ค่าเงินบาทผันผวน ปัจจัยทั้งภายใน-ภายนอกรุมเร้า โดยแข็งค่าขึ้นในช่วงเช้าและกลับอ่อนค่าลงในช่วงบ่ายจากแรงเข้าซื้อเงินดอลลาร์ นักค้าเงินชี้ต้องจับตาดูวันต่อวันทั้งปัจจัยภายนอกที่วิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐจะกลับมาอีกครั้ง รวมถึงปัจจัยภายในที่จะมีการเสนอชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นักค้าเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า ค่าเงินบาทวานนี้เปิดตลาดที่ระดับ 34.57-34.61 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังเปิดตลาดเงินบาทแข็งค่าขึ้นตามทิศทางค่าเงินภูมิภาคและเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าจากกรณีการประสบปัญหาทางการเงินของบริษัทเลห์แมน บราเธอร์ โดยเงินบาทแข็งค่าสุดของวันที่ระดับ 34.51 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ในช่วงบ่ายของวันเงินบาทกลับอ่อนค่าลงจนกระทั่งมาปิดตลาดในระดับใกล้เคียงกับช่วงเปิดตลาดที่ 34.58-34.62 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทนั้น มาจากเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนตัวลงเมื่อเกิดกรณีของเลห์แมนฯขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวิกฤตของสถาบันการเงินสหรัฐฯกำลังจะกลับมาอีกรอบ แต่ในช่วงบ่ายเงินดอลลาร์สหรัฐก็กลับมาแข็งค่าขึ้นอีก เกิดจากความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐเพิ่ม เพราะคาดว่าจะต้องมีการโยกเงินกลับมาแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินในสหรัฐฯ ซึ่งก็ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงมาถึงระดับปิดตลาด
"ปัจจัยที่เข้ามากดดันค่าเงินบาทวานนี้ได้เปลี่ยนจากปัจจัยในประเทศมาเป็นปัจจัยต่างประเทศเป็นหลัก จากเดิมที่แนวโน้มของเงินบาทที่จะอยู่ในทิศทางอ่อนค่าลง ก็จะมีความผันผวนมากขึ้น"นักค้าเงินกล่าว
สำหรับทิศทางค่าเงินบาทวันนี้ ยังคงต้องจับตาดูปัจจัยภายนอกประเทศเป็นหลัก เนื่องจากยังคงมีความกังวลว่าจะมีสถาบันการเงินอีกหลายแห่งที่ประสบปัญหาตามมา อาทิ เอไอจี เมอร์ลิน ลินช์ เป็นต้น ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศก็ยังคงเป็นเรื่องการเมือง ซึ่งจะมีจุดสำคัญไปที่วันที่ 17 กันยายนที่เป็นที่จะเสนอผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยกรอบการเคลื่อนไหวกว้างของเงินบาทจะอยู่ที่ระดับ 34.50-34.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
"การเคลื่อนไหวต่างๆช่วงนี้ต้องดูกันวันต่อวัน โดยเฉพาะปัจจัยต่างประเทศ ขณะที่ปัจจัยภายในของไทยก็จะโฟกัสไปที่วันพุธเลยที่จะมีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ส่วนการเข้ามาดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น เชื่อว่าก็คงจะเข้ามาดูอยู่อย่างวานนี้ในช่วงที่เงินบาทแตะ 34.61-62 ก็เห็นสัญญาณการเข้ามาอยู่บ้าง ไม่งั้นก็อาจจะอ่อนค่าลงกว่านี้"นักค้าเงินกล่าว
นักค้าเงินธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL กล่าวว่า ค่าเงินบาทวานนี้ (15 ก.ย.) ปิดตลาดที่ 34.58-34.61 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ จากช่วงเช้าเปิดตลาดที่ 34.58-34.62 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยระหว่างวันการเคลื่อนไหวของค่าเงินค่อนข้างผันผวน และแตะระดับแข็งค่าสุดที่ 34.51 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และอ่อนค่าสุดที่ 34.62 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้นมาจากการค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯได้อ่อนค่าลง รวมถึงการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินในกรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้สิ่งที่จะต้องติดตามในวันนี้ (16 ก.ย.) คือแนวทางการแก้ไขปัญหาของเลห์แมนฯ ว่าเป็นไปอย่างไร รวมถึงสถานการณ์ภายในประเทศว่าจะเป็นอย่างไร สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทประเมินว่าจะอยู่ที่ 34.55-34.65 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ที่ 34.50-34.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัญ โดยปัจจัยที่ควรจับตายังคงเป็นปัจจัยเดิมๆ ได้แก่ สถานการณ์การเมืองในประเทศ สัญญาณการเข้าดูแลเสถียรภาพตลาดของธปท. แรงซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐ ของผู้นำเข้าและนักลงทุนต่างชาติ และทิศทางของสกุลเงินในภูมิภาค
รวมถึงทิศทางค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะขึ้นกับรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญประกอบด้วย ผลสำรวจภาคการผลิตจัดทำโดยเฟดสาขานิวยอร์ก ผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจจัดทำโดยเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยจัดทำโดยสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) เดือนกันยายน ดัชนีราคาผู้บริโภค ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้าง ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังผลิต ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจจัดทำโดย Conference Board เดือนสิงหาคม ข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิสู่ตลาดการเงินสหรัฐฯ เดือนกรกฎาคม และดุลบัญชีเดินสะพัดประจำไตรมาส 2/2551 นอกจากนี้ ตลาดการเงินยังจับตาผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในวันที่ 16 กันยายน อีกด้วย
