คปภ.จี้ “หมอเลี้ยบ” ยกเลิกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มตัวแทนประกันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทอ้างซ้ำซ้อนกับภาษีบุคคลธรรมดา “ศานิต ร่างน้อย” อธิบดีกรมสรรพากรระบุการขายสินค้าและบริการต่างๆ จะต้องเสียภาษีอย่างเท่าเทียมทุกอาชีพแจงหากยกเว้นขายตรงก็จะเรียกร้องไม่จบสิ้น ชี้มาตรการภาษีเพิ่มวงเงินลดหย่อนให้ประโยชน์ธุรกิจนี้อยู่แล้วควรให้ความร่วมมือจัดเก็บภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย
รายงานข่าวจากระทรวงการคลัง แจ้งว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) ได้พยายามผลักดันที่จะให้กระทรวงการคลัง ผ่านมายังนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ให้ยกเลิกการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับตัวแทนประกันที่จัดเก็บในอัตรา 7% สำหรับตัวแทนประกันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท โดยอ้างเหตุผลว่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวเป็นการจัดเก็บภาษีที่ซ้ำซ้อนกับภาษีบุคคลธรรมดาที่จัดเก็บในอัตรา 0-37% อยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังเห็นว่าข้อเรียกร้องดังกล่าวนั้นจะทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในอนาคตจึงเตรียมที่จะเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังว่าไม่สามารถดำเนินการตามข้อเรียกร้องดังกล่าวได้
นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ตามหลักการในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายสินค้าและบริการนั้นก็จะจัดเก็บเท่าเทียมกันในทุกสาขาอาชีพ หากผู้ใดมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ก็ต้องเสียเท่ากันในอัตรา 7% ทุกรายโดยไม่มีการยกเว้น การที่จะปฏิบัตตามข้อเรียกร้องของคปภ.ให้ยกเว้นการจัดเก็บให้เพียงอาชีพตัวแทนขายประกันก็จะไม่เป็นการยุติธรรมต่ออาชีพอื่นด้วย ซึ่งจะขัดกับหลักความเท่าเทียมทางภาษี
"หากมีการยกเว้นให้ตัวแทนประกัน ก็จะต้องมีปัญหาตามมาว่ากลุ่มอาชีพขายตรงต่าง ๆ ก็จะต้องมาเรียกร้องให้ปฏิบัติเช่นเดียวกัน เพระก็ขายสินค้าและบริการในลักษณะเดียวกัน ซึ่งกรมก็ต้องยกเว้นให้ไม่มีการจบสิ้น ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นจะเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะมันมีความลักลั่นกันหากให้อาชีพใดอาชีพหนึ่งเป็นการพิเศษ" นายศานิตกล่าว
แหล่งข่าวจากกรมสรรพากร กล่าวว่า ภาพรวมของธุรกิจประกันในขณะนี้ก็ถือว่าได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลค่อนข้างมากในแง่ของการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้นำเบี้ยประกันมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้เพิ่มจาก 5 หมื่นบาทเป็น 1 แสนบาท ทางธุรกิจประกันก็จะสามารถขายเบี้ยได้เพิ่ม ดังนั้นก็ควรที่จะให้การสนับสนุนกับรัฐด้วยโดยการเสียภาษีให้ถูกต้องตามที่กฏหมายกำหนด
“ที่ผ่านมาการที่ธุรกิจประกันได้ประโยชน์จำนวนมาก และยังมีการขายประกันแบบซิกแซก หาช่องในการหลีกเลี่ยงภาษี ก็ยิ่งถือว่าเป็นเป้าที่น่าจับตาของกรมในการตรวจสอบภาษีอยู่แล้ว ดังนั้นในส่วนของตัวแทนก็ควรจะให้ความร่วมมือในการเสียภาษีในอัตราที่เท่าเทียมกับอาชีพอื่น” แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีตัวแทนขายประกันทั้งระบบประมาณ 3.5 แสนราย โดยแบ่งเป็น ตัวแทนประกันชีวิต ประมาณ 3.2 แสนราย และตัวแทนประกันวินาศภัยประมาณ 2.6 หมื่นราย โดยในธุรกิจประกันชีวตินั้นมีเบี้ยประกันชีวิตรับรวมไตรมาสแรกของปี 2551 สูงถึง 5.1 หมื่นล้านบาท ขยายตัวมากถึง 13.69% และเมื่อรัฐบาลได้ประกาศเพิ่มค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตที่สามารถนำไปหักลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจาก 50,000 บาท เป็น 100,000 บาท เมื่อวันที่ 4 มี.ค.2551 โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่ 1 ม.ค.2551 เป็นต้นไปนั้น คาดว่าอัตราการเติบโตของเบี้ยประกันชีวิตในปี 2551 จาก 12% เป็น 15% และคาดว่าจะมีเบี้ยประกันชีวิตประมาณ 232,000 ล้านบาท ในสิ้นปี 2551
