กองทุนรวมครึ่งปีแรกนิ่ง ทั้งระบบขยายตัวเพียง 0.92% หรือคิดเป็นจำนวนเงินเพียง 13,265.18 ล้านบาท "วรวรรณ" ระบุ เป็นปกติในช่วงแบงก์ดึงเงินฝาก บวกกับการลงทุนในตลาดหุ้นผันผวนหนัก ประเมินครึ่งปีหลังยังแข่งได้ หากดอกเบี้ยเงินฝากขยับอยู่ในกรอบ 0.50% ชี้บลจ.ทำการตลาดแบบเดิมไม่ได้แล้ว เพราะจุดขายอยู่ที่การตอบโจทย์เอาชนะเงินเฟ้อให้ลูกค้า ชูมันนี่มาร์เกตจะเป็นแกนหลักที่สำคัญ ในการขยายตัวของธุรกิจกองทุนรวมในอนาคต
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ถึงแม้บรรยากาศการลงทุนในกองทุนรวมช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมา จะคึกคักและมีสีสันจากการเปิดขายกองทุนรูปแบบใหม่ๆ ทั้งกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศซึ่งลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ รวมถึงกองทุนหุ้นต่างประเทศที่เน้นลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี้) แต่ก็กระตุ้นการลงทุนได้ไม่มากนัก เห็นได้จากรายงานตัวเลขเงินลงทุนทั้งระบบในช่วง 6 เดือนแรกของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) ซึ่งมีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นประมาณ 13,265.18 ล้านบาทมาอยู่ที่ 1,439,892.10 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวมทั้งหมด 1,426,626.92 ล้านบาทเมื่อสิ้นปีที่แล้ว โดยคิดเป็นอัตราการเติบโตเพียง 0.92% เท่านั้น
ทั้งนี้ หากสรุปจำนวนเงินลงทุนในกองทุนแต่ละประเภท กองทุนรวมตราสารทุนมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 129,959.38 ล้านบาท ในขณะที่กองทุนรวมตราสารหนี้มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 961,076.13 ล้านบาท กองทุนรวมแบบผสมมีเงินลงทุนรวม 248,166.00 ล้านบาท และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ 61,016.83 ล้านบาท
นอกจากนี้ หากแยกจำนวนเงินลงทุนในกองทุนที่มีลักษณะพิเศษ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) มีจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 48,552.24 ล้านบาท กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) 38,409.98 ล้านบาท ในขณะที่กองทุนต่างประเทศมีจำนวนเงินทั้งสิ้น 200,144.77 ล้านบาท
นางวรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด ในฐานะนายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยว่า หากพิจารณาถึงเงินลงทุนในกองทุนแต่ละประเภทจะเห็นว่า กองทุนหุ้นหดตัวลงเล็กน้อยประมาณ 1.6% ซึ่งเป็นสาเหตุเนื่องมาจากการปรับลดลงของดัชนีหุ้นไทยจาก 858 จุดในช่วงต้นปีมาอยู่ที่ 775 จุดในช่วงสิ้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสัดส่วนการลดลงถึง 9.63% แต่ในส่วนของกองทุนตราสารหนี้เอง จะเห็นว่ายังสามารถขยายตัวได้อยู่ในอัตรา 1.08% จากการเปิดขายกองทุนออกมาอย่างต่อเนื่องทั้งตราสารหนี้ในประเทศและต่างประเทศ
สำหรับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เองก็ขยายตัวได้เช่นกัน แม้หลายคนจะเป็นห่วงว่ากองทุนทั้ง 2 ประเภทจะลดลง เนื่องจากผู้ลงทุนสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้บ้างแล้ว โดยแอลทีเอฟขยายตัว 1.7% และอาร์เอ็มเอฟ 1% ส่วนกองทุนต่างประเทศซึ่งปีที่ผ่านมาสามารถกระตุ้นการขยายตัวของธุรกิจกองทุนรวมได้ค่อนข้างมาก แต่ในช่วง 6 เดือนแรกกลับหดตัวไปประมาณ 4.36% โดยเป็นผลมาจากการเกิดสูญญากาศอยู่ช่วงหนึ่ง เพราะยังไม่มีสินทรัพย์ออกมาเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนต่อจากกองทุน ECP
