xs
xsm
sm
md
lg

ธ.ยูเอสถือทองกันพิษศก.Q3

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ธ.ยูเลขาธิการสมาคมค้าทองคำ เผย แบงก์อเมริกากลัวล้มละลายเหมือน แฟนนี เม และ เฟรดดี แมค ขนเงินลงทุนในทองคำเพื่อเก็งกำไรทั่วหน้า อีกทั้งเฮดจ์ฟันด์ยังปั่นราคาไม่เลิก รวมทั้งเข้ามาลงทุนในจุดนี้มากขึ้น ชี้ซับไพร์ม ละลอกใหม่ใน ไตรมาส 3 แรงกว่า 2 ครั้งแรกที่ผ่าน พร้อมยืนยันสถานการณ์อิหร่าน - อสิราเอลช่วยดันราคาแค่เล็กน้อย แนะนักลงทุนควรถือแค่ระยะสั้น ป้องกันราคาผันผวนดิ่งกลับลงมา

นายพิชญา พิสุทธิกุล เลขาธิการสมาคมค้าทองคำและผู้บริหารห้างทองเลี่ยงเส็งเฮง เปิดเผยว่า ภาวะราคาทองคำที่มีการขยับตัวขึ้นในช่วงที่มีสถาการณ์ความตรึงเครียดในตะวันออกกลางระหว่างประเทศอิหร่านกับประเทศอิสราเอลนั้น ไม่ได้ส่งผลต่อราคาทองคำโดยตรงมากนัก แต่กรณีความตรึงเครียดระหว่างอิหร่านกับอิสราเอลนั้นจะส่งผลโดยตรงต่อเรื่องของราคานํ้ามันมากกว่า เพราะจะเกิดความกังวลในเรื่องปริมาณการผลิตและส่งออก เห็นได้จากการที่ประเทศอิหร่านได้ประกาศออกมาแล้วว่าหากโดนโจมตี เมื่อใดอิหร่านจะปิดช่องแคบ ฮอร์มุด ทันที ทำให้การขนส่งนํ้ามันนั้นต้องใช้เส้นทางอื่นที่ไกลกว่าและเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ การที่ทองคำมีการปรับตัวสูงขึ้นในช่วงนี้เป็นผลมาจากกรณีที่ บรรดาธนาคารพาณิชย์ต่างๆในประเทศสหรัฐอเมริกา ต้องนำเงินไปลงทุนในทองคำเพราะเกิดความไม่มั่นใจในเรื่องของสถานภาพธนาคารของตนเองที่ยังได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพร์มอยู่ และกำลังจะได้รับปัญหาซับไพร์มครั้งที่ 3 ในช่วงไตรมาสที่ 3 นี้ ซึ่งจะรุนแรงกว่า 2 ครั้งแรกที่เกิดขึ้น เพราะในขณะนี้ได้ปัญหาหนี้เสียได้ลุกลามไปเกิดขึ้นกับธุรกิจประเภทรถยนต์แล้ว จากเดิมที่เกิดขึ้นกับธุรกิจไม่กี่ประเภทเท่านั้น เช่น ธุรกิจบัตรเครดิต เป็นเพราะประชาชนในประเทศได้รับผลกระทบจากปัญๆหาค่าครองชีพและกับราคานํ้ามันที่เพิ่มสูงขึ้น จากปัญหาเงินเฟ้อ ทำให้ความสามารถในการผ่อนรถยนต์ลดลง

ดังนั้น จากกกรณีที่ รัฐบาลของอเมริกาได้เข้าไปอุ้มบริษัทให้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ 2 แห่งได้แก่ แฟนนี เม และ เฟรดดี แมค ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากปัญหาซับไพร์ม คิดเป็นมูคค่าหลายหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และล้มละลายในที่สุดจึงทำให้ธนาคารจำนวนหลายแห่งเกิดความกังวลว่าจะเกิด ผลกระทบลูกโซ่ที่จะลุกลามต่อเนื่องไปถึงที่อื่นๆ ( โดมิโน เอฟเฟ็ค) จึงพากันนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทอื่นที่มีความเชื่อมั่นและสามารถทำกำไรได้ รวมถึงทองคำด้วย

อย่างไรก็ตาม บรรดากองทุนต่างๆในต่างประเทศ ขณะนี้มีการเข้าไปลงทุนเพื่อเก็งกำไรในทองคำกันอย่างมากถึง 75% โดยอ้างถึงภาวะความไม่มั่นคงในภูมิภาคต่างๆ ของโลก เช่น สถานการณ์นิวเครียร์ของประเทศเกาหลีเหนือเมื่อไม่นานมานี้ เป็นต้น ทั้งที่สถานการณ์เหล่านี้ไม่ได้ส่งผลกระทบมากมายแต่อย่างใด และเมื่อปัญหาซับไพร์มที่ลุกลามไปทั่วโลกยังไม่มีท่าทีว่าจะเบาบางลง ราคาทองคำในช่วงทั้งปีต่อจากนี้ จะเป็นไปในลักษณะของการเก็งกำไรอยู่ตลอดเวลา รวมถึงการเก็งกำไรในราคานํ้ามัน และอัตราแลกเปลี่ยน ด้วยเช่นกัน ซึ่งราคาทองคำอาจจะพุ่งสูงขึ้น ไปถึงระดับ 17,000 บาทได้หรือไม่นั้นต้องจับตาดูความรุนแรงของสถานกาณ์ต่อจากนี้

