ผู้บริหาร 2 แบงก์ “กรุงไทย-ไทยธนาคาร” แจงไม่โดนหางเลขจากวิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐฯ เอ็มดีแบงก์กรุงไทย ระบุ ไม่มีเงินลงทุนในธนาคารต่างประเทศ ส่วน CDO ที่ถืออยู่ไม่มีปัญหายังได้รับผลตอบแทนตามปกติ พร้อมยันเป้าหมายสินเชื่อเดิม 5-6% ด้านไทยธนาคารยันขาย CDO ไปหมดแล้ว ตราสารหนี้ที่เหลือไม่เข้ากลุ่มเสี่ยงของแบงก์ชาติ
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) เปิดเผยถึงผลกระทบวิกฤตสถาบันการเงินของอเมริกา ว่า ธนาคารไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสถาบันการเงินดังกล่าว เนื่องจากปัจจุบันธนาคารไม่มีเงินลงทุนในธนาคารต่างประเทศ จึงไม่มีปัญหา ขณะที่การลงทุนในตราสารหนี้ที่มีสินทรัพย์หนุนหลัง (CDO) นั้นก็ไม่มีปัญหาและปัจจุบันธนาคารก็ยังได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนดังกล่าวตามปกติ
สำหรับการปล่อยสินเชื่อของธนาคารในปีนี้ก็ยังมองว่าจะเติบโตตามเป้าที่ตั้งไว้ 5-6% แม้ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจอาจจะชะลอตัวลง เนื่องจากเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้นที่ไม่สูงอยู่แล้ว จึงไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
ทั้งนี้ ธนาคารกรุงไทยได้ให้ความสำคัญต่อการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อย (SME) โดยล่าสุด นายวันชัย ธนิตติราภรณ์ รองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายงาน สายงานธุรกิจขนาดกลาง ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ธนาคารได้ออกสินเชื่อ KTB–Green Loan สำหรับผู้ประกอบการ SMEs เพื่อลงทุนในโครงการที่ก่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานทดแทน การกำจัด หรือลดมลภาวะ ไม่ว่าจะเป็นระบบบำบัดน้ำเสีย อากาศเสีย กำจัดของเสีย ขจัดมลพิษ รวมทั้งปรับปรุงสถานประกอบการ โดยใช้อุปกรณ์ก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเครื่องจักรอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประหยัดพลังงาน โดยคิดดอกเบี้ย ปีที่ 1-2 ในอัตรา MLR (ปัจจุบันเท่ากับ 7.25% ต่อปี) ลบ 1% ต่อปี ปีที่ 3 คิดอัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี ผ่อนชำระภายใน 10 ปี โดยธนาคารได้เตรียมวงเงินสินเชื่อจำนวน 15,000 ล้านบาท ลูกค้าที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานธุรกิจซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ 63 แห่ง
นอกจากนี้ สำหรับโครงการ SMEs-KTB Awards ในปีนี้ ซึ่งเป็นปีที่ 4 ธนาคารให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยเพิ่มรางวัล KTB Green Award เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยกำหนดจัดงานมอบรางวัลในเดือนพฤศจิกายน 2551
นายวันชัย กล่าวอีกว่า ธนาคารเดินหน้าสนับสนุนธุรกิจ SME เนื่องจากเป็นภาคธุรกิจสำคัญในการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา ธนาคารได้ปล่อยสินเชื่อ SME ไปแล้วเกือบ 10,000 ล้านบาท ทำให้ปัจจุบันธนาคารมียอดสินเชื่อ SME จำนวน 200,000 ล้านบาท
**BTแจงตราสารที่ถืออยู่เสี่ยงต่ำ**
นายฐาภพ คลี่สุวรรณ ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า ตามที่ปรากฏบทวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ เกี่ยวกับเงินลงทุนในต่างประเทศของธนาคารตามที่เป็นข่าวในสื่อต่างๆ นั้น จึงใคร่ขอเรียนชี้แจงว่า ธนาคารได้จำหน่ายเงินลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ ประเภท CDO (Collateralized Debt Obligation) ไปทั้งหมดเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2551 ซึ่งมีผลให้ธนาคารมีกำไรจากการจำหน่ายตราสาร CDO จำนวน 970 ล้านบาท และจะรับรู้กำไรในไตรมาสที่ 3 นี้
ส่วนตราสารหนี้ที่เหลืออยู่ในปัจจุบันธนาคารได้รับชำระคืนเงินลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศตามลำดับ โดยธนาคารจะได้รับเงินคืนจากตราสารหนี้ที่ธนาคารเข้าไปลงทุนในเดือนกันยายนนี้เป็นจำนวนเงิน 190 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศมีแนวโน้มจะปรับลดลงทำให้ผู้ออกตราสารหนี้ดังกล่าวทยอยคืนเงินลงทุนมาให้ก่อนครบกำหนด ทำให้ยอดเงินลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศคงค้างของธนาคารลดลงเหลือเพียง 410 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในสิ้นเดือนกันยายน นี้
สำหรับยอดเงินลงทุนคงค้างรวมจำนวน 410 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ดังกล่าวนั้น แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ตราสารหนี้ภาครัฐ หรือมีรัฐบาลต่างประเทศค้ำประกันเงินต้น จำนวน 190 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งตราสารดังกล่าวไม่นับเป็นสินทรัพย์เสี่ยงตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยแบ่งเป็นตราสารหนี้จำนวน 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นพันธบัตรรัฐบาลเกาหลี และตราสารหนี้จำนวน 140 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์กรภาครัฐและมีรัฐบาลเยอรมนี หรือรัฐบาลแคนาดา เป็นผู้ค้ำประกัน
ส่วนเงินลงทุนจำนวน 220 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่เหลือนั้นเป็นการลงทุนในตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสูงตั้งแต่ระดับ AA- ไปจนถึง AAA เงินลงทุนดังกล่าวนั้น เป็นตราสารหนี้ที่ผู้ออกตราสารเป็นธนาคารขนาดใหญ่ หรือเป็นตราสารที่ได้รับการค้ำประกันเงินต้นจากธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ โดยธนาคารได้กระจายการลงทุนออกไปในธนาคารต่างประเทศหลายประเทศ ได้แก่ ตราสารหนี้ของ Rabobank Nederland NV จำนวนเงิน 30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อันดับเครดิต AAA, ธนาคารลูกของ JPMorgan Chase Bank N.A.จำนวนเงิน 40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อันดับเครดิต AAA, HSBC France เป็นธนาคารในประเทศผรั่งเศส จำนวนเงิน 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อันดับเครดิต AA, Dexia Banque Internationale a Luxembourg จำนวนเงิน 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อันดับเครดิต AA, Royal Bank of Canada จำนวนเงิน 30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อันดับเครดิต AA- และบริษัทในเครือของ KBC Bank NV จำนวนเงิน 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อันดับเครดิต AA-
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) เปิดเผยถึงผลกระทบวิกฤตสถาบันการเงินของอเมริกา ว่า ธนาคารไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสถาบันการเงินดังกล่าว เนื่องจากปัจจุบันธนาคารไม่มีเงินลงทุนในธนาคารต่างประเทศ จึงไม่มีปัญหา ขณะที่การลงทุนในตราสารหนี้ที่มีสินทรัพย์หนุนหลัง (CDO) นั้นก็ไม่มีปัญหาและปัจจุบันธนาคารก็ยังได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนดังกล่าวตามปกติ
สำหรับการปล่อยสินเชื่อของธนาคารในปีนี้ก็ยังมองว่าจะเติบโตตามเป้าที่ตั้งไว้ 5-6% แม้ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจอาจจะชะลอตัวลง เนื่องจากเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้นที่ไม่สูงอยู่แล้ว จึงไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
ทั้งนี้ ธนาคารกรุงไทยได้ให้ความสำคัญต่อการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อย (SME) โดยล่าสุด นายวันชัย ธนิตติราภรณ์ รองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายงาน สายงานธุรกิจขนาดกลาง ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ธนาคารได้ออกสินเชื่อ KTB–Green Loan สำหรับผู้ประกอบการ SMEs เพื่อลงทุนในโครงการที่ก่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานทดแทน การกำจัด หรือลดมลภาวะ ไม่ว่าจะเป็นระบบบำบัดน้ำเสีย อากาศเสีย กำจัดของเสีย ขจัดมลพิษ รวมทั้งปรับปรุงสถานประกอบการ โดยใช้อุปกรณ์ก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเครื่องจักรอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประหยัดพลังงาน โดยคิดดอกเบี้ย ปีที่ 1-2 ในอัตรา MLR (ปัจจุบันเท่ากับ 7.25% ต่อปี) ลบ 1% ต่อปี ปีที่ 3 คิดอัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี ผ่อนชำระภายใน 10 ปี โดยธนาคารได้เตรียมวงเงินสินเชื่อจำนวน 15,000 ล้านบาท ลูกค้าที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานธุรกิจซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ 63 แห่ง
