ทหารไทยเตรียมปรับลดเป้าหมายสินเชื่อทั้งปี หลังยอดขอสินเชื่อยังลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะลูกค้าไม่มั่นใจเศรษฐกิจจึงยังไม่ลงทุนเพิ่ม พร้อมคุมเอ็นพีแอลทั้งปีไม่เกิน 10% พร้อมเป็นห่วงการปรับราคาสินค้ารอบ 2 กระทบประชาชน
นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคมธนาคารจะทำการทบทวนเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อในปีนี้ใหม่ โดยเชื่อว่าน่าจะต้องมีการปรับลดลงแน่นอนจากเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ที่ 8% หรือประมาณ 40,000 ล้านบาท เนื่องจากปัจจัยลบด้านเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ การปล่อยสินเชื่อของธนาคารในไตรมาส 1 ปีนี้เมื่อเทียบกับสิ้นปีที่ผ่านมานั้น มีการลดลงประมาณ 2-3% แต่ขนาดของสินทรัพย์ยังมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนการปล่อยสินเชื่อในช่วงไตรมาส 2 เป็นต้นมานั้น จะเห็นว่าจำนวนสินเชื่อมีการลดลงอย่างชัดเจน และเมื่อเทียบไตรมาส 1 ปีนี้กับเมื่อ 2 ปีก่อนจะเห็นว่ายอดการขอสินเชื่อได้ลดลง 50% ซึ่งรวมถึงยอดการอนุมัติด้วย แต่ตอนนี้ได้เริ่มทรงตัวแล้ว โดยคาดว่ายอดสินเชื่อคงค้างของธนาคารจะกลับมาเป็นบวกได้ประมาณไตรมาส 3 หรือ ไตรมาส 4 ของปีนี้ เนื่องจากได้มีทีมจากไอเอ็นจีเข้ามาเสริมทีม เช่น ในด้านการวิเคราะห์สินเชื่อ เป็นต้น
โดยการอนุมัติสินเชื่อรายใหม่ของธนาคารมีความเข้มงวดขึ้น ส่วนลูกค้ารายเก่านั้นยังไม่ค่อยมีการขอวงเงินสินเชื่อเพิ่ม เนื่องจากยังชะลอการลงทุนอยู่ เพราะยังกังวลกับปัญหาเศรษฐกิจ อีกทั้งสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดือนธันวาคมที่ผ่านมาก็คือ อัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นและภาคธุรกิจประสบกับปัญหาราคาน้ำมันแพง เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาชะลอตัวและกำลังซื้อของคนลดลง อย่างไรก็ตาม สินเชื่อรายใหญ่ของธนาคารยังมีการเติบโต แต่กลุ่มที่เหนื่อยคือกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี เพราะเป็นกลุ่มที่มีขนาดเล็กอำนาจต่อรองในการทำธุรกิจจะน้อยกว่าบริษัทที่ใหญ่กว่า
"เศรษฐกิจปีนี้ไม่ค่อยดี แบงก์ควรระวังในการปล่อยสินเชื่อ ส่วนตัวเลข 5 เดือนกำไรและรายได้ค่าธรรมเนียมก็เป็นไปตามเป้าหมาย ด้านสินเชื่อไตรมาส 2 คงไม่ได้ขึ้นเร็วเพราะจะให้ขยายแบบก้าวกระโดดมันเป็นไปได้ยาก ส่วนรายได้ปีนี้คงเพิ่มมาจากค่าธรรมเนียมจากการขายประกันซึ่งคาดว่าปีนี้จะขายประกันได้ประมาณ 500-600 ล้านบาทที่ได้น้อยเพราะเพิ่งเริ่มช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งตอนนี้ก้ได้มีการฝึกอบรมพนักงานแล้ว"
