xs
xsm
sm
md
lg

ก.ล.ต.ลงทัณฑ์ บล.แหกกฎ เหตุทำความเสียหายให้ลูกค้า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

คณะกรรมการเปรียบเทียบก.ล.ต.สั่งปรับบล.ไอร่า เหตุ ไม่ได้นำค่าความเสี่ยงในวันที่ทำสัญญารับเป็นอันเดอร์ไรท์หุ้นไอพีโอ เบตเตอร์ เวิลด์ -โลหะกิจ เม็ททอล รวมคำนวนเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ พร้อมปรับบล.ฟิลลิป 2.41 แสนหุ้น แยกเจ้าหน้าที่ด้านแบล็กออฟฟิศ-ฟร้อนท์ออฟฟิศไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้พนักงานฟร้อนท์ออฟฟิศรายหนึ่งทุจริตสินทรัพย์ลูกค้า

รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แจ้งว่าคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ ได้สั่งปรับ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)ไอร่า จำกัด (มหาชน) จำนวน 45,900 บาท เนื่องจาก บล.ไอร่า ในฐานะผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์

ทั้งนี้ ได้คำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ("NCR") ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด และจัดทำรายงานการคำนวณ NCR ไม่ถูกต้อง จากการที่บล. ไอร่าไม่ได้นำค่าความเสี่ยงในวันที่ทำสัญญารับเป็นผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายหุ้นบริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน)หรือ BWG เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม50

รวมถึงหุ้นบริษัท โลหะกิจ เม็ททอล จำกัด (มหาชน) หรือ LHKเมื่อวันที่ 14 มกราคม51 มารวมคำนวณและจัดทำรายงาน NCR ของแต่ละวัน ตามแบบ บล. 4/1 (โดยมีการคำนวณเฉพาะช่วงระยะเวลาจัดจำหน่าย) ซึ่งมีผลให้การคำนวณ NCR ของ บล. ไอร่า ณ วันที่ 30 ตุลาคม 50 และวันที่ 14 มกราคม 51ไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของการคำนวณไม่ถูกต้องไม่มีนัยสำคัญ และ NCR ของบล. ไอร่า ที่คำนวณอย่างถูกต้อง ก็มีสัดส่วนที่สูงกว่าอัตราขั้นต่ำที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด

นอกจากนี้คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับได้สั่งปรับ บล. ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จำนวน 241,000 บาท เนื่องจาก ระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน 50 ถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน 50 บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไม่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด

ทั้งนี้ ไม่ได้มีการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ของบุคลากรด้านให้บริการหลักทรัพย์ (front office) และด้านการปฏิบัติการหลักทรัพย์ (back office) ที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ และขาดการสอบทานความถูกต้องน่าเชื่อถือของข้อมูลที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกค้า จนเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ด้านให้บริการหลักทรัพย์ (front office) รายหนึ่งกระทำการฉ้อฉลทุจริตทรัพย์สินของลูกค้าได้
กำลังโหลดความคิดเห็น