บสก.ชี้เอ็นพีแอลระบบแบงก์ปีนี้หดตัวหลังแบงก์ปล่อยกู้และบริหารความเสี่ยงได้ดีขึ้น แต่ยังไม่ได้ตามเป้าหมายของธปท.ที่ 2% ระบุบอร์ดไม่ขวางแผนกระจายหุ้นแต่ให้ดูเรื่องการรองรับปิดบสท.ก่อนส่วนผลประกอบการ 7 เดือนทะลุเป้า
นายบรรยง วิเศษมงคลชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) เปิดเผยว่า แนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปีนี้คาดว่าจะมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันจะสูงขึ้นก็ตามเนื่องจากธนาคารพาณิชย์ได้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี รวมถึงมีการสำรองที่ครอบคลุมหมดแล้ว
โดยสัญญาณการลดลงของเอ็นพีแอลนั้นเริ่มมาจากไตรมาสแรกของปีนี้จากอยู่ที่ 249,706 ล้านบาท หรือประมาณ 3.76% และสิ้นไตรมาส 2 ลดลงมาอยู่ที่ 232,123 ล้านบาท หรือ 3.43 % โดยการลดลงของเอ็นพีแอลนั้นส่วนหนึ่งมาจากการขยายตัวของสินเชื่อรวม และธนาคารมีการตัดขายเอ็นพีแอลออกมาบางส่วน แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าในปีนี้เอ็นพีแอลจะยังไม่สามารถลดลงไปอยู่ในระดับที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 2%
ทั้งนี้ หากต้องการให้เอ็นพีแอลลดลงมาอยู่ตามเป้าหมายของ ธปท.นั้นก็สามารถจะทำได้โดยการตัดขาย แต่สาเหตุที่ธนาคารพาณิชย์ไม่ได้ตัดขายออกมานั้น เนื่องจากสถานะของธนาคารนั้นยังคงรับได้กับระดับของเอ็นพีแอลในปัจจุบัน อีกทั้งไม่ต้องการที่จะขายขาดทุน
"ปีนี้เอ็นพีแอลคงลดลงหากไม่มีอะไรผิดปกติตัวเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นยังไม่มีผลอะไร เนื่องจากมาตรการของภาครัฐและโครงการของรัฐ เช่น เมกะโปรเจกต์ที่จะเริ่มในปีหน้าคงทำให้คนมีรายได้มากขึ้นและจะทำให้การผิดนัดชำระหนี้น้อยลง และแม้ว่าหากต้องมีการเปลี่ยนรัฐบาลโครงการเมกะโปรเจกต์ก็ยังควรที่จะเดินหน้าต่อไป เพราะจะเป็นส่วนช่วยเพิ่มความเชื่อมั่น และที่ผ่านมาโครงการดังกล่าวถือว่าล่าช้ามากแล้ว"
**กองทุนฯสั่งทำแผนรองรับปิด บสท.**
นายบรรยง กล่าวว่า จากการหารือกับคณะกรรมการบริษัท (บอร์ด) เรื่องแผนการกระจายหุ้นของบสก.นั้น ล่าสุดทางบอร์ดได้ชี้แจงว่าไม่ได้มีความขัดข้องในเรื่องการกระจายหุ้น แต่ต้องรอทำในจังหวะที่เหมาะสม อีกทั้ง ต้องการรอรายละเอียดเกี่ยวกับการปิดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เนื่องจากต้องการให้ บสก.ไปรองรับการปิดตัวดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม บสก.ยังคงต้องรอดูแผนการปิด บสท.อีกครั้งซึ่งคาดว่าในขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอกระทรวงการคลัง
"บสท.น่าจะปิดตัวภายในประมาณ 1-2 ปีนี้ ซึ่งบสก.ก็ต้องรอดูแผนของเขาว่าเป็นอย่างไร ซึ่งในเบื้องต้นที่คิดไว้น่าจะเหมือนกับแนวทางที่ทำรองรับการปิดตัวของบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) โดยการซื้อสินทรัพย์มาบริหาร"
นายบรรยง กล่าวอีกว่า ในการประชุมบอร์ดเดือนนี้จะมีการนำเสนอเรื่องการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ เพื่อรองรับการดำเนินงานในปีหน้า โดยจะเน้นด้านระบบงานและบุคลากรมากขึ้น เพื่อเตรียมบุคลากรในระดับผู้บริหารให้มีความพร้อม โดยจะมีการส่งผู้บริหารเข้าอบรมเพิ่มความรู้ความเข้าใจธุรกิจให้มากขึ้น
**7 เดือนผลงานทะลุเป้า110%**
นายบรรยง กล่าวว่า การดำเนินงานของ บสก.ในช่วง 7 เดือนนั้นถือว่าดีกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณเกือบ 1 เท่าตัว หรือจากปีก่อนทำได้อยู่ที่ 3,000 ล้านบาท แต่ในปีนี้ทำได้อยู่ที่ 7,000 ล้านบาท หรือทำได้ 110% ของเป้าหมาย โดยปัจจัยที่ทำให้ผลประกอบการดีขึ้นในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวนั้น ประกอบด้วย 1. การปรับวิธีทางการตลาดที่มุ่งเน้นการจัดงานในต่างจังหวัดอย่างสม่ำเสมอ และมีผลิตภัณฑ์ที่เสนอขายเหมาะสมกับความต้องการ 2.การเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่อยู่ในระดับไม่สูงนักทำให้ผู้ที่ฝากเงินหันมาลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มากขึ้นและ 3. แนวโน้มบ้านใหม่มีราคาสูงขึ้นตามราคาวัสดุ และคาดว่าราคาบ้านใหม่จะมีราคาห่างจากบ้านมือสองประมาณ 40-50%จากเดิมช่วงห่างอยู่ที่ 30%