นักค้าเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า ค่าเงินบาทวานนี้เปิดตลาดที่ระดับ 34.57-34.61 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังเปิดตลาดเงินบาทแข็งค่าขึ้นตามทิศทางค่าเงินภูมิภาคและเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าจากกรณีการประสบปัญหาทางการเงินของบริษัทเลห์แมน บราเธอร์ โดยเงินบาทแข็งค่าสุดของวันที่ระดับ 34.51 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ในช่วงบ่ายของวันเงินบาทกลับอ่อนค่าลงจนกระทั่งมาปิดตลาดในระดับใกล้เคียงกับช่วงเปิดตลาดที่ 34.58-34.62 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทนั้น มาจากเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนตัวลงเมื่อเกิดกรณีของเลห์แมนฯขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวิกฤตของสถาบันการเงินสหรัฐฯกำลังจะกลับมาอีกรอบ แต่ในช่วงบ่ายเงินดอลลาร์สหรัฐก็กลับมาแข็งค่าขึ้นอีก เกิดจากความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐเพิ่ม เพราะคาดว่าจะต้องมีการโยกเงินกลับมาแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินในสหรัฐฯ ซึ่งก็ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงมาถึงระดับปิดตลาด
"ปัจจัยที่เข้ามากดดันค่าเงินบาทวานนี้ได้เปลี่ยนจากปัจจัยในประเทศมาเป็นปัจจัยต่างประเทศเป็นหลัก จากเดิมที่แนวโน้มของเงินบาทที่จะอยู่ในทิศทางอ่อนค่าลง ก็จะมีความผันผวนมากขึ้น"นักค้าเงินกล่าว
สำหรับทิศทางค่าเงินบาทวันนี้ ยังคงต้องจับตาดูปัจจัยภายนอกประเทศเป็นหลัก เนื่องจากยังคงมีความกังวลว่าจะมีสถาบันการเงินอีกหลายแห่งที่ประสบปัญหาตามมา อาทิ เอไอจี เมอร์ลิน ลินช์ เป็นต้น ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศก็ยังคงเป็นเรื่องการเมือง ซึ่งจะมีจุดสำคัญไปที่วันที่ 17 กันยายนที่เป็นที่จะเสนอผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยกรอบการเคลื่อนไหวกว้างของเงินบาทจะอยู่ที่ระดับ 34.50-34.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
"การเคลื่อนไหวต่างๆช่วงนี้ต้องดูกันวันต่อวัน โดยเฉพาะปัจจัยต่างประเทศ ขณะที่ปัจจัยภายในของไทยก็จะโฟกัสไปที่วันพุธเลยที่จะมีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ส่วนการเข้ามาดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น เชื่อว่าก็คงจะเข้ามาดูอยู่อย่างวานนี้ในช่วงที่เงินบาทแตะ 34.61-62 ก็เห็นสัญญาณการเข้ามาอยู่บ้าง ไม่งั้นก็อาจจะอ่อนค่าลงกว่านี้"นักค้าเงินกล่าว
นักค้าเงินธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL กล่าวว่า ค่าเงินบาทวานนี้ (15 ก.ย.) ปิดตลาดที่ 34.58-34.61 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ จากช่วงเช้าเปิดตลาดที่ 34.58-34.62 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยระหว่างวันการเคลื่อนไหวของค่าเงินค่อนข้างผันผวน และแตะระดับแข็งค่าสุดที่ 34.51 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และอ่อนค่าสุดที่ 34.62 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้นมาจากการค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯได้อ่อนค่าลง รวมถึงการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินในกรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้สิ่งที่จะต้องติดตามในวันนี้ (16 ก.ย.) คือแนวทางการแก้ไขปัญหาของเลห์แมนฯ ว่าเป็นไปอย่างไร รวมถึงสถานการณ์ภายในประเทศว่าจะเป็นอย่างไร สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทประเมินว่าจะอยู่ที่ 34.55-34.65 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ที่ 34.50-34.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัญ โดยปัจจัยที่ควรจับตายังคงเป็นปัจจัยเดิมๆ ได้แก่ สถานการณ์การเมืองในประเทศ สัญญาณการเข้าดูแลเสถียรภาพตลาดของธปท. แรงซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐ ของผู้นำเข้าและนักลงทุนต่างชาติ และทิศทางของสกุลเงินในภูมิภาค
รวมถึงทิศทางค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะขึ้นกับรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญประกอบด้วย ผลสำรวจภาคการผลิตจัดทำโดยเฟดสาขานิวยอร์ก ผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจจัดทำโดยเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยจัดทำโดยสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) เดือนกันยายน ดัชนีราคาผู้บริโภค ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้าง ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังผลิต ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจจัดทำโดย Conference Board เดือนสิงหาคม ข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิสู่ตลาดการเงินสหรัฐฯ เดือนกรกฎาคม และดุลบัญชีเดินสะพัดประจำไตรมาส 2/2551 นอกจากนี้ ตลาดการเงินยังจับตาผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในวันที่ 16 กันยายน อีกด้วย