นักลงทุนต่างชาติรอดูทิศทางเงินเฟ้อ-ดอกเบี้ย ทิ้งหุ้นไทยอีกเกือบ 3 พันล้านบาท ขณะที่ผู้บริหาร บล.ทิสโก้ ฟันธงตลาดหุ้นไทยซึมลากยาวอีก 2 เดือน ด้าน "จักรมณฑ์" แนะใช้นโยบายดอกเบี้ยเข้ามาดูแลเรื่องเงินเฟ้อ ส่วนผู้บริหาร "ไทยยูนีคคอยล์" ยันผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่ได้เทขายหุ้น แต่เจอมือมือทิ้งหุ้นเพียบทำให้ราคาหุ้นรูดไม่หยุด และวานนี้ (12 มิ.ย.) วอลุ่มสูงสุดติดอันดับ 1 มูลค่ากว่า 2 พันล้านบาท
ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวานนี้ (12 มิ.ย.) ปรับตัวลดลงในช่วงเช้าจากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น เร่งให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น แต่ช่วงบ่ายได้มีแรงซื้อหุ้นกลุ่มพลังงานเข้ามาทำให้ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นได้บ้าง โดยมีจุดสูงสุดระหว่างวันที่ระดับ 791.68 จุด ต่ำสุด 782.91 จุด ก่อนจะปิดปิดที่ 790.80 จุด ลดลงจากวันก่อน 0.86 จุด หรือ 0.11% มูลค่าการซื้อขาย 22,529 ล้านบาท
โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,919.95 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 1,219.44 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 1,700.52 ล้านบาท
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทิสโก้ จำกัด กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ทิศทางปรับตัวลดลงและมูลค่าการซื้อขายเบาบางไปอีก 2 เดือน เนื่องจากนักลงทุนต่างประเทศรอดูทิศทางและความชัดเจนเรื่องอัตราเงินเฟ้อ หลังจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันยังต้องติดตามการดำเนินการของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หากปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยด้วย
สำหรับจากปัจจัยดังกล่าวที่ยังไม่มีความชัดเจน ทำให้นักลงทุนต่างประเทศไม่กลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย แต่หากปัจจัยดังกล่าวชัดแล้วนักลงทุนจะกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย ซึ่งในปีนี้ยอดการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติหมดแล้ว ทำให้มียอดขายสุทธิ 30,108.95 ล้านบาท
ทั้งนี้ แม้ว่าราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น กดดันให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นตามไปด้วยนั้น คงจะไม่ส่งผลกระทบต่อกำไรของบริษัทจดทะเบียนในปี 51 นี้มากนัก
"ตลาดหุ้นไทยจะยังคงซึมๆ วอลุ่มบางไปอีก 2 เดือน เพื่อรอให้เงินเฟ้อนิ่งก่อน และติดตามแบงก์ชาติว่าจะมีการดำเนินการและดูแลเงินเฟ้ออย่างไร ทำให้นักลงทุนต่างชาติทยอยขายหุ้นและไม่เข้ามาซื้อเพิ่ม เพราะต้องรอความชัดเจนก่อน ซึ่งลักษณะดังกล่าวถือเป็นเหมือนกับตลาดหุ้นในภูมิภาคเนื่องจากได้รับแรงกดดันจากปัจจัยเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การเติบโตเศรษฐกิจชะลอตัว" นายไพบูลย์ กล่าว
**ปัจจัยนอกกดดันตลาดหุ้นไทย
นายพิชัย เลิศสุพงศ์กิจ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาดลูกค้าบุคคล บล.ธนชาต กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นในช่วงเช้าปรับลงตามดาวโจนส์ที่ปรับลดลง 205.99 จุด จากความกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น 5.07 เหรียญ ปิดที่ 136.68 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ (ซับไพรม์) ที่ยังส่งผลกับภาคการเงินของสหรัฐฯ ซึ่งอาจทำให้สถาบันการเงินขนาดใหญ่ต้องตั้งสำรองเพิ่มหรือต้องเพิ่มทุน
