ธปท.คาด ปัญหา เลห์แมนฯ อาจส่งผลต่อสภาพคล่องบ้าง หากต่างชาติโยกเงินกลับไปอุดสถานการณ์ในบ้านตนเอง เผย จับตาใกล้ชิดเป็นรายวัน หวั่นซ้ำรอบซับไพรม์ครั้งก่อน
วันนี้ (15 ก.ย.) นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีผลกระทบจากกรณีปัญหาของ เลห์แมน บราเธอร์ส วาณิชธนกิจขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ ที่กำลังมีปัญหาล้มละลาย เชื่อว่า จะส่งผลมาถึงฐานะของสถาบันการเงินไทยคงมีไม่มาก เพราะไม่ได้มีสาขาในไทย อีกทั้งธุรกรรมที่มีกับสถาบันการเงินไทยน้อยกว่าการลงทุนในตราสารการเงินประเภท CDO
“ผมมองว่า ผลกระทบต่อแบงก์ของไทยจะมีจำกัด และไม่กระทบต่อฐานะแบงก์ไทย เพราะว่าส่วนหนึ่งมีความระมัดระวังในการลงทุนต่างประเทศ การลงทุนในแง่ของสินเชื่อและอนุพันธ์ อยู่ในเกณฑ์ต่ำจากตัวเลขนี้ผลกระทบทางตรงจึงมีไม่มาก และที่สำคัญ ธปท.มีการกำชับเรื่องความเสี่ยง จึงเชื่อว่า วิกฤตครั้งนี้ จะไม่กระทบสถานะความมั่นคงของสถาบันการเงินไทย นอกจากนี้ มองว่า ระบบธนาคารของไทยยังแข็งแกร่งสูง เพราะการปล่อยสินเชื่อส่วนใหญ่เป็นการระดมทุนและสภาพคล่องจากภายในประเทศ”
นายบัณฑิต ยืนยันว่า ฐานะของธนาคารพาณิชย์ไทยในปัจจุบันมีความเข้มแข็ง โดยในช่วงไตรมาส 1-2 ที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์มีกำไรในระดับสูง หนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) ลดน้อยต่อเนื่อง กองทุนต่อสินทรัพย์เสียง (BIS) มีความเหมาะสมเพียงพอ โดยทั้งระบบอยู่ที่ 15.2% เทียบกับเกณขั้นต่ำที่ 8.5%
นอกจากนี้ ตัวเลขธุรกรรมระหว่างสถาบันการเงินไทย กับ เลห์แมนฯ สินเชื่อและการลงทุนในเดือน ก.ค.จากธนาคารพาณิชย์ไทย 14 แห่ง มีประมาณ 4,300 ล้านบาท และน้อยมากถ้าเทียบกับเงินลงทุนนอกประเทศของระบบสถาบันการเงินที่ไปลงทุนต่างประเทศ 1.02 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 1.3% ของสินทรัพย์รวมธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม ใน 1-2 เดือน ภาวะตลาดของสหรัฐอเมริกามีความเสี่ยงที่ต้องติดตาม โดยเฉพาะประเด็นเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้ายที่คาดว่าจะมีการถอนเงินลงทุนกลับไปแก้ปัญหาในสหรัฐฯ คล้ายกับช่วงต้นปีที่มีการโยกเงินกลับไปแก้ปัญหาผลกระทบจากตลาดสินเชื่อจำนองบ้าน (ซับไพรม์) เช่นกัน ซึ่งอาจทำให้สภาพคล่องในประเทศหดตัวลง ธปท.จะติดตามอย่างใกล้ชิด และดูตัวเลขเป็นรายวัน ซึ่งหลักๆ ก็ดูจากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ของนักลงทุน
ทั้งนี้ ผลกระทบจากปัญหาสถาบันการเงินในสหรัฐฯ ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง และส่งผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย โดยจะเห็นเงินไหลออกอย่างต่อเนื่องจากที่เคยเห็นตั้งแต่ต้นปี ซึ่งนักลงทุนจะมีการโยกเงินจากตลาดเอเชียกลับไปยังสหรัฐฯ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับประเทศแม่แทน โดยมองว่าเรื่องนี้จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อีกทั้งการแก้ปัญหาเรื่องสถาบันการเงินนี้อยู่ในช่วงของการปรับตัว ซึ่งปัญหาต่างๆ ยังไม่ยุติโดยเร็ว และการปรับตัวใช้เวลานาน ก็จะกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ จึงมองว่า ใน 1-2 เดือนนี้ภาวะเศรษฐกิจโลกเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
