เคทีบี ลีสซิ่ง เตรียมรุกตลาดผ่านแบงก์กรุงไทยเพิ่ม เน้นลูกค้าบัญชีเงินเดือนผ่านกรุงไทย เพราะช่วยให้เอ็นพีแอลอยู่ในระดับต่ำ ยันสินเชื่อโตตามเป้าหมาย 1.5 หมื่นล้าน จากช่วงครึ่งปีแรกที่ปล่อยกู้ได้ 6.5 พันล้าน
นายภิญญาวัฒน์ จันทรกานตานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เคทีบี ลีสซิ่ง จำกัด เปิดเผยว่า แนวทางการดำเนินธุรกิจจากนี้ไปถึงสิ้นปี บริษัทจะเน้นการเป็นส่วนหนึ่งของธนาคารสะดวกซื้อใช้สาขาขอธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ที่มีอยู่กว่า 800 สาขาทำหน้าที่เป็นช่องทางการขายเหมือนเดิม แต่จะมีการุกตลาดให้มากขึ้นด้วยการร่วมกับธนาคารกรุงไทยจัดกิจกรรมเพื่อให้ลูกค้ารับรู้มากขึ้น ซึ่งจากการทำกิจกรรมในภูมิภาคนั้นได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีและเป็นส่วนกระตุ้นยอดสินเชื่อให้เพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายจะยังเน้นลูกค้าที่มีบัญชีเงินเดือนผ่านธนาคารกรุงไทยเหมือนเดิม ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีลูกค้าที่มีบัญชีเงินเดือนผ่านธนาคารกรุงไทยเพียง 5% จากยอดลูกค้าที่มีบัญชีเงินเดือนผ่านธนาคารกรุงไทย กว่า 2 ล้านราย ส่วนกรณีที่ดอกเบี้ยในระบบปรับขึ้น ทำให้ต้นทุนของบริษัทปรับขึ้นด้วยเช่นกัน 0.25%แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (สเปรด) ของบริษัทแคบลง โดยเฉลี่ยแล้วสเปรดของบริษัทอยู่ที่ประมาณ 5%
"จากแผนที่วางไว้เชื่อว่าทั้งปีจะทำให้ยอดปล่อยสินเชื่อใหม่ทำได้ 1.5หมื่นล้านบาทได้แน่นอน โดยในช่วง 6 เดือนทำได้ 6.5พันล้านบาท และเชื่อว่าสิ้นปียอดสินเชื่อคงค้างจะอยู่ที่ 1.8-1.9หมื่นล้านบาท และทำให้บริษัทมีกำไรได้ตามเป้าหมายที่ 140 ล้านบาท โดย 6 เดือนมีกำไรอยู่ที่ 40 ล้านบาท และวางแผนเอาไว้ว่าสิ้นปีจะมียอดลูกค้าเพิ่มเป็น 1.3แสนราย จากปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 8หมื่นราย"
นายภิญญาวัฒน์กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ สินเชื่ออุปโภคบริโภค ได้รับผลกระทบน้อยมาก เนื่องจากเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในประจำวัน และยอดการขอสินเชื่ออุปโภคบริโภคแต่ละครั้งก็มีวงเงินสินเชื่อที่ไม่ได้สูงมากนัก มีระยะเวลาการผ่อนชำระที่สั้น และที่สำคัญบริษัทใช้นโยบายการหักบัญชีผ่านธนาคารกรุงไทย เพราะลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าที่มีเงินเดือนผ่านธนาคารกรุงไทย
ส่วนลูกค้าที่ไม่มีบัญชีเงินเดือนผ่านธนาคารกรุงไทย ก็ใช้วิธีเดียวกันแต่ลูกค้ากลุ่มนี้ต้องเปิดบัญชีกับธนาคารกรุงไทย เพื่อให้บริษัทตัดค่างวดการผ่อนชำระได้ การดำเนินการในลักษณะนี้ทำให้ยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือเอ็นพีแอล เกิดขึ้นน้อยมาก ณ ปัจจุบันมีอยู่ 1.6%จากพอร์ตสินเชื่อ 1.2 หมื่นล้านบาท ในขณะที่ระบบมีเอ็นพีแอลอยู่ที่ประมาณ 3%
