แบงก์ทหารไทย ทรุดหนักผลการดำเนินงานปี 50 ขาดทุน 43,657 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุน 12,292 ล้านบาท เหตุตั้งสำรองหนี้สูญ การด้อยค่าและประมาณการหนี้สินที่อาจเพิ่มขึ้น ลุ้นปีนี้กระเตื้องหลังกลุ่มไอเอ็นจีร่วมพันธมิตร ขณะที่กสิกรไทยแจ้งผลกำไร 15,005 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.81%
นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของธนาคารประจำปี 2550 ว่า ธนาคารมีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ 43,657 ล้านบาท หรือขาดทุนเพิ่มขึ้น 31,365 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ธนาคารมีผลขาดทุน 12,292 ล้านบาท โดยคิดเป็นขาดทุนต่อหุ้น 2.60 บาท จากการที่ธนาคารได้ตั้งสำรองหนี้สูญที่เพิ่มขึ้น การด้อยค่าของค่าความนิยมที่เกิดจากการรวมกิจการระหว่างธนาคารทหารไทย ธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รวมทั้งการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นสำหรับทรัพย์สินรอการขาย และการตั้งสำรองสำหรับการด้อยค่าและประมาณการหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
โดยธนาคารได้ประเมินการด้อยค่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับเครื่องมือทางการเงินต่างๆ ที่ธนาคารมีอยู่ เช่น หลักทรัพย์ ตั๋วเงินบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย และตั๋วเงินบรรษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จึงตั้งสำรองสำหรับการด้อยค่าและประมาณการหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตเพิ่มขึ้นอีก 5,943 ล้านบาท ในปี 2550
ทั้งนี้ ในงวดปี 2550 ธนาคารได้ปรับโครงสร้างงบการเงินและเพิ่มทุนเสร็จสมบูรณ์ รวมทั้งมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนการตั้งสำรองและรายการพิเศษ 9,648 ล้านบาท โดยธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 จาก 15,141 ล้านบาท ในปี 2549 มาเป็น 16,442 ล้านบาท ในปี 2550 ในขณะที่อัตราส่วนต่างดอกเบี้ยรับสุทธิในปี 2550 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับร้อยละ 2.1 ในปี 2549 และรายได้จากค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นเป็น 5,433 ล้านบาท ในปี 2550 เมื่อเทียบกับ 4,734 ล้านบาท ในปี 2549 อันเป็นผลเนื่องมาจากการเติบโตของค่าธรรมเนียมจากปริมาณธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น การพัฒนาธุรกิจเพื่อรายย่อย และธุรกิจเกี่ยวกับประกันภัยและประกันชีวิต
ระดับความเพียงพอของเงินกองทุนของธนาคาร (CAR) ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2550 มีความเข้มแข็งขึ้น โดยอยู่ที่ร้อยละ 14.4 ซึ่งเป็นระดับเดียวกันกับธนาคารชั้นนำอื่นๆ โดยที่ธนาคารประสบความสำเร็จในการเพิ่มทุนซึ่งมีกลุ่มไอเอ็นจีจากเนเธอร์แลนด์เข้ามาเป็นพันธมิตรรายใหม่ ภายหลังการเพิ่มทุน สัดส่วนการถือหุ้นของกระทรวงการคลังในธนาคารทหารไทยอยู่ที่ร้อยละ 26.1 และธนาคารไอเอ็นจี แห่งเนเธอร์แลนด์ ถือหุ้นร้อยละ 25.2
อย่างไรก็ตาม ธนาคารมีความก้าวหน้าในการจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย (NPA) โดยมูลค่าของทรัพย์สินรอการขายของธนาคารลดลงประมาณร้อยละ 25 เป็น 22,571 ล้านบาท ในปี 2550 จากเดิม 29,812 ล้านบาท ในปี 2549 นอกจากนี้ ธนาคารยังมีแผนการที่จะเร่งรัดโครงการจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าว และได้ตั้งสำรองเพิ่มขึ้นเป็น 4,453 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 16.5 ของมูลค่าทางบัญชีของทรัพย์สินรอการขายทั้งหมด ณ สิ้นปี 2550
และมีสินเชื่อด้อยคุณภาพของธนาคาร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 เท่ากับ 72,415 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ 56,089 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2549 เนื่องจากมีการทบทวนการจัดชั้นสินเชื่อเชิงคุณภาพตามเกณฑ์ที่เข้มงวดของธนาคาร และการผิดนัดชำระหนี้อันเป็นผลของสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่อำนวยในปี 2550 ซึ่งจากการทบทวนคุณภาพสินเชื่อโดยรวมของธนาคารอย่างละเอียดรอบคอบ ธนาคารได้ตั้งสำรองหนี้สูญ (LLR) เพิ่มขึ้น ทำให้อัตราส่วนสำรองหนี้สูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 54 ณ สิ้นปี 2549 มาเป็นประมาณร้อยละ 70 ณ สิ้นปี 2550
นายสุภัค กล่าวว่า ปี 2550 เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงของธนาคารทหารไทย โดยธนาคารมีพันธมิตรทางธุรกิจใหม่ ฐานเงินทุนที่เพิ่มขึ้น และการปรับโครงสร้างงบการเงิน ต่อไปนี้ ธนาคารจะมุ่งปรับปรุงการดำเนินธุรกิจให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นโดยเน้นที่ธุรกิจเพื่อรายย่อย ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งธุรกิจขนาดใหญ่ ภายใต้มาตรฐานการบริหารความเสี่ยงที่เข้มข้น โดยการสนับสนุนจากธนาคารไอเอ็นจี ซึ่งเป็นพันธมิตรของเรา
**KBANK แจ้งกำไร 1.5 หมื่น ล.**
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ผลการดำเนินงานก่อนสอบทานในปี 2550 ของธนาคารและบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิ 15,005 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 6.28 บาท เทียบกับผลประกอบการในช่วงเดียวกันของปี 2549 ที่มีกำไรสุทธิ 13,664 ล้านบาท และมีกำไรต่อหุ้น 5.74 บาท เท่ากับมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 9.81% และมีกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น 9.41% สำหรับผลการดำเนินงานเฉพาะไตรมาส 4 ในปี 2550 มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 3,628 ล้านบาทกำไรต่อหุ้น 1.52 บาท
ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 994,518 ล้านบาท มีเงินให้สินเชื่อ 762,505 ล้านบาท และมีเงินฝากรวม 783,822 ล้านบาท มีเงินกองทุนรวมต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่ 14.62% แบ่งเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่ 10.74% และเงินกองทุนชั้นที่ 2 ที่ 3.87% มีสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (NPL Gross) เท่ากับ 4.45% และมีสัดส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพสุทธิ (NPL Net) ที่ 2.29%
นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของธนาคารประจำปี 2550 ว่า ธนาคารมีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ 43,657 ล้านบาท หรือขาดทุนเพิ่มขึ้น 31,365 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ธนาคารมีผลขาดทุน 12,292 ล้านบาท โดยคิดเป็นขาดทุนต่อหุ้น 2.60 บาท จากการที่ธนาคารได้ตั้งสำรองหนี้สูญที่เพิ่มขึ้น การด้อยค่าของค่าความนิยมที่เกิดจากการรวมกิจการระหว่างธนาคารทหารไทย ธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รวมทั้งการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นสำหรับทรัพย์สินรอการขาย และการตั้งสำรองสำหรับการด้อยค่าและประมาณการหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
โดยธนาคารได้ประเมินการด้อยค่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับเครื่องมือทางการเงินต่างๆ ที่ธนาคารมีอยู่ เช่น หลักทรัพย์ ตั๋วเงินบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย และตั๋วเงินบรรษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จึงตั้งสำรองสำหรับการด้อยค่าและประมาณการหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตเพิ่มขึ้นอีก 5,943 ล้านบาท ในปี 2550
ทั้งนี้ ในงวดปี 2550 ธนาคารได้ปรับโครงสร้างงบการเงินและเพิ่มทุนเสร็จสมบูรณ์ รวมทั้งมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนการตั้งสำรองและรายการพิเศษ 9,648 ล้านบาท โดยธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 จาก 15,141 ล้านบาท ในปี 2549 มาเป็น 16,442 ล้านบาท ในปี 2550 ในขณะที่อัตราส่วนต่างดอกเบี้ยรับสุทธิในปี 2550 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับร้อยละ 2.1 ในปี 2549 และรายได้จากค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นเป็น 5,433 ล้านบาท ในปี 2550 เมื่อเทียบกับ 4,734 ล้านบาท ในปี 2549 อันเป็นผลเนื่องมาจากการเติบโตของค่าธรรมเนียมจากปริมาณธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น การพัฒนาธุรกิจเพื่อรายย่อย และธุรกิจเกี่ยวกับประกันภัยและประกันชีวิต
