หุ้นไทยยังดำดิ่งหลังฝรั่งทิ้งเพิ่มอีก 4.5 พันล้านฉุดดัชนีรูด 13.4 จุด จ่อหลุด 800 อีกครั้ง โดยระยะเวลาแค่เพียง 4 วันทำการ นักลงทุนต่างชาติทิ้งหุ้นไทยแล้วกว่าหมื่นล้าน แห่โยกเงินจากตลาดหุ้นไปยังตลาดบอนด์ เหตุวิตกหนักหวั่นเศรษฐกิจสหรัฐฯถดถอยรุนแรงหลังตัวเลขเศรษฐกิจหลายเรื่องแย่กว่าที่คาดการณ์ ขณะที่มีข่าวลือในห้องค้าการเมืองในประเทศส่อระอุรอบใหม่
ภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์วานนี้ (7 ม.ค.) ความวิตกกังวลของนักลงทุนต่อภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ส่งสัญญาณจะเข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักลงทุนต่างพากันขายหน่วยลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกโดยเฉพาะในตลาดหุ้นเอเชียที่มีการเข้ามาซื้อในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาค่อนข้างมาก ขณะที่ปัจจัยทางด้านการเมืองในประเทศยังไม่มีความชัดเจนว่าการจัดตั้งรัฐบาลจะสามารถได้ข้อสรุปอย่างไรและเมื่อไหร่จนส่งผลทำให้ดัชนีปรับตัวลดลงมาปิดที่ 808.31 จุด ลดลง 13.40 จุด หรือ 1.63% โดยจุดสูงสุดของวันอยู่ที่ 814.41 จุด และจุดต่ำสุดอยู่ที่ 805.70 จุด มูลค่าการซื้อขาย 15,472.42 ล้านบาท
ทั้งนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 4,526.61 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 194.19 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 4,332.42 ล้านบาท โดยรวมระยะเวลาเพียงแค่ 4 วันทำการตั้งแต่ 2 ม.ค.ถึง 7 ม.ค.นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิรวม 10,472.19 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 663.55 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 11,135.74 ล้านบาท
สำหรับหุ้นที่ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงยังเป็นหุ้นในกลุ่มพลังงาน เช่น หุ้นบมจ.ปตท. หรือ PTT ราคาปิดที่ 334 บาท ลดลง 12 บาท หรือ 3.47% มูลค่าการซื้อขาย 2,591.49 ล้านบาท, หุ้นบมจ.บ้านปู หรือ BANPU ราคาปิดที่ 356 บาท ลดลง 14 บาท หรือ 3.78% มูลค่าการซื้อขาย 1,432.89 ล้านบาท, หุ้นบมจ.ปตท.ผลิตและสำรวจปิโตรเลียม หรือ PTTEP ราคาปิดที่ 152 บาท ลดลง 3 บาท หรือ 1.94% มูลค่าการซื้อขาย 1,407.67 ล้านบาท, หุ้นบมจ.ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น หรือ PTTAR ราคาปิดที่ 45.25 บาท ลดลง 1.25 บาท หรือ 2.69% มูลค่าการซื้อขาย 1,218.39 ล้านบาท, หุ้นบมจ.ไทยออยล์ หรือ TOP ราคาปิดที่ 79.50 บาท ลดลง 2 บาท หรือ 2.45% มูลค่าการซื้อขาย 662.81 ล้านบาท
นายพิชัย เลิศสุพงศ์กิจ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาด บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงตามตลาดหุ้นในต่างประเทศเนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ประกาศออกมาหลายดัชนีส่งสัญญาฯชี้ชัดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังจะเข้าสู่ภาวะที่ถดถอย ทำให้นักลงทุนทั่วโลกต่างโยกการลงทุนจากตลาดหุ้นสู่ตลาดพันธบัตรเพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุน
ทั้งนี้ ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ทำให้นักลงทุนกังวลไม่ว่าจะเป็นอัตราการว่างงานเดือนธ.ค.ที่เพิ่มขึ้นจาก 4.7% มาอยู่ที่ 5% ในขณะที่ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้นเพียง 1.8 หมื่นตำแหน่งจากเดิมที่มีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 7 หมื่นตำแหน่ง ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นที่ต่ำที่สุดในรอบตั้งแต่เดือน ส.ค. 46
"การปรับพอร์ตในครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นการขายหุ้นในแถบประเทศเอเชียโดยเฉลี่ยทำให้ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงประมาณ 2%"นายพิชัยกล่าว
** ดัชนีจ่อหลุด 800 จุด
นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า สาเหตุหลักที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีมาจาก 2 สาเหตุหลัก คือ 1.นักทุนมองแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในอนาคตว่าไม่ดี เนื่องจากความกังวลที่เกิดขึ้นจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะถดถอย และ 2.นักลงทุนมีการขายหุ้นเพื่อนำไปชดเชยสภาพคล่องที่ลดลง ทำให้คาดว่าตลาดหุ้นจะปรับตัวลดลงอย่างเนื่องไปจนถึงสัปดาห์หน้า