สำหรับในปีนี้ธนาคารจะรักษาส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย(สเปรด)ให้อยู่ที่ 2.6-2.7% จากไตรมาส 1 สเปรดอยู่ที่ 2.6% และสิ้นปีก่อนอยู่ที่ 2.0% โดยที่ผ่านมาสเปรดมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งมาจากการที่ธนาคารได้ขยายโครงสร้างเงินฝากออมทรัพย์และกระแสรายวันจากปีก่อนอยู่ที่ 23-25% มาเป็น 40% ซึ่งจะทำให้ต้นทุนเงินฝากของธนาคารลดลง
นอกจากนี้ ธนาคารตั้งเป้าหมายจะควบคุมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในปีนี้ให้อยู่ที่ต่ำกว่า 10% หรือให้ลดลงอีกประมาณ 30,000 ล้านบาท จากปัจจุบันอยู่ที่ 14% หรือประมาณ 68,000-69,000 ล้านบาท โดยแนวทางที่จะใช้ในการลดเอ็นพีแอลจะทำโดยการปรับโครงสร้างหนี้ การขายออก โดยตั้งแต่ต้นปีได้มีการขายออกไปแล้วประมาณ 2,000 ล้านบาท
นายสุภัค กล่าวว่า ประชาชนทั่วไปขณะนี้ต้องประสบปัญหาเรื่องของราคาน้ำมันแพงและเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และสิ่งที่น่ากลัวคือแนวโน้มที่จะมีการปรับราคารอบ 2 ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)มาก และตอนนี้ถ้าใครมาฝากเงินก็จะเห็นว่าเงินตอนนี้ติดลบ ดังนั้นถ้าธปท.ต้องการจะคุมเงินเฟ้อก็ต้องขึ้นดอกเบี้ย แต่ก็เป็นสิ่งที่ท้าทายที่ ธปท.จะต้องทำการตัดสินใจ
"เดิมเงินเฟ้อขึ้นก็เพราะเศรษฐกิจดี คนใช้จ่ายกันมาก ของขายได้ดี ก็ขึ้นราคา จึงต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดึงลงมาให้ไม่สูงมากนัก แต่ตอนนี้กลับกันเพราะค่ครองชีพที่สูงขึ้นมาจากฝั่งต้นทุนดังนั้นสิ่งที่ ธปท.ดูคือถ้าไม่ออกมาขึ้นก็จะทำให้ราคาสินค้าขึ้นต่อเนื่อง ก็ถือเป็นสิ่งท้าทายที่จะตัดสินใจ แต่ทางรัฐก็ต้องออกมาช่วยอะไรเพิ่มบ้าง"
นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคมธนาคารจะทำการทบทวนเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อในปีนี้ใหม่ โดยเชื่อว่าน่าจะต้องมีการปรับลดลงแน่นอนจากเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ที่ 8% หรือประมาณ 40,000 ล้านบาท เนื่องจากปัจจัยลบด้านเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ การปล่อยสินเชื่อของธนาคารในไตรมาส 1 ปีนี้เมื่อเทียบกับสิ้นปีที่ผ่านมานั้น มีการลดลงประมาณ 2-3% แต่ขนาดของสินทรัพย์ยังมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนการปล่อยสินเชื่อในช่วงไตรมาส 2 เป็นต้นมานั้น จะเห็นว่าจำนวนสินเชื่อมีการลดลงอย่างชัดเจน และเมื่อเทียบไตรมาส 1 ปีนี้กับเมื่อ 2 ปีก่อนจะเห็นว่ายอดการขอสินเชื่อได้ลดลง 50% ซึ่งรวมถึงยอดการอนุมัติด้วย แต่ตอนนี้ได้เริ่มทรงตัวแล้ว โดยคาดว่ายอดสินเชื่อคงค้างของธนาคารจะกลับมาเป็นบวกได้ประมาณไตรมาส 3 หรือ ไตรมาส 4 ของปีนี้ เนื่องจากได้มีทีมจากไอเอ็นจีเข้ามาเสริมทีม เช่น ในด้านการวิเคราะห์สินเชื่อ เป็นต้น
