"ศานิต" เผยกลุ่มแพทย์พันธมิตรฯ ขู่ไม่จ่ายภาษี ไม่กระทบรัฐบาล พร้อมเดินหน้าปฏิรูปช่องโหว่เลี่ยงภาษีตามแผนระยะยาว ปิดปากให้ความเห็นศาลปกครองไต่สวนคำร้องไทยพาณิชย์ยื่นกรณีสรรพากรให้ถอนอายัดเงินโอ๊คเอมเป็นค่าภาษี ขณะที่ปลัดคลังโผล่แสดงความกังวลการเมืองกระทบการระดมทุนของประเทศ เสนอรัฐบาลสางปัญหาด่วน
นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า การที่แพทย์บางกลุ่มประกาศจะใช้มาตรการไม่เสียภาษีเพื่อต่อต้านรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ไม่ทำให้รัฐบาลเสียหาย แต่การเสียภาษีเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคน และภาษีที่ได้ก็จะนำไปใช้เพื่อประโยชน์ของประชาชน ไม่ใช่เพื่อรัฐบาล และกรมสรรพากรก็มีระบบตรวจสอบผู้ที่ไม่เสียภาษีอยู่แล้ว
ส่วนความคืบหน้าที่ได้รับมอบรายงานการศึกษาวิจัย "โครงการศึกษาและพัฒนาประมวลรัษฎากร"จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายศานิต กล่าวว่า กฎหมายภาษีสรรพากรล้าสมัยเกือบ 70 ปี จึงต้องมีการแก้ไขปรับปรุงให้สอดคล้องสถานการณ์ปัจจุบัน โดยสิ่งที่ต้องแก้ไขมีทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีธุรกิจข้ามชาติ
นายธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสาตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ทางจุฬาฯ ได้ศึกษาภาษีสรรพากรมากว่า 1 ปีแล้ว ซึ่งที่เสนอการแก้ไขมีถึง 16 ด้าน เช่น การเสนอปรับเปลี่ยนระบบการหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม สะดวกแก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยเสนอให้จัดเก็บอัตราเดียว เพื่อหลีกเลี่ยงเอกชนบางแห่งแยกสัญญาหวังลดภาระการจ่ายภาษี การกำหนดให้หญิงที่มีสามีควรแยกการจ่ายภาษี การรวมกลุ่มของคณะบุคคลในการทำธุรกิจเสนอให้แยกรายได้ให้แต่ละบุคคลเพื่อเสียภาษี การเพิ่มข้อบัญญัติป้องกันการหลีกเลี่ยงการเสียภาษี เพราะปัจจุบันจะใช้กฎหมายแพ่งในการป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษี แต่ไม่สามารถครอบคลุมได้ทั้งหมด การเสียภาษีซ้อนของเอกชนไทยที่ไปทำธุรกิจในต่างประเทศ โดยจะมีการจัดรูปแบบภาษีให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า กฎหมายภาษีสรรพากรมีการใช้มานาน ภาคเอกชนส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะมีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อความถูกต้องและเป็นธรรม เพื่อให้ผู้ที่เสียภาษีเต็มใจเสียภาษีและสามารถดึงผู้ที่ไม่เคยเสียภาษีเข้าสู่ระบบมากขึ้น
นายปรีชา พานิชวงศ์ ประธานมูลนิธิสนับสนุนการพัฒนาวิชาการทางนิติศาสตร์ จุฬาฯ ในฐานะที่ปรึกษาศาลปกครองสูงสุด กล่าวว่า ได้ทำงานอยู่ที่ศาลมากกว่า 30 ปี แม้จะเป็นผู้พิพากษาก็ยังทำความเข้าใจยากในการใช้กฎหมายรัษฎากร ดังนั้น เมื่อจะบังคับให้ประชาชนจ่ายภาษีก็ควรปรับปรุงให้กฎหมายอ่านและเข้าใจง่ายต่อการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความชัดเจนแก่ประชาชนและลดปัญหาข้อโต้แย้งทางกฎหมายในปัจจุบัน