ทั้งนี้ โอกาสที่ดัชนีจะปรับตัวลดลงต่ำกว่า 800 จุดมีความเป็นไปได้แต่คงต้องใช้เวลาอีกซักระยะ โดยมองกรอบแนวรับในรอบนี้ที่ 780 จุด โดยจะช้าหรือเร็วคงต้องดูจากแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติว่าจะมากหรือน้อยเพียงใด
นายโกสินทร์ ศรีไพบูลย์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า การปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหุ้นไทยเป็นเพราะนักลงทุนต่างชาติยังไม่มั่นใจในสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทย ซึ่งไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาลในช่วงสั้นๆ ก็ยังมีหลายเรื่องที่ต้องรอความชัดเจนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาให้ใบเหลืองใบแดงของ กกต. และคำตัดสินของศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง ในกรณีที่พรรคพลังประชาชนเป็นนอมินีของพรรคไทยรักไทย รวมทั้งให้เพิกถอนการเลือกตั้งล่วงหน้า ซึ่งทำให้อาจจะต้องมีการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ รวมถึงกรณีการแจกวีซีดีปราศัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้กับประชาชนในช่วงหาเสียงเลือกตั้งว่าจะออกมาอย่างไร
นอกจากนี้ ความกังวลการชะลอตัวเศรษฐกิจสหรัฐเป็นอีกประเด็นที่ทำให้นักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นออกมาอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามสิ่งที่นักลงทุนจะต้องจับตาอย่างใกล้ชิดในขณะนี้คือสถานการณ์ทางการเมืองว่าจะสรุปออกมาอย่างไร การจัดตั้งรัฐบาลจะเป็นอย่างไรและเกิดขึ้นได้เมื่อไหร่
นางสาวมยุรี โชวิกรานต์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์กลยุทธ์การลงทุน บล.นครหลวงไทย กล่าวว่า การอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์จนมาอยู่ที่ระดับ 108 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้เกิดปัญหาเยนเครี่เทรด (yen carry trade) จึงมีการขายหุ้นที่ถือครองให้ตลาดหุ้นทั่วโลกโดยเฉพาะในเอเชียเพื่อนำกลับไปชำระหนี้สกุลเยน
**ลือห้องค้าการเมืองใกล้ระอุ
แหล่งข่าวนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า เริ่มมีกระแสข่าวลือเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศที่อาจจะกลับมารุนแรงขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากมีหลายประเด็นที่อาจจะนำไปสู่ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการกลับมาของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อสู้คดีต่างๆที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอมาให้ปากคำซึ่งในเรื่องดังกล่าวมีทั้งกลุ่มผู้ที่เห็นด้วยและกลุ่มผู้ที่คัดค้านการกลับมาของอดีตนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ เกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคอันดับ 1 พรรคพลังประชาชนก็ยังไม่ถือว่ามีความชัดเจนมากนักเนื่องจากถึงปัจจุบันยังไม่สามารถรวมตัวจัดตั้งรัฐบาลได้ ในขณะที่การพิจารณาให้ใบแดง ใบเหลืองกับผู้สมัครที่ทำผิดกฎหมายเลือกตั้งซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าท้ายที่สุดคะแนนเสียงของพรรคอันดับ 1 จะเหลือว่าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนเท่าไหร่ และจะเพียงพอต่อการเปิดสภาหรือไม่
"เริ่มมีกระแสข่าวเกี่ยวกับความร้อนแรงทางการเมืองว่าจะกลับมาระอุอีกครั้ง ซึ่งในมุมมองของตลาดทุนไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นเพราะจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั้งหมดรวมถึงกระทบต่อจิตวิทยาในการลงทุนของทั้งนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศ"แหล่งข่าวกล่าว
นอกจากนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าหุ้นในกลุ่มเก็งกำไรที่ก่อนหน้าปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงแม้ว่าในปัจจุบันหลายบริษัทจะยังปรับตัวเพิ่มขึ้นแต่ก็ลดความรุนแรงลงไปค่อนข้างมากอาจจะเป็นเพราะกลุ่มนักลงทุนรายใหญ่ต้องการขายทิ้งเพื่อลดความเสี่ยงหากสถานการณ์ทางการเมืองกลับมาระอุอย่างที่เป็นข่าวลือออกมาจริงๆ
ภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์วานนี้ (7 ม.ค.) ความวิตกกังวลของนักลงทุนต่อภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ส่งสัญญาณจะเข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักลงทุนต่างพากันขายหน่วยลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกโดยเฉพาะในตลาดหุ้นเอเชียที่มีการเข้ามาซื้อในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาค่อนข้างมาก ขณะที่ปัจจัยทางด้านการเมืองในประเทศยังไม่มีความชัดเจนว่าการจัดตั้งรัฐบาลจะสามารถได้ข้อสรุปอย่างไรและเมื่อไหร่จนส่งผลทำให้ดัชนีปรับตัวลดลงมาปิดที่ 808.31 จุด ลดลง 13.40 จุด หรือ 1.63% โดยจุดสูงสุดของวันอยู่ที่ 814.41 จุด และจุดต่ำสุดอยู่ที่ 805.70 จุด มูลค่าการซื้อขาย 15,472.42 ล้านบาท
ทั้งนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 4,526.61 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 194.19 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 4,332.42 ล้านบาท โดยรวมระยะเวลาเพียงแค่ 4 วันทำการตั้งแต่ 2 ม.ค.ถึง 7 ม.ค.นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิรวม 10,472.19 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 663.55 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 11,135.74 ล้านบาท
สำหรับหุ้นที่ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงยังเป็นหุ้นในกลุ่มพลังงาน เช่น หุ้นบมจ.ปตท. หรือ PTT ราคาปิดที่ 334 บาท ลดลง 12 บาท หรือ 3.47% มูลค่าการซื้อขาย 2,591.49 ล้านบาท, หุ้นบมจ.บ้านปู หรือ BANPU ราคาปิดที่ 356 บาท ลดลง 14 บาท หรือ 3.78% มูลค่าการซื้อขาย 1,432.89 ล้านบาท, หุ้นบมจ.ปตท.ผลิตและสำรวจปิโตรเลียม หรือ PTTEP ราคาปิดที่ 152 บาท ลดลง 3 บาท หรือ 1.94% มูลค่าการซื้อขาย 1,407.67 ล้านบาท, หุ้นบมจ.ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น หรือ PTTAR ราคาปิดที่ 45.25 บาท ลดลง 1.25 บาท หรือ 2.69% มูลค่าการซื้อขาย 1,218.39 ล้านบาท, หุ้นบมจ.ไทยออยล์ หรือ TOP ราคาปิดที่ 79.50 บาท ลดลง 2 บาท หรือ 2.45% มูลค่าการซื้อขาย 662.81 ล้านบาท
นายพิชัย เลิศสุพงศ์กิจ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาด บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงตามตลาดหุ้นในต่างประเทศเนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ประกาศออกมาหลายดัชนีส่งสัญญาฯชี้ชัดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังจะเข้าสู่ภาวะที่ถดถอย ทำให้นักลงทุนทั่วโลกต่างโยกการลงทุนจากตลาดหุ้นสู่ตลาดพันธบัตรเพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุน
ทั้งนี้ ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ทำให้นักลงทุนกังวลไม่ว่าจะเป็นอัตราการว่างงานเดือนธ.ค.ที่เพิ่มขึ้นจาก 4.7% มาอยู่ที่ 5% ในขณะที่ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้นเพียง 1.8 หมื่นตำแหน่งจากเดิมที่มีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 7 หมื่นตำแหน่ง ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นที่ต่ำที่สุดในรอบตั้งแต่เดือน ส.ค. 46
"การปรับพอร์ตในครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นการขายหุ้นในแถบประเทศเอเชียโดยเฉลี่ยทำให้ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงประมาณ 2%"นายพิชัยกล่าว
** ดัชนีจ่อหลุด 800 จุด
นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า สาเหตุหลักที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีมาจาก 2 สาเหตุหลัก คือ 1.นักทุนมองแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในอนาคตว่าไม่ดี เนื่องจากความกังวลที่เกิดขึ้นจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะถดถอย และ 2.นักลงทุนมีการขายหุ้นเพื่อนำไปชดเชยสภาพคล่องที่ลดลง ทำให้คาดว่าตลาดหุ้นจะปรับตัวลดลงอย่างเนื่องไปจนถึงสัปดาห์หน้า
