ค่าเงินบาทยังอ่อนค่าต่อเนื่องแตะระดับ 35.22 บาท ขณะที่ผู้ว่าธปท.ระบุเป็นไปตามทิศทางเดียวกับภูมิภาค และยังถือว่าอ่อนค่าไม่มากนัก แต่จะมีการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กล่าวถึงทิศทางค่าเงินบาทที่ปรับต่ำอ่อนค่าลงในระดับกว่า 35 บาทต่อดอลลารสหรัฐว่า เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงไปตามภูมิภาค โดยยังถือว่าค่าเงินบาทอ่อนค่าไม่มากนัก เนื่องจากยังมีเงินจากต่างประเทศไหลเข้ามาอยู่ ซึ่งในส่วนของธปท.เองก็จะติดตามดูแลค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด และจะดูแลตามความเป็นจริง
นอกจากนี้ ธปท.จะมีการติดตามตัวเลขเศรษฐกิจที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)ประกาศในสัปดาห์หน้าด้วย เพื่อนำมาประเมินสถานการณ์ต่างๆทางเศรษฐกิจให้ชัดเจนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ก็ไม่อยากให้ประชาชนกังวลมากจนเกินไป เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากปัจจัยภายนอกประเทศ โดยพื้นฐานภายในประเทศยังแข็งแกร่ง
นางธาริษากล่าวว่า ส่วนการที่ภาคธุรกิจขาดสภาพคล่องจนอาจทำให้ต้องปลดคนงานนั้น ที่ผ่านมาธปท.ก็ยังคงเติมสภาพคล่องเข้าสู่ระบบผ่านธุรกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี)อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า ปัจจุบันยังคงมีเงินหมุนเวียนถึง 30,000 ล้านบาท ซึ่งจะสามารถใช้ได้ถึงปี 2553-2554
สำหรับกรณีที่กระทรวงการคลังต้องการให้ธปท.ปล่อยกู้ซอฟท์โลนนั้น นางธาริษากล่าวว่า ที่ผ่านมา ธปท.ได้ส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความภายใต้ พ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่แล้วว่า ธปท.ไม่สามารถปล่อยซอฟท์โลนได้ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลังได้ส่งให้กฤษฎีกาตีความอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวคณะกรรมการธปท.ก็คงต้องพิจารณาอีกครั้งว่าจะสามารถปล่อยซอฟท์โลนได้หรือไม่
นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า เงินบาทวานนี้เปิดตลาดที่ระดับ 35.20-35.22 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวอ่อนค่าลงจากช่วงปิดตลาดวันก่อนหน้าที่ระดับ 35.14-35.15 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยเงินบาทอ่อนค่าสุดระหว่างวันที่ระดับ 35.26 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 35.21-35.23 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่าเงินเป็นส่วนของปัจจัยการเมืองในประเทศที่เกรงว่าจะเกิดรุนแรงขึ้น และปัจจัยต่างประเทศด้านภาวะเศรษฐกิจโลก โดยล่าสุดตัวเลขเศรษฐกิจทางการสหรัฐประกาศตัวเลขการขอรับสวัสดิการจากการว่างงานสูงขึ้น จากที่ตลาดคาดการณ์ว่าน่าจะอยู่ที่ 550,000 ตำแหน่ง ขณะที่ดัชนีหุ้นดาวน์โจนส์ปรับตัวลดลงมากอย่างต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)มีโอกาสค่อนข้างสูงที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก
นอกจากนี้ ยังต้องจับตาดูบริษัทขนาดใหญ่ต่างในยุโรปที่อาจประสบปัญหาเพิ่มขึ้น โดยจะเห็นได้จากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 1% จาก 1.5-2.5% ลงเหลือ 0.5-1.5% และราคาน้ำมันในตลาดโลกยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องลงหลุดระดับ 50 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กล่าวถึงทิศทางค่าเงินบาทที่ปรับต่ำอ่อนค่าลงในระดับกว่า 35 บาทต่อดอลลารสหรัฐว่า เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงไปตามภูมิภาค โดยยังถือว่าค่าเงินบาทอ่อนค่าไม่มากนัก เนื่องจากยังมีเงินจากต่างประเทศไหลเข้ามาอยู่ ซึ่งในส่วนของธปท.เองก็จะติดตามดูแลค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด และจะดูแลตามความเป็นจริง
นอกจากนี้ ธปท.จะมีการติดตามตัวเลขเศรษฐกิจที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)ประกาศในสัปดาห์หน้าด้วย เพื่อนำมาประเมินสถานการณ์ต่างๆทางเศรษฐกิจให้ชัดเจนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ก็ไม่อยากให้ประชาชนกังวลมากจนเกินไป เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากปัจจัยภายนอกประเทศ โดยพื้นฐานภายในประเทศยังแข็งแกร่ง
นางธาริษากล่าวว่า ส่วนการที่ภาคธุรกิจขาดสภาพคล่องจนอาจทำให้ต้องปลดคนงานนั้น ที่ผ่านมาธปท.ก็ยังคงเติมสภาพคล่องเข้าสู่ระบบผ่านธุรกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี)อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า ปัจจุบันยังคงมีเงินหมุนเวียนถึง 30,000 ล้านบาท ซึ่งจะสามารถใช้ได้ถึงปี 2553-2554
สำหรับกรณีที่กระทรวงการคลังต้องการให้ธปท.ปล่อยกู้ซอฟท์โลนนั้น นางธาริษากล่าวว่า ที่ผ่านมา ธปท.ได้ส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความภายใต้ พ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่แล้วว่า ธปท.ไม่สามารถปล่อยซอฟท์โลนได้ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลังได้ส่งให้กฤษฎีกาตีความอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวคณะกรรมการธปท.ก็คงต้องพิจารณาอีกครั้งว่าจะสามารถปล่อยซอฟท์โลนได้หรือไม่
นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า เงินบาทวานนี้เปิดตลาดที่ระดับ 35.20-35.22 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวอ่อนค่าลงจากช่วงปิดตลาดวันก่อนหน้าที่ระดับ 35.14-35.15 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยเงินบาทอ่อนค่าสุดระหว่างวันที่ระดับ 35.26 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 35.21-35.23 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่าเงินเป็นส่วนของปัจจัยการเมืองในประเทศที่เกรงว่าจะเกิดรุนแรงขึ้น และปัจจัยต่างประเทศด้านภาวะเศรษฐกิจโลก โดยล่าสุดตัวเลขเศรษฐกิจทางการสหรัฐประกาศตัวเลขการขอรับสวัสดิการจากการว่างงานสูงขึ้น จากที่ตลาดคาดการณ์ว่าน่าจะอยู่ที่ 550,000 ตำแหน่ง ขณะที่ดัชนีหุ้นดาวน์โจนส์ปรับตัวลดลงมากอย่างต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)มีโอกาสค่อนข้างสูงที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก
นอกจากนี้ ยังต้องจับตาดูบริษัทขนาดใหญ่ต่างในยุโรปที่อาจประสบปัญหาเพิ่มขึ้น โดยจะเห็นได้จากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 1% จาก 1.5-2.5% ลงเหลือ 0.5-1.5% และราคาน้ำมันในตลาดโลกยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องลงหลุดระดับ 50 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล