เลห์แมนพ่นพิษไม่เลิก หลังอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 สั่งฟ้องผู้ต้องหาทุกรายในคดีขายทอดตลาดสินทรัพย์ของ ปรส. กดดัน "วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ" โชว์สปิริตลาออกจากตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการ แบงก์กสิกรไทย มีผล 17 ก.ย. ด้านเอ็มอีแบงก์ยันการลาออกนี้ไม่กระทบต่อการดำเนินงานของแบงก์ เนื่องจากมีผู้บริหารสายงานที่จะดูแลและบริหารงานได้อย่างต่อเนื่อง
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า จากกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ และอัยการได้สั่งฟ้องคดีการขายทอดตลาดสินทรัพย์กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ของ 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องทั้งจาก ปรส. บริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส โฮล ดิ้งอิงค์ กองทุนรวมโกลบอลไทยพร็อพเพอร์ตี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ จำกัด บริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส ประเทศไทย จำกัด ซึ่งการฟ้องร้องครั้งนี้ทำให้มีชื่อนางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ เข้าไปเกี่ยวข้องในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ จำกัด และกองทุนรวมโกลบอลไทย พรอพเพอร์ตี้ ในฐานะที่เป็นคู่สัญญาของบริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส ฯ เมื่อปี 2541
จากกรณีดังกล่าว แม้จะเป็นการดำเนินการในฐานะผู้แทนนิติบุคคล แต่นางวิวรรณ มีความรู้สึกไม่สบายใจ และมีความตั้งใจที่จะจัดการเรื่องคดีดังกล่าวที่ติดมาตั้งแต่เป็นผู้บริหารของบลจ.วรรณ ให้เสร็จสิ้น โดยไม่ให้มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานที่ธนาคารกสิกรไทย จึงได้ขอลาออกจากตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2551 เป็นต้นไป
สำหรับการลาออกของนางวิวรรณ ครั้งนี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของธนาคาร เนื่องจากมีผู้บริหารระดับสูงในสายงานที่จะดูแลและบริหารงานได้อย่างต่อเนื่อง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนหน้านี้ อัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 มีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาทุกรายในคดีการขายทอดตลาดสินทรัพย์ของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ 56 สถาบันการเงิน ที่ถูกปิดกิจการ ขององค์กรเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือ ปรส. ทำให้รัฐเสียหายกว่า 2,000 ล้านบาท โดยให้เหตุผลว่าทุกคนต่างมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด จากเดิมในชั้นสอบสวนอัยการที่ร่วมเป็นคณะพนักงานสอบสวนมีความเห็นให้กันนางวิวรรณไว้เป็นพยานเนื่องจากได้ให้การเป็นประโยชน์ต่อรูปคดี สามารถเชื่อมโยงให้เห็นถึงขบวนการในการกระทำความผิด
สำหรับคดีนี้อัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 มีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหา ประกอบด้วย นายอมเรศ ศิลาอ่อน อดีตประธานคณะกรรมการ ปรส. และนายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ อดีตเลขานุการ ปรส. กับพวกอื่นๆ ซึ่งเป็นนิติบุคคล รวม 6 คน ไปยื่นฟ้องต่อศาลอาญาเมื่อวันที่ 8 ก.ย.ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น และเป็นผู้สนับสนุนพนักงานในการกระทำความผิด โดยศาลมีคำสั่งประทับรับฟ้อง และนัดแถลงเปิดคดี วันที่ 20 ตุลาคมนี้ เวลา 13.30 น.
