ผู้จัดการรายวัน - นักวิเคราะห์ ฟันธงปัญหาการเมืองถ่วงตลาดหุ้นไทย ผลักดันให้นักลงทุนต่างชาติทิ้งหุ้นขนเงินออกไปลงทุนตลาดอื่น "อดิพงษ์" เผยระยะสั้นดัชนีหุ้นมีโอกาสต่ำกว่า800 จุด พร้อมชี้ความขัดแย้งการเมืองขึ้นกับการเดินเกมของฝ่ายรัฐบาลที่ต้องการก่อให้เกิดความรุนแรงหรือไม่ ด้านเลขาฯ สมาคมนักวิเคราะห์ เตือนปัจจัยเสี่ยงใน-นอกประเทศ แนะถือเงินสด 50%
สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ยังเป็นปัจจัยหลักที่จะมีผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยในช่วงไตรมาส 2 นี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพิจารณาคดียุบพรรคการเมือง และคดีทุจริตของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่อยู่ระหว่างขั้นตอนตามกฎหมาย รวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย และคาดว่าขยายวงกว้างและลุกลามจนส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนได้
ทั้งนี้ ไตรมาสแรกปี 51 (1 ม.ค. - 31 มี.ค. 51) ดัชนีปิดที่ 817.03 จุด เทียบกับสิ้นปี 50 ที่ 858.10 จุด หรือลดลง 41.07 จุด คิดเป็น 4.79% มูลค่าการซื้อขายรวม 1,187,312.92 ล้านบาท เฉลี่ยวันละ 18,846.24 ล้านบาท โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 13,889.29 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 3,742.09 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 17,631.38 ล้านบาท
นายอดิพงษ์ ภัทรวิกรม ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)ไทยพาณิชย์ จำกัด กล่าวว่า เปิดเผยว่า ปัญหาทางการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่ลดความน่าสนใจในการลงทุนในตลาดหุ้นไทย และทำให้เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศไหลไปลงทุนในประเทศอื่น รวมถึงนักลงทุนต่างประเทศได้ทยอยขายหุ้นในตลาดหุ้นไทย โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน ทำให้มียอดขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติตั้งแต่ 1 ม.ค.-10 เม.ย. มีสูงถึง 14,167.99 ล้านบาท
สำหรับแนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นจะเคลื่อนไหวในลักษณะแกว่งตัวลดลง เนื่องจากการเมืองยังไม่คลี่คลายทำให้นักลงทุนหันไปลงทุนหุ้นขนาดเล็กแทน และอาจจะกดดันดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงต่ำกว่า 800 จุด แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศยังมีทิศทางที่ดี และกำไรบริษัทจดทะเบียนจะเติบโตไม่ต่ำกว่าเลข 2 หลัก
"หากหุ้นลดต่ำกว่า 800 จุด ถือเป็นระดับที่น่าเข้ามาลงทุนในระยะสั้น แต่ระยะยาวยังไม่น่าลงทุนไม่ว่าดัชนีจะปรับตัวอยู่ที่ระดับใด ต้องรอจนกว่าความขัดแย้งทางการเมืองคลี่คลายแล้ว แม้ว่าบริษัทจะยังคงเป้าดัชนีปีนี้ไว้ที่ 1,100 จุด"
นายอดิพงษ์ กล่าวว่า ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยท่าทีที่แข็งกร้าวของรัฐบาล รวมถึงความต้องการที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับคนบางคนจะก่อให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการลงทุน ทางการลงทุนสูงมาก เพราะรัฐบาลไม่สามารถดำเนินนโยบายได้อย่างเต็มที่
***แนะถือเงินสด50%ของพอร์ต
นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ปัจจัยที่จะกดดันดัชนีตลาดหุ้นไทยในช่วงหลังสงกรานต์ไปจนถึงสิ้นไตรมาส 2/51 มี 2 ปัจจัย คือ การเมืองในประเทศ ที่จะต้องติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะความเคลื่อนไหวต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล ขณะที่กลุ่มพันธมิตรฯที่ขัดค้านตามแนวระบอบประชาธิปไตยที่สามารถทำได้
"หากการคัดค้านอยู่ในกรอบที่ดี ไม่กลายเป็นเรื่องใหญ่ จะไม่กระทบกับความเชื่อมั่น แต่หากเกิดเป็นปัญหาขึ้นมาก็จะกระทบการลงทุนในตลาดหุ้นไทยได้ และยังต้องติดตามในเรื่องคดีเรื่องยุบพรรคว่าจะมีการยุบถึง 3 พรรคการเมืองหรือไม่ ซึ่งจะเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจ"