ขณะที่ ในช่วงบ่ายดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยมีแรงซื้อเข้ามาในหุ้นกลุ่มพลังงานที่ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น ช่วยพยุงให้ดัชนีติดลบเพียงเล็กน้อย โดยมองว่าเป็นการรีบาวน์ทางเทคนิคเมื่อดัชนีลงมาใกล้ทดสอบแนวรับ 780 จุด
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ (13 มิ.ย.) ดัชนีมีโอกาสรีบาวน์กลับทางเทคนิค หากไม่มีปัจจัยลบใหม่เข้ามา เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาลงมาเร็วมาก แต่หากมีการรีบาวน์คงไม่มาก ซึ่งจะต้องติดตามราคาน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อ ทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ และปัจจัยทางการเมือง โดยช่วงนี้ปัจจัยที่มีน้ำหนักต่อตลาดหุ้นไทยคือ ปัจจัยต่างประเทศมากกว่าปัจจัยภายใน
ส่วนกลยุทธ์การลงทุน แนะนำลงทุนในหุ้นที่ได้รับประโยชน์จากเงินเฟ้อที่สูงขึ้น เช่น กลุ่มพลังงาน และกลุ่มค้าปลีก ซึ่งสามารถส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปสู่ผู้บริโภคได้มากกว่ากลุ่มอื่น ซึ่งประเมินแนวรับที่ 780 จุด และแนวต้านที่ 795-800 จุด
**แรงซื้อหุ้นน้ำมันวอลุ่ม2หมื่นล.
นายภูวดล ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.เอเซียพลัส กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงตลอดทั้งวันโดยปรับตัวลดลงต่ำสุดที่ 782 จุด จากนั้นดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นตามตลาดหุ้นต่างประเทศที่รีบาวน์ขึ้นมาก และมีแรงซื้อเข้ามาในหุ้นกลุ่มพลังงานในช่วงก่อนปิดการซื้อขายจากการที่ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก 5 เหรียญสหรัฐหลังจากกระทรวงพลังงานสหรัฐประกาศน้ำมันสำรองออกมาลดลง ทำให้ราคาหุ้น ปตท. บ้านปู ปตท.สผ ปรับตัวพิ่มขึ้นทำให้มูลค่าการซื้อขายหนาแน่อนอยู่ที่ระดับ 20,000 ล้านบาท
ทั้งนี้จากการที่ราคานำมันสูงขึ้นทำให้นักลงทุนมีความกังวลในเรื่องการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อที่จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโดยปัจจัยดังกล่าวจึงเป็นประเด็นที่กิดดันตลาดหุ้นทั่วโลก ส่วนการที่ทางจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) เตือนว่าไทยอาจถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือหากเกิดความรุนแรงทางการเมือง
"บริษัทคาดว่าจากเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย น่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งปีนี้ แต่ขึ้นอยู่กับค่าเงินบาทเช่นกัน ซึ่งหากอ่อนค่าเร็วจะยิ่งเป็นแรงกดดันที่จะทำให้ธปท.ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น"
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ คาดว่าเคลื่อนไหวในกรอบแถบๆในทิศทางที่ปรับตัวลดลง จากยังคงได้ปัจจัยกดดันเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่สูง โดยประเมินแนวรับที่ระดับ 758 จุดแนวต้านที่ระดับ 800 จุด
นายอภิสิทธิ์ ลิมศุภนาค ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.บีฟิท กล่าวว่า ตลาดหุ้นตกอยู่ภายใต้ความกังวลเรื่องราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะกดดันอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันมีการคาดการณ์ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพฤษภาคมของสหรัฐฯ ที่จะประกาศในคืนวันศุกร์จะเพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่ต้นปี ได้สร้างกังวลให้กับนักลงทุน เห็นได้จากดาวโจนส์ที่ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ดีตลาดหุ้นไทยติดลบเพียงเล็กน้อย ซึ่งมองว่าเป็นเพราะดัชนีลดลงมามาก และหุ้นพื้นฐานบางตัวราคาก็ลงมาต่ำกว่าราคาที่เหมาะสมทำให้มีแรงซื้อกลับเข้ามา
ส่วนแนวโน้มวันนี้ คาดว่าดัชนีจะแกว่งตัวแคบในกรอบแนวรับ 780-782 จุด และแนวต้าน 800 จุด รอดูดัชนีราคาผู้บริโภคของสหรัฐฯ ที่จะประกาศในช่วงกลางคืน โดยราคาน้ำมันดิบจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบกับบรรยากาศการลงทุนต่อเนื่องไปถึงสัปดาห์หน้า สำหรับกลยุทธ์การลงทุนแนะนำทยอยซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีและราคาลงมาต่ำกว่าราคาที่เหมาะสม โดยเฉพาะกลุ่มพลังงานและกลุ่มแบงก์
***ชี้นโยบายดบ.เน้นดูแลเงินเฟ้อ
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) เปิดเผยว่า ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นต่อเนื่องอาจมีความเป็นไปได้ที่จะเห็นอัตราเงินเฟ้อของไทยเป็นเลข 2 หลัก ดังนั้นการที่ภาคเอกชนต้องการให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้เพื่อดูแลเศรษฐกิจ อาจจะไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง เพราะการที่น้ำมันแพงได้กระทบต่อผู้มีรายได้น้อย ธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ต้นทุนสูงส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อนโยบายดอกเบี้ยจึงต้องดูแลเงินเฟ้อเป็นหลัก เพราะปัญหานี้กระทบภาพรวมไม่ได้กระทบต่อการลงทุน ประกอบกับดอกเบี้ยไทยยังต่ำมากหากจะขึ้นอีก 25 สตางค์ก็ยังไม่มีปัญหา
ส่วนกรณีที่รัฐบาลเวียดนามประกาศลดค่าเงินและขึ้นดอกเบี้ย 2% เพื่อดูแลปัญหาเงินเฟ้อนั้น ยอมรับว่าอาจจะมีความอ่อนไหวและเปราะบางต่อเศรษฐกิจเวียดนามโดยรวมบ้าง ดังนั้นการลงทุนตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่อยู่ระหว่างตัดสินใจไปลงทุนส่วนหนึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะมาลงทุนที่ไทยเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามปัญหาดังกล่าวคงไม่กลายเป็นวิกฤติปี 2540 เพราะอดีตโครงสร้างทางการเงินของประเทศไทยและเอเชียอ่อนแอ มีการลงทุนเกินตัวซึ่งที่ผ่านมาได้รับการแก้ไขมาระดับหนึ่งแล้ว ประกอบกับรัฐบาลเวียดนามสามารถสั่งการได้รวดเร็ว
"เป็นไปได้การลงทุนส่วนหนึ่งจะมาไทยแต่การลงทุนของไทยกับเวียดนามส่วนหนึ่งยอมรับว่าต่างกันไทยเลยจุดที่ต้องการลงทุนทุกสิ่งอย่างไปแล้ว วันนี้ไทยสามารถเลือกการลงทุนได้มากขึ้นจึงถือว่าปัญหาเวียดนามไม่ได้เป็นโอกาสทั้งหมดของไทยเพราะเราต้องเลือกการลงทุน" นายจักรมณฑ์กล่าว
นายจักรมณฑ์ กล่าวว่า แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะต้องเผชิญกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจนทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นต่อเนื่องนั้นแต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเสริมที่ดีคือ 1. การส่งออกของไทยยังมีการขยายตัวต่อเนื่อง 2. ราคาสินค้าภาคเกษตรส่วนใหญ่มีราคาที่สูงขึ้น 3. อัตราการจ้างงานยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีโดยไม่ได้ปรับลดลงมากนัก มีการตกงานเฉพาะบัณฑิตจบใหม่ในบางสาขาเนื่องจากแรงงานขณะที่ไทยขาดแคลนแรงงานฝีมือระดับการผลิต
**TUCCวอลุ่มกระฉูดอันดับหนึ่ง
ความเคลื่อนไหวราคาหุ้นของบริษัท TUCC ปรับตัวลดลงมาอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2551 ที่ราคา 11.50 บาทต่อหุ้นและค่อยๆปรับตัวลดลงมาแรงจนติดฟลอร์ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2551จนถึงวานนี้ราคาหุ้นปิดที่ 3.10 บาท ลดลง 1.32 บาท หรือลดลง 29.86 % มูลค่าการซื้อขาย 2,002.83 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าการซื้อขายสูงสุดของในวานนี้
นายทรงชัย ลีละวินิจกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ไทยยูนีคคอยล์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TUCC กล่าวว่า การที่ราคาหุ้นของบริษัทปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ติดฟลอร์ 3 วันติดนั้นบริษัทยืนยันว่า ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทไม่ได้มีการขายหุ้นออกมาอย่างแน่นอน เพราะ หากมีการดำเนินการดังกล่าวก็ไม่ได้เกิดผลดีต่อบริษัท เมื่อราคาหุ้นปรับตัวลดลง ดังนั้นจึงไม่เป็นเหตุผลที่บริษัทจะต้องมีการดำเนินการดังกล่าว
ทั้งนี้ จากการที่ราคาหุ้นของบริษัทมีการปรับตัวลดลงต่อเนื่องนั้น โดยบริษัทก็เห็นถึงความไม่ชอบมาพากลในช่วง 3 วันที่ผ่านมา และมีความเป็นห่วงนักลงทุนรายย่อยว่าจะได้รับผลกระทบและราคาหุ้นของบริษัทที่ปรับตัวลดลงทุกวัน บริษัทได้มีการหารือกับทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)เพื่อที่จะขอพักการซื้อขายหุ้นของบริษัท แต่ไม่สามารถทำได้เพราะ บริษัทอยู่ระหว่างการเปิดให้นักลงทุนมีการเปิดจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนไปแล้วจึงจะต้องให้การดำเนินการดังกล่าวให้เสร็จซึ่งในวานนี้ 12 พ.ค.เป็นวันสุดท้ายที่เปิดให้มีการจองซื้อหุ้น
"จากราคาหุ้นของบริษัทที่ปรับตัวลดลงมาทุกวันนั้น เราก็เป็นห่วงนักลงทุนรายย่อย ซึ่งทางบริษัทเองก็เห็นถึงความไม่ชอบมาพากลแล้ว แต่ไม่ทราบว่าการที่ราคาหุ้นของบริษัทปรับตัวลดลงมากเกิดจากนักลงทุนกลุ่มไหน เพราะในตลาดทุนมีนักลงทุนอยู่หลายกลุ่ม แต่ทางบริษัทไม่สามารถจะดำเนินการอย่างไรได้ เพราะขนาดจะขอแขวนหุ้นตัวเองยังไม่สามารถทำได้" นายทรงชัย กล่าว
ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวานนี้ (12 มิ.ย.) ปรับตัวลดลงในช่วงเช้าจากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น เร่งให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น แต่ช่วงบ่ายได้มีแรงซื้อหุ้นกลุ่มพลังงานเข้ามาทำให้ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นได้บ้าง โดยมีจุดสูงสุดระหว่างวันที่ระดับ 791.68 จุด ต่ำสุด 782.91 จุด ก่อนจะปิดปิดที่ 790.80 จุด ลดลงจากวันก่อน 0.86 จุด หรือ 0.11% มูลค่าการซื้อขาย 22,529 ล้านบาท
โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,919.95 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 1,219.44 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 1,700.52 ล้านบาท
