ธปท.เตรียมนำปัจจัยมาตรการ 6 ข้อกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐและการปรับขึ้นดอกเบี้ยของกนง.มาประเมินเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อใหม่ พร้อมทั้งปรับสมมติฐานราคาน้ำมันใหม่ หลังราคาลดลง 20 เหรียญต่อบาร์เรล ขณะเดียวกันเชื่อแม้กนง.ไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ย แต่ในที่สุดแบงก์ต้องปรับตัว เพื่อให้เกิดความสมดุล ระบุส่วนต่างดอกเบี้ยเยอะไม่ได้มีกำไรเสมอไป เพราะแบงก์มีต้นทุนการดำเนินธุรกิจด้านอื่นด้วย
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยอาวุโส ฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท) กล่าวว่า ขณะนี้ทางสายนโยบายสถาบันการเงินกำลังอยู่ระหว่างจัดทำประมาณการเศรษฐกิจใหม่ในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับล่าสุดเดือนกรกฎาคม ในวันที่ 28 ก.ค.นี้ โดยจะนำปัจจัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งสะท้อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อมาพิจารณาทั้งมาตรการ 6 ข้อ 6 เดือนที่ช่วยบรรเทาปัญหาค่าครองชีพสูงของรัฐบาลมาประเมินเพิ่มเติม รวมทั้งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)
นอกจากนี้อาจมีการพิจารณาทบทวนสมมติฐานราคาน้ำมันดูไบเฉลี่ยทั้งปีใหม่ เพราะราคาเฉลี่ยที่กนง.ประเมินครั้งที่ผ่านมาสูงกว่าความเป็นจริง โดยในช่วงที่มีประเมินใหม่ครั้งนั้นราคาน้ำมันปรับตัวสูงมากกว่า 140 เหรียญต่อบาร์เรล ทำให้มองว่าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ราคาน้ำมันน่าจะสูงกว่า 150 เหรียญต่อบาร์เรล แต่แต่ขณะนี้ราคาน้ำมันเริ่มปรับลดลงมาแล้ว 20 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งการลดลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อ
ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวว่า สำหรับกรณีที่ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐมีการแข่งขันปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะสั้นเชื่อว่าไม่ได้มีปัญหาขาดสภาพคล่อง แต่เป็นการเร่งระดมเงินฝากของระบบสถาบันการเงิน เนื่องจากในขณะนี้ระบบการเงินโลกเกิดปัญหาขาดแคลนสภาพคล่อง และเชื่อว่าสภาพคล่องในระบบยังไม่ถึงกับเกิดภาวะตึงตัวเห็นได้จากสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากยังอยู่ในระดับสูงถึง 90% จึงมีโอกาสที่สถาบันการเงินยังสามารถปล่อยสินเชื่อได้อยู่
ทั้งนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั้งของกนง.และธนาคารพาณิชย์นั้นเป็นเพียงการปรับความสมดุลของระบบการเงินตามราคาค่าของเงินในปัจจุบัน กล่าวคือ อัตราดอกเบี้ยที่ควรจะเป็น เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาไทยมีอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในระดับต่ำมากจนกระทั่งไม่สามารถจูงใจผู้ออมเงินได้ ซึ่งปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงติดลบถึง 6.6% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ติดลบ 1.65% ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและหากยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป
“ในช่วงที่ผ่านมาเมื่ออัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ำมากเป็นเวลานาน ทำให้คนหันไปลงทุนในตราสารหนี้ หรือลงทุนอย่างอื่นยิ่งส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดต่ำลงอีก นอกจากนั้น อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงที่ติดลบ แสดงให้เห็นว่า มีความต้องการกู้มากขึ้น ดังนั้น ธนาคารพาณิชย์ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเองในที่สุด แม้กนง.จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็ตาม”นางอมรากล่าว
ด้านนายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวถึงกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต้องการให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเท่านั้น แต่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยังคงไว้ และมองว่าในปัจจุบันส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ยังอยู่ในระดับที่สูงเกินไป ซึ่งสามารถทำกำไรได้มาก จึงควรมีการขอความร่วมมือสถาบันการเงิน เพื่อลดปัญหาค่าครองชีพที่สูงนั้นว่า แม้ขณะนี้ธนาคารพาณิชย์ในระบบมีส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากกับเงินกู้เฉลี่ยที่ 3-4% แต่ในการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินยังต้องมีต้นทุนในส่วนอื่นๆ ด้วย จึงไม่ใช่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสูงแล้วมีกำไรเยอะแต่อย่างเดียว
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยอาวุโส ฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท) กล่าวว่า ขณะนี้ทางสายนโยบายสถาบันการเงินกำลังอยู่ระหว่างจัดทำประมาณการเศรษฐกิจใหม่ในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับล่าสุดเดือนกรกฎาคม ในวันที่ 28 ก.ค.นี้ โดยจะนำปัจจัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งสะท้อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อมาพิจารณาทั้งมาตรการ 6 ข้อ 6 เดือนที่ช่วยบรรเทาปัญหาค่าครองชีพสูงของรัฐบาลมาประเมินเพิ่มเติม รวมทั้งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)
นอกจากนี้อาจมีการพิจารณาทบทวนสมมติฐานราคาน้ำมันดูไบเฉลี่ยทั้งปีใหม่ เพราะราคาเฉลี่ยที่กนง.ประเมินครั้งที่ผ่านมาสูงกว่าความเป็นจริง โดยในช่วงที่มีประเมินใหม่ครั้งนั้นราคาน้ำมันปรับตัวสูงมากกว่า 140 เหรียญต่อบาร์เรล ทำให้มองว่าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ราคาน้ำมันน่าจะสูงกว่า 150 เหรียญต่อบาร์เรล แต่แต่ขณะนี้ราคาน้ำมันเริ่มปรับลดลงมาแล้ว 20 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งการลดลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อ
ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวว่า สำหรับกรณีที่ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐมีการแข่งขันปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะสั้นเชื่อว่าไม่ได้มีปัญหาขาดสภาพคล่อง แต่เป็นการเร่งระดมเงินฝากของระบบสถาบันการเงิน เนื่องจากในขณะนี้ระบบการเงินโลกเกิดปัญหาขาดแคลนสภาพคล่อง และเชื่อว่าสภาพคล่องในระบบยังไม่ถึงกับเกิดภาวะตึงตัวเห็นได้จากสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากยังอยู่ในระดับสูงถึง 90% จึงมีโอกาสที่สถาบันการเงินยังสามารถปล่อยสินเชื่อได้อยู่
ทั้งนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั้งของกนง.และธนาคารพาณิชย์นั้นเป็นเพียงการปรับความสมดุลของระบบการเงินตามราคาค่าของเงินในปัจจุบัน กล่าวคือ อัตราดอกเบี้ยที่ควรจะเป็น เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาไทยมีอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในระดับต่ำมากจนกระทั่งไม่สามารถจูงใจผู้ออมเงินได้ ซึ่งปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงติดลบถึง 6.6% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ติดลบ 1.65% ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและหากยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป
“ในช่วงที่ผ่านมาเมื่ออัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ำมากเป็นเวลานาน ทำให้คนหันไปลงทุนในตราสารหนี้ หรือลงทุนอย่างอื่นยิ่งส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดต่ำลงอีก นอกจากนั้น อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงที่ติดลบ แสดงให้เห็นว่า มีความต้องการกู้มากขึ้น ดังนั้น ธนาคารพาณิชย์ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเองในที่สุด แม้กนง.จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็ตาม”นางอมรากล่าว
ด้านนายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวถึงกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต้องการให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเท่านั้น แต่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยังคงไว้ และมองว่าในปัจจุบันส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ยังอยู่ในระดับที่สูงเกินไป ซึ่งสามารถทำกำไรได้มาก จึงควรมีการขอความร่วมมือสถาบันการเงิน เพื่อลดปัญหาค่าครองชีพที่สูงนั้นว่า แม้ขณะนี้ธนาคารพาณิชย์ในระบบมีส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากกับเงินกู้เฉลี่ยที่ 3-4% แต่ในการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินยังต้องมีต้นทุนในส่วนอื่นๆ ด้วย จึงไม่ใช่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสูงแล้วมีกำไรเยอะแต่อย่างเดียว