ปัจจัยที่ 2 ปัญหาสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ที่ส่งผลกระทบทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอย และลุกลามสู่เศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลก สังเกตได้จากไตรมาสแรกที่ผ่านมา มีเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศไหลออกไปลงทุนในตลาดพันธบัตร ดอกเบี้ย ทองคำ สินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ กดดันทำให้ตลาดทุนทั่วโลกปรับตัวลดลง
อย่างไรก็ตาม หากอัตราดอกเบี้ยโลกมีการปรับตัวลดลงมากพอสมควรอาจกดดันให้ราคาพันธบัตร น้ำมัน ทองคำ ปรับตัวลดลง จะเป็นปัจจัยช่วยสนับสนุนให้ตลาดหุ้นกลับมาได้รับความสนใจอีกครั้งในช่วงปลายไตรมาสที่ 2
"ผมให้น้ำหนักปัจจัยต่างประเทศ 60% และปัจจัยการเมืองในประเทศอีก 40% ที่มีผลต่อตลาดหุ้นไทย ขณะที่นักวิเคราะห์จากหลายๆ ค่าย ประเมินว่าดัชนีที่น่าจะเข้าไปลงทุนอยู่ที่ประมาณ 800-820 จุด และให้ระมัดระวังหากดัชนีอยู่ที่ 850 จุด โดยแนะนำให้ถือเงินสด 50% และลงทุนอีก 50%"
***บล.ธนชาตชี้ไตรมาส2หุ้นซบเซา
นายแสงธรรม จรณชัยกุล ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล. ธนชาต กล่าวว่า การลงทุนในตลาดหุ้นไทยช่วงไตรมาส 2 จะซบเซา โดยมีปัจจัยลบจากเรื่องปัญหาการเมืองในประเทศ ทั้งเรื่องการยุบพรรค การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่อาจกระทำได้ด้วยการแสดงความคิดเห็นด้วยเหตุผลตามระบอบประชาธิปไตย แต่หากมีการชุมนุมประท้วงหรือเดินขบวนต่อต้านอาจจะส่งผลกระทบต่อความมั่นใจของนักลงทุนได้
ขณะที่ปัญหาซับไพรม์ ส่งผลให้เงินกองทุนของสถาบันการเงินนลดลงจึงจำเป็นที่จะต้องมีการเพิ่มทุนจดทะเบียน จึงทำให้สภาพคล่องระบบการเงินของโลกลดลงส่งผลกระทบกับตลาดหุ้นสหรัฐฯ และเอเชีย จึงให้เม็ดเงินลงทุนไม่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเกิดใหม่ รวมถึงตลาดหุ้นไทยด้วย
"เมื่อไม่มีเม็ดเงินจากต่างชาติก็ทำให้หุ้นขนาดใหญ่ไม่เคลื่อนไหว ขณะนี้ในตลาดหุ้นไทยจะถูกขับเคลื่อนโดยนักลงทุนในประเทศ แต่เป็นการเข้ามาเก็งกำไรในหุ้นขนาดเล็กที่ราคาต่ำกว่า 5 บาท หรือราคา 1 บาท ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นขยับขึ้นได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น"
ทั้งนี้ คาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยไตรมาส 2/51 จะแกว่งตัวอยู่ในกรอบ 800-840 จุด มูลค่าการซื้อขายทรงตัวไม่เกิน 2 หมื่นล้านบาท ดังนั้นจึงแนะนำลงทุนให้เลือกจังหวะในการลงทุนที่ดี เลือกหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐาน รวมทั้งต้องรอผลประกอบการไตรมาส 1/51 ก่อนที่จะประเมินการลงทุนใหม่อีกครั้ง
สำหรับหุ้นกลุ่มพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นก่อนหน้านี้ หากนักลงทุนที่สนใจเข้าไปลงทุนจะต้องเลือกเป็นรายตัว และจากการที่ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงอาจจะเป็นผลลบกับหุ้นดังกล่าวในเรื่องผลประกอบการ เพราะ ทำให้มีการลดใช้พลังงานและหันไปหาพลังงานทดแทนอื่น
***ลุ้นปัจจัยบวกกระตุ้นตลาดหุ้น
นางสาววราภรณ์ วิบูลคณารักษ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ซีมิโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยไตรมาส 2/51 จะทรงตัวรอปัจจัยกระตุ้นใหม่ๆ รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรมจากรัฐบาล ส่วนสถานการณ์การเมืองที่ยังต้องรอความชัดเจนเกี่ยวกับคดีความต่างๆ อาทิ การยุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตย คดีการทุจริตเลือกตั้งของนายยงยุทธ ติยะไฟรัช เป็นต้น
