ธปท.แจงการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวด เพื่อดูแลเงินเฟ้อ และสร้างเสถียรภาพให้ ศก.เพราะปัญหาปัจจุบัน ไทยกำลังเผชิญแรงกดดันด้านราคา และความเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นไปพร้อมๆ กัน
วันนี้ (3 ก.ย.) นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาวิชาการประจำปีของธนาคาร โดยระบุถึงภาวะเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ กำลังเผชิญแรงกดดันด้านราคาและความเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นไปพร้อมๆ กัน จากทั้งปัจจัยภายในและนอกประเทศ อย่างเช่นในขณะนี้ การดำเนินนโยบายการเงินจึงมีความท้าทายมากขึ้น เนื่องจากทุกทางเลือกของนโยบายต่างส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจด้วยกันทั้งสิ้น จึงจำเป็นต้องพิจารณาชั่งน้ำหนักของแต่ละทางเลือกอย่างรอบคอบ และคำนึงผลประโยชน์โดยรวมทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเป็นสำคัญ
นางธาริษา กล่าวว่า นโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการดูแลเสถียรภาพทางด้านราคา ขณะเดียวกัน ก็มิได้ละเลยการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อันที่จริงนโยบายการเงินที่มุ่งรักษาเสถียรภาพด้านราคาหรือดูแลให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำก็เพื่อช่วยรักษาอำนาจซื้อของประชาชน และความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของระบบเศรษฐกิจ ตลอดจนสร้างสมดุลให้กับภาคการออมที่ถูกกระทบจากภาวะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ติดลบต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เศรษฐกิจ และมีผลให้เศรษฐกิจเติบโตในระยะยาวอีกด้วย
ดังนั้น หัวใจสำคัญของการดำเนินนโยบายการเงิน ในภาวะปัจจุบัน จึงอยู่ที่การหาจุดสมดุลระหว่างการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในช่วงที่ผ่านมา นโยบายการเงินที่เริ่มเข้มงวดมากขึ้นนี้เป็นการแสดงความแน่วแน่ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะดูแลให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน และลดการคาดการณ์ความรุนแรงของอัตราเงินเฟ้อในอนาคต
“การดูแลเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำลงในอนาคตนี้ จะสร้างบรรยายกาศที่ เอื้ออำนวยต่อการตัดสินใจทางเศรษฐกิจของผู้บริโภคและนักลงทุน ซึ่งในที่สุดเป็นการ เพิ่มศักยภาพของเศรษฐกิจและการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาว”
ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวอีกว่า สำหรับจุดสมดุลของการดำเนินนโยบายการเงินในขณะนี้ จึงเป็นไปในทิศทางที่ต้องดูแลเสถียรภาพด้านราคาเนื่องจากความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อยังเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญต่อไป
อย่างไรก็ดี คงปฎิเสธไม่ได้ว่านโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นก่อให้เกิดผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่จากการปรับตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่ยังคงมีความเข้มแข็ง (Resiliency) เพียงพอที่จะรองรับกับการชะลอลงดังกล่าวได้
วันนี้ (3 ก.ย.) นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาวิชาการประจำปีของธนาคาร โดยระบุถึงภาวะเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ กำลังเผชิญแรงกดดันด้านราคาและความเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นไปพร้อมๆ กัน จากทั้งปัจจัยภายในและนอกประเทศ อย่างเช่นในขณะนี้ การดำเนินนโยบายการเงินจึงมีความท้าทายมากขึ้น เนื่องจากทุกทางเลือกของนโยบายต่างส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจด้วยกันทั้งสิ้น จึงจำเป็นต้องพิจารณาชั่งน้ำหนักของแต่ละทางเลือกอย่างรอบคอบ และคำนึงผลประโยชน์โดยรวมทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเป็นสำคัญ
นางธาริษา กล่าวว่า นโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการดูแลเสถียรภาพทางด้านราคา ขณะเดียวกัน ก็มิได้ละเลยการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อันที่จริงนโยบายการเงินที่มุ่งรักษาเสถียรภาพด้านราคาหรือดูแลให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำก็เพื่อช่วยรักษาอำนาจซื้อของประชาชน และความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของระบบเศรษฐกิจ ตลอดจนสร้างสมดุลให้กับภาคการออมที่ถูกกระทบจากภาวะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ติดลบต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เศรษฐกิจ และมีผลให้เศรษฐกิจเติบโตในระยะยาวอีกด้วย
ดังนั้น หัวใจสำคัญของการดำเนินนโยบายการเงิน ในภาวะปัจจุบัน จึงอยู่ที่การหาจุดสมดุลระหว่างการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในช่วงที่ผ่านมา นโยบายการเงินที่เริ่มเข้มงวดมากขึ้นนี้เป็นการแสดงความแน่วแน่ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะดูแลให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน และลดการคาดการณ์ความรุนแรงของอัตราเงินเฟ้อในอนาคต
“การดูแลเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำลงในอนาคตนี้ จะสร้างบรรยายกาศที่ เอื้ออำนวยต่อการตัดสินใจทางเศรษฐกิจของผู้บริโภคและนักลงทุน ซึ่งในที่สุดเป็นการ เพิ่มศักยภาพของเศรษฐกิจและการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาว”
ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวอีกว่า สำหรับจุดสมดุลของการดำเนินนโยบายการเงินในขณะนี้ จึงเป็นไปในทิศทางที่ต้องดูแลเสถียรภาพด้านราคาเนื่องจากความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อยังเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญต่อไป
อย่างไรก็ดี คงปฎิเสธไม่ได้ว่านโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นก่อให้เกิดผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่จากการปรับตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่ยังคงมีความเข้มแข็ง (Resiliency) เพียงพอที่จะรองรับกับการชะลอลงดังกล่าวได้