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทิสโก้ จำกัด กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ทิศทางปรับตัวลดลงและมูลค่าการซื้อขายเบาบางไปอีก 2 เดือน เนื่องจากนักลงทุนต่างประเทศรอดูทิศทางและความชัดเจนเรื่องอัตราเงินเฟ้อ หลังจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันยังต้องติดตามการดำเนินการของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หากปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยด้วย
สำหรับจากปัจจัยดังกล่าวที่ยังไม่มีความชัดเจน ทำให้นักลงทุนต่างประเทศไม่กลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย แต่หากปัจจัยดังกล่าวชัดแล้วนักลงทุนจะกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย ซึ่งในปีนี้ยอดการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติหมดแล้ว ทำให้มียอดขายสุทธิ 30,108.95 ล้านบาท
ทั้งนี้ แม้ว่าราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น กดดันให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นตามไปด้วยนั้น คงจะไม่ส่งผลกระทบต่อกำไรของบริษัทจดทะเบียนในปี 51 นี้มากนัก
"ตลาดหุ้นไทยจะยังคงซึมๆ วอลุ่มบางไปอีก 2 เดือน เพื่อรอให้เงินเฟ้อนิ่งก่อน และติดตามแบงก์ชาติว่าจะมีการดำเนินการและดูแลเงินเฟ้ออย่างไร ทำให้นักลงทุนต่างชาติทยอยขายหุ้นและไม่เข้ามาซื้อเพิ่ม เพราะต้องรอความชัดเจนก่อน ซึ่งลักษณะดังกล่าวถือเป็นเหมือนกับตลาดหุ้นในภูมิภาคเนื่องจากได้รับแรงกดดันจากปัจจัยเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การเติบโตเศรษฐกิจชะลอตัว" นายไพบูลย์ กล่าว
**ปัจจัยนอกกดดันตลาดหุ้นไทย
นายพิชัย เลิศสุพงศ์กิจ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาดลูกค้าบุคคล บล.ธนชาต กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นในช่วงเช้าปรับลงตามดาวโจนส์ที่ปรับลดลง 205.99 จุด จากความกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น 5.07 เหรียญ ปิดที่ 136.68 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ (ซับไพรม์) ที่ยังส่งผลกับภาคการเงินของสหรัฐฯ ซึ่งอาจทำให้สถาบันการเงินขนาดใหญ่ต้องตั้งสำรองเพิ่มหรือต้องเพิ่มทุน
ขณะที่ ในช่วงบ่ายดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยมีแรงซื้อเข้ามาในหุ้นกลุ่มพลังงานที่ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น ช่วยพยุงให้ดัชนีติดลบเพียงเล็กน้อย โดยมองว่าเป็นการรีบาวน์ทางเทคนิคเมื่อดัชนีลงมาใกล้ทดสอบแนวรับ 780 จุด
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ (13 มิ.ย.) ดัชนีมีโอกาสรีบาวน์กลับทางเทคนิค หากไม่มีปัจจัยลบใหม่เข้ามา เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาลงมาเร็วมาก แต่หากมีการรีบาวน์คงไม่มาก ซึ่งจะต้องติดตามราคาน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อ ทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ และปัจจัยทางการเมือง โดยช่วงนี้ปัจจัยที่มีน้ำหนักต่อตลาดหุ้นไทยคือ ปัจจัยต่างประเทศมากกว่าปัจจัยภายใน
ส่วนกลยุทธ์การลงทุน แนะนำลงทุนในหุ้นที่ได้รับประโยชน์จากเงินเฟ้อที่สูงขึ้น เช่น กลุ่มพลังงาน และกลุ่มค้าปลีก ซึ่งสามารถส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปสู่ผู้บริโภคได้มากกว่ากลุ่มอื่น ซึ่งประเมินแนวรับที่ 780 จุด และแนวต้านที่ 795-800 จุด
**แรงซื้อหุ้นน้ำมันวอลุ่ม2หมื่นล.
นายภูวดล ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.เอเซียพลัส กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงตลอดทั้งวันโดยปรับตัวลดลงต่ำสุดที่ 782 จุด จากนั้นดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นตามตลาดหุ้นต่างประเทศที่รีบาวน์ขึ้นมาก และมีแรงซื้อเข้ามาในหุ้นกลุ่มพลังงานในช่วงก่อนปิดการซื้อขายจากการที่ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก 5 เหรียญสหรัฐหลังจากกระทรวงพลังงานสหรัฐประกาศน้ำมันสำรองออกมาลดลง ทำให้ราคาหุ้น ปตท. บ้านปู ปตท.สผ ปรับตัวพิ่มขึ้นทำให้มูลค่าการซื้อขายหนาแน่อนอยู่ที่ระดับ 20,000 ล้านบาท
ทั้งนี้จากการที่ราคานำมันสูงขึ้นทำให้นักลงทุนมีความกังวลในเรื่องการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อที่จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโดยปัจจัยดังกล่าวจึงเป็นประเด็นที่กิดดันตลาดหุ้นทั่วโลก ส่วนการที่ทางจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) เตือนว่าไทยอาจถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือหากเกิดความรุนแรงทางการเมือง
"บริษัทคาดว่าจากเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย น่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งปีนี้ แต่ขึ้นอยู่กับค่าเงินบาทเช่นกัน ซึ่งหากอ่อนค่าเร็วจะยิ่งเป็นแรงกดดันที่จะทำให้ธปท.ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น"
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ คาดว่าเคลื่อนไหวในกรอบแถบๆในทิศทางที่ปรับตัวลดลง จากยังคงได้ปัจจัยกดดันเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่สูง โดยประเมินแนวรับที่ระดับ 758 จุดแนวต้านที่ระดับ 800 จุด
นายอภิสิทธิ์ ลิมศุภนาค ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.บีฟิท กล่าวว่า ตลาดหุ้นตกอยู่ภายใต้ความกังวลเรื่องราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะกดดันอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันมีการคาดการณ์ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพฤษภาคมของสหรัฐฯ ที่จะประกาศในคืนวันศุกร์จะเพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่ต้นปี ได้สร้างกังวลให้กับนักลงทุน เห็นได้จากดาวโจนส์ที่ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ดีตลาดหุ้นไทยติดลบเพียงเล็กน้อย ซึ่งมองว่าเป็นเพราะดัชนีลดลงมามาก และหุ้นพื้นฐานบางตัวราคาก็ลงมาต่ำกว่าราคาที่เหมาะสมทำให้มีแรงซื้อกลับเข้ามา
ส่วนแนวโน้มวันนี้ คาดว่าดัชนีจะแกว่งตัวแคบในกรอบแนวรับ 780-782 จุด และแนวต้าน 800 จุด รอดูดัชนีราคาผู้บริโภคของสหรัฐฯ ที่จะประกาศในช่วงกลางคืน โดยราคาน้ำมันดิบจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบกับบรรยากาศการลงทุนต่อเนื่องไปถึงสัปดาห์หน้า สำหรับกลยุทธ์การลงทุนแนะนำทยอยซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีและราคาลงมาต่ำกว่าราคาที่เหมาะสม โดยเฉพาะกลุ่มพลังงานและกลุ่มแบงก์
***ชี้นโยบายดบ.เน้นดูแลเงินเฟ้อ
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) เปิดเผยว่า ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นต่อเนื่องอาจมีความเป็นไปได้ที่จะเห็นอัตราเงินเฟ้อของไทยเป็นเลข 2 หลัก ดังนั้นการที่ภาคเอกชนต้องการให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้เพื่อดูแลเศรษฐกิจ อาจจะไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง เพราะการที่น้ำมันแพงได้กระทบต่อผู้มีรายได้น้อย ธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ต้นทุนสูงส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อนโยบายดอกเบี้ยจึงต้องดูแลเงินเฟ้อเป็นหลัก เพราะปัญหานี้กระทบภาพรวมไม่ได้กระทบต่อการลงทุน ประกอบกับดอกเบี้ยไทยยังต่ำมากหากจะขึ้นอีก 25 สตางค์ก็ยังไม่มีปัญหา