นายบรรยง วิเศษมงคลชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) เปิดเผยว่า แนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปีนี้คาดว่าจะมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันจะสูงขึ้นก็ตามเนื่องจากธนาคารพาณิชย์ได้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี รวมถึงมีการสำรองที่ครอบคลุมหมดแล้ว
โดยสัญญาณการลดลงของเอ็นพีแอลนั้นเริ่มมาจากไตรมาสแรกของปีนี้จากอยู่ที่ 249,706 ล้านบาท หรือประมาณ 3.76% และสิ้นไตรมาส 2 ลดลงมาอยู่ที่ 232,123 ล้านบาท หรือ 3.43 % โดยการลดลงของเอ็นพีแอลนั้นส่วนหนึ่งมาจากการขยายตัวของสินเชื่อรวม และธนาคารมีการตัดขายเอ็นพีแอลออกมาบางส่วน แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าในปีนี้เอ็นพีแอลจะยังไม่สามารถลดลงไปอยู่ในระดับที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 2%
ทั้งนี้ หากต้องการให้เอ็นพีแอลลดลงมาอยู่ตามเป้าหมายของ ธปท.นั้นก็สามารถจะทำได้โดยการตัดขาย แต่สาเหตุที่ธนาคารพาณิชย์ไม่ได้ตัดขายออกมานั้น เนื่องจากสถานะของธนาคารนั้นยังคงรับได้กับระดับของเอ็นพีแอลในปัจจุบัน อีกทั้งไม่ต้องการที่จะขายขาดทุน
"ปีนี้เอ็นพีแอลคงลดลงหากไม่มีอะไรผิดปกติตัวเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นยังไม่มีผลอะไร เนื่องจากมาตรการของภาครัฐและโครงการของรัฐ เช่น เมกะโปรเจกต์ที่จะเริ่มในปีหน้าคงทำให้คนมีรายได้มากขึ้นและจะทำให้การผิดนัดชำระหนี้น้อยลง และแม้ว่าหากต้องมีการเปลี่ยนรัฐบาลโครงการเมกะโปรเจกต์ก็ยังควรที่จะเดินหน้าต่อไป เพราะจะเป็นส่วนช่วยเพิ่มความเชื่อมั่น และที่ผ่านมาโครงการดังกล่าวถือว่าล่าช้ามากแล้ว"
**กองทุนฯสั่งทำแผนรองรับปิด บสท.**
นายบรรยง กล่าวว่า จากการหารือกับคณะกรรมการบริษัท (บอร์ด) เรื่องแผนการกระจายหุ้นของบสก.นั้น ล่าสุดทางบอร์ดได้ชี้แจงว่าไม่ได้มีความขัดข้องในเรื่องการกระจายหุ้น แต่ต้องรอทำในจังหวะที่เหมาะสม อีกทั้ง ต้องการรอรายละเอียดเกี่ยวกับการปิดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เนื่องจากต้องการให้ บสก.ไปรองรับการปิดตัวดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม บสก.ยังคงต้องรอดูแผนการปิด บสท.อีกครั้งซึ่งคาดว่าในขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอกระทรวงการคลัง
"บสท.น่าจะปิดตัวภายในประมาณ 1-2 ปีนี้ ซึ่งบสก.ก็ต้องรอดูแผนของเขาว่าเป็นอย่างไร ซึ่งในเบื้องต้นที่คิดไว้น่าจะเหมือนกับแนวทางที่ทำรองรับการปิดตัวของบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) โดยการซื้อสินทรัพย์มาบริหาร"
นายบรรยง กล่าวอีกว่า ในการประชุมบอร์ดเดือนนี้จะมีการนำเสนอเรื่องการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ เพื่อรองรับการดำเนินงานในปีหน้า โดยจะเน้นด้านระบบงานและบุคลากรมากขึ้น เพื่อเตรียมบุคลากรในระดับผู้บริหารให้มีความพร้อม โดยจะมีการส่งผู้บริหารเข้าอบรมเพิ่มความรู้ความเข้าใจธุรกิจให้มากขึ้น
**7 เดือนผลงานทะลุเป้า110%**
นายบรรยง กล่าวว่า การดำเนินงานของ บสก.ในช่วง 7 เดือนนั้นถือว่าดีกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณเกือบ 1 เท่าตัว หรือจากปีก่อนทำได้อยู่ที่ 3,000 ล้านบาท แต่ในปีนี้ทำได้อยู่ที่ 7,000 ล้านบาท หรือทำได้ 110% ของเป้าหมาย โดยปัจจัยที่ทำให้ผลประกอบการดีขึ้นในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวนั้น ประกอบด้วย 1. การปรับวิธีทางการตลาดที่มุ่งเน้นการจัดงานในต่างจังหวัดอย่างสม่ำเสมอ และมีผลิตภัณฑ์ที่เสนอขายเหมาะสมกับความต้องการ 2.การเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่อยู่ในระดับไม่สูงนักทำให้ผู้ที่ฝากเงินหันมาลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มากขึ้นและ 3. แนวโน้มบ้านใหม่มีราคาสูงขึ้นตามราคาวัสดุ และคาดว่าราคาบ้านใหม่จะมีราคาห่างจากบ้านมือสองประมาณ 40-50%จากเดิมช่วงห่างอยู่ที่ 30%