ทั้งนี้ โอกาสที่ดัชนีจะปรับตัวลดลงต่ำกว่า 800 จุดมีความเป็นไปได้แต่คงต้องใช้เวลาอีกซักระยะ โดยมองกรอบแนวรับในรอบนี้ที่ 780 จุด โดยจะช้าหรือเร็วคงต้องดูจากแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติว่าจะมากหรือน้อยเพียงใด
นายโกสินทร์ ศรีไพบูลย์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า การปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหุ้นไทยเป็นเพราะนักลงทุนต่างชาติยังไม่มั่นใจในสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทย ซึ่งไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาลในช่วงสั้นๆ ก็ยังมีหลายเรื่องที่ต้องรอความชัดเจนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาให้ใบเหลืองใบแดงของ กกต. และคำตัดสินของศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง ในกรณีที่พรรคพลังประชาชนเป็นนอมินีของพรรคไทยรักไทย รวมทั้งให้เพิกถอนการเลือกตั้งล่วงหน้า ซึ่งทำให้อาจจะต้องมีการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ รวมถึงกรณีการแจกวีซีดีปราศัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้กับประชาชนในช่วงหาเสียงเลือกตั้งว่าจะออกมาอย่างไร
นอกจากนี้ ความกังวลการชะลอตัวเศรษฐกิจสหรัฐเป็นอีกประเด็นที่ทำให้นักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นออกมาอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามสิ่งที่นักลงทุนจะต้องจับตาอย่างใกล้ชิดในขณะนี้คือสถานการณ์ทางการเมืองว่าจะสรุปออกมาอย่างไร การจัดตั้งรัฐบาลจะเป็นอย่างไรและเกิดขึ้นได้เมื่อไหร่
นางสาวมยุรี โชวิกรานต์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์กลยุทธ์การลงทุน บล.นครหลวงไทย กล่าวว่า การอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์จนมาอยู่ที่ระดับ 108 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้เกิดปัญหาเยนเครี่เทรด (yen carry trade) จึงมีการขายหุ้นที่ถือครองให้ตลาดหุ้นทั่วโลกโดยเฉพาะในเอเชียเพื่อนำกลับไปชำระหนี้สกุลเยน
**ลือห้องค้าการเมืองใกล้ระอุ
แหล่งข่าวนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า เริ่มมีกระแสข่าวลือเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศที่อาจจะกลับมารุนแรงขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากมีหลายประเด็นที่อาจจะนำไปสู่ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการกลับมาของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อสู้คดีต่างๆที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอมาให้ปากคำซึ่งในเรื่องดังกล่าวมีทั้งกลุ่มผู้ที่เห็นด้วยและกลุ่มผู้ที่คัดค้านการกลับมาของอดีตนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ เกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคอันดับ 1 พรรคพลังประชาชนก็ยังไม่ถือว่ามีความชัดเจนมากนักเนื่องจากถึงปัจจุบันยังไม่สามารถรวมตัวจัดตั้งรัฐบาลได้ ในขณะที่การพิจารณาให้ใบแดง ใบเหลืองกับผู้สมัครที่ทำผิดกฎหมายเลือกตั้งซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าท้ายที่สุดคะแนนเสียงของพรรคอันดับ 1 จะเหลือว่าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนเท่าไหร่ และจะเพียงพอต่อการเปิดสภาหรือไม่
"เริ่มมีกระแสข่าวเกี่ยวกับความร้อนแรงทางการเมืองว่าจะกลับมาระอุอีกครั้ง ซึ่งในมุมมองของตลาดทุนไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นเพราะจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั้งหมดรวมถึงกระทบต่อจิตวิทยาในการลงทุนของทั้งนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศ"แหล่งข่าวกล่าว
นอกจากนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าหุ้นในกลุ่มเก็งกำไรที่ก่อนหน้าปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงแม้ว่าในปัจจุบันหลายบริษัทจะยังปรับตัวเพิ่มขึ้นแต่ก็ลดความรุนแรงลงไปค่อนข้างมากอาจจะเป็นเพราะกลุ่มนักลงทุนรายใหญ่ต้องการขายทิ้งเพื่อลดความเสี่ยงหากสถานการณ์ทางการเมืองกลับมาระอุอย่างที่เป็นข่าวลือออกมาจริงๆ