นางวรวรรณกล่าวว่า อีกปัจจัยที่สำคัญคือการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ เพื่อใช้ในการปล่อยสินเชื่อ โดยการปรับขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าวก็เป็นไปตามคาดและเป็นปกติที่การลงทุนผ่านกองทุนรวมจะชะลอตัวไป อย่างไรก็ตาม ในที่สุดแล้วทั้งปีนี้เชื่อว่าดอกเบี้ยจะปรับเพิ่มขึ้นไปอีก 0.50% ซึ่งยังเป็นสัดส่วนดอกเบี้ยที่ธุรกิจกองทุนรวมสามารถแข่งขันได้ เพราะถ้าแบงก์ปรับขึ้นไปสูงกว่านี้ อาจจะเกิดปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพ (เอ็นพีแอล) หรือกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจเนื่องจากมีต้นทุนที่สูงขึ้น
"การขยายตัวของธุรกิจกองทุนรวมทั้งปีนี้ ไม่น่าจะถึง 20% อย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์เอาไว้ ส่วนจะขยายตัวเท่าไหร่คงประเมินลำบาก เพราะในช่วงที่ดอกเบี้ยขึ้นคนส่วนใหญ่จะวิ่งไปหาเงินฝากเป็นปกติ แต่ก็ต้องดูว่าโอกาสของเรายังมีไหม เพราะการออกกองทุนพันธบัตรรัฐบาลที่มีความเสี่ยงต่ำ น่าจะเป็นทางเลือกการลงทุนในช่วงที่ตลาดหุ้นผันผวนเช่นนี้ได้ ส่วนหนึ่งเพราะพันธบัตรัฐบาลให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก"นางวรวรรณกล่าว
ทั้งนี้ ในส่วนของบลจ.บัวหลวง ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา มีอัตราการขยายตัวสูงกว่าอุตสาหกรรม โดยมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1.56 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 10,760 ล้านบาทจากเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1.45 ล้านบาทในช่วงปลายปีที่แล้ว โดยการเพิ่มขึ้นดังกล่าวคิดเป็นอัตราการขยายตัวประมาณ 7.38% ด้วยมีส่วนแบ่งเป็นอันดับ 3
อย่างไรก็ตาม จากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 8.9% น่าจะเป็นปัจจัยบวกที่สามารถดึงเงินลงทุนเข้ามาในกองทุนรวมได้ เนื่องจากการฝากเงินเพียงอย่างเดียวไม่สามารถเอาชนะเงินเฟ้อในอัตราดังกล่าวได้ ดังนั้น จะต้องมีการลงทุนในหุ้นผสมไปกับพอร์ตการลงทุนด้วย แต่ก็ขึ้นอยู่กับนักลงทุนเอง ถ้าเราสามารถป้อนความรู้ความเข้าใจให้เขาได้ เงินลงทุนก็จะไหลเข้ามาเองซึ่งต้องใช้เวลา
นางวรวรรณกล่าวว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดในธุรกิจกองทุนรวมขณะนี้คือ การทำการตลาด เพราะหลังจากนี้จะทำการตลาดแบบเดิมไม่ได้แล้ว แต่ต้องสามารถตอบโจทย์การเอาชนะเงินเฟ้อได้ว่าจะทำอย่างเพื่อเป้าหมายในระยะยาว และบริหารเงินให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยเฉพาะกองทุนรวมตลาดเงิน (มันนี่มาร์เกต) ที่น่าจะสามารถแข่งขันได้ เพราะยังให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก ซึ่งในอนาคตเอง กองทุนมันนี่มาร์เกตจะเป็นแกนหลักที่สำคัญที่สุดในการขยายตัวของธุรกิจกองทุนรวม เห็นได้จากที่ผ่านมา บริษัทจัดการกองทุนเองเริ่มให้ความสำคัญกับกองทุนประเภทนี้มากขึ้น แต่ก็อยู่ที่จะเข้าถึงผู้ฝากเงินได้มากน้อยแค่ไหน
สำหรับรายงานส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) ล่าสุด ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2551 พบว่า บลจ.ไทยพาณิชย์ ยังครองมาร์เกตแชร์เป็นอันดับ 1 ด้วยสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 281,717.76 ล้านบาท ซึ่งลดลงพอสมควรจากสินทรัพย์รวมประมาณ 301,494.43 ล้านบาทในช่วงปลายปีที่แล้ว หรือคิดเป็นเงินลงทุนที่ลดลงประมาณ 19,776.67 ล้านบาท
