ตลาดหุ้นไทยร่วงกว่า 13 จุด หลังวิกฤตซับไพรม์รอบใหม่เขย่าตลาดหุ้นทั่วโลก ด้านบล.ยูโอบีฯ ชี้ต่างชาติมีสิทธิทิ้งหุ้นไทยปีนี้แตะ 1 แสนล้านบาท เหตุราคาน้ำมันกดดันเงินเฟ้อ เศรษฐกิจหดตัว บวกกับปัจจัยด้านการเมืองที่อาจจะตึงเครียดมากขึ้นในอีก 1-2 เดือนข้างหน้า หากรัฐบาล "สมัคร" เดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ บล.ยอดสั่งขายมากสุดบล.เครดิต สวิส เฟิร์สท์ รองมาบล.ภัทร ขณะที่บลงยอดซื้อสุทธิอันดับ1 บล.เจ.พี.มอร์แกน
ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวานนี้ (14 ก.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นเปิดการซื้อขายในแดนบวกเล็กน้อยก่อนจะปรับตัวลดลงมาเคลื่อนไหวอยู่ในแดนลบ โดยได้รับปัจจัยลบเดิมๆ ที่ยังไม่มีวี่แววจะคลี่คลาย ทั้งเรื่องของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อ ทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น และสถานการณ์ทางการเมือง รวมถึงการประทุรอบใหม่ของปัญหาสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ที่เข้ามาผสมโรงและกดดันให้ตลาดหุ้นปรับตัวลดลง
โดยดัชนีตลาดหุ้นมีราคาสูงสุดที่ 730.54 จุด และปิดการซื้อขายที่จุดต่ำสุด 717.06 จุด ลดลงจากวันก่อนหน้า 13.23 จุด หรือคิดเป็น 1.81% มูลค่าการซื้อขายรวม 10,732.70 ล้านบาท ซึ่งนักลงทุนต่างประเทศยังคงเทขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง ยอดขายสุทธิรวม 2,009.13 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 1,032.78 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 976.35 ล้านบาท
นายโกสินทร์ ศรีไพบูลย์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)หรือ UOBKH เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยผันผวนในทิศทางปรับตัวลดลง จากความกังวลในเรื่องราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งปีหลัง ทำให้ประชาชนมีการลดการใช้จ่ายและการลงทุน
ขณะเดียวกันยังมีแรงเทขายหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ออกมา หลังจากที่คาดการณ์ว่าสถานการณ์การปล่อยสินเชื่อจะชะลอตัวและมีหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) มากขึ้น
สำหรับประเด็นที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี มีนโยบายให้สั่งซื้อน้ำมันดีเซลจากประเทศรัสเซียนั้น จะส่งผลกระทบต่อบริษัทโรงกลั่นในประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ส่วนเรื่องการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญก็จะส่งผลให้สถานการณ์ทางการเมืองในอีก 1-2 เดือนจะมีความตึงเครียดมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นใจของนักลงทุน
ด้านนักลงทุนต่างชาติยังคงมีการขายหุ้นไทยต่อเนื่องนั้น เป็นไปในทิศทางเดียวกับการขายหุ้นในตลาดหุ้นภูมิภาค จากการที่บริษัท Fannie Mae และ Freddie Mac ผู้เป็นเจ้าของและให้การรับประกันอสังหาริมทรัพย์มูลค่ากว่า 5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณครึ่งหนึ่งของสินเชื่อที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ ประสบปัญหาทางการเงินทำให้นักลงทุนกังวลว่าสถาบันการเงินหลายแห่งในสหรัฐฯ จะได้รับผลขาดทุนจากปัญหาซับไพรม์
"กองทุนต่างประเทศขายหุ้นออกมา เพื่อนำเงินไปสำรองไว้จ่ายให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนที่กังวลว่าปัญหาซับไพรม์อาจจะบานปลายมจึงต้องการไถ่ถอนหน่วยลงทุน ซึ่งผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์นั้นยังทราบว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด ดังนั้นจึงมีโอกาสที่นักลงทุนต่างชาติอาจจะขายหุ้นไทยออกมาถึงระดับ 100,000 ล้านบาท จากช่วงปี 2548-2549 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 130,000 ล้านบาท ขณะที่ตั้งแต่ต้นปีขายสุทธิไปแล้ว 72,283 .71 ล้านบาท"
สำหรับแนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยวันนี้ (15 ก.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นยังคงผันผวนและปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จากปัญหาทางด้านการเมือง น้ำมัน เศรษฐกิจที่ยังกดดันและนักลงทุนต่างชาติยังคงมีแรงขายสุทธิต่อเนื่องจากความกังวลปัญหาผลขาดทุนของสถาบันการเงินสหรัฐฯ จะมากน้อยเพียงใด หากมีผลขาดทุนมากกว่าที่คาดการณ์ไว้อาจจะทำให้มีแรงเทขายหุ้นไทยออกมาอีกรอบ โดยประเมินแนวรับที่ระดับ 710 จุด แนวต้านที่ระดับ 723-725 จุด
**ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงระนาว
นายชัย จิรเสวีนุประพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.พัฒนสิน กล่าวว่า ภาวะตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงสอดคล้องกับทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลก และเชื่อว่านักลงทุนต่างชาติยังเทขายสุทธิอย่างต่อเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาราคาน้ำมันที่จะไปกดดันอัตราเงินเฟ้อให้สูงขึ้น ส่งผลลบต่อเศรษฐกิจโดยรวม อีกทั้งปัญหาการเมืองที่ยังไม่คลี่คลาย
ส่วนแนวโน้มตลาดหุ้นในวันนี้ (15 ก.ค.51) คาดว่าดัชนีจะยังคงปรับตัวลงต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยเดิมทั้งราคาน้ำมัน เงินเฟ้อ ดอกเบี้ย เศรษฐกิจชะลอตัว โดยมีปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ กรณีที่นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีจะแถลงข่าว เกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบเต็มแพ็กเกจ ซึ่งกระทรวงการคลังจะนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
นอกจากนี้ ต้องติดตามการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) เพื่อพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในวันที่ 16 ก.ค. โดยคาดว่าจะมีการปรับขึ้น 0.25% เพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ และจะทำให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้น รวมทั้งการทยอยประกาศผลประกอบการไตรมาส 2/51 ของธนาคารพาณิชย์ว่าจะมีผลต่อตลาดหุ้นอย่างไร รวมไปถึงคดีนายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ กรณีการถือหุ้นบริษัทเอกชนเกิน 5% ที่ศาลฯนัดรับคำร้องในวันที่ 18 ก.ค. โดยบริษัทแนะนำนักลงทุนชะลอการลงทุน ซึ่งประเมินแนวรับที่ระดับ 710 จุด แนวต้าน 730 จุด
**ฝรั่งให้น้ำหนักหุ้นไทยต่ำ
บล.กิมเอ็ง ออกบทวิเคราะห์ ว่า นักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิออกมาอย่างต่อเนื่องตลอดเดือนที่ผ่านมา ซึ่ง 9 วันทำการซื้อขายในเดือนนี้กว่า 1.99 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ยอดขายสุทธิปีนี้(11ก.ค.)เพิ่มเป็น 7.03 หมื่นล้านบาท น่าแปลกใจที่นักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีข่าวร้ายออกมามาก แต่บล.กิมเอ็งมองว่าประเทศไทยอยู่ในฐานะที่ดีกว่าประเทศเพื่อบ้านโดยเปรียบเทียบทั้งภาวะเงินเฟ้อพุ่งสูงหรือภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว เนื่องจาก นักลงทุนต่างชาติไม่ได้ให้น้ำหนักกับประเทศไทยมากนักเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่นๆ และประเทศไทยยังคงติบโตจากฐานที่ต่ำโดยเปรียบเทียบในปีที่ผ่านมา ซึ่งอาจะเห็นตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงต่อในช่วงสั้นๆโดยมองว่ากากรปรับตัวลงในช่วงสั้นน่าจะเป็นโอกาสซื้อที่ดี
**บล.สั่งขายมากสุด5อันดับ
จากการรวบรวมข้อมูลบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ที่มีมูลค่าขายสุทธิมากที่สุด 5 อันดับแรก ประจำวันที่ 11 ก.ค.นี้ ประกอบด้วย บล.เครดิต สวิส เฟิร์สท์ บอสตัน(ประเทศไทย) ขายสุทธิ 14,841.55 ล้านบาท บล.ภัทร ขายสุทธิ 11,821.97 ล้านบาท บล.ซีแอล เอส เอ (ประเทศไทย) ขายสุทธิ 11,781.18 ล้านบาท บล. กรุงศรีอยุธยา ขายสุทธิ 10,708.95 ล้านบาท และบล.ยูบีเอส (ประเทศไทย) ขายสุทธิ 3,636.52 ล้านบาท
