ดีเอสไอ ส่งสำนวนให้อัยการสั่งคดี เลขาธิการ ปรส. กับพวก รวม 8 ราย ทุจริตขายสินทรัพย์ 56 สถาบันการเงิน มูลค่าความเสียหายกว่า 2,000 ล้านบาท
วันนี้ (11 ส.ค.) ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถ.รัชดาภิเษก นายธาริต เพ็งดิษฐ์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีขายทอดตลาดสินทรัพย์ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ของ 56 สถาบันการเงิน ที่ถูกปิดกิจการขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) มูลค่าความเสียหายกว่า 2,000 ล้านบาท นำสำนวนการสอบสวนจำนวน 11 กล่อง 41 แฟ้ม และความเห็นสมควรสั่งฟ้อง ผู้ต้องหาคดี ปรส.รวม 8 ราย ประกอบ 1.นายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ เลขาธิการ ปรส.2.บริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส โฮสดิ้ง อิงค์ 3.นายคาร์รอส มานาแลค ชาวฟิลิปปินส์ อายุ 42 ปี (ซึ่งขณะนี้ได้หลบหนีคดี) 4.กองทุนรวมโกลบอลไทยพร็อพเพอร์ตี้ 5.บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนวรรณ 6.นางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ 7.นายอมเรศ ศิลาอ่อน ประธานกรรมการบริหาร ปรส.และ 8.บริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส ประเทศไทย จำกัด มาส่งมอบให้ นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ พิจารณาสั่งคดีที่ดีเอสมีความเห็นสมควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 8 ราย ข้อหาเป็นพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือ สนับสนุนพนักงานละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ตามประมวลอาญา มาตรา 157 มีโทษจำคุก 1-10 ปี ปรับตั้งแต่ 2,000-20,000 บาท ทั้งนี้ อัยการได้รับพิจารณาและคาดว่าจะสามารถสั่งฟ้องคดีได้ภายใน 60 วัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีนี้ เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.2541 - 1 ต.ค.2541 ผู้ต้องหาได้ร่วมกันละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการประมูลของ ปรส.คดีการขายสินทรัพย์ ให้กับบริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส โฮลดิ้ง อิงค์ ที่เป็นผู้ชนะการประมูลในราคา 11,520 ล้านบาท จากราคาสินทรัพย์ ประมาณ 24,616 ล้านบาท ของยอดหนี้คงค้าง แต่บริษัท เลห์แมนฯ กลับไปโอนขายสิทธิให้กองทุนรวมโกลบอลไทย พร็อพเพอร์ตี้ ซึ่งไม่ได้เป็นผู้ประมูลตามกฎหมาย เนื่องจากหากทำสัญญากับบริษัท เลห์แมนฯ บริษัทจะต้องมีภาระภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ แต่การประมูลขายให้กับกองทุนรวมจะได้รับการยกเว้นภาษีทั้งหมด มูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท ที่ผ่านมา จึงมีการกล่าวหาว่ากองทุนรวมดังกล่าวจัดตั้งขึ้นโดยไม่ชอบตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ สำหรับการร้องทุกข์กล่าวโทษคดีการขายทรัพย์สินของ ปรส.จากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 มีการนำสินทรัพย์ของ 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการมาประมูลขาย จำนวน 7 ครั้ง สินทรัพย์มีมูลค่า 600,243 ล้านบาท แต่มีการประมูลขายได้เงินเพียงประมาณ 150,026 ล้านบาท โดยบริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส ไทยแลนด์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาด้านการขาย ปรส.จึงถูกกล่าวหาว่า ดำเนินการขายสินทรัพย์โดยมิชอบ ทั้งขั้นตอนการเข้าทำสัญญา คุณสมบัติผู้เข้าทำสัญญา ซึ่งไม่ได้เป็นผู้เข้าประมูลตามกฎหมาย การจัดตั้งกองทุนรวมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากในวันประมูลกองทุนรวมยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นต้น
วันนี้ (11 ส.ค.) ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถ.รัชดาภิเษก นายธาริต เพ็งดิษฐ์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีขายทอดตลาดสินทรัพย์ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ของ 56 สถาบันการเงิน ที่ถูกปิดกิจการขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) มูลค่าความเสียหายกว่า 2,000 ล้านบาท นำสำนวนการสอบสวนจำนวน 11 กล่อง 41 แฟ้ม และความเห็นสมควรสั่งฟ้อง ผู้ต้องหาคดี ปรส.รวม 8 ราย ประกอบ 1.นายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ เลขาธิการ ปรส.2.บริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส โฮสดิ้ง อิงค์ 3.นายคาร์รอส มานาแลค ชาวฟิลิปปินส์ อายุ 42 ปี (ซึ่งขณะนี้ได้หลบหนีคดี) 4.กองทุนรวมโกลบอลไทยพร็อพเพอร์ตี้ 5.บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนวรรณ 6.นางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ 7.นายอมเรศ ศิลาอ่อน ประธานกรรมการบริหาร ปรส.และ 8.บริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส ประเทศไทย จำกัด มาส่งมอบให้ นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ พิจารณาสั่งคดีที่ดีเอสมีความเห็นสมควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 8 ราย ข้อหาเป็นพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือ สนับสนุนพนักงานละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ตามประมวลอาญา มาตรา 157 มีโทษจำคุก 1-10 ปี ปรับตั้งแต่ 2,000-20,000 บาท ทั้งนี้ อัยการได้รับพิจารณาและคาดว่าจะสามารถสั่งฟ้องคดีได้ภายใน 60 วัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีนี้ เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.2541 - 1 ต.ค.2541 ผู้ต้องหาได้ร่วมกันละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการประมูลของ ปรส.คดีการขายสินทรัพย์ ให้กับบริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส โฮลดิ้ง อิงค์ ที่เป็นผู้ชนะการประมูลในราคา 11,520 ล้านบาท จากราคาสินทรัพย์ ประมาณ 24,616 ล้านบาท ของยอดหนี้คงค้าง แต่บริษัท เลห์แมนฯ กลับไปโอนขายสิทธิให้กองทุนรวมโกลบอลไทย พร็อพเพอร์ตี้ ซึ่งไม่ได้เป็นผู้ประมูลตามกฎหมาย เนื่องจากหากทำสัญญากับบริษัท เลห์แมนฯ บริษัทจะต้องมีภาระภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ แต่การประมูลขายให้กับกองทุนรวมจะได้รับการยกเว้นภาษีทั้งหมด มูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท ที่ผ่านมา จึงมีการกล่าวหาว่ากองทุนรวมดังกล่าวจัดตั้งขึ้นโดยไม่ชอบตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ สำหรับการร้องทุกข์กล่าวโทษคดีการขายทรัพย์สินของ ปรส.จากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 มีการนำสินทรัพย์ของ 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการมาประมูลขาย จำนวน 7 ครั้ง สินทรัพย์มีมูลค่า 600,243 ล้านบาท แต่มีการประมูลขายได้เงินเพียงประมาณ 150,026 ล้านบาท โดยบริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส ไทยแลนด์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาด้านการขาย ปรส.จึงถูกกล่าวหาว่า ดำเนินการขายสินทรัพย์โดยมิชอบ ทั้งขั้นตอนการเข้าทำสัญญา คุณสมบัติผู้เข้าทำสัญญา ซึ่งไม่ได้เป็นผู้เข้าประมูลตามกฎหมาย การจัดตั้งกองทุนรวมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากในวันประมูลกองทุนรวมยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นต้น