ส่วนประเด็นรวมถึงแนวโน้มที่รัฐบาลจะมีการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่สร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มการเมืองหลายฝ่าย อาจเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นไทยในระยะสั้นได้ แต่ยังมองว่าสถานการณ์จะไปไม่ถึงจุดที่เลวร้าย หลังจากท่าทีของรัฐบาลอ่อนลง ยอมรับฟังเสียงของกลุ่มการเมืองอื่นมากขึ้น ซึ่งเป็นผลดีกับสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน โดยคาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยจะเคลื่อนไหวในกรอบ 780-860 จุด
***นักลงทุนโยกเงินหนีลดความเสี่ยง
นายเกษมสิทธิ์ ปฐมศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ กล่าวว่า ตามปกติในช่วงไตรมาส 2 จะเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นค่อนข้างเงียบ เนื่องจากมีวันหยุดเยอะ เช่นเดียวกับปีนี้ที่คาดว่าตลาดหุ้นไทยในช่วงไตรมาส 2 จะทรงตัว ประกอบกับสถานการณ์การเมืองที่ยังขาดความชัดเจน ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ได้ยาก ส่งผลกดดันกับบรรยากาศการลงทุน และอาจทำให้นักลงทุนบางส่วนชะลอการลงทุนไว้ หรือโยกเงินไปลงทุนในตลาดอื่นที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า
อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นไทยยังมีความอ่อนไหว ซึ่งหากสถานการณ์การเมืองมีแนวโน้มไปในทิศทางที่เลวร้าย ตลาดหุ้นไทยก็อาจปรับตัวลงได้ แต่มากน้อยเท่าไหร่ก็คงอยู่กับสถานการณ์ในช่วงเวลานั้น
นายพงศ์พันธุ์ อภิญญากุล ผู้อำนวยการอาวุโส บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า ทิศทางตลาดหุ้นไทยไตรมาส 2/51 คาดว่าจะค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 850-870 จุด โดยการเคลื่อนไหวจะมีเสถียรภาพมากขึ้น ไม่ผันผวนเหมือนในช่วงไตรมาส 1 ที่ผ่านมา โดยปัจจัยลบจากต่างประเทศจะลดความสำคัญลง สังเกตได้จากในช่วงหลังรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมา ส่งผลลบกับตลาดหุ้นสหรัฐฯ ไม่มาก
สำหรับปัจจัยการเมืองในประเทศที่ขาดความชัดเจน อาจกดดันให้นักลงทุนรายย่อยชะลอการลงทุน แต่มองว่าเป็นความเสี่ยงที่นักลงทุนคาดการณ์ไว้อยู่แล้ว จึงคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบกับตลาดหุ้นไทยมากนัก
สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ยังเป็นปัจจัยหลักที่จะมีผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยในช่วงไตรมาส 2 นี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพิจารณาคดียุบพรรคการเมือง และคดีทุจริตของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่อยู่ระหว่างขั้นตอนตามกฎหมาย รวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย และคาดว่าขยายวงกว้างและลุกลามจนส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนได้
ทั้งนี้ ไตรมาสแรกปี 51 (1 ม.ค. - 31 มี.ค. 51) ดัชนีปิดที่ 817.03 จุด เทียบกับสิ้นปี 50 ที่ 858.10 จุด หรือลดลง 41.07 จุด คิดเป็น 4.79% มูลค่าการซื้อขายรวม 1,187,312.92 ล้านบาท เฉลี่ยวันละ 18,846.24 ล้านบาท โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 13,889.29 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 3,742.09 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 17,631.38 ล้านบาท
นายอดิพงษ์ ภัทรวิกรม ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)ไทยพาณิชย์ จำกัด กล่าวว่า เปิดเผยว่า ปัญหาทางการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่ลดความน่าสนใจในการลงทุนในตลาดหุ้นไทย และทำให้เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศไหลไปลงทุนในประเทศอื่น รวมถึงนักลงทุนต่างประเทศได้ทยอยขายหุ้นในตลาดหุ้นไทย โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน ทำให้มียอดขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติตั้งแต่ 1 ม.ค.-10 เม.ย. มีสูงถึง 14,167.99 ล้านบาท
สำหรับแนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นจะเคลื่อนไหวในลักษณะแกว่งตัวลดลง เนื่องจากการเมืองยังไม่คลี่คลายทำให้นักลงทุนหันไปลงทุนหุ้นขนาดเล็กแทน และอาจจะกดดันดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงต่ำกว่า 800 จุด แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศยังมีทิศทางที่ดี และกำไรบริษัทจดทะเบียนจะเติบโตไม่ต่ำกว่าเลข 2 หลัก
"หากหุ้นลดต่ำกว่า 800 จุด ถือเป็นระดับที่น่าเข้ามาลงทุนในระยะสั้น แต่ระยะยาวยังไม่น่าลงทุนไม่ว่าดัชนีจะปรับตัวอยู่ที่ระดับใด ต้องรอจนกว่าความขัดแย้งทางการเมืองคลี่คลายแล้ว แม้ว่าบริษัทจะยังคงเป้าดัชนีปีนี้ไว้ที่ 1,100 จุด"
นายอดิพงษ์ กล่าวว่า ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยท่าทีที่แข็งกร้าวของรัฐบาล รวมถึงความต้องการที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับคนบางคนจะก่อให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการลงทุน ทางการลงทุนสูงมาก เพราะรัฐบาลไม่สามารถดำเนินนโยบายได้อย่างเต็มที่
***แนะถือเงินสด50%ของพอร์ต
นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ปัจจัยที่จะกดดันดัชนีตลาดหุ้นไทยในช่วงหลังสงกรานต์ไปจนถึงสิ้นไตรมาส 2/51 มี 2 ปัจจัย คือ การเมืองในประเทศ ที่จะต้องติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะความเคลื่อนไหวต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล ขณะที่กลุ่มพันธมิตรฯที่ขัดค้านตามแนวระบอบประชาธิปไตยที่สามารถทำได้
"หากการคัดค้านอยู่ในกรอบที่ดี ไม่กลายเป็นเรื่องใหญ่ จะไม่กระทบกับความเชื่อมั่น แต่หากเกิดเป็นปัญหาขึ้นมาก็จะกระทบการลงทุนในตลาดหุ้นไทยได้ และยังต้องติดตามในเรื่องคดีเรื่องยุบพรรคว่าจะมีการยุบถึง 3 พรรคการเมืองหรือไม่ ซึ่งจะเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจ"
ปัจจัยที่ 2 ปัญหาสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ที่ส่งผลกระทบทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอย และลุกลามสู่เศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลก สังเกตได้จากไตรมาสแรกที่ผ่านมา มีเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศไหลออกไปลงทุนในตลาดพันธบัตร ดอกเบี้ย ทองคำ สินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ กดดันทำให้ตลาดทุนทั่วโลกปรับตัวลดลง
อย่างไรก็ตาม หากอัตราดอกเบี้ยโลกมีการปรับตัวลดลงมากพอสมควรอาจกดดันให้ราคาพันธบัตร น้ำมัน ทองคำ ปรับตัวลดลง จะเป็นปัจจัยช่วยสนับสนุนให้ตลาดหุ้นกลับมาได้รับความสนใจอีกครั้งในช่วงปลายไตรมาสที่ 2
"ผมให้น้ำหนักปัจจัยต่างประเทศ 60% และปัจจัยการเมืองในประเทศอีก 40% ที่มีผลต่อตลาดหุ้นไทย ขณะที่นักวิเคราะห์จากหลายๆ ค่าย ประเมินว่าดัชนีที่น่าจะเข้าไปลงทุนอยู่ที่ประมาณ 800-820 จุด และให้ระมัดระวังหากดัชนีอยู่ที่ 850 จุด โดยแนะนำให้ถือเงินสด 50% และลงทุนอีก 50%"
***บล.ธนชาตชี้ไตรมาส2หุ้นซบเซา
นายแสงธรรม จรณชัยกุล ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล. ธนชาต กล่าวว่า การลงทุนในตลาดหุ้นไทยช่วงไตรมาส 2 จะซบเซา โดยมีปัจจัยลบจากเรื่องปัญหาการเมืองในประเทศ ทั้งเรื่องการยุบพรรค การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่อาจกระทำได้ด้วยการแสดงความคิดเห็นด้วยเหตุผลตามระบอบประชาธิปไตย แต่หากมีการชุมนุมประท้วงหรือเดินขบวนต่อต้านอาจจะส่งผลกระทบต่อความมั่นใจของนักลงทุนได้
ขณะที่ปัญหาซับไพรม์ ส่งผลให้เงินกองทุนของสถาบันการเงินนลดลงจึงจำเป็นที่จะต้องมีการเพิ่มทุนจดทะเบียน จึงทำให้สภาพคล่องระบบการเงินของโลกลดลงส่งผลกระทบกับตลาดหุ้นสหรัฐฯ และเอเชีย จึงให้เม็ดเงินลงทุนไม่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเกิดใหม่ รวมถึงตลาดหุ้นไทยด้วย
"เมื่อไม่มีเม็ดเงินจากต่างชาติก็ทำให้หุ้นขนาดใหญ่ไม่เคลื่อนไหว ขณะนี้ในตลาดหุ้นไทยจะถูกขับเคลื่อนโดยนักลงทุนในประเทศ แต่เป็นการเข้ามาเก็งกำไรในหุ้นขนาดเล็กที่ราคาต่ำกว่า 5 บาท หรือราคา 1 บาท ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นขยับขึ้นได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น"
ทั้งนี้ คาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยไตรมาส 2/51 จะแกว่งตัวอยู่ในกรอบ 800-840 จุด มูลค่าการซื้อขายทรงตัวไม่เกิน 2 หมื่นล้านบาท ดังนั้นจึงแนะนำลงทุนให้เลือกจังหวะในการลงทุนที่ดี เลือกหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐาน รวมทั้งต้องรอผลประกอบการไตรมาส 1/51 ก่อนที่จะประเมินการลงทุนใหม่อีกครั้ง
สำหรับหุ้นกลุ่มพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นก่อนหน้านี้ หากนักลงทุนที่สนใจเข้าไปลงทุนจะต้องเลือกเป็นรายตัว และจากการที่ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงอาจจะเป็นผลลบกับหุ้นดังกล่าวในเรื่องผลประกอบการ เพราะ ทำให้มีการลดใช้พลังงานและหันไปหาพลังงานทดแทนอื่น
***ลุ้นปัจจัยบวกกระตุ้นตลาดหุ้น
นางสาววราภรณ์ วิบูลคณารักษ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ซีมิโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยไตรมาส 2/51 จะทรงตัวรอปัจจัยกระตุ้นใหม่ๆ รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรมจากรัฐบาล ส่วนสถานการณ์การเมืองที่ยังต้องรอความชัดเจนเกี่ยวกับคดีความต่างๆ อาทิ การยุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตย คดีการทุจริตเลือกตั้งของนายยงยุทธ ติยะไฟรัช เป็นต้น
ส่วนประเด็นรวมถึงแนวโน้มที่รัฐบาลจะมีการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่สร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มการเมืองหลายฝ่าย อาจเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นไทยในระยะสั้นได้ แต่ยังมองว่าสถานการณ์จะไปไม่ถึงจุดที่เลวร้าย หลังจากท่าทีของรัฐบาลอ่อนลง ยอมรับฟังเสียงของกลุ่มการเมืองอื่นมากขึ้น ซึ่งเป็นผลดีกับสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน โดยคาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยจะเคลื่อนไหวในกรอบ 780-860 จุด
***นักลงทุนโยกเงินหนีลดความเสี่ยง
นายเกษมสิทธิ์ ปฐมศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ กล่าวว่า ตามปกติในช่วงไตรมาส 2 จะเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นค่อนข้างเงียบ เนื่องจากมีวันหยุดเยอะ เช่นเดียวกับปีนี้ที่คาดว่าตลาดหุ้นไทยในช่วงไตรมาส 2 จะทรงตัว ประกอบกับสถานการณ์การเมืองที่ยังขาดความชัดเจน ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ได้ยาก ส่งผลกดดันกับบรรยากาศการลงทุน และอาจทำให้นักลงทุนบางส่วนชะลอการลงทุนไว้ หรือโยกเงินไปลงทุนในตลาดอื่นที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า
อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นไทยยังมีความอ่อนไหว ซึ่งหากสถานการณ์การเมืองมีแนวโน้มไปในทิศทางที่เลวร้าย ตลาดหุ้นไทยก็อาจปรับตัวลงได้ แต่มากน้อยเท่าไหร่ก็คงอยู่กับสถานการณ์ในช่วงเวลานั้น
นายพงศ์พันธุ์ อภิญญากุล ผู้อำนวยการอาวุโส บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า ทิศทางตลาดหุ้นไทยไตรมาส 2/51 คาดว่าจะค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 850-870 จุด โดยการเคลื่อนไหวจะมีเสถียรภาพมากขึ้น ไม่ผันผวนเหมือนในช่วงไตรมาส 1 ที่ผ่านมา โดยปัจจัยลบจากต่างประเทศจะลดความสำคัญลง สังเกตได้จากในช่วงหลังรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมา ส่งผลลบกับตลาดหุ้นสหรัฐฯ ไม่มาก
สำหรับปัจจัยการเมืองในประเทศที่ขาดความชัดเจน อาจกดดันให้นักลงทุนรายย่อยชะลอการลงทุน แต่มองว่าเป็นความเสี่ยงที่นักลงทุนคาดการณ์ไว้อยู่แล้ว จึงคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบกับตลาดหุ้นไทยมากนัก