ส่วนบลจ.กสิกรไทย ที่มีมาร์เกตแชร์เป็นอันดับ 2 มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย 6 เดือนแรกมีเงินลงทุนในกองทุนรวมอยู่ที่ 253,502.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 21,623.73 ล้านบาท จากสินทรัพย์รวม 231,879.13 ล้านบาทในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ถึงแม้บรรยากาศการลงทุนในกองทุนรวมช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมา จะคึกคักและมีสีสันจากการเปิดขายกองทุนรูปแบบใหม่ๆ ทั้งกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศซึ่งลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ รวมถึงกองทุนหุ้นต่างประเทศที่เน้นลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี้) แต่ก็กระตุ้นการลงทุนได้ไม่มากนัก เห็นได้จากรายงานตัวเลขเงินลงทุนทั้งระบบในช่วง 6 เดือนแรกของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) ซึ่งมีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นประมาณ 13,265.18 ล้านบาทมาอยู่ที่ 1,439,892.10 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวมทั้งหมด 1,426,626.92 ล้านบาทเมื่อสิ้นปีที่แล้ว โดยคิดเป็นอัตราการเติบโตเพียง 0.92% เท่านั้น
ทั้งนี้ หากสรุปจำนวนเงินลงทุนในกองทุนแต่ละประเภท กองทุนรวมตราสารทุนมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 129,959.38 ล้านบาท ในขณะที่กองทุนรวมตราสารหนี้มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 961,076.13 ล้านบาท กองทุนรวมแบบผสมมีเงินลงทุนรวม 248,166.00 ล้านบาท และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ 61,016.83 ล้านบาท
นอกจากนี้ หากแยกจำนวนเงินลงทุนในกองทุนที่มีลักษณะพิเศษ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) มีจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 48,552.24 ล้านบาท กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) 38,409.98 ล้านบาท ในขณะที่กองทุนต่างประเทศมีจำนวนเงินทั้งสิ้น 200,144.77 ล้านบาท
นางวรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด ในฐานะนายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยว่า หากพิจารณาถึงเงินลงทุนในกองทุนแต่ละประเภทจะเห็นว่า กองทุนหุ้นหดตัวลงเล็กน้อยประมาณ 1.6% ซึ่งเป็นสาเหตุเนื่องมาจากการปรับลดลงของดัชนีหุ้นไทยจาก 858 จุดในช่วงต้นปีมาอยู่ที่ 775 จุดในช่วงสิ้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสัดส่วนการลดลงถึง 9.63% แต่ในส่วนของกองทุนตราสารหนี้เอง จะเห็นว่ายังสามารถขยายตัวได้อยู่ในอัตรา 1.08% จากการเปิดขายกองทุนออกมาอย่างต่อเนื่องทั้งตราสารหนี้ในประเทศและต่างประเทศ
สำหรับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เองก็ขยายตัวได้เช่นกัน แม้หลายคนจะเป็นห่วงว่ากองทุนทั้ง 2 ประเภทจะลดลง เนื่องจากผู้ลงทุนสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้บ้างแล้ว โดยแอลทีเอฟขยายตัว 1.7% และอาร์เอ็มเอฟ 1% ส่วนกองทุนต่างประเทศซึ่งปีที่ผ่านมาสามารถกระตุ้นการขยายตัวของธุรกิจกองทุนรวมได้ค่อนข้างมาก แต่ในช่วง 6 เดือนแรกกลับหดตัวไปประมาณ 4.36% โดยเป็นผลมาจากการเกิดสูญญากาศอยู่ช่วงหนึ่ง เพราะยังไม่มีสินทรัพย์ออกมาเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนต่อจากกองทุน ECP