ส่วนกรณีที่รัฐบาลเวียดนามประกาศลดค่าเงินและขึ้นดอกเบี้ย 2% เพื่อดูแลปัญหาเงินเฟ้อนั้น ยอมรับว่าอาจจะมีความอ่อนไหวและเปราะบางต่อเศรษฐกิจเวียดนามโดยรวมบ้าง ดังนั้นการลงทุนตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่อยู่ระหว่างตัดสินใจไปลงทุนส่วนหนึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะมาลงทุนที่ไทยเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามปัญหาดังกล่าวคงไม่กลายเป็นวิกฤติปี 2540 เพราะอดีตโครงสร้างทางการเงินของประเทศไทยและเอเชียอ่อนแอ มีการลงทุนเกินตัวซึ่งที่ผ่านมาได้รับการแก้ไขมาระดับหนึ่งแล้ว ประกอบกับรัฐบาลเวียดนามสามารถสั่งการได้รวดเร็ว
"เป็นไปได้การลงทุนส่วนหนึ่งจะมาไทยแต่การลงทุนของไทยกับเวียดนามส่วนหนึ่งยอมรับว่าต่างกันไทยเลยจุดที่ต้องการลงทุนทุกสิ่งอย่างไปแล้ว วันนี้ไทยสามารถเลือกการลงทุนได้มากขึ้นจึงถือว่าปัญหาเวียดนามไม่ได้เป็นโอกาสทั้งหมดของไทยเพราะเราต้องเลือกการลงทุน" นายจักรมณฑ์กล่าว
นายจักรมณฑ์ กล่าวว่า แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะต้องเผชิญกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจนทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นต่อเนื่องนั้นแต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเสริมที่ดีคือ 1. การส่งออกของไทยยังมีการขยายตัวต่อเนื่อง 2. ราคาสินค้าภาคเกษตรส่วนใหญ่มีราคาที่สูงขึ้น 3. อัตราการจ้างงานยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีโดยไม่ได้ปรับลดลงมากนัก มีการตกงานเฉพาะบัณฑิตจบใหม่ในบางสาขาเนื่องจากแรงงานขณะที่ไทยขาดแคลนแรงงานฝีมือระดับการผลิต
**TUCCวอลุ่มกระฉูดอันดับหนึ่ง
ความเคลื่อนไหวราคาหุ้นของบริษัท TUCC ปรับตัวลดลงมาอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2551 ที่ราคา 11.50 บาทต่อหุ้นและค่อยๆปรับตัวลดลงมาแรงจนติดฟลอร์ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2551จนถึงวานนี้ราคาหุ้นปิดที่ 3.10 บาท ลดลง 1.32 บาท หรือลดลง 29.86 % มูลค่าการซื้อขาย 2,002.83 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าการซื้อขายสูงสุดของในวานนี้
นายทรงชัย ลีละวินิจกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ไทยยูนีคคอยล์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TUCC กล่าวว่า การที่ราคาหุ้นของบริษัทปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ติดฟลอร์ 3 วันติดนั้นบริษัทยืนยันว่า ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทไม่ได้มีการขายหุ้นออกมาอย่างแน่นอน เพราะ หากมีการดำเนินการดังกล่าวก็ไม่ได้เกิดผลดีต่อบริษัท เมื่อราคาหุ้นปรับตัวลดลง ดังนั้นจึงไม่เป็นเหตุผลที่บริษัทจะต้องมีการดำเนินการดังกล่าว
ทั้งนี้ จากการที่ราคาหุ้นของบริษัทมีการปรับตัวลดลงต่อเนื่องนั้น โดยบริษัทก็เห็นถึงความไม่ชอบมาพากลในช่วง 3 วันที่ผ่านมา และมีความเป็นห่วงนักลงทุนรายย่อยว่าจะได้รับผลกระทบและราคาหุ้นของบริษัทที่ปรับตัวลดลงทุกวัน บริษัทได้มีการหารือกับทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)เพื่อที่จะขอพักการซื้อขายหุ้นของบริษัท แต่ไม่สามารถทำได้เพราะ บริษัทอยู่ระหว่างการเปิดให้นักลงทุนมีการเปิดจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนไปแล้วจึงจะต้องให้การดำเนินการดังกล่าวให้เสร็จซึ่งในวานนี้ 12 พ.ค.เป็นวันสุดท้ายที่เปิดให้มีการจองซื้อหุ้น
"จากราคาหุ้นของบริษัทที่ปรับตัวลดลงมาทุกวันนั้น เราก็เป็นห่วงนักลงทุนรายย่อย ซึ่งทางบริษัทเองก็เห็นถึงความไม่ชอบมาพากลแล้ว แต่ไม่ทราบว่าการที่ราคาหุ้นของบริษัทปรับตัวลดลงมากเกิดจากนักลงทุนกลุ่มไหน เพราะในตลาดทุนมีนักลงทุนอยู่หลายกลุ่ม แต่ทางบริษัทไม่สามารถจะดำเนินการอย่างไรได้ เพราะขนาดจะขอแขวนหุ้นตัวเองยังไม่สามารถทำได้" นายทรงชัย กล่าว