ทั้งนี้ อัยการโจทก์ยื่นฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งหมดได้ร่วมกันละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการประมูลของ ปรส. คดีการขายสินทรัพย์ให้กับบริษัท เลห์แมน บราเดอร์ โฮลดิ้ง อิงค์ แต่บริษัท เลห์แมนฯ กลับไปโอนขายสิทธิ์ให้กองทุนรวมโกลบอลไทยพร็อพเพอร์ตี้ ซึ่งไม่ได้เป็นผู้เข้าร่วมประมูลตามกฎหมาย เนื่องจากหากทำสัญญากับบริษัท เลห์แมนฯ ทางบริษัทจะต้องมีภาระภาษีรวม 2,000 ล้านบาท ซึ่งกองทุนโกลบอลไทยจัดตั้งขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
อนึ่ง คดีที่เกิดขึ้นในครั้งนี้สืบเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2540 โดยมีมูลเหตุมาจากภายหลังจากที่มีการปิดสถาบันการเงิน 56 แห่งอย่างถาวร รัฐบาลจึงได้ออกพระราชกำหนดจัดตั้งปรส. เพื่อให้ทำหน้าที่บริหารจัดการสินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ถูกปิด ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ของชาติ รวมมูลค่าราว 823,000 ล้านบาท แต่กลับมีการดำเนินการแบบไม่โปร่งใส คือนำหนี้ดีและเสียมารวมกันก่อนจะทำการประมูลแบบเหมารวม ซึ่งทำให้ประเทศต้องสูญเสียเงินเป็นจำนวนมากถึง 6 แสนล้านบาท
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า จากกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ และอัยการได้สั่งฟ้องคดีการขายทอดตลาดสินทรัพย์กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ของ 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องทั้งจาก ปรส. บริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส โฮล ดิ้งอิงค์ กองทุนรวมโกลบอลไทยพร็อพเพอร์ตี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ จำกัด บริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส ประเทศไทย จำกัด ซึ่งการฟ้องร้องครั้งนี้ทำให้มีชื่อนางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ เข้าไปเกี่ยวข้องในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ จำกัด และกองทุนรวมโกลบอลไทย พรอพเพอร์ตี้ ในฐานะที่เป็นคู่สัญญาของบริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส ฯ เมื่อปี 2541
จากกรณีดังกล่าว แม้จะเป็นการดำเนินการในฐานะผู้แทนนิติบุคคล แต่นางวิวรรณ มีความรู้สึกไม่สบายใจ และมีความตั้งใจที่จะจัดการเรื่องคดีดังกล่าวที่ติดมาตั้งแต่เป็นผู้บริหารของบลจ.วรรณ ให้เสร็จสิ้น โดยไม่ให้มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานที่ธนาคารกสิกรไทย จึงได้ขอลาออกจากตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2551 เป็นต้นไป
สำหรับการลาออกของนางวิวรรณ ครั้งนี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของธนาคาร เนื่องจากมีผู้บริหารระดับสูงในสายงานที่จะดูแลและบริหารงานได้อย่างต่อเนื่อง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนหน้านี้ อัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 มีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาทุกรายในคดีการขายทอดตลาดสินทรัพย์ของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ 56 สถาบันการเงิน ที่ถูกปิดกิจการ ขององค์กรเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือ ปรส. ทำให้รัฐเสียหายกว่า 2,000 ล้านบาท โดยให้เหตุผลว่าทุกคนต่างมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด จากเดิมในชั้นสอบสวนอัยการที่ร่วมเป็นคณะพนักงานสอบสวนมีความเห็นให้กันนางวิวรรณไว้เป็นพยานเนื่องจากได้ให้การเป็นประโยชน์ต่อรูปคดี สามารถเชื่อมโยงให้เห็นถึงขบวนการในการกระทำความผิด
สำหรับคดีนี้อัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 มีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหา ประกอบด้วย นายอมเรศ ศิลาอ่อน อดีตประธานคณะกรรมการ ปรส. และนายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ อดีตเลขานุการ ปรส. กับพวกอื่นๆ ซึ่งเป็นนิติบุคคล รวม 6 คน ไปยื่นฟ้องต่อศาลอาญาเมื่อวันที่ 8 ก.ย.ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น และเป็นผู้สนับสนุนพนักงานในการกระทำความผิด โดยศาลมีคำสั่งประทับรับฟ้อง และนัดแถลงเปิดคดี วันที่ 20 ตุลาคมนี้ เวลา 13.30 น.
ทั้งนี้ อัยการโจทก์ยื่นฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งหมดได้ร่วมกันละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการประมูลของ ปรส. คดีการขายสินทรัพย์ให้กับบริษัท เลห์แมน บราเดอร์ โฮลดิ้ง อิงค์ แต่บริษัท เลห์แมนฯ กลับไปโอนขายสิทธิ์ให้กองทุนรวมโกลบอลไทยพร็อพเพอร์ตี้ ซึ่งไม่ได้เป็นผู้เข้าร่วมประมูลตามกฎหมาย เนื่องจากหากทำสัญญากับบริษัท เลห์แมนฯ ทางบริษัทจะต้องมีภาระภาษีรวม 2,000 ล้านบาท ซึ่งกองทุนโกลบอลไทยจัดตั้งขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
อนึ่ง คดีที่เกิดขึ้นในครั้งนี้สืบเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2540 โดยมีมูลเหตุมาจากภายหลังจากที่มีการปิดสถาบันการเงิน 56 แห่งอย่างถาวร รัฐบาลจึงได้ออกพระราชกำหนดจัดตั้งปรส. เพื่อให้ทำหน้าที่บริหารจัดการสินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ถูกปิด ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ของชาติ รวมมูลค่าราว 823,000 ล้านบาท แต่กลับมีการดำเนินการแบบไม่โปร่งใส คือนำหนี้ดีและเสียมารวมกันก่อนจะทำการประมูลแบบเหมารวม ซึ่งทำให้ประเทศต้องสูญเสียเงินเป็นจำนวนมากถึง 6 แสนล้านบาท