"สินค้าคอนซูเมอร์ ใช้วิธีตัดบัญชีทั้งหมด จึงทำให้มียอดเอ็นพีแอลต่ำ แต่ภาวะแบบนี้ก็ได้คุมเข้มสินเชื่อที่ปล่อยให้กับบุคคลทั่วไปมากขึ้น เพราะมีความกังวลในเรื่องเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในขณะนี้ แต่สัญญาณการเป็นเอ็นพีแอลของลูกค้าประเภทบุคคลนั้นยังไม่ชัดเจน แต่เราก็ต้องคุมเข้มเอาไว้ก่อน ทำให้จากนี้ไปเราต้องเข้มงวดกับการปล่อยกู้มากขึ้นมีการติดตามหนี้มากขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดเป็นหนี้เสีย"
นายภิญญาวัฒน์ กล่าวว่า สิ่งหนึ่งที่ทำให้ยอดเอ็นพีแอลลดลงเพราะเลือกกลุ่มลูกค้าทำงานและยอดการผ่อนชำระก็ไม่ได้สูงมากนัก ขั้นต่ำอยู่ที่ 500 บาท ต่องวด เพราะถือว่าคุ้มค่ากับการดำเนินงาน ส่วนสูงสุดก็จะอยู่หลักหมื่นบาทต้นๆ สำหรับพอร์ตสินเชื่อของบริษัท ปัจจุบัน เป็นสินเชื่ออุปโภคบริโภค25% สินเชื่อรถยนต์30-35% ที่เหลือเป็นสินเชื่อนิติบุคคล โดยเฉพาะกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง และจากการที่บริษัทจะเข้าสู่ปีที่สามของการเปิดให้บริการ นั้น จึงได้ขยายสาขาในต่างจังหวัดเพิ่มอีก 3จังหวัด หลังจากเปิดไปแล้ว 6 จังหวัดด้วยกันคือ เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี พิษณุโลก อุบลราชธานี ขอนแก่นและนครราชสีมา โดยจังหวัดที่จะเปิดใหม่คือ ระยอง ภูเก็ตและสงขลา โดยจะเปิดให้บริการได้ภายในสิ้นปีนี้เพื่อรองรับธุรกิจที่เติบโตต่อเนื่อง นอกจากนี้ก็จะให้บริการสินเชื่อเครื่องยนต์ เอ็นจีวีสำหรับผู้ประกอบการด้วย
นายภิญญาวัฒน์ จันทรกานตานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เคทีบี ลีสซิ่ง จำกัด เปิดเผยว่า แนวทางการดำเนินธุรกิจจากนี้ไปถึงสิ้นปี บริษัทจะเน้นการเป็นส่วนหนึ่งของธนาคารสะดวกซื้อใช้สาขาขอธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ที่มีอยู่กว่า 800 สาขาทำหน้าที่เป็นช่องทางการขายเหมือนเดิม แต่จะมีการุกตลาดให้มากขึ้นด้วยการร่วมกับธนาคารกรุงไทยจัดกิจกรรมเพื่อให้ลูกค้ารับรู้มากขึ้น ซึ่งจากการทำกิจกรรมในภูมิภาคนั้นได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีและเป็นส่วนกระตุ้นยอดสินเชื่อให้เพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายจะยังเน้นลูกค้าที่มีบัญชีเงินเดือนผ่านธนาคารกรุงไทยเหมือนเดิม ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีลูกค้าที่มีบัญชีเงินเดือนผ่านธนาคารกรุงไทยเพียง 5% จากยอดลูกค้าที่มีบัญชีเงินเดือนผ่านธนาคารกรุงไทย กว่า 2 ล้านราย ส่วนกรณีที่ดอกเบี้ยในระบบปรับขึ้น ทำให้ต้นทุนของบริษัทปรับขึ้นด้วยเช่นกัน 0.25%แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (สเปรด) ของบริษัทแคบลง โดยเฉลี่ยแล้วสเปรดของบริษัทอยู่ที่ประมาณ 5%
"จากแผนที่วางไว้เชื่อว่าทั้งปีจะทำให้ยอดปล่อยสินเชื่อใหม่ทำได้ 1.5หมื่นล้านบาทได้แน่นอน โดยในช่วง 6 เดือนทำได้ 6.5พันล้านบาท และเชื่อว่าสิ้นปียอดสินเชื่อคงค้างจะอยู่ที่ 1.8-1.9หมื่นล้านบาท และทำให้บริษัทมีกำไรได้ตามเป้าหมายที่ 140 ล้านบาท โดย 6 เดือนมีกำไรอยู่ที่ 40 ล้านบาท และวางแผนเอาไว้ว่าสิ้นปีจะมียอดลูกค้าเพิ่มเป็น 1.3แสนราย จากปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 8หมื่นราย"
นายภิญญาวัฒน์กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ สินเชื่ออุปโภคบริโภค ได้รับผลกระทบน้อยมาก เนื่องจากเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในประจำวัน และยอดการขอสินเชื่ออุปโภคบริโภคแต่ละครั้งก็มีวงเงินสินเชื่อที่ไม่ได้สูงมากนัก มีระยะเวลาการผ่อนชำระที่สั้น และที่สำคัญบริษัทใช้นโยบายการหักบัญชีผ่านธนาคารกรุงไทย เพราะลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าที่มีเงินเดือนผ่านธนาคารกรุงไทย
ส่วนลูกค้าที่ไม่มีบัญชีเงินเดือนผ่านธนาคารกรุงไทย ก็ใช้วิธีเดียวกันแต่ลูกค้ากลุ่มนี้ต้องเปิดบัญชีกับธนาคารกรุงไทย เพื่อให้บริษัทตัดค่างวดการผ่อนชำระได้ การดำเนินการในลักษณะนี้ทำให้ยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือเอ็นพีแอล เกิดขึ้นน้อยมาก ณ ปัจจุบันมีอยู่ 1.6%จากพอร์ตสินเชื่อ 1.2 หมื่นล้านบาท ในขณะที่ระบบมีเอ็นพีแอลอยู่ที่ประมาณ 3%
"สินค้าคอนซูเมอร์ ใช้วิธีตัดบัญชีทั้งหมด จึงทำให้มียอดเอ็นพีแอลต่ำ แต่ภาวะแบบนี้ก็ได้คุมเข้มสินเชื่อที่ปล่อยให้กับบุคคลทั่วไปมากขึ้น เพราะมีความกังวลในเรื่องเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในขณะนี้ แต่สัญญาณการเป็นเอ็นพีแอลของลูกค้าประเภทบุคคลนั้นยังไม่ชัดเจน แต่เราก็ต้องคุมเข้มเอาไว้ก่อน ทำให้จากนี้ไปเราต้องเข้มงวดกับการปล่อยกู้มากขึ้นมีการติดตามหนี้มากขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดเป็นหนี้เสีย"
นายภิญญาวัฒน์ กล่าวว่า สิ่งหนึ่งที่ทำให้ยอดเอ็นพีแอลลดลงเพราะเลือกกลุ่มลูกค้าทำงานและยอดการผ่อนชำระก็ไม่ได้สูงมากนัก ขั้นต่ำอยู่ที่ 500 บาท ต่องวด เพราะถือว่าคุ้มค่ากับการดำเนินงาน ส่วนสูงสุดก็จะอยู่หลักหมื่นบาทต้นๆ สำหรับพอร์ตสินเชื่อของบริษัท ปัจจุบัน เป็นสินเชื่ออุปโภคบริโภค25% สินเชื่อรถยนต์30-35% ที่เหลือเป็นสินเชื่อนิติบุคคล โดยเฉพาะกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง และจากการที่บริษัทจะเข้าสู่ปีที่สามของการเปิดให้บริการ นั้น จึงได้ขยายสาขาในต่างจังหวัดเพิ่มอีก 3จังหวัด หลังจากเปิดไปแล้ว 6 จังหวัดด้วยกันคือ เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี พิษณุโลก อุบลราชธานี ขอนแก่นและนครราชสีมา โดยจังหวัดที่จะเปิดใหม่คือ ระยอง ภูเก็ตและสงขลา โดยจะเปิดให้บริการได้ภายในสิ้นปีนี้เพื่อรองรับธุรกิจที่เติบโตต่อเนื่อง นอกจากนี้ก็จะให้บริการสินเชื่อเครื่องยนต์ เอ็นจีวีสำหรับผู้ประกอบการด้วย