บางจากปิโตรเลียม โชว์กำไรงวดครึ่งปีแรกเกือบ 2.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่า 1.8 พันล้านบาท คิดเป็น 221% ผู้บริหารเผยได้รับอานิสงส์ราคาน้ำมันโลกพุ่ง-ค่าการกลั่นเพิ่ม ส่งผลให้รายได้จากการขายเฉียด 7 หมื่นล้านบาท พร้อมประเมินปัจจัย 4 ปัจจัยเสี่ยงที่จะเข้ามากระทบผลการดำเนินงานในอนาคต
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ BCP กล่าวถึง ผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 2 สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2551 ว่า บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิรวม 1,846.48 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 1.65 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 880.61 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.79 บาท กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 965.87 ล้านบาท หรือคิดเป็น 109.68%
ขณะที่ผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกของปี กำไรสุทธิ 2,699.30 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 2.41 บาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 838.71 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.75 บาท กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 1,860.59 ล้านบาท คิดเป็น 221.84%
ด้านฐานะทางการเงินบริษัทและบริษัทย่อย มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 52,951 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2550 จำนวน 7,972 ล้านบาท หนี้สินรวม 29,514 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 23,437 ล้านบาท
นายอนุสรณ์ กล่าวว่า ไตรมาส 2/51 ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว โดยสาเหตุหลักยังคงอยู่ที่ปัจจัยเดิมๆ ได้แก่ ปริมาณความต้องการน้ำมันในตลาดโลกที่ยังอยู่ในระดับสูง และการประกาศไม่เพิ่มกำลังการผลิตของผู้ผลิตน้ำมันดิบ อีกทั้งปัญหาความไม่สงบในดินแดนตะวันออกกลาง และโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านที่ยังไม่มีข้อยุติ รวมถึงค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐผันผวนทำให้มีการซื้อขายทำกำไรในตลาดล่วงหน้าอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม การปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันจะทำให้ธุรกิจโรงกลั่นมีกำไรจากสต๊อกน้ำมันเพิ่มขึ้น แต่บริษัทเองต้องนำกำไรดังกล่าวไปซื้อน้ำมันดิบที่ราคาแพงขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งในทางตรงข้ามเมื่อราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอาจจะทำให้ธุรกิจโรงกลั่นมีผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันได้
ทั้งนี้ ไตรมาส 2/51 ที่ผ่านมา บริษัทสามารถกลั่นน้ำมันได้สูงเฉลี่ย 83.6 พันบาร์เรลต่อวัน เนื่องมาจากความต้องการน้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาเพิ่มสูงขึ้น โดยความต้องการน้ำมันดีเซลมาจากตลาดสถานีบริการของบางจากฯ ที่มียอดจำหน่ายเพิ่มสูงขึ้นจากระดับเฉลี่ย 179 ล้านลิตรต่อเดือนในไตรมาส 2 ปีก่อน เป็นระดับ 230 ล้านลิตรต่อเดือนในไตรมาสนี้ และทำให้มีส่วนแบ่งการตลาดผ่านสถานีบริการน้ำมันในช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค. 2551 ขึ้นเป็นอันดับที่ 2 คือมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 14.7% สูงขึ้นจากปีก่อนที่มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 4 อยู่ที่ 12.7%
สำหรับผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกของปี 51 บางจากฯ มีรายได้จากการขายรวมบริษัทย่อย 69,406 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้จากการขายของบางจากฯ 68,931 ล้านบาท และรายได้จากการขายของบริษัท บางจากกรีนเนท จำกัด 10,325 ล้านบาท ซึ่งรายได้ดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 9,850 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายการขายน้ำมันสำเร็จรูปจากบางจากฯ ให้กับบริษัทบางจากกรีนเนท
ด้านค่าใช้จ่ายหลักประกอบด้วย ต้นทุนขายและให้บริการ 63,774 ล้านบาท ได้แก่ ต้นทุนของบางจากฯ 63,598 ล้านบาท และต้นทุนของบริษัท บางจากกรีนเนท 9,985 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายการระหว่างกัน 9,809 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นต้นทุนการขายน้ำมันสำเร็จรูปของบริษัทแก่บริษัท บางจากกรีนเนท
ขณะที่ ไตรมาส 2/51 บริษัทรายได้จากการขายและการให้บริการ 39,587 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 15,502 ล้านบาท คิดเป็น 64.9% โดย็น๋็H แบ่งเป็นรายได้จากการขายของบางจากฯ 39,367 ล้านบาท และรายได้จากการขายของบริษัท บางจากกรีนเนท 5,496 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายการระหว่างกัน 5,276 ล้านบาท
โดยบริษัทมีต้นทุนขายและให้บริการ 35,535 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 105 ล้านบาท หรือ 21.1% โดยแบ่งเป็นต้นทุนของบางจากฯ 35,496 ล้านบาท และต้นทุนของบริษัทบางจากกรีนเนท 5,517 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายการระหว่างกัน 5,478 ล้านบาท
นอกจากนี้ ไตรมาส 2/51 บริษัทมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้แก่ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 323 ล้าบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 15 ล้านบาท ขาดทุนจากสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันล่วงหน้า 353 ล้านบาท จากกำไร 127 ล้านบาท ในปีก่อน รวมทั้งรับรู้ดอกเบี้ยจ่ายจำนวน 141 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 25 ล้านบาท หรือ 14.9% เนื่องจากยอดหนี้เงินกู้เฉลี่ยลดลง และอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงประมาณ 0.2%
นายอนุสรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า อัตรากำไรขั้นต้นของบางจากฯ มีการปรับตัวตามความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก และผันแปรตามค่าการกลั่นและค่าการตลาด โดยงวด 6 เดือน และไตรมาส 2 ปี 51 บริษัทมีอัตรากำไรขั้นต้น 7.74% และ 9.83% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2550 ที่อยู่ที่ 4.23% และ 6.35% ตามลำดับ สาเหตุหลักมาจากค่าการกลั่นโดยรวมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงมีกำไรจากสต๊อกน้ำมันเนื่องจากราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้อัตรากำไรสุทธิในไตรมาส 2/51 เทียบกับปี 2550 ปรับเพิ่มขึ้นจาก 3.54% เป็น 4.62% และอัตรากำไรสุทธิงวด 6 เดือนเพิ่มขึ้นจาก 1.81% เป็น 3.86%
พร้อมกันนี้ บริษัทได้ประเมินปัจจัยที่อาจจะมีผลกระทบต่อการดำเนินงานในอนาคตเป็น 4 ประเด็นหลักได้แก่ ประเด็นแรก โครงการปรับปรุงราคาน้ำมัน (PQI) เพื่อลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับโรงกลั่นอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งคาดว่าโครงการดังกล่าวจะสามารถเริ่มการผลิตเชิงพาณิชย์ ได้ไตรมาส 4/51 ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถเพิ่ม EBITDA จากระดับเฉลี่ย 2,000-4,000 ล้านบาท เป็นประมาณ 6,000-8,000 ล้านบาท
สำหรับโครงการ PQI มีมูลค่าการลงทุนรวมเงินลงทุนสำรองกรณีมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ (Contingency Reserve) ทั้งสิ้น 15,369 ล้านบาท หรือประมาณ 378 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยบริษัทได้จัดจ้าง บริษัท CTCI Overseas Corporation Limited และ CTCI (Thailand Co., Ltd.) เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปลายปี 2551
ประเด็นที่ 2 อัตราแลกเปลี่ยน การซื้อขายน้ำมันบริษัทจะบันทึกเจ้าหนี้การค้าและลูกหนี้การค้าอ้างอิงสกุลเงินสหรัฐ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนจะส่งผลต่อมูลค่าของสินทรัพย์สุทธิ ทั้งนี้บริษัทมีนโยบายที่จะปรับสัดส่วนสินทรัพย์และหนี้สินที่อยู่ในรูปสกุลเงินเหรียญสหรัฐให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน บวกกับภายหลังจากการที่บริษัทได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างเงินกู้ใหม่ จะช่วยเพิ่มความสามารถในการบริหารความเสี่ยงในด้านอัตราแลกเปลี่ยนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ประเด็นที่ 3 โครงสร้างเงินกู้ เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 51 บริษัทได้ปรับโครงสร้างเงินกู้โดยการจัดหาเงินกู้ยืมใหม่ทดแทนเงินกู้เดิม (Refinance) โดยทำสัญญาเงินกู้กับธนาคารภายในประเทศ 4 แห่ง และธนาคารต่างประเทศ 2 แห่ง วงเงินรวม 23,734 ล้านบาท ซึ่งทำให้บริษัทต้องชำระค่าธรรมเนียมจากการคืนเงินกู้ก่อนกำหนดรวมค่าธรรมเนียมการยกเลิกการใช้สินเชื่อของเงินกู้เดิมจำนวน 174 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการจัดหาเงินกู้ใหม่ 128 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม จากการปรับโครงสร้างเงินกู้ดังกล่าว บริษัทจะได้ประโยชน์จากการขยายระยะเวลาการคืนเงินกู้จากเดิม 7 ปี เป็น 9 ปี และมีสัดส่วนการชำระคืนเงินต้นต่ำในช่วง 5 ปีแรก เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจและเพิ่มโอกาสในการลงทุนในอนาคต อัตราดอกเบี้ยที่จะประหยัดได้จากเงินกู้ใหม่กับเงินกู้เดิม เพิ่มความสามารถในการบริหารความเสี่ยงทางการเงินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการปรับรูปแบบเงินกู้เป็นแบบไม่มีหลักประกัน และเงื่อนไขต่างๆ ให้เหมาะสม เพื่อรองรับการจัดหาเงินทุน หรือเงินกู้เพิ่มเติม สำหรับการลงทุนโครงการใหม่ในอนาคต
ประเด็นสุดท้าย การให้ส่วนลดราคาน้ำมันดีเซลตามมติที่ประชุมคณะกรรมการเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 51 อนุมัติให้ลดราคาน้ำมันดีเซลให้กับกลุ่มลูกค้าเฉพาะ 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบกิจการรถโดยสารขนส่งสาธารณะ ผู้ประกอบการประมงและกลุ่มเกษตรกร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาราคาน้ำมันแพง และเพื่อให้เกิดการบริโภคภายในประเทศได้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีเหตุหยุดชะงักอันอาจทำให้มีผลกระทบต่อการผลิตของบริษัทในระยะยาว ในอัตราไม่เกิน 3 บาทต่อลิตร ในช่วงเวลาไม่เกิน 6 เดือน(มิถุนายน-พฤศจิกายน 2551) รวมเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 261 ล้านบาท
ด้านความเคลื่อนไหวราคาหุ้นวานนี้ (11 ก.ค.) BCP มีราคาปิดที่ 10.90 บาท เพิ่มขึ้นจากวันก่อน 0.70 บาท หรือคิดเป็น 6.86% มูลค่าการซื้อขายรวม 5.17 ล้านบาท
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ BCP กล่าวถึง ผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 2 สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2551 ว่า บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิรวม 1,846.48 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 1.65 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 880.61 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.79 บาท กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 965.87 ล้านบาท หรือคิดเป็น 109.68%
ขณะที่ผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกของปี กำไรสุทธิ 2,699.30 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 2.41 บาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 838.71 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.75 บาท กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 1,860.59 ล้านบาท คิดเป็น 221.84%
ด้านฐานะทางการเงินบริษัทและบริษัทย่อย มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 52,951 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2550 จำนวน 7,972 ล้านบาท หนี้สินรวม 29,514 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 23,437 ล้านบาท
นายอนุสรณ์ กล่าวว่า ไตรมาส 2/51 ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว โดยสาเหตุหลักยังคงอยู่ที่ปัจจัยเดิมๆ ได้แก่ ปริมาณความต้องการน้ำมันในตลาดโลกที่ยังอยู่ในระดับสูง และการประกาศไม่เพิ่มกำลังการผลิตของผู้ผลิตน้ำมันดิบ อีกทั้งปัญหาความไม่สงบในดินแดนตะวันออกกลาง และโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านที่ยังไม่มีข้อยุติ รวมถึงค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐผันผวนทำให้มีการซื้อขายทำกำไรในตลาดล่วงหน้าอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม การปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันจะทำให้ธุรกิจโรงกลั่นมีกำไรจากสต๊อกน้ำมันเพิ่มขึ้น แต่บริษัทเองต้องนำกำไรดังกล่าวไปซื้อน้ำมันดิบที่ราคาแพงขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งในทางตรงข้ามเมื่อราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอาจจะทำให้ธุรกิจโรงกลั่นมีผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันได้
ทั้งนี้ ไตรมาส 2/51 ที่ผ่านมา บริษัทสามารถกลั่นน้ำมันได้สูงเฉลี่ย 83.6 พันบาร์เรลต่อวัน เนื่องมาจากความต้องการน้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาเพิ่มสูงขึ้น โดยความต้องการน้ำมันดีเซลมาจากตลาดสถานีบริการของบางจากฯ ที่มียอดจำหน่ายเพิ่มสูงขึ้นจากระดับเฉลี่ย 179 ล้านลิตรต่อเดือนในไตรมาส 2 ปีก่อน เป็นระดับ 230 ล้านลิตรต่อเดือนในไตรมาสนี้ และทำให้มีส่วนแบ่งการตลาดผ่านสถานีบริการน้ำมันในช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค. 2551 ขึ้นเป็นอันดับที่ 2 คือมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 14.7% สูงขึ้นจากปีก่อนที่มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 4 อยู่ที่ 12.7%
สำหรับผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกของปี 51 บางจากฯ มีรายได้จากการขายรวมบริษัทย่อย 69,406 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้จากการขายของบางจากฯ 68,931 ล้านบาท และรายได้จากการขายของบริษัท บางจากกรีนเนท จำกัด 10,325 ล้านบาท ซึ่งรายได้ดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 9,850 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายการขายน้ำมันสำเร็จรูปจากบางจากฯ ให้กับบริษัทบางจากกรีนเนท
ด้านค่าใช้จ่ายหลักประกอบด้วย ต้นทุนขายและให้บริการ 63,774 ล้านบาท ได้แก่ ต้นทุนของบางจากฯ 63,598 ล้านบาท และต้นทุนของบริษัท บางจากกรีนเนท 9,985 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายการระหว่างกัน 9,809 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นต้นทุนการขายน้ำมันสำเร็จรูปของบริษัทแก่บริษัท บางจากกรีนเนท
ขณะที่ ไตรมาส 2/51 บริษัทรายได้จากการขายและการให้บริการ 39,587 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 15,502 ล้านบาท คิดเป็น 64.9% โดย็น๋็H แบ่งเป็นรายได้จากการขายของบางจากฯ 39,367 ล้านบาท และรายได้จากการขายของบริษัท บางจากกรีนเนท 5,496 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายการระหว่างกัน 5,276 ล้านบาท
โดยบริษัทมีต้นทุนขายและให้บริการ 35,535 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 105 ล้านบาท หรือ 21.1% โดยแบ่งเป็นต้นทุนของบางจากฯ 35,496 ล้านบาท และต้นทุนของบริษัทบางจากกรีนเนท 5,517 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายการระหว่างกัน 5,478 ล้านบาท
นอกจากนี้ ไตรมาส 2/51 บริษัทมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้แก่ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 323 ล้าบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 15 ล้านบาท ขาดทุนจากสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันล่วงหน้า 353 ล้านบาท จากกำไร 127 ล้านบาท ในปีก่อน รวมทั้งรับรู้ดอกเบี้ยจ่ายจำนวน 141 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 25 ล้านบาท หรือ 14.9% เนื่องจากยอดหนี้เงินกู้เฉลี่ยลดลง และอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงประมาณ 0.2%
นายอนุสรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า อัตรากำไรขั้นต้นของบางจากฯ มีการปรับตัวตามความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก และผันแปรตามค่าการกลั่นและค่าการตลาด โดยงวด 6 เดือน และไตรมาส 2 ปี 51 บริษัทมีอัตรากำไรขั้นต้น 7.74% และ 9.83% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2550 ที่อยู่ที่ 4.23% และ 6.35% ตามลำดับ สาเหตุหลักมาจากค่าการกลั่นโดยรวมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงมีกำไรจากสต๊อกน้ำมันเนื่องจากราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้อัตรากำไรสุทธิในไตรมาส 2/51 เทียบกับปี 2550 ปรับเพิ่มขึ้นจาก 3.54% เป็น 4.62% และอัตรากำไรสุทธิงวด 6 เดือนเพิ่มขึ้นจาก 1.81% เป็น 3.86%
พร้อมกันนี้ บริษัทได้ประเมินปัจจัยที่อาจจะมีผลกระทบต่อการดำเนินงานในอนาคตเป็น 4 ประเด็นหลักได้แก่ ประเด็นแรก โครงการปรับปรุงราคาน้ำมัน (PQI) เพื่อลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับโรงกลั่นอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งคาดว่าโครงการดังกล่าวจะสามารถเริ่มการผลิตเชิงพาณิชย์ ได้ไตรมาส 4/51 ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถเพิ่ม EBITDA จากระดับเฉลี่ย 2,000-4,000 ล้านบาท เป็นประมาณ 6,000-8,000 ล้านบาท
สำหรับโครงการ PQI มีมูลค่าการลงทุนรวมเงินลงทุนสำรองกรณีมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ (Contingency Reserve) ทั้งสิ้น 15,369 ล้านบาท หรือประมาณ 378 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยบริษัทได้จัดจ้าง บริษัท CTCI Overseas Corporation Limited และ CTCI (Thailand Co., Ltd.) เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปลายปี 2551
ประเด็นที่ 2 อัตราแลกเปลี่ยน การซื้อขายน้ำมันบริษัทจะบันทึกเจ้าหนี้การค้าและลูกหนี้การค้าอ้างอิงสกุลเงินสหรัฐ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนจะส่งผลต่อมูลค่าของสินทรัพย์สุทธิ ทั้งนี้บริษัทมีนโยบายที่จะปรับสัดส่วนสินทรัพย์และหนี้สินที่อยู่ในรูปสกุลเงินเหรียญสหรัฐให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน บวกกับภายหลังจากการที่บริษัทได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างเงินกู้ใหม่ จะช่วยเพิ่มความสามารถในการบริหารความเสี่ยงในด้านอัตราแลกเปลี่ยนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ประเด็นที่ 3 โครงสร้างเงินกู้ เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 51 บริษัทได้ปรับโครงสร้างเงินกู้โดยการจัดหาเงินกู้ยืมใหม่ทดแทนเงินกู้เดิม (Refinance) โดยทำสัญญาเงินกู้กับธนาคารภายในประเทศ 4 แห่ง และธนาคารต่างประเทศ 2 แห่ง วงเงินรวม 23,734 ล้านบาท ซึ่งทำให้บริษัทต้องชำระค่าธรรมเนียมจากการคืนเงินกู้ก่อนกำหนดรวมค่าธรรมเนียมการยกเลิกการใช้สินเชื่อของเงินกู้เดิมจำนวน 174 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการจัดหาเงินกู้ใหม่ 128 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม จากการปรับโครงสร้างเงินกู้ดังกล่าว บริษัทจะได้ประโยชน์จากการขยายระยะเวลาการคืนเงินกู้จากเดิม 7 ปี เป็น 9 ปี และมีสัดส่วนการชำระคืนเงินต้นต่ำในช่วง 5 ปีแรก เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจและเพิ่มโอกาสในการลงทุนในอนาคต อัตราดอกเบี้ยที่จะประหยัดได้จากเงินกู้ใหม่กับเงินกู้เดิม เพิ่มความสามารถในการบริหารความเสี่ยงทางการเงินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการปรับรูปแบบเงินกู้เป็นแบบไม่มีหลักประกัน และเงื่อนไขต่างๆ ให้เหมาะสม เพื่อรองรับการจัดหาเงินทุน หรือเงินกู้เพิ่มเติม สำหรับการลงทุนโครงการใหม่ในอนาคต
ประเด็นสุดท้าย การให้ส่วนลดราคาน้ำมันดีเซลตามมติที่ประชุมคณะกรรมการเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 51 อนุมัติให้ลดราคาน้ำมันดีเซลให้กับกลุ่มลูกค้าเฉพาะ 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบกิจการรถโดยสารขนส่งสาธารณะ ผู้ประกอบการประมงและกลุ่มเกษตรกร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาราคาน้ำมันแพง และเพื่อให้เกิดการบริโภคภายในประเทศได้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีเหตุหยุดชะงักอันอาจทำให้มีผลกระทบต่อการผลิตของบริษัทในระยะยาว ในอัตราไม่เกิน 3 บาทต่อลิตร ในช่วงเวลาไม่เกิน 6 เดือน(มิถุนายน-พฤศจิกายน 2551) รวมเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 261 ล้านบาท
ด้านความเคลื่อนไหวราคาหุ้นวานนี้ (11 ก.ค.) BCP มีราคาปิดที่ 10.90 บาท เพิ่มขึ้นจากวันก่อน 0.70 บาท หรือคิดเป็น 6.86% มูลค่าการซื้อขายรวม 5.17 ล้านบาท