วันนี้ (15 ก.ย.) นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีผลกระทบจากกรณีปัญหาของ เลห์แมน บราเธอร์ส วาณิชธนกิจขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ ที่กำลังมีปัญหาล้มละลาย เชื่อว่า จะส่งผลมาถึงฐานะของสถาบันการเงินไทยคงมีไม่มาก เพราะไม่ได้มีสาขาในไทย อีกทั้งธุรกรรมที่มีกับสถาบันการเงินไทยน้อยกว่าการลงทุนในตราสารการเงินประเภท CDO
“ผมมองว่า ผลกระทบต่อแบงก์ของไทยจะมีจำกัด และไม่กระทบต่อฐานะแบงก์ไทย เพราะว่าส่วนหนึ่งมีความระมัดระวังในการลงทุนต่างประเทศ การลงทุนในแง่ของสินเชื่อและอนุพันธ์ อยู่ในเกณฑ์ต่ำจากตัวเลขนี้ผลกระทบทางตรงจึงมีไม่มาก และที่สำคัญ ธปท.มีการกำชับเรื่องความเสี่ยง จึงเชื่อว่า วิกฤตครั้งนี้ จะไม่กระทบสถานะความมั่นคงของสถาบันการเงินไทย นอกจากนี้ มองว่า ระบบธนาคารของไทยยังแข็งแกร่งสูง เพราะการปล่อยสินเชื่อส่วนใหญ่เป็นการระดมทุนและสภาพคล่องจากภายในประเทศ”
นายบัณฑิต ยืนยันว่า ฐานะของธนาคารพาณิชย์ไทยในปัจจุบันมีความเข้มแข็ง โดยในช่วงไตรมาส 1-2 ที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์มีกำไรในระดับสูง หนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) ลดน้อยต่อเนื่อง กองทุนต่อสินทรัพย์เสียง (BIS) มีความเหมาะสมเพียงพอ โดยทั้งระบบอยู่ที่ 15.2% เทียบกับเกณขั้นต่ำที่ 8.5%
นอกจากนี้ ตัวเลขธุรกรรมระหว่างสถาบันการเงินไทย กับ เลห์แมนฯ สินเชื่อและการลงทุนในเดือน ก.ค.จากธนาคารพาณิชย์ไทย 14 แห่ง มีประมาณ 4,300 ล้านบาท และน้อยมากถ้าเทียบกับเงินลงทุนนอกประเทศของระบบสถาบันการเงินที่ไปลงทุนต่างประเทศ 1.02 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 1.3% ของสินทรัพย์รวมธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม ใน 1-2 เดือน ภาวะตลาดของสหรัฐอเมริกามีความเสี่ยงที่ต้องติดตาม โดยเฉพาะประเด็นเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้ายที่คาดว่าจะมีการถอนเงินลงทุนกลับไปแก้ปัญหาในสหรัฐฯ คล้ายกับช่วงต้นปีที่มีการโยกเงินกลับไปแก้ปัญหาผลกระทบจากตลาดสินเชื่อจำนองบ้าน (ซับไพรม์) เช่นกัน ซึ่งอาจทำให้สภาพคล่องในประเทศหดตัวลง ธปท.จะติดตามอย่างใกล้ชิด และดูตัวเลขเป็นรายวัน ซึ่งหลักๆ ก็ดูจากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ของนักลงทุน
ทั้งนี้ ผลกระทบจากปัญหาสถาบันการเงินในสหรัฐฯ ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง และส่งผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย โดยจะเห็นเงินไหลออกอย่างต่อเนื่องจากที่เคยเห็นตั้งแต่ต้นปี ซึ่งนักลงทุนจะมีการโยกเงินจากตลาดเอเชียกลับไปยังสหรัฐฯ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับประเทศแม่แทน โดยมองว่าเรื่องนี้จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อีกทั้งการแก้ปัญหาเรื่องสถาบันการเงินนี้อยู่ในช่วงของการปรับตัว ซึ่งปัญหาต่างๆ ยังไม่ยุติโดยเร็ว และการปรับตัวใช้เวลานาน ก็จะกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ จึงมองว่า ใน 1-2 เดือนนี้ภาวะเศรษฐกิจโลกเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด