ผู้จัดการรายวัน - PTTEP มั่นใจรายได้ครึ่งปีหลังสูงกว่า ครึ่งปีแรก ผลจากปริมาณการขายเพิ่ม ส่วนหนึ่งเพราะแหล่งอาทิตย์เริ่มผลิตเดือน ต.ค.นี้ และปันผลครึ่งปีหลังอัตราเฉลี่ยเท่ากับครึ่งปีแรกที่จ่าย 43% ของกำไรสุทธิ หรือ 2.86 บาทต่อหุ้น เล็งเพิ่มงบลงทุนปี 52 หลังกำหนดราคาขายก๊าซแหล่ง M-9
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม(PTTEP) คาดว่ารายได้ในช่วงครึ่งปีหลังจะดีกว่าครึ่งปีแรก ที่มีรายได้ 6.32 หมื่นล้านบาท เนื่องจากบริษัทมีปริมาณการขายเพิ่มขึ้นจากผลผลิตของแหล่งอาทิตย์และแหล่งอาทิตย์เหนือที่เริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ได้ตามกำหนด
"เรายังมั่นใจว่าครึ่งปีหลังรายได้จะสูงกว่าครึ่งปีแรก เพราะปริมาณการขายสูงกว่า เพราะครึ่งปีแรกเรารับรู้จากแหล่งอาทิตย์เพียงบางส่วน แม้ราคาขายในตลาดโลกจะปรับตัวลดลงต่อเนื่อง แต่ปีนี้ราคาน้ำมันดิบก็ยังน่าจะสูงกว่า 100 เหรียญ/บาร์เรล " นายอนนต์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม บริษัทคงเป้าหมายปริมาณขายทั้งปี 51 ที่เฉลี่ย 2.23 แสนบาร์เรล/วัน ขณะที่แหล่งอาทิตย์เริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ เม.ย.ที่ผ่านมา มีกำลังการผลิตคอนเดนเสดเกือบ 1.5 หมื่นบาร์เรล/วัน สูงจากประมาณการที่คาดว่าจะผลิตได้เพียง 1 หมื่นบาร์เรล/วัน
ส่วนปริมาณผลผลิตก๊าซได้ตามเป้าหมายที่ 330 ล้านลบ.ฟุต/วัน
โดยแหล่งอาทิตย์เหนือจะเริ่มผลิตได้ในเดือน ต.ค.51 ซึ่งแม้จะล่าช้ากว่าแผนประมาณ 1 เดือน แต่เชื่อว่าจะผลิตได้ตามเป้าหมายที่ปริมาณก๊าซ 120 ล้านลบ.ฟุต/วัน ขณะที่มีปริมาณปิโตรเลียมเพิ่มจากแหล่งเวียดนาม 9-2 ประมาณ 2 หมื่นบาร์เรล/วัน และแหล่ง G4/43 ที่มีกำลังการผลิตเริ่มต้นประมาณ 5 พันบาร์เรล/วัน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 7-8 พันบาร์เรล/วัน
นายอนนต์ คาดว่าช่วงครึ่งปีหลังบริษัทจะสามารถจ่ายเงินปันผลได้ใกล้เคียงกันช่วงครึ่งปีแรกที่จ่ายอัตรา 43% ของกำไรสุทธิ หรือ จ่ายเเป็นงินปันผลหุ้นละ 2.86 บาท ซึ่งทั้งปีบริษัทจะจ่ายเงินปันผลเฉลี่ยในอัตรา 43% ของกำไรสุทธิ เพราะเชื่อว่าครึ่งปีหลังกำไรของบริษัทยังเติบโตต่อเนื่อง
ส่วนแผนขุดเจาะและสำรวจแหล่งปิโตรเลียมปีนี้จะปรับลดลงเหลือ 56 หลุมจากเดิมที่วางแผนไว้ 61 จุด ขณะที่ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 2.6-2.8 เหรียญ/บาร์เรล จากปี 50 มีต้นทุนเฉลี่ย 2.33 เหรียญ/บาร์เรล เนื่องจากค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในส่วนการขนส่ง และค่าเช่าเรือ
สำหรับแหล่งในเวียดนาม ที่ผ่านมาบริษัทพบว่าสำรวจ TGD-1X-ST1 ในแปลง 16-1โครงการเวียดนาม มีอัตราของน้ำมัน ก๊าซ และคอนเดินเสทในปริมาณต่ำ ดังนั้น บริษัทจะปิดการสำรวจและจะตั้งสำรอง แต่อยู่ระหว่างการประเมินตัวเลข คาดว่าจะได้ข้อชัดเจนเดือนต.ค.นี้ แต่จะบันทึกเมื่อไรบริษัทจะพิจารณาอีกครั้ง
ทั้งนี้ ในปี 52 บริษัทคาดว่าจะมีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากแหล่งเจดีเอ ที่คาดว่าจะเสร็จในครึ่งหลังปี 52 และตามแผนคาดจะผลิตได้ในช่วงไตรมาส 4/52 โดยเบื้องต้นคาดปริมาณผลผลิตประมาณ 270 ล้านลบ.ฟุต/วัน และสามารถผลิตได้เต็มที่เป็น 470 ล้านลบ.ฟุต/วันในปี 55
เล็งเพิ่มงบลงทุนปี 52 หลังกำหนดราคาขายก๊าซแหล่ง M-9
นายอนนต์กล่าวว่าสำหรับงบลงทุนในปี 51 บริษัทยังคงแผนการลงทุนที่ 8.1 หมื่นล้านบาท แต่จะปรับเพิ่มงบในปี 52 จากเดิมจะใช้งบลงทุน 6.9 หมื่นล้านบาท เพราะต้องลงทุนในแหล่ง M-9 ในพม่า หลังการเซ็นสัญญาการขายก๊าซให้กับ บมจ.ปตท(PTT)ช่วงปลายปีนี้ ส่วนแหล่งอื่นอาจจะมีการปรับเพิ่มเงินลงทุน
" นอกจากบริษัทจะขุดเจาะและสำรวจด้วยตัวเอง ยังมองแนวทาง M&A กับบริษัทอื่นเพื่อขยายขนาดการลงทุนของบริษัท แต่เราก็ยังต้องการศึกษารายละเอียด ตัวโครงการต้องมีขนาดใหญ่เพียงพอดีกับศักยภาพของ ปตท.สผ. ถ้าขนาดเล็กเกินไปเราไม่สนใจ และ โครงการจะต้องมีคุณภาพ สามารถให้ผลตอบแทน สูงถึง 30%" นายอนนต์ กล่าว
ทั้งนี้ ในอนาคตบริษัทจะเน้นการลงทุนไปต่างประเทศ จากปัจจุบัน ปตท.สผ.ลงทุนในอ่าวไทยเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งประเทศที่มองว่ามีศักยภาพ คือ อิหร่าน โอมาน บาห์เรน รวมถึงประเทศในแถบอาเซียน ซึ่งบริษัทให้ความสำคัญกับประเทศพม่า เพราะมีแหล่งสำรวจที่มีจำนวนมาก รองจากในประเทศ
ส่วนแหล่งนาทูน่าในอินโดนีเซียนั้น เครือ ปตท. แสดงความสนใที่จะเข้าจะร่วมประมูลโครงการนี้ด้วย ซึ่งบริษัทก็เห็นด้วย เพราะแหล่งนาทูน่าเป็นแหล่งก๊าซขนาดใหญ่ระดับต้น ๆ ของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งคาดว่าจะได้แผนร่วมทุนที่ชัดเจนใน 1-2 ปี โดยปตท.จะเป็นผู้เจรจากับหน่วยงานของอินโดนีเซีย และมองว่า
โครงการแหล่งนาทูน่า จำเป็นต้องร่วมทุนกันหลายประเทศ เพราะเป็นแหล่งใหญ่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล โดยประเทศที่มีศักยภาพได้แก่ สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย เป็นต้น
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม(PTTEP) คาดว่ารายได้ในช่วงครึ่งปีหลังจะดีกว่าครึ่งปีแรก ที่มีรายได้ 6.32 หมื่นล้านบาท เนื่องจากบริษัทมีปริมาณการขายเพิ่มขึ้นจากผลผลิตของแหล่งอาทิตย์และแหล่งอาทิตย์เหนือที่เริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ได้ตามกำหนด
"เรายังมั่นใจว่าครึ่งปีหลังรายได้จะสูงกว่าครึ่งปีแรก เพราะปริมาณการขายสูงกว่า เพราะครึ่งปีแรกเรารับรู้จากแหล่งอาทิตย์เพียงบางส่วน แม้ราคาขายในตลาดโลกจะปรับตัวลดลงต่อเนื่อง แต่ปีนี้ราคาน้ำมันดิบก็ยังน่าจะสูงกว่า 100 เหรียญ/บาร์เรล " นายอนนต์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม บริษัทคงเป้าหมายปริมาณขายทั้งปี 51 ที่เฉลี่ย 2.23 แสนบาร์เรล/วัน ขณะที่แหล่งอาทิตย์เริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ เม.ย.ที่ผ่านมา มีกำลังการผลิตคอนเดนเสดเกือบ 1.5 หมื่นบาร์เรล/วัน สูงจากประมาณการที่คาดว่าจะผลิตได้เพียง 1 หมื่นบาร์เรล/วัน
ส่วนปริมาณผลผลิตก๊าซได้ตามเป้าหมายที่ 330 ล้านลบ.ฟุต/วัน
โดยแหล่งอาทิตย์เหนือจะเริ่มผลิตได้ในเดือน ต.ค.51 ซึ่งแม้จะล่าช้ากว่าแผนประมาณ 1 เดือน แต่เชื่อว่าจะผลิตได้ตามเป้าหมายที่ปริมาณก๊าซ 120 ล้านลบ.ฟุต/วัน ขณะที่มีปริมาณปิโตรเลียมเพิ่มจากแหล่งเวียดนาม 9-2 ประมาณ 2 หมื่นบาร์เรล/วัน และแหล่ง G4/43 ที่มีกำลังการผลิตเริ่มต้นประมาณ 5 พันบาร์เรล/วัน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 7-8 พันบาร์เรล/วัน
นายอนนต์ คาดว่าช่วงครึ่งปีหลังบริษัทจะสามารถจ่ายเงินปันผลได้ใกล้เคียงกันช่วงครึ่งปีแรกที่จ่ายอัตรา 43% ของกำไรสุทธิ หรือ จ่ายเเป็นงินปันผลหุ้นละ 2.86 บาท ซึ่งทั้งปีบริษัทจะจ่ายเงินปันผลเฉลี่ยในอัตรา 43% ของกำไรสุทธิ เพราะเชื่อว่าครึ่งปีหลังกำไรของบริษัทยังเติบโตต่อเนื่อง
ส่วนแผนขุดเจาะและสำรวจแหล่งปิโตรเลียมปีนี้จะปรับลดลงเหลือ 56 หลุมจากเดิมที่วางแผนไว้ 61 จุด ขณะที่ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 2.6-2.8 เหรียญ/บาร์เรล จากปี 50 มีต้นทุนเฉลี่ย 2.33 เหรียญ/บาร์เรล เนื่องจากค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในส่วนการขนส่ง และค่าเช่าเรือ
สำหรับแหล่งในเวียดนาม ที่ผ่านมาบริษัทพบว่าสำรวจ TGD-1X-ST1 ในแปลง 16-1โครงการเวียดนาม มีอัตราของน้ำมัน ก๊าซ และคอนเดินเสทในปริมาณต่ำ ดังนั้น บริษัทจะปิดการสำรวจและจะตั้งสำรอง แต่อยู่ระหว่างการประเมินตัวเลข คาดว่าจะได้ข้อชัดเจนเดือนต.ค.นี้ แต่จะบันทึกเมื่อไรบริษัทจะพิจารณาอีกครั้ง
ทั้งนี้ ในปี 52 บริษัทคาดว่าจะมีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากแหล่งเจดีเอ ที่คาดว่าจะเสร็จในครึ่งหลังปี 52 และตามแผนคาดจะผลิตได้ในช่วงไตรมาส 4/52 โดยเบื้องต้นคาดปริมาณผลผลิตประมาณ 270 ล้านลบ.ฟุต/วัน และสามารถผลิตได้เต็มที่เป็น 470 ล้านลบ.ฟุต/วันในปี 55
เล็งเพิ่มงบลงทุนปี 52 หลังกำหนดราคาขายก๊าซแหล่ง M-9
นายอนนต์กล่าวว่าสำหรับงบลงทุนในปี 51 บริษัทยังคงแผนการลงทุนที่ 8.1 หมื่นล้านบาท แต่จะปรับเพิ่มงบในปี 52 จากเดิมจะใช้งบลงทุน 6.9 หมื่นล้านบาท เพราะต้องลงทุนในแหล่ง M-9 ในพม่า หลังการเซ็นสัญญาการขายก๊าซให้กับ บมจ.ปตท(PTT)ช่วงปลายปีนี้ ส่วนแหล่งอื่นอาจจะมีการปรับเพิ่มเงินลงทุน
" นอกจากบริษัทจะขุดเจาะและสำรวจด้วยตัวเอง ยังมองแนวทาง M&A กับบริษัทอื่นเพื่อขยายขนาดการลงทุนของบริษัท แต่เราก็ยังต้องการศึกษารายละเอียด ตัวโครงการต้องมีขนาดใหญ่เพียงพอดีกับศักยภาพของ ปตท.สผ. ถ้าขนาดเล็กเกินไปเราไม่สนใจ และ โครงการจะต้องมีคุณภาพ สามารถให้ผลตอบแทน สูงถึง 30%" นายอนนต์ กล่าว
ทั้งนี้ ในอนาคตบริษัทจะเน้นการลงทุนไปต่างประเทศ จากปัจจุบัน ปตท.สผ.ลงทุนในอ่าวไทยเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งประเทศที่มองว่ามีศักยภาพ คือ อิหร่าน โอมาน บาห์เรน รวมถึงประเทศในแถบอาเซียน ซึ่งบริษัทให้ความสำคัญกับประเทศพม่า เพราะมีแหล่งสำรวจที่มีจำนวนมาก รองจากในประเทศ
ส่วนแหล่งนาทูน่าในอินโดนีเซียนั้น เครือ ปตท. แสดงความสนใที่จะเข้าจะร่วมประมูลโครงการนี้ด้วย ซึ่งบริษัทก็เห็นด้วย เพราะแหล่งนาทูน่าเป็นแหล่งก๊าซขนาดใหญ่ระดับต้น ๆ ของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งคาดว่าจะได้แผนร่วมทุนที่ชัดเจนใน 1-2 ปี โดยปตท.จะเป็นผู้เจรจากับหน่วยงานของอินโดนีเซีย และมองว่า
โครงการแหล่งนาทูน่า จำเป็นต้องร่วมทุนกันหลายประเทศ เพราะเป็นแหล่งใหญ่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล โดยประเทศที่มีศักยภาพได้แก่ สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย เป็นต้น