ธปท.เร่งระดมความคิดผู้บริหารสถาบันการเงินกว่า 42 