นายศานิตยังกล่าวปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการที่ศาลปกครองกลางรับคดีพิพาท กรณีกรมสรรพากรมีคำสั่งให้ธนาคารไทยพาณิชย์เพิกถอนการอายัดเงินในบัญชีของ น.ส.พิณทองทา และนายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรสาวและบุตรชาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี 12,000 ล้านบาท เพื่อนำไปชำระค่าภาษีอากร พร้อมมีคำสั่งให้ธนาคารส่งเอกสารเพิ่มเติมภายใน 3 วัน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาคดี โดยนายศานิตกล่าวเพียงสั้นๆ ว่า ขณะนี้เรื่องอยู่ในกระบวนการของศาล
ทั้งนี้ การไต่สวนเมื่อวันที่ 4 ก.ย.ที่ผ่านมา ไม่มีตัวแทนกรมสรรพากรเข้าให้ข้อมูลแต่อย่างใด ขณะที่นายศานิตเองเป็นทั้งอธิบดีกรมสรรพากรและคณะกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ปัญหาการเมืองที่ยืดเยื้อ และการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน กระทบต่อการกู้เงิน เพื่อระดมทุนของภาครัฐและเอกชน เนื่องจากสถาบันการเงินเจ้าหนี้จะคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงขึ้นตามความเสี่ยง ดังนั้นภาคการเมืองต้องแร่งแก้ไขปัญหาให้เสร็จภายในปีนี้ เนื่องจากในปีหน้ารัฐบาลมีความจำเป็นต้องกู้เงินจากต่างประเทศจำนวนมากเพื่อดำเนินโครงการเมกะโปรเจกต์ ซึ่งหากปัญหายังยืดเยื้อ การกู้เงินของภาครัฐและเอกชนจะทำได้ยาก และมีต้นทุนทางการเงินสูงขึ้นไปอีก
สำหรับแผนการกู้เงินของภาครัฐและเอกชนในขณะนี้คงต้องชะลอไปก่อน จนกว่ารัฐบาลจะคลี่คลายสถานการณ์ได้ โดยกระทรวงการคลังจะเร่งชี้แจงไปยังสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลก ให้เข้าใจถึงข้อมูลทางเศรษฐกิจ และน้ำหนักของความรุนแรงของสถานการณ์ในประเทศว่ามีแนวโน้มคลี่คลายอย่างไร เพื่อไม่ให้มีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย จากระดับ "มีเสถียรภาพ" ลงไปสู่ "ไม่น่าลงทุน"
นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า การที่แพทย์บางกลุ่มประกาศจะใช้มาตรการไม่เสียภาษีเพื่อต่อต้านรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ไม่ทำให้รัฐบาลเสียหาย แต่การเสียภาษีเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคน และภาษีที่ได้ก็จะนำไปใช้เพื่อประโยชน์ของประชาชน ไม่ใช่เพื่อรัฐบาล และกรมสรรพากรก็มีระบบตรวจสอบผู้ที่ไม่เสียภาษีอยู่แล้ว
ส่วนความคืบหน้าที่ได้รับมอบรายงานการศึกษาวิจัย "โครงการศึกษาและพัฒนาประมวลรัษฎากร"จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายศานิต กล่าวว่า กฎหมายภาษีสรรพากรล้าสมัยเกือบ 70 ปี จึงต้องมีการแก้ไขปรับปรุงให้สอดคล้องสถานการณ์ปัจจุบัน โดยสิ่งที่ต้องแก้ไขมีทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีธุรกิจข้ามชาติ
นายธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสาตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ทางจุฬาฯ ได้ศึกษาภาษีสรรพากรมากว่า 1 ปีแล้ว ซึ่งที่เสนอการแก้ไขมีถึง 16 ด้าน เช่น การเสนอปรับเปลี่ยนระบบการหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม สะดวกแก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยเสนอให้จัดเก็บอัตราเดียว เพื่อหลีกเลี่ยงเอกชนบางแห่งแยกสัญญาหวังลดภาระการจ่ายภาษี การกำหนดให้หญิงที่มีสามีควรแยกการจ่ายภาษี การรวมกลุ่มของคณะบุคคลในการทำธุรกิจเสนอให้แยกรายได้ให้แต่ละบุคคลเพื่อเสียภาษี การเพิ่มข้อบัญญัติป้องกันการหลีกเลี่ยงการเสียภาษี เพราะปัจจุบันจะใช้กฎหมายแพ่งในการป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษี แต่ไม่สามารถครอบคลุมได้ทั้งหมด การเสียภาษีซ้อนของเอกชนไทยที่ไปทำธุรกิจในต่างประเทศ โดยจะมีการจัดรูปแบบภาษีให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า กฎหมายภาษีสรรพากรมีการใช้มานาน ภาคเอกชนส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะมีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อความถูกต้องและเป็นธรรม เพื่อให้ผู้ที่เสียภาษีเต็มใจเสียภาษีและสามารถดึงผู้ที่ไม่เคยเสียภาษีเข้าสู่ระบบมากขึ้น
นายปรีชา พานิชวงศ์ ประธานมูลนิธิสนับสนุนการพัฒนาวิชาการทางนิติศาสตร์ จุฬาฯ ในฐานะที่ปรึกษาศาลปกครองสูงสุด กล่าวว่า ได้ทำงานอยู่ที่ศาลมากกว่า 30 ปี แม้จะเป็นผู้พิพากษาก็ยังทำความเข้าใจยากในการใช้กฎหมายรัษฎากร ดังนั้น เมื่อจะบังคับให้ประชาชนจ่ายภาษีก็ควรปรับปรุงให้กฎหมายอ่านและเข้าใจง่ายต่อการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความชัดเจนแก่ประชาชนและลดปัญหาข้อโต้แย้งทางกฎหมายในปัจจุบัน
นายศานิตยังกล่าวปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการที่ศาลปกครองกลางรับคดีพิพาท กรณีกรมสรรพากรมีคำสั่งให้ธนาคารไทยพาณิชย์เพิกถอนการอายัดเงินในบัญชีของ น.ส.พิณทองทา และนายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรสาวและบุตรชาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี 12,000 ล้านบาท เพื่อนำไปชำระค่าภาษีอากร พร้อมมีคำสั่งให้ธนาคารส่งเอกสารเพิ่มเติมภายใน 3 วัน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาคดี โดยนายศานิตกล่าวเพียงสั้นๆ ว่า ขณะนี้เรื่องอยู่ในกระบวนการของศาล
ทั้งนี้ การไต่สวนเมื่อวันที่ 4 ก.ย.ที่ผ่านมา ไม่มีตัวแทนกรมสรรพากรเข้าให้ข้อมูลแต่อย่างใด ขณะที่นายศานิตเองเป็นทั้งอธิบดีกรมสรรพากรและคณะกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ปัญหาการเมืองที่ยืดเยื้อ และการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน กระทบต่อการกู้เงิน เพื่อระดมทุนของภาครัฐและเอกชน เนื่องจากสถาบันการเงินเจ้าหนี้จะคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงขึ้นตามความเสี่ยง ดังนั้นภาคการเมืองต้องแร่งแก้ไขปัญหาให้เสร็จภายในปีนี้ เนื่องจากในปีหน้ารัฐบาลมีความจำเป็นต้องกู้เงินจากต่างประเทศจำนวนมากเพื่อดำเนินโครงการเมกะโปรเจกต์ ซึ่งหากปัญหายังยืดเยื้อ การกู้เงินของภาครัฐและเอกชนจะทำได้ยาก และมีต้นทุนทางการเงินสูงขึ้นไปอีก
สำหรับแผนการกู้เงินของภาครัฐและเอกชนในขณะนี้คงต้องชะลอไปก่อน จนกว่ารัฐบาลจะคลี่คลายสถานการณ์ได้ โดยกระทรวงการคลังจะเร่งชี้แจงไปยังสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลก ให้เข้าใจถึงข้อมูลทางเศรษฐกิจ และน้ำหนักของความรุนแรงของสถานการณ์ในประเทศว่ามีแนวโน้มคลี่คลายอย่างไร เพื่อไม่ให้มีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย จากระดับ "มีเสถียรภาพ" ลงไปสู่ "ไม่น่าลงทุน"