แบงก์มองการขึ้นดอกเบี้ยของ กนง.ครั้งนี้เป็นเพียงการสกัดกั้นเงินเฟ้อไม่ให้สูงขึ้นเท่านั้น และมีผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายประชาชนที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย สามารถปรับตัวได้ ส่วนครึ่งปีหลังเศรษฐกิจทรงตัว ระบุแม้จะเหตุมีปัจจัยลบด้านเสถียรภาพการเมือง ราคาน้ำมัน เงินเฟ้อ วิกฤติสหรัฐ แต่เชื่อยังสามารถเดินต่อไปได้
นายธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยถึงกรณีที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง.มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ว่า เป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ เพื่อเป็นการชะลอไม่ให้อัตราเงินเฟ้อมีการปรับสูงขึ้นไปกว่านี้ อีกทั้งการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้เชื่อว่าคงจะไม่มีผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนมากนัก เนื่องจากเป็นการปรับขึ้นแบบมีขั้นตอนและค่อยๆขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนและนักลงทุนเกิดความตกใจ
อย่างไรก็ตามต่อจากนี้ไปอัตราเงินเฟ้อจะเป็นอย่างไรนั้นก็คงขึ้นอยู่กับปัจจัยราคาน้ำมันและการใช้จ่ายของประชาชนเป็นตัวกำหนด ในขณะเดียวกันธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เองก็คงจะต้องหามาตรการหลายๆด้านมาช่วยแก้ปัญหาต่อไป
สำหรับในส่วนของธนาคารพาณิชย์จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยทันทีหรือไม่นั้นก็คงจะต้องขึ้นอยู่กับต้นทุนการดำเนินงานของแต่ละธนาคารว่ามีการปรับขึ้นของต้นทุนหรือไม่ และสามารถแบกรับกับภาระต้นทุนเหล่านั้นได้มากน้อยแค่ไหน แต่อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจครึ่งปีหลังจะเป็นอย่างไรนั้นคงไม่มีใครสามารถตอบได้ เนื่องจากยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ทุกฝ่ายต้องจับตาและเฝ้าระวังคือเรื่องของราคาน้ำมัน เงินเฟ้อ วิกฤตซับไพร์มในสหรัฐที่ยังคงร้อนแรงและเป็นปัญหาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเห็นได้จากสถาบันการเงินต่างๆในสหรัฐที่กำลังมีปัญหาจนมีผลทำให้เกิดภาวะเงินตึงตัวในตลาดโลก และในที่สุดปัญหาดังกล่าวก็จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยแต่จะเป็นในทางอ้อมคือไทยจะมีปัญหาเรื่องสภาพคล่องที่ตึงตัวขึ้น
“การที่ กนง.มีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้คงจะช่วยสกัดปัญหาเงินเฟ้อได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น ส่วนในระยะยาวก็เชื่อว่าทางการเองก็คงจะต้องมีการหารือกันถึงเรื่องมาตรการต่างๆที่จะนำมาแก้ปัญหา ขณะเดียวกันการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ก็มีผลต่อภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนที่เพิ่มขึ้นในส่วนของการชำระหนี้ คืออาจจะทำให้จำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)เพิ่มขึ้นบ้างแต่ไม่มากนัก จากการที่แต่ละธนาคารมีการเข้มงวดเรื่องการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น” นายธวัชชัย กล่าว
ด้านนายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) กล่าวว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้เป็นการใช้มาตรการทางด้านดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อเท่านั้น ซึ่งก็คงจะช่วยเรื่องเงินเฟ้อได้ไม่มากนัก คือทำให้เงินเฟ้อไม่เพิ่มสูงขึ้นไปกว่านี้เพราะปัญหาเงินเฟ้อมาจากปัจจัยหมวดพลังงานและอาหารที่มีราคาแพงขึ้น ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้ทำให้ระดับเงินเฟ้อมีการปรับลดลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น การขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้จึงเป็นเพียงมาตรการที่ช่วยบรรเทาปัญหา โดยคาดการณ์ว่าระดับเงินเฟ้อในเดือนกรกฎาคมน่าจะมีการปรับเพิ่มเป็น 9% หากราคาน้ำมันยังพุ่งสูงขึ้นอย่างนี้
อย่างไรก็ตาม การขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในครั้งนี้ มีโอกาสทำให้บรรยากาศการลงทุนเกิดการชะลอตัวลงแต่เป็นการชะลอในระยะสั้นและสามารถเติบโตต่อได้ ขณะที่ผลกระทบต่อประชาชนการขึ้นดอกเบี้ยก็มีผลต่อการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในระดับหนึ่ง คือ ประชาชนจะต้องผ่อนชำระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นประมาณ 1.5% เช่นจากเดิมที่ลูกค้ามีการผ่อนชำระ 10,000 บาทต่อเดือนพอหลังจากที่มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยลูกค้าคนดังกล่าวก็จะต้องผ่อนชำระเพิ่มอีก 150 บาทในส่วนของดอกเบี้ย เป็นต้น
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งปีหลังว่า น่าจะอยู่ในลักษณะที่ทรงตัว เพราะยังมีปัจจัยลบค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นความไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาล ราคาน้ำมันแพง เงินเฟ้อสูง วิกฤติซับไพร์มในสหรัฐ เป็นต้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามเชื่อว่าเศรษฐกิจก็ยังพอไปได้ เนื่องจากโดยภาพรวมการส่งออกของไทยยังคงมีการขยายตัวได้ดี ส่วนด้านการจัดเก็บภาษีก็ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็ได้ออกมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีเงินเหลือพอที่จะใช้จ่ายอย่างอื่นได้
นายธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยถึงกรณีที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง.มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ว่า เป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ เพื่อเป็นการชะลอไม่ให้อัตราเงินเฟ้อมีการปรับสูงขึ้นไปกว่านี้ อีกทั้งการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้เชื่อว่าคงจะไม่มีผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนมากนัก เนื่องจากเป็นการปรับขึ้นแบบมีขั้นตอนและค่อยๆขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนและนักลงทุนเกิดความตกใจ
อย่างไรก็ตามต่อจากนี้ไปอัตราเงินเฟ้อจะเป็นอย่างไรนั้นก็คงขึ้นอยู่กับปัจจัยราคาน้ำมันและการใช้จ่ายของประชาชนเป็นตัวกำหนด ในขณะเดียวกันธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เองก็คงจะต้องหามาตรการหลายๆด้านมาช่วยแก้ปัญหาต่อไป
สำหรับในส่วนของธนาคารพาณิชย์จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยทันทีหรือไม่นั้นก็คงจะต้องขึ้นอยู่กับต้นทุนการดำเนินงานของแต่ละธนาคารว่ามีการปรับขึ้นของต้นทุนหรือไม่ และสามารถแบกรับกับภาระต้นทุนเหล่านั้นได้มากน้อยแค่ไหน แต่อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจครึ่งปีหลังจะเป็นอย่างไรนั้นคงไม่มีใครสามารถตอบได้ เนื่องจากยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ทุกฝ่ายต้องจับตาและเฝ้าระวังคือเรื่องของราคาน้ำมัน เงินเฟ้อ วิกฤตซับไพร์มในสหรัฐที่ยังคงร้อนแรงและเป็นปัญหาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเห็นได้จากสถาบันการเงินต่างๆในสหรัฐที่กำลังมีปัญหาจนมีผลทำให้เกิดภาวะเงินตึงตัวในตลาดโลก และในที่สุดปัญหาดังกล่าวก็จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยแต่จะเป็นในทางอ้อมคือไทยจะมีปัญหาเรื่องสภาพคล่องที่ตึงตัวขึ้น
“การที่ กนง.มีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้คงจะช่วยสกัดปัญหาเงินเฟ้อได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น ส่วนในระยะยาวก็เชื่อว่าทางการเองก็คงจะต้องมีการหารือกันถึงเรื่องมาตรการต่างๆที่จะนำมาแก้ปัญหา ขณะเดียวกันการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ก็มีผลต่อภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนที่เพิ่มขึ้นในส่วนของการชำระหนี้ คืออาจจะทำให้จำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)เพิ่มขึ้นบ้างแต่ไม่มากนัก จากการที่แต่ละธนาคารมีการเข้มงวดเรื่องการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น” นายธวัชชัย กล่าว
ด้านนายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) กล่าวว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้เป็นการใช้มาตรการทางด้านดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อเท่านั้น ซึ่งก็คงจะช่วยเรื่องเงินเฟ้อได้ไม่มากนัก คือทำให้เงินเฟ้อไม่เพิ่มสูงขึ้นไปกว่านี้เพราะปัญหาเงินเฟ้อมาจากปัจจัยหมวดพลังงานและอาหารที่มีราคาแพงขึ้น ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้ทำให้ระดับเงินเฟ้อมีการปรับลดลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น การขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้จึงเป็นเพียงมาตรการที่ช่วยบรรเทาปัญหา โดยคาดการณ์ว่าระดับเงินเฟ้อในเดือนกรกฎาคมน่าจะมีการปรับเพิ่มเป็น 9% หากราคาน้ำมันยังพุ่งสูงขึ้นอย่างนี้
อย่างไรก็ตาม การขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในครั้งนี้ มีโอกาสทำให้บรรยากาศการลงทุนเกิดการชะลอตัวลงแต่เป็นการชะลอในระยะสั้นและสามารถเติบโตต่อได้ ขณะที่ผลกระทบต่อประชาชนการขึ้นดอกเบี้ยก็มีผลต่อการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในระดับหนึ่ง คือ ประชาชนจะต้องผ่อนชำระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นประมาณ 1.5% เช่นจากเดิมที่ลูกค้ามีการผ่อนชำระ 10,000 บาทต่อเดือนพอหลังจากที่มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยลูกค้าคนดังกล่าวก็จะต้องผ่อนชำระเพิ่มอีก 150 บาทในส่วนของดอกเบี้ย เป็นต้น
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งปีหลังว่า น่าจะอยู่ในลักษณะที่ทรงตัว เพราะยังมีปัจจัยลบค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นความไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาล ราคาน้ำมันแพง เงินเฟ้อสูง วิกฤติซับไพร์มในสหรัฐ เป็นต้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามเชื่อว่าเศรษฐกิจก็ยังพอไปได้ เนื่องจากโดยภาพรวมการส่งออกของไทยยังคงมีการขยายตัวได้ดี ส่วนด้านการจัดเก็บภาษีก็ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็ได้ออกมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีเงินเหลือพอที่จะใช้จ่ายอย่างอื่นได้