลาดหุ้นไทยปีหน้าจะซบเซาหนัก จากปัจจัยลบเรื่องของวิกฤตเศรษฐกิจโลกและสถานการณ์ทางการเมือง ซึ่งเชื่อว่าเรื่องดังกล่าวน่าจะส่งผลต่อจิตวิทยาของนักลงทุนในแง่ของความเชื่อมั่นเท่านั้น แต่ขณะนี้ราคาหุ้นไทยอยู่ในระดับที่ถูกมาก ดังนั้น อาจจะเป็นแรงจูงใจให้นักลงทุนเข้ามาเก็งกำไรได้เช่นกัน”
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะเคลื่อนไหวอิงกับสถานการณ์ทางการเมือง หากไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้นจะส่งผลให้ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้ามหากเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง จะส่งผลให้ดัชนีปรับตัวลดลงเช่นกัน ดังนั้น นักลงทุนต้องติดตามการเมืองอย่างใกล้ชิด โดยประเมินแนวรับไว้ที่ 398-400 จุด และแนวต้านที่ 410-420 จุด
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นสัปดาห์นี้ขึ้นอยู่กับทิศทางการเมือง หากรัฐบาลใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จะส่งกระทบต่อความมั่นใจของนักลงทุน ทำให้มีแรงเทขายออกมาเป็นจำนวนมาก และดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง แต่หาก นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ประกาศลาออก หรือยุบสภา เพื่อแก้ปัญหาความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น จะส่งผลดีต่อตลาดหุ้น โดยดัชนีตลาดหุ้นจะปรับตัวขึ้นแรงถึง 30-40 จุด
ขณะเดียวกัน นักลงทุนจะต้องติดตามการประชุมฉุกเฉินของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก หรือ โอเปก ที่อาจจะมีการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันลง ซึ่งจะมีผลต่อทิศทางราคาน้ำมันและหุ้นกลุ่มพลังงาน รวมทั้งการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อพิจารณาดอกเบี้ยนโยบายในสัปดาห์นี้เช่นกัน โดยกลยุทธ์ แนะนำชะลอการลงทุน ประเมินแนวรับ 383 จุด แนวต้าน 400 จุด