นอกจากนี้ สำหรับโครงการ SMEs-KTB Awards ในปีนี้ ซึ่งเป็นปีที่ 4 ธนาคารให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยเพิ่มรางวัล KTB Green Award เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยกำหนดจัดงานมอบรางวัลในเดือนพฤศจิกายน 2551
นายวันชัย กล่าวอีกว่า ธนาคารเดินหน้าสนับสนุนธุรกิจ SME เนื่องจากเป็นภาคธุรกิจสำคัญในการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา ธนาคารได้ปล่อยสินเชื่อ SME ไปแล้วเกือบ 10,000 ล้านบาท ทำให้ปัจจุบันธนาคารมียอดสินเชื่อ SME จำนวน 200,000 ล้านบาท
**BTแจงตราสารที่ถืออยู่เสี่ยงต่ำ**
นายฐาภพ คลี่สุวรรณ ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า ตามที่ปรากฏบทวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ เกี่ยวกับเงินลงทุนในต่างประเทศของธนาคารตามที่เป็นข่าวในสื่อต่างๆ นั้น จึงใคร่ขอเรียนชี้แจงว่า ธนาคารได้จำหน่ายเงินลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ ประเภท CDO (Collateralized Debt Obligation) ไปทั้งหมดเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2551 ซึ่งมีผลให้ธนาคารมีกำไรจากการจำหน่ายตราสาร CDO จำนวน 970 ล้านบาท และจะรับรู้กำไรในไตรมาสที่ 3 นี้
ส่วนตราสารหนี้ที่เหลืออยู่ในปัจจุบันธนาคารได้รับชำระคืนเงินลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศตามลำดับ โดยธนาคารจะได้รับเงินคืนจากตราสารหนี้ที่ธนาคารเข้าไปลงทุนในเดือนกันยายนนี้เป็นจำนวนเงิน 190 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศมีแนวโน้มจะปรับลดลงทำให้ผู้ออกตราสารหนี้ดังกล่าวทยอยคืนเงินลงทุนมาให้ก่อนครบกำหนด ทำให้ยอดเงินลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศคงค้างของธนาคารลดลงเหลือเพียง 410 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในสิ้นเดือนกันยายน นี้
สำหรับยอดเงินลงทุนคงค้างรวมจำนวน 410 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ดังกล่าวนั้น แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ตราสารหนี้ภาครัฐ หรือมีรัฐบาลต่างประเทศค้ำประกันเงินต้น จำนวน 190 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งตราสารดังกล่าวไม่นับเป็นสินทรัพย์เสี่ยงตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยแบ่งเป็นตราสารหนี้จำนวน 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นพันธบัตรรัฐบาลเกาหลี และตราสารหนี้จำนวน 140 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์กรภาครัฐและมีรัฐบาลเยอรมนี หรือรัฐบาลแคนาดา เป็นผู้ค้ำประกัน
ส่วนเงินลงทุนจำนวน 220 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่เหลือนั้นเป็นการลงทุนในตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสูงตั้งแต่ระดับ AA- ไปจนถึง AAA เงินลงทุนดังกล่าวนั้น เป็นตราสารหนี้ที่ผู้ออกตราสารเป็นธนาคารขนาดใหญ่ หรือเป็นตราสารที่ได้รับการค้ำประกันเงินต้นจากธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ โดยธนาคารได้กระจายการลงทุนออกไปในธนาคารต่างประเทศหลายประเทศ ได้แก่ ตราสารหนี้ของ Rabobank Nederland NV จำนวนเงิน 30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อันดับเครดิต AAA, ธนาคารลูกของ JPMorgan Chase Bank N.A.จำนวนเงิน 40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อันดับเครดิต AAA, HSBC France เป็นธนาคารในประเทศผรั่งเศส จำนวนเงิน 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อันดับเครดิต AA, Dexia Banque Internationale a Luxembourg จำนวนเงิน 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อันดับเครดิต AA, Royal Bank of Canada จำนวนเงิน 30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อันดับเครดิต AA- และบริษัทในเครือของ KBC Bank NV จำนวนเงิน 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อันดับเครดิต AA-