รายงานข่าวจากระทรวงการคลัง แจ้งว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) ได้พยายามผลักดันที่จะให้กระทรวงการคลัง ผ่านมายังนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ให้ยกเลิกการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับตัวแทนประกันที่จัดเก็บในอัตรา 7% สำหรับตัวแทนประกันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท โดยอ้างเหตุผลว่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวเป็นการจัดเก็บภาษีที่ซ้ำซ้อนกับภาษีบุคคลธรรมดาที่จัดเก็บในอัตรา 0-37% อยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังเห็นว่าข้อเรียกร้องดังกล่าวนั้นจะทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในอนาคตจึงเตรียมที่จะเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังว่าไม่สามารถดำเนินการตามข้อเรียกร้องดังกล่าวได้
นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ตามหลักการในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายสินค้าและบริการนั้นก็จะจัดเก็บเท่าเทียมกันในทุกสาขาอาชีพ หากผู้ใดมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ก็ต้องเสียเท่ากันในอัตรา 7% ทุกรายโดยไม่มีการยกเว้น การที่จะปฏิบัตตามข้อเรียกร้องของคปภ.ให้ยกเว้นการจัดเก็บให้เพียงอาชีพตัวแทนขายประกันก็จะไม่เป็นการยุติธรรมต่ออาชีพอื่นด้วย ซึ่งจะขัดกับหลักความเท่าเทียมทางภาษี
"หากมีการยกเว้นให้ตัวแทนประกัน ก็จะต้องมีปัญหาตามมาว่ากลุ่มอาชีพขายตรงต่าง ๆ ก็จะต้องมาเรียกร้องให้ปฏิบัติเช่นเดียวกัน เพระก็ขายสินค้าและบริการในลักษณะเดียวกัน ซึ่งกรมก็ต้องยกเว้นให้ไม่มีการจบสิ้น ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นจะเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะมันมีความลักลั่นกันหากให้อาชีพใดอาชีพหนึ่งเป็นการพิเศษ" นายศานิตกล่าว
แหล่งข่าวจากกรมสรรพากร กล่าวว่า ภาพรวมของธุรกิจประกันในขณะนี้ก็ถือว่าได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลค่อนข้างมากในแง่ของการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้นำเบี้ยประกันมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้เพิ่มจาก 5 หมื่นบาทเป็น 1 แสนบาท ทางธุรกิจประกันก็จะสามารถขายเบี้ยได้เพิ่ม ดังนั้นก็ควรที่จะให้การสนับสนุนกับรัฐด้วยโดยการเสียภาษีให้ถูกต้องตามที่กฏหมายกำหนด
“ที่ผ่านมาการที่ธุรกิจประกันได้ประโยชน์จำนวนมาก และยังมีการขายประกันแบบซิกแซก หาช่องในการหลีกเลี่ยงภาษี ก็ยิ่งถือว่าเป็นเป้าที่น่าจับตาของกรมในการตรวจสอบภาษีอยู่แล้ว ดังนั้นในส่วนของตัวแทนก็ควรจะให้ความร่วมมือในการเสียภาษีในอัตราที่เท่าเทียมกับอาชีพอื่น” แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีตัวแทนขายประกันทั้งระบบประมาณ 3.5 แสนราย โดยแบ่งเป็น ตัวแทนประกันชีวิต ประมาณ 3.2 แสนราย และตัวแทนประกันวินาศภัยประมาณ 2.6 หมื่นราย โดยในธุรกิจประกันชีวตินั้นมีเบี้ยประกันชีวิตรับรวมไตรมาสแรกของปี 2551 สูงถึง 5.1 หมื่นล้านบาท ขยายตัวมากถึง 13.69% และเมื่อรัฐบาลได้ประกาศเพิ่มค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตที่สามารถนำไปหักลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจาก 50,000 บาท เป็น 100,000 บาท เมื่อวันที่ 4 มี.ค.2551 โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่ 1 ม.ค.2551 เป็นต้นไปนั้น คาดว่าอัตราการเติบโตของเบี้ยประกันชีวิตในปี 2551 จาก 12% เป็น 15% และคาดว่าจะมีเบี้ยประกันชีวิตประมาณ 232,000 ล้านบาท ในสิ้นปี 2551