"ส่วนนักลงทุนที่ะจะลงทุนในทองคำในช่วงนี้ว่า ควรจะเป็นการเข้าไปลงทุนในช่วงระยะสั้นๆเท่านั้นเพราะราคาทองคำมีความผันผวนขยับขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา" นายพิชญา กล่าว

นักวิเคราะห์รายหนยึ่ง กล่าวว่า ช่วงนี้ราคาทองคำทะยานขึ้นแข็งแกร่งเนื่องจากกระแสความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาของสถาบันการเงินในสหรัฐ หลังจากเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังเผชิญช่วงเวลาที่ยากลำบาก นอกจากนี้ สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนตัวลง กระตุ้นให้นักลงทุนย้ายฐานการลงทุนออกจากตลาดเงินและเข้าเทรดในตลาดทองคำ

ขณะที่ ยูบีเอส วาณิชธนกิจชั้นนำของโลก ปรับเพิ่มคาดการณ์ราคาทองคำในระยะสั้น ขึ้นมาอยู่ในระดับเฉลี่ย 1,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ในเดือนส.ค.นี้ จากเดิมที่ประเมินไว้ว่าจะอยู่ราว 900 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยในช่วง 3 เดือนข้างหน้า ยูบีเอสชี้ว่า ราคาทองคำน่าจะไต่ระดับไปจนถึงออนซ์ละ 1,050 ดอลลาร์ จากเดิมที่ 850 ดอลลาร์ โดยได้แรงหนุนจากภาวะปั่นป่วนใสนตลาดการเงินโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐ ประกอบกับเงินดอลลาร์อ่อนค่า ทำให้นักลงทุนหันมาให้ความสนใจกับทองคำมากขึ้นในฐานะแหล่งลงทุนที่ปลอดภัย

สำหรับ บริษัท แฟนนี เม ( FNMA : Federal National Mortgage Association ) และ บริษัท เฟรดดี แมค ( FHLMC : Federal Home Loan Mortgage Corporation ) ก่อตั้งครั้งแรก โดยประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ เพื่อเป็นช่องทางสำหรับประชาชนในการเข้าถึงสินเชื่อบ้านราคาถูกในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ช่วงทศวรรษที่ 1930 ซึ่งต่อมาทั้ง 2 หน่วยงานแปรรูปเป็นบริษัทเอกชน และระดมทุนผ่านตลาดหุ้นวอลสตรีต โดยไม่ได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ แต่ในส่วนของ เฟรดดี แมค มีเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีนั่งเป็นผู้อำนวยการร่วม 5 คน จากทั้งหมด 18 คน

โดยทั้ง 2 บริษัทมีการดำเนินการคล้ายคลึงกัน คือ ซื้อสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์จากธนาคารหรือผู้ปล่อยสินเชื่อซื้อบ้าน จากนั้นเปลี่ยนสินเชื่ออสังหาฯ เป็นหลักทรัพย์ และขายสินทรัพย์ที่ทางบริษัทได้รับประกันแล้วให้กับนักลงทุน แต่หลังจากที่ธนาคารและผู้ปล่อยกู้ รายใหญ่เริ่มเผชิญกับความสูญเสียหลายหมื่นล้านเหรียญสหรัฐจากการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย เนื่องจากตัวเลขหนี้เสียที่เกิดขึ้นจากผู้กู้ไม่สามารถแบกรับภาระทางการเงินได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงยอดขายที่อยู่อาศัยที่ลดลงอย่างฮวบฮาบ ในช่วงเวลาที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐเข้าสู่ช่วงพลิกผันในระยะ 2 ปีที่ ผ่านมา

ทั้งนี้ ราคาหุ้นของ แฟนนี เม และ เฟรดดี แมค ปรับลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากที่หุ้นของทั้งสองตกอยู่ในภาวะกดดันมาตลอด 1 ปี ทำให้ราคาหุ้นร่วงลงถึง 80% หลังจากวิกฤตซับไพรม์เริ่มมีความรุนแรงมากขึ้น ในที่สุด เฟรดดี แมค จึงได้ประกาศผลการขาดทุนมูลค่าหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐจากธุรกิจสินเชื่อและตลาดที่อยู่อาศัย ทำให้รัฐบาลสหรัฐต้องรับหน้าที่ดูแลกิจการในทันที่ตามกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม แฟนนี และ เฟรดดี เป็นสถาบันการเงินที่มียอดการให้สินเชื่อเพื่อการเคหะ เป็นมูลค่ารวมกันประมาณครึ่งหนึ่งของสินเชื่อเพื่อการเคหะทั้งระบบในสหรัฐฯ จึงถือเป็นสถาบันการเงินที่มีความสำคัญยิ่งในการสร้างเสถียรภาพให้แก่ตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัย
กำลังโหลดความคิดเห็น