บสก.หนุนแนวคิดให้แบงก์ร่วมบริษัทพัฒนาอสังหาฯตั้งบริษัทร่วมทุนเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งแบงก์และประชาชน แต่คาดต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะเห็นเนื่องจากมีพิจารณารายละเอียดที่แบงก์ต้องพิจารณาค่อนข้างมาก เชื่อแบงก์ไม่จัดตั้งทุกแห่งเนื่องจากความพร้อมมีไม่เท่ากัน ส่วนบสก.ไม่กระทบแน่นอนเหตุทรัพย์ที่รับซื้อคนละเกรดกับที่แบงก์มุ่งพัฒนา ขณะที่ผลดำเนินงาน 7 เดือนทะลุเป้า
นายบรรยง วิเศษมงคลชัย กรรมการผู้จัดใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) เปิดเผยว่า การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถร่วมกับบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จัดตั้งบริษัทร่วมลงทุนในการปรับปรุงสินทรัพย์รอการขาย(เอ็นพีเอ) นั้นถือว่าเป็นแนวคิดที่ดีกับระบบเป็นประโยชน์ต่อสังคมและผู้บริโภคและจะเป็นส่วนช่วยให้เอ็นพีเอในระบบลดลงได้
ทั้งนี้ การตั้งบริษัทร่วมทุนดังกล่าวนั้นโดยหลักการถือเป็นเรื่องที่ดี แต่การธนาคารที่จะตั้งบริษัทร่วมทุนนั้นจะต้องมีการเตรียมขั้นตอนค่อนข้างมากและจะเป็นภาระผูกพันไปกับธนาคารค่อนข้างนาน รวมถึงจะต้องดูถึงผลกำไรขาดทุนที่จะได้รับด้วย และอาจจะต้องมีการตั้งหน่วยงานเพิ่มเติมเพื่อเข้ามาดูแลในส่วนนี้โดยตรง ทำให้ธนาคารแต่ละแห่งจะต้องมีการพิจารณาในรายละเอียดค่อนข้างมาก ซึ่งคาดว่าการจะตั้งบริษัทร่วมทุนได้นั้นคงจะต้องใช้เวลาอีกพอสมควร
"การตั้งบริษัทร่วมทุนนี้แบงก์ต้องเตรียมขั้นตอนเยอะ เพราะว่าจะต้องมีผลผูกพันกันไม่ใช่แค่ 2-3 เดือน แต่จะผูกพันเป็นปี อย่างไรก็ตามการตั้งบริษัทร่วมทุนซึ่งจะทำให้เอ็นพีเอของแบงก์มีการพัฒนาและปรับปรุงก่อนขายนั้นก็จะเป็นประโยชน์กับแบงก์ โดยจะทำให้สามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้น แต่แบงก์ก็ต้องมีการลงทุนเพิ่ม ทั้งการตั้งหน่วยวิจัย หน่วยการทำการตลาด ทีมงานการติดตามผล"
นอกจากนี้มองว่า การตั้งบริษัทร่วมทุนนั้นคงไม่เกิดขึ้นกับธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง เนื่องจากความพร้อมของธนาคารแต่ละแห่งไม่เท่ากัน โดยบางแห่งไม่ได้มีเอ็นพีเอมาก อีกทั้งเอ็นพีเอที่จะนำมาเข้าขายในบริษัทร่วมทุนนี้จะต้องเป็นเอ็นพีเอที่มีสภาพคล่องสูง และอยู่บนทำเลที่มีความเจริญสูง ซึ่งในธนาคารบางแห่งมีทรัพย์ประเภทนี้อยู่ไม่มาก เพราะหากทรัพย์ที่จะนำมาจัดตั้งบริษัทคุณภาพไม่สูงผู้ที่จะมาร่วมทุนด้วยก็คงไม่สนใจ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องตั้งบริษัทร่วมทุน แต่ในส่วนของธนาคารใหญ่ ๆ ที่มีทรัพย์มากก็อาจเป็นไปได้ที่จะต้องบริษัทดังกล่าว ในส่วนของบสก.นั้นเชื่อว่าจะไม่ได้รับผลกระทบหากมีการจัดตั้งบริษัทดังกล่าวขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันทรัพย์ที่ธนาคารขายให้ บสก.นั้นส่วนใหญ่จะเป็นทรัพย์ที่คุณภาพไม่สูงนัก อีกทั้งที่ผ่านมาทาง บสก. ก็ได้ใช้แนวคิดในการปรับปรุงคุณภาพทรัพย์ก่อนขายอยู่แล้ว
นายบรรยง กล่าวว่า ผลการดำเนินงานในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมานั้น บสก.มีผลเรียกเก็บหนี้อยู่ที่กว่า 7,000 ล้านบาท หรือทำได้ 110% เมื่อเทียบกับเป้าหมาย 7 เดือน ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับช่วง 7 เดือนของปีก่อนซึ่งมีผลเรียกเก็บหนี้อยู่ที่ 70% ของเป้าหมาย 7 เดือนเท่านั้น ส่วนเป้าหมายในปีนี้ตั้งไว้ที่ 11,700 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างแน่นอน โดยผลการเรียกเก็บหนี้ในเดือน ก.ค. อยู่ที่ 1,700 ล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงกว่าเป้าหมายรายเดือนมาก
ส่วนกำไรในปีนี้ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 1,700 ล้านบาทก็คาดว่าจะทำได้ตามเป้าหมายอย่างแน่นอน โดยผลการเรียกเก็บที่เกินกว่าเป้าหมายนั้น มาจากการที่บสก.มีวิธีการทำงานที่แตกต่าง โดยทีมงานในสำนักงานสาขาจะมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยในแต่ละปีสำนักงานต่างจังหวัดจะมีการทำแผนจัดกิจกรรมไว้ถึง 90 กิจกรรม ทำให้ประชาชนรู้จัก บสก.มากขึ้น
สำหรับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพกับบริษัทบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ(เอ็นพีแอล) ที่รับซื้อจากบริษัทบริหารสินทรัพย์สาธร จำกัดนั้น ขณะนี้ได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี โดยมียอดอนุมัติไปแล้วหลายราย ส่วนการายื่นประมูลซื้อหนี้จากธนาคารนครหลวงไทยนั้น ในเบื้องต้นได้รับรายงานอย่างไม่เป็นทางการว่า สามารถประมูลได้เป็นส่วนใหญ่ คือใน กองที่ 3 และ 4 ส่วนกองที่ 1 ซึ่งเป็นหนี้รายใหญ่นั้นประมูลได้บางบัญชี
นายบรรยง วิเศษมงคลชัย กรรมการผู้จัดใหญ่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) เปิดเผยว่า การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถร่วมกับบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จัดตั้งบริษัทร่วมลงทุนในการปรับปรุงสินทรัพย์รอการขาย(เอ็นพีเอ) นั้นถือว่าเป็นแนวคิดที่ดีกับระบบเป็นประโยชน์ต่อสังคมและผู้บริโภคและจะเป็นส่วนช่วยให้เอ็นพีเอในระบบลดลงได้
ทั้งนี้ การตั้งบริษัทร่วมทุนดังกล่าวนั้นโดยหลักการถือเป็นเรื่องที่ดี แต่การธนาคารที่จะตั้งบริษัทร่วมทุนนั้นจะต้องมีการเตรียมขั้นตอนค่อนข้างมากและจะเป็นภาระผูกพันไปกับธนาคารค่อนข้างนาน รวมถึงจะต้องดูถึงผลกำไรขาดทุนที่จะได้รับด้วย และอาจจะต้องมีการตั้งหน่วยงานเพิ่มเติมเพื่อเข้ามาดูแลในส่วนนี้โดยตรง ทำให้ธนาคารแต่ละแห่งจะต้องมีการพิจารณาในรายละเอียดค่อนข้างมาก ซึ่งคาดว่าการจะตั้งบริษัทร่วมทุนได้นั้นคงจะต้องใช้เวลาอีกพอสมควร
"การตั้งบริษัทร่วมทุนนี้แบงก์ต้องเตรียมขั้นตอนเยอะ เพราะว่าจะต้องมีผลผูกพันกันไม่ใช่แค่ 2-3 เดือน แต่จะผูกพันเป็นปี อย่างไรก็ตามการตั้งบริษัทร่วมทุนซึ่งจะทำให้เอ็นพีเอของแบงก์มีการพัฒนาและปรับปรุงก่อนขายนั้นก็จะเป็นประโยชน์กับแบงก์ โดยจะทำให้สามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้น แต่แบงก์ก็ต้องมีการลงทุนเพิ่ม ทั้งการตั้งหน่วยวิจัย หน่วยการทำการตลาด ทีมงานการติดตามผล"
นอกจากนี้มองว่า การตั้งบริษัทร่วมทุนนั้นคงไม่เกิดขึ้นกับธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง เนื่องจากความพร้อมของธนาคารแต่ละแห่งไม่เท่ากัน โดยบางแห่งไม่ได้มีเอ็นพีเอมาก อีกทั้งเอ็นพีเอที่จะนำมาเข้าขายในบริษัทร่วมทุนนี้จะต้องเป็นเอ็นพีเอที่มีสภาพคล่องสูง และอยู่บนทำเลที่มีความเจริญสูง ซึ่งในธนาคารบางแห่งมีทรัพย์ประเภทนี้อยู่ไม่มาก เพราะหากทรัพย์ที่จะนำมาจัดตั้งบริษัทคุณภาพไม่สูงผู้ที่จะมาร่วมทุนด้วยก็คงไม่สนใจ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องตั้งบริษัทร่วมทุน แต่ในส่วนของธนาคารใหญ่ ๆ ที่มีทรัพย์มากก็อาจเป็นไปได้ที่จะต้องบริษัทดังกล่าว ในส่วนของบสก.นั้นเชื่อว่าจะไม่ได้รับผลกระทบหากมีการจัดตั้งบริษัทดังกล่าวขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันทรัพย์ที่ธนาคารขายให้ บสก.นั้นส่วนใหญ่จะเป็นทรัพย์ที่คุณภาพไม่สูงนัก อีกทั้งที่ผ่านมาทาง บสก. ก็ได้ใช้แนวคิดในการปรับปรุงคุณภาพทรัพย์ก่อนขายอยู่แล้ว
นายบรรยง กล่าวว่า ผลการดำเนินงานในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมานั้น บสก.มีผลเรียกเก็บหนี้อยู่ที่กว่า 7,000 ล้านบาท หรือทำได้ 110% เมื่อเทียบกับเป้าหมาย 7 เดือน ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับช่วง 7 เดือนของปีก่อนซึ่งมีผลเรียกเก็บหนี้อยู่ที่ 70% ของเป้าหมาย 7 เดือนเท่านั้น ส่วนเป้าหมายในปีนี้ตั้งไว้ที่ 11,700 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างแน่นอน โดยผลการเรียกเก็บหนี้ในเดือน ก.ค. อยู่ที่ 1,700 ล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงกว่าเป้าหมายรายเดือนมาก
ส่วนกำไรในปีนี้ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 1,700 ล้านบาทก็คาดว่าจะทำได้ตามเป้าหมายอย่างแน่นอน โดยผลการเรียกเก็บที่เกินกว่าเป้าหมายนั้น มาจากการที่บสก.มีวิธีการทำงานที่แตกต่าง โดยทีมงานในสำนักงานสาขาจะมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยในแต่ละปีสำนักงานต่างจังหวัดจะมีการทำแผนจัดกิจกรรมไว้ถึง 90 กิจกรรม ทำให้ประชาชนรู้จัก บสก.มากขึ้น
สำหรับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพกับบริษัทบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ(เอ็นพีแอล) ที่รับซื้อจากบริษัทบริหารสินทรัพย์สาธร จำกัดนั้น ขณะนี้ได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี โดยมียอดอนุมัติไปแล้วหลายราย ส่วนการายื่นประมูลซื้อหนี้จากธนาคารนครหลวงไทยนั้น ในเบื้องต้นได้รับรายงานอย่างไม่เป็นทางการว่า สามารถประมูลได้เป็นส่วนใหญ่ คือใน กองที่ 3 และ 4 ส่วนกองที่ 1 ซึ่งเป็นหนี้รายใหญ่นั้นประมูลได้บางบัญชี