โดยการอนุมัติสินเชื่อรายใหม่ของธนาคารมีความเข้มงวดขึ้น ส่วนลูกค้ารายเก่านั้นยังไม่ค่อยมีการขอวงเงินสินเชื่อเพิ่ม เนื่องจากยังชะลอการลงทุนอยู่ เพราะยังกังวลกับปัญหาเศรษฐกิจ อีกทั้งสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดือนธันวาคมที่ผ่านมาก็คือ อัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นและภาคธุรกิจประสบกับปัญหาราคาน้ำมันแพง เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาชะลอตัวและกำลังซื้อของคนลดลง อย่างไรก็ตาม สินเชื่อรายใหญ่ของธนาคารยังมีการเติบโต แต่กลุ่มที่เหนื่อยคือกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี เพราะเป็นกลุ่มที่มีขนาดเล็กอำนาจต่อรองในการทำธุรกิจจะน้อยกว่าบริษัทที่ใหญ่กว่า
"เศรษฐกิจปีนี้ไม่ค่อยดี แบงก์ควรระวังในการปล่อยสินเชื่อ ส่วนตัวเลข 5 เดือนกำไรและรายได้ค่าธรรมเนียมก็เป็นไปตามเป้าหมาย ด้านสินเชื่อไตรมาส 2 คงไม่ได้ขึ้นเร็วเพราะจะให้ขยายแบบก้าวกระโดดมันเป็นไปได้ยาก ส่วนรายได้ปีนี้คงเพิ่มมาจากค่าธรรมเนียมจากการขายประกันซึ่งคาดว่าปีนี้จะขายประกันได้ประมาณ 500-600 ล้านบาทที่ได้น้อยเพราะเพิ่งเริ่มช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งตอนนี้ก้ได้มีการฝึกอบรมพนักงานแล้ว"
สำหรับในปีนี้ธนาคารจะรักษาส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย(สเปรด)ให้อยู่ที่ 2.6-2.7% จากไตรมาส 1 สเปรดอยู่ที่ 2.6% และสิ้นปีก่อนอยู่ที่ 2.0% โดยที่ผ่านมาสเปรดมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งมาจากการที่ธนาคารได้ขยายโครงสร้างเงินฝากออมทรัพย์และกระแสรายวันจากปีก่อนอยู่ที่ 23-25% มาเป็น 40% ซึ่งจะทำให้ต้นทุนเงินฝากของธนาคารลดลง
นอกจากนี้ ธนาคารตั้งเป้าหมายจะควบคุมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในปีนี้ให้อยู่ที่ต่ำกว่า 10% หรือให้ลดลงอีกประมาณ 30,000 ล้านบาท จากปัจจุบันอยู่ที่ 14% หรือประมาณ 68,000-69,000 ล้านบาท โดยแนวทางที่จะใช้ในการลดเอ็นพีแอลจะทำโดยการปรับโครงสร้างหนี้ การขายออก โดยตั้งแต่ต้นปีได้มีการขายออกไปแล้วประมาณ 2,000 ล้านบาท
นายสุภัค กล่าวว่า ประชาชนทั่วไปขณะนี้ต้องประสบปัญหาเรื่องของราคาน้ำมันแพงและเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และสิ่งที่น่ากลัวคือแนวโน้มที่จะมีการปรับราคารอบ 2 ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)มาก และตอนนี้ถ้าใครมาฝากเงินก็จะเห็นว่าเงินตอนนี้ติดลบ ดังนั้นถ้าธปท.ต้องการจะคุมเงินเฟ้อก็ต้องขึ้นดอกเบี้ย แต่ก็เป็นสิ่งที่ท้าทายที่ ธปท.จะต้องทำการตัดสินใจ
"เดิมเงินเฟ้อขึ้นก็เพราะเศรษฐกิจดี คนใช้จ่ายกันมาก ของขายได้ดี ก็ขึ้นราคา จึงต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดึงลงมาให้ไม่สูงมากนัก แต่ตอนนี้กลับกันเพราะค่ครองชีพที่สูงขึ้นมาจากฝั่งต้นทุนดังนั้นสิ่งที่ ธปท.ดูคือถ้าไม่ออกมาขึ้นก็จะทำให้ราคาสินค้าขึ้นต่อเนื่อง ก็ถือเป็นสิ่งท้าทายที่จะตัดสินใจ แต่ทางรัฐก็ต้องออกมาช่วยอะไรเพิ่มบ้าง"