ธนาคารโลกเผยจะมีการทบทวนเศรษฐกิจไทยในเดือนพ.ย.นี้ คาดเงินเฟ้อครึ่งปีหลังใกล้เคียงครึ่งปีแรกหรือน้อยกว่าเล็กน้อย แต่จะลดลงชัดเจนในปีหน้า เหตุราคาน้ำมันที่สูงช่วงครึ่งปีแรกยังคงมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต และหากราคาน้ำมันและเงินเฟ้อยังปรับตัวลงต่อเนื่องกลางปีหน้าดอกเบี้ยนโยบายปีหน้ามีสิทธิ์ปรับตัวลดลง
นางสาวกิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์ประจำประเทศไทย ธนาคารโลก เปิดเผยว่า ทางธนาคารจะมีการทบทวนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของประเทศไทยอีกครั้งในเดือนพ.ย. ส่วนการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกส์นั้นคงจะเริ่มการลงทุนได้ในปีหน้า ซึ่งในเบื้องต้นการลงทุนน่าจะมีไม่กี่พันล้านบาท และคงจะไม่ได้เป็นส่วนที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากนัก เนื่องจากเม็ดเงินที่ลงทุนเป็นเพียง 1-2% ของจีดีพีเท่านั้น แต่ในทางอ้อมแล้วการลงทุนดังกล่าวจะช่วยให้มีการลงทุนในภาคเอกชนซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และจะทำให้มีการจ้างงานมากขึ้น
ด้านอัตราเงินเฟ้อในปีนี้อาจจะยังไม่มีการปรับตัวลดลง แม้ว่าราคาน้ำมันซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นจะมีการปรับตัวลงค่อนข้างมาก แต่จะไม่ส่งผลต่อเงินเฟ้อโดยทันที เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นช่วงครึ่งปีแรกยังส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต แต่จากมาตรการของภาครัฐคงจะช่วยบรรเทาการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อได้บ้างแต่มาก อย่างไรก็ตาม หากราคาน้ำมันยังลดลงอย่างต่อเนื่องก็มองว่าอัตราเงินเฟ้อน่าจะมีการปรับตัวลดลงได้ในปีหน้า
สำหรับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการทางเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในช่วงที่ผ่านมานั้น เป็นการส่งสัญญาณให้เห็นว่าไม่ต้องการให้อัตราเงินเฟ้อสูง ดังนั้น หากปีหน้าอัตราเงินเฟ้อไม่สูง ทาง ธปท. ก็อาจจะไม่ต้องส่งสัญญาณขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก อย่างไรก็ตาม มองว่าหากปัจจัยอื่น ๆ มีการปรับตัวดีขึ้นก็เชื่อว่าในช่วงกลางปีหน้าทาง กนง.อาจจะมีการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้ โดยต้องอยู่บนพื้นฐานที่อัตราเงินเฟ้อต้องอยู่ในระดับที่ไม่สูง แต่ในส่วนของการประชุมของ กนง.ในวันที่ 27 ส.ค.นี้จะเป็นอย่างไรยังไม่กล้าที่คาดเดา
"เงินเฟ้อที่ดูสูงมากในปีนี้ก็เพราะฐานเงินเฟ้อในปีก่อนต่ำมาก อีกทั้งยังมีปัจจัยจากราคาน้ำมันและราคาอาหารที่มีการปรับตัวสูงขึ้น จากภาวการณ์ขาดแคลนอาหารที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งปีหลังคงจะพอ ๆ กับครึ่งปีแรกหรืออาจจะน้อยกว่าเล็กน้อย สำหรับในภาวะเงินสูงเราไม่ควรที่จะทำให้คนคิดว่าเงินเฟ้อจะสูงขึ้นอีก ตอนนี้คนยังเป็นห่วงว่าจะเกิดวิกฤตเงินเฟ้อรอบ 2 และจะทำให้มีการขึ้นราคาสินค้ารอ และมีการซื้อกักตุน"
นางสาวกิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์ประจำประเทศไทย ธนาคารโลก เปิดเผยว่า ทางธนาคารจะมีการทบทวนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของประเทศไทยอีกครั้งในเดือนพ.ย. ส่วนการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกส์นั้นคงจะเริ่มการลงทุนได้ในปีหน้า ซึ่งในเบื้องต้นการลงทุนน่าจะมีไม่กี่พันล้านบาท และคงจะไม่ได้เป็นส่วนที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากนัก เนื่องจากเม็ดเงินที่ลงทุนเป็นเพียง 1-2% ของจีดีพีเท่านั้น แต่ในทางอ้อมแล้วการลงทุนดังกล่าวจะช่วยให้มีการลงทุนในภาคเอกชนซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และจะทำให้มีการจ้างงานมากขึ้น
ด้านอัตราเงินเฟ้อในปีนี้อาจจะยังไม่มีการปรับตัวลดลง แม้ว่าราคาน้ำมันซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นจะมีการปรับตัวลงค่อนข้างมาก แต่จะไม่ส่งผลต่อเงินเฟ้อโดยทันที เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นช่วงครึ่งปีแรกยังส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต แต่จากมาตรการของภาครัฐคงจะช่วยบรรเทาการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อได้บ้างแต่มาก อย่างไรก็ตาม หากราคาน้ำมันยังลดลงอย่างต่อเนื่องก็มองว่าอัตราเงินเฟ้อน่าจะมีการปรับตัวลดลงได้ในปีหน้า
สำหรับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการทางเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในช่วงที่ผ่านมานั้น เป็นการส่งสัญญาณให้เห็นว่าไม่ต้องการให้อัตราเงินเฟ้อสูง ดังนั้น หากปีหน้าอัตราเงินเฟ้อไม่สูง ทาง ธปท. ก็อาจจะไม่ต้องส่งสัญญาณขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก อย่างไรก็ตาม มองว่าหากปัจจัยอื่น ๆ มีการปรับตัวดีขึ้นก็เชื่อว่าในช่วงกลางปีหน้าทาง กนง.อาจจะมีการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้ โดยต้องอยู่บนพื้นฐานที่อัตราเงินเฟ้อต้องอยู่ในระดับที่ไม่สูง แต่ในส่วนของการประชุมของ กนง.ในวันที่ 27 ส.ค.นี้จะเป็นอย่างไรยังไม่กล้าที่คาดเดา
"เงินเฟ้อที่ดูสูงมากในปีนี้ก็เพราะฐานเงินเฟ้อในปีก่อนต่ำมาก อีกทั้งยังมีปัจจัยจากราคาน้ำมันและราคาอาหารที่มีการปรับตัวสูงขึ้น จากภาวการณ์ขาดแคลนอาหารที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งปีหลังคงจะพอ ๆ กับครึ่งปีแรกหรืออาจจะน้อยกว่าเล็กน้อย สำหรับในภาวะเงินสูงเราไม่ควรที่จะทำให้คนคิดว่าเงินเฟ้อจะสูงขึ้นอีก ตอนนี้คนยังเป็นห่วงว่าจะเกิดวิกฤตเงินเฟ้อรอบ 2 และจะทำให้มีการขึ้นราคาสินค้ารอ และมีการซื้อกักตุน"