ด้านบล.ที่มียอดการซื้อสุทธิสูงสุด 5 อันดับแรก คือ 1.บล.เจ.พี.มอร์แกน (ประเทศไทย) ซื้อสุทธิ 11,995.63 ล้านบาท 2.บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ซื้อสุทธิ 6,978.92 ล้านบาท 3.บล.แอ๊ดคินซัน ซื้อสุทธิ 3,807.73 ล้านบาท 4..บล.ธนชาต ซื้อสุทธิ 3,604.09 ล้านบาท 5.บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) ซื้อสุทธิ 3,103.44 ล้านบาท
ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวานนี้ (14 ก.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นเปิดการซื้อขายในแดนบวกเล็กน้อยก่อนจะปรับตัวลดลงมาเคลื่อนไหวอยู่ในแดนลบ โดยได้รับปัจจัยลบเดิมๆ ที่ยังไม่มีวี่แววจะคลี่คลาย ทั้งเรื่องของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อ ทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น และสถานการณ์ทางการเมือง รวมถึงการประทุรอบใหม่ของปัญหาสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ที่เข้ามาผสมโรงและกดดันให้ตลาดหุ้นปรับตัวลดลง
โดยดัชนีตลาดหุ้นมีราคาสูงสุดที่ 730.54 จุด และปิดการซื้อขายที่จุดต่ำสุด 717.06 จุด ลดลงจากวันก่อนหน้า 13.23 จุด หรือคิดเป็น 1.81% มูลค่าการซื้อขายรวม 10,732.70 ล้านบาท ซึ่งนักลงทุนต่างประเทศยังคงเทขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง ยอดขายสุทธิรวม 2,009.13 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 1,032.78 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 976.35 ล้านบาท
นายโกสินทร์ ศรีไพบูลย์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)หรือ UOBKH เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยผันผวนในทิศทางปรับตัวลดลง จากความกังวลในเรื่องราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งปีหลัง ทำให้ประชาชนมีการลดการใช้จ่ายและการลงทุน
ขณะเดียวกันยังมีแรงเทขายหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ออกมา หลังจากที่คาดการณ์ว่าสถานการณ์การปล่อยสินเชื่อจะชะลอตัวและมีหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) มากขึ้น
สำหรับประเด็นที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี มีนโยบายให้สั่งซื้อน้ำมันดีเซลจากประเทศรัสเซียนั้น จะส่งผลกระทบต่อบริษัทโรงกลั่นในประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ส่วนเรื่องการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญก็จะส่งผลให้สถานการณ์ทางการเมืองในอีก 1-2 เดือนจะมีความตึงเครียดมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นใจของนักลงทุน
ด้านนักลงทุนต่างชาติยังคงมีการขายหุ้นไทยต่อเนื่องนั้น เป็นไปในทิศทางเดียวกับการขายหุ้นในตลาดหุ้นภูมิภาค จากการที่บริษัท Fannie Mae และ Freddie Mac ผู้เป็นเจ้าของและให้การรับประกันอสังหาริมทรัพย์มูลค่ากว่า 5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณครึ่งหนึ่งของสินเชื่อที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ ประสบปัญหาทางการเงินทำให้นักลงทุนกังวลว่าสถาบันการเงินหลายแห่งในสหรัฐฯ จะได้รับผลขาดทุนจากปัญหาซับไพรม์
"กองทุนต่างประเทศขายหุ้นออกมา เพื่อนำเงินไปสำรองไว้จ่ายให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนที่กังวลว่าปัญหาซับไพรม์อาจจะบานปลายมจึงต้องการไถ่ถอนหน่วยลงทุน ซึ่งผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์นั้นยังทราบว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด ดังนั้นจึงมีโอกาสที่นักลงทุนต่างชาติอาจจะขายหุ้นไทยออกมาถึงระดับ 100,000 ล้านบาท จากช่วงปี 2548-2549 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 130,000 ล้านบาท ขณะที่ตั้งแต่ต้นปีขายสุทธิไปแล้ว 72,283 .71 ล้านบาท"
สำหรับแนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยวันนี้ (15 ก.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นยังคงผันผวนและปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จากปัญหาทางด้านการเมือง น้ำมัน เศรษฐกิจที่ยังกดดันและนักลงทุนต่างชาติยังคงมีแรงขายสุทธิต่อเนื่องจากความกังวลปัญหาผลขาดทุนของสถาบันการเงินสหรัฐฯ จะมากน้อยเพียงใด หากมีผลขาดทุนมากกว่าที่คาดการณ์ไว้อาจจะทำให้มีแรงเทขายหุ้นไทยออกมาอีกรอบ โดยประเมินแนวรับที่ระดับ 710 จุด แนวต้านที่ระดับ 723-725 จุด
**ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงระนาว
นายชัย จิรเสวีนุประพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.พัฒนสิน กล่าวว่า ภาวะตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงสอดคล้องกับทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลก และเชื่อว่านักลงทุนต่างชาติยังเทขายสุทธิอย่างต่อเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาราคาน้ำมันที่จะไปกดดันอัตราเงินเฟ้อให้สูงขึ้น ส่งผลลบต่อเศรษฐกิจโดยรวม อีกทั้งปัญหาการเมืองที่ยังไม่คลี่คลาย
ส่วนแนวโน้มตลาดหุ้นในวันนี้ (15 ก.ค.51) คาดว่าดัชนีจะยังคงปรับตัวลงต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยเดิมทั้งราคาน้ำมัน เงินเฟ้อ ดอกเบี้ย เศรษฐกิจชะลอตัว โดยมีปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ กรณีที่นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีจะแถลงข่าว เกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบเต็มแพ็กเกจ ซึ่งกระทรวงการคลังจะนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
นอกจากนี้ ต้องติดตามการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) เพื่อพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในวันที่ 16 ก.ค. โดยคาดว่าจะมีการปรับขึ้น 0.25% เพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ และจะทำให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้น รวมทั้งการทยอยประกาศผลประกอบการไตรมาส 2/51 ของธนาคารพาณิชย์ว่าจะมีผลต่อตลาดหุ้นอย่างไร รวมไปถึงคดีนายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ กรณีการถือหุ้นบริษัทเอกชนเกิน 5% ที่ศาลฯนัดรับคำร้องในวันที่ 18 ก.ค. โดยบริษัทแนะนำนักลงทุนชะลอการลงทุน ซึ่งประเมินแนวรับที่ระดับ 710 จุด แนวต้าน 730 จุด
**ฝรั่งให้น้ำหนักหุ้นไทยต่ำ
บล.กิมเอ็ง ออกบทวิเคราะห์ ว่า นักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิออกมาอย่างต่อเนื่องตลอดเดือนที่ผ่านมา ซึ่ง 9 วันทำการซื้อขายในเดือนนี้กว่า 1.99 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ยอดขายสุทธิปีนี้(11ก.ค.)เพิ่มเป็น 7.03 หมื่นล้านบาท น่าแปลกใจที่นักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีข่าวร้ายออกมามาก แต่บล.กิมเอ็งมองว่าประเทศไทยอยู่ในฐานะที่ดีกว่าประเทศเพื่อบ้านโดยเปรียบเทียบทั้งภาวะเงินเฟ้อพุ่งสูงหรือภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว เนื่องจาก นักลงทุนต่างชาติไม่ได้ให้น้ำหนักกับประเทศไทยมากนักเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่นๆ และประเทศไทยยังคงติบโตจากฐานที่ต่ำโดยเปรียบเทียบในปีที่ผ่านมา ซึ่งอาจะเห็นตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงต่อในช่วงสั้นๆโดยมองว่ากากรปรับตัวลงในช่วงสั้นน่าจะเป็นโอกาสซื้อที่ดี
**บล.สั่งขายมากสุด5อันดับ
จากการรวบรวมข้อมูลบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ที่มีมูลค่าขายสุทธิมากที่สุด 5 อันดับแรก ประจำวันที่ 11 ก.ค.นี้ ประกอบด้วย บล.เครดิต สวิส เฟิร์สท์ บอสตัน(ประเทศไทย) ขายสุทธิ 14,841.55 ล้านบาท บล.ภัทร ขายสุทธิ 11,821.97 ล้านบาท บล.ซีแอล เอส เอ (ประเทศไทย) ขายสุทธิ 11,781.18 ล้านบาท บล. กรุงศรีอยุธยา ขายสุทธิ 10,708.95 ล้านบาท และบล.ยูบีเอส (ประเทศไทย) ขายสุทธิ 3,636.52 ล้านบาท
ด้านบล.ที่มียอดการซื้อสุทธิสูงสุด 5 อันดับแรก คือ 1.บล.เจ.พี.มอร์แกน (ประเทศไทย) ซื้อสุทธิ 11,995.63 ล้านบาท 2.บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ซื้อสุทธิ 6,978.92 ล้านบาท 3.บล.แอ๊ดคินซัน ซื้อสุทธิ 3,807.73 ล้านบาท 4..บล.ธนชาต ซื้อสุทธิ 3,604.09 ล้านบาท 5.บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) ซื้อสุทธิ 3,103.44 ล้านบาท