ระดับความเพียงพอของเงินกองทุนของธนาคาร (CAR) ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2550 มีความเข้มแข็งขึ้น โดยอยู่ที่ร้อยละ 14.4 ซึ่งเป็นระดับเดียวกันกับธนาคารชั้นนำอื่นๆ โดยที่ธนาคารประสบความสำเร็จในการเพิ่มทุนซึ่งมีกลุ่มไอเอ็นจีจากเนเธอร์แลนด์เข้ามาเป็นพันธมิตรรายใหม่ ภายหลังการเพิ่มทุน สัดส่วนการถือหุ้นของกระทรวงการคลังในธนาคารทหารไทยอยู่ที่ร้อยละ 26.1 และธนาคารไอเอ็นจี แห่งเนเธอร์แลนด์ ถือหุ้นร้อยละ 25.2
อย่างไรก็ตาม ธนาคารมีความก้าวหน้าในการจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย (NPA) โดยมูลค่าของทรัพย์สินรอการขายของธนาคารลดลงประมาณร้อยละ 25 เป็น 22,571 ล้านบาท ในปี 2550 จากเดิม 29,812 ล้านบาท ในปี 2549 นอกจากนี้ ธนาคารยังมีแผนการที่จะเร่งรัดโครงการจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าว และได้ตั้งสำรองเพิ่มขึ้นเป็น 4,453 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 16.5 ของมูลค่าทางบัญชีของทรัพย์สินรอการขายทั้งหมด ณ สิ้นปี 2550
และมีสินเชื่อด้อยคุณภาพของธนาคาร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 เท่ากับ 72,415 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ 56,089 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2549 เนื่องจากมีการทบทวนการจัดชั้นสินเชื่อเชิงคุณภาพตามเกณฑ์ที่เข้มงวดของธนาคาร และการผิดนัดชำระหนี้อันเป็นผลของสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่อำนวยในปี 2550 ซึ่งจากการทบทวนคุณภาพสินเชื่อโดยรวมของธนาคารอย่างละเอียดรอบคอบ ธนาคารได้ตั้งสำรองหนี้สูญ (LLR) เพิ่มขึ้น ทำให้อัตราส่วนสำรองหนี้สูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 54 ณ สิ้นปี 2549 มาเป็นประมาณร้อยละ 70 ณ สิ้นปี 2550
นายสุภัค กล่าวว่า ปี 2550 เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงของธนาคารทหารไทย โดยธนาคารมีพันธมิตรทางธุรกิจใหม่ ฐานเงินทุนที่เพิ่มขึ้น และการปรับโครงสร้างงบการเงิน ต่อไปนี้ ธนาคารจะมุ่งปรับปรุงการดำเนินธุรกิจให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นโดยเน้นที่ธุรกิจเพื่อรายย่อย ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งธุรกิจขนาดใหญ่ ภายใต้มาตรฐานการบริหารความเสี่ยงที่เข้มข้น โดยการสนับสนุนจากธนาคารไอเอ็นจี ซึ่งเป็นพันธมิตรของเรา
**KBANK แจ้งกำไร 1.5 หมื่น ล.**
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ผลการดำเนินงานก่อนสอบทานในปี 2550 ของธนาคารและบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิ 15,005 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 6.28 บาท เทียบกับผลประกอบการในช่วงเดียวกันของปี 2549 ที่มีกำไรสุทธิ 13,664 ล้านบาท และมีกำไรต่อหุ้น 5.74 บาท เท่ากับมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 9.81% และมีกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น 9.41% สำหรับผลการดำเนินงานเฉพาะไตรมาส 4 ในปี 2550 มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 3,628 ล้านบาทกำไรต่อหุ้น 1.52 บาท
ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 994,518 ล้านบาท มีเงินให้สินเชื่อ 762,505 ล้านบาท และมีเงินฝากรวม 783,822 ล้านบาท มีเงินกองทุนรวมต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่ 14.62% แบ่งเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่ 10.74% และเงินกองทุนชั้นที่ 2 ที่ 3.87% มีสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (NPL Gross) เท่ากับ 4.45% และมีสัดส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพสุทธิ (NPL Net) ที่ 2.29%