นางวรวรรณกล่าวว่า อีกปัจจัยที่สำคัญคือการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ เพื่อใช้ในการปล่อยสินเชื่อ โดยการปรับขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าวก็เป็นไปตามคาดและเป็นปกติที่การลงทุนผ่านกองทุนรวมจะชะลอตัวไป อย่างไรก็ตาม ในที่สุดแล้วทั้งปีนี้เชื่อว่าดอกเบี้ยจะปรับเพิ่มขึ้นไปอีก 0.50% ซึ่งยังเป็นสัดส่วนดอกเบี้ยที่ธุรกิจกองทุนรวมสามารถแข่งขันได้ เพราะถ้าแบงก์ปรับขึ้นไปสูงกว่านี้ อาจจะเกิดปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพ (เอ็นพีแอล) หรือกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจเนื่องจากมีต้นทุนที่สูงขึ้น
"การขยายตัวของธุรกิจกองทุนรวมทั้งปีนี้ ไม่น่าจะถึง 20% อย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์เอาไว้ ส่วนจะขยายตัวเท่าไหร่คงประเมินลำบาก เพราะในช่วงที่ดอกเบี้ยขึ้นคนส่วนใหญ่จะวิ่งไปหาเงินฝากเป็นปกติ แต่ก็ต้องดูว่าโอกาสของเรายังมีไหม เพราะการออกกองทุนพันธบัตรรัฐบาลที่มีความเสี่ยงต่ำ น่าจะเป็นทางเลือกการลงทุนในช่วงที่ตลาดหุ้นผันผวนเช่นนี้ได้ ส่วนหนึ่งเพราะพันธบัตรัฐบาลให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก"นางวรวรรณกล่าว
ทั้งนี้ ในส่วนของบลจ.บัวหลวง ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา มีอัตราการขยายตัวสูงกว่าอุตสาหกรรม โดยมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1.56 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 10,760 ล้านบาทจากเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1.45 ล้านบาทในช่วงปลายปีที่แล้ว โดยการเพิ่มขึ้นดังกล่าวคิดเป็นอัตราการขยายตัวประมาณ 7.38% ด้วยมีส่วนแบ่งเป็นอันดับ 3
อย่างไรก็ตาม จากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 8.9% น่าจะเป็นปัจจัยบวกที่สามารถดึงเงินลงทุนเข้ามาในกองทุนรวมได้ เนื่องจากการฝากเงินเพียงอย่างเดียวไม่สามารถเอาชนะเงินเฟ้อในอัตราดังกล่าวได้ ดังนั้น จะต้องมีการลงทุนในหุ้นผสมไปกับพอร์ตการลงทุนด้วย แต่ก็ขึ้นอยู่กับนักลงทุนเอง ถ้าเราสามารถป้อนความรู้ความเข้าใจให้เขาได้ เงินลงทุนก็จะไหลเข้ามาเองซึ่งต้องใช้เวลา
นางวรวรรณกล่าวว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดในธุรกิจกองทุนรวมขณะนี้คือ การทำการตลาด เพราะหลังจากนี้จะทำการตลาดแบบเดิมไม่ได้แล้ว แต่ต้องสามารถตอบโจทย์การเอาชนะเงินเฟ้อได้ว่าจะทำอย่างเพื่อเป้าหมายในระยะยาว และบริหารเงินให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยเฉพาะกองทุนรวมตลาดเงิน (มันนี่มาร์เกต) ที่น่าจะสามารถแข่งขันได้ เพราะยังให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก ซึ่งในอนาคตเอง กองทุนมันนี่มาร์เกตจะเป็นแกนหลักที่สำคัญที่สุดในการขยายตัวของธุรกิจกองทุนรวม เห็นได้จากที่ผ่านมา บริษัทจัดการกองทุนเองเริ่มให้ความสำคัญกับกองทุนประเภทนี้มากขึ้น แต่ก็อยู่ที่จะเข้าถึงผู้ฝากเงินได้มากน้อยแค่ไหน
สำหรับรายงานส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) ล่าสุด ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2551 พบว่า บลจ.ไทยพาณิชย์ ยังครองมาร์เกตแชร์เป็นอันดับ 1 ด้วยสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 281,717.76 ล้านบาท ซึ่งลดลงพอสมควรจากสินทรัพย์รวมประมาณ 301,494.43 ล้านบาทในช่วงปลายปีที่แล้ว หรือคิดเป็นเงินลงทุนที่ลดลงประมาณ 19,776.67 ล้านบาท
ส่วนบลจ.กสิกรไทย ที่มีมาร์เกตแชร์เป็นอันดับ 2 มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย 6 เดือนแรกมีเงินลงทุนในกองทุนรวมอยู่ที่ 253,502.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 21,623.73 ล้านบาท จากสินทรัพย์รวม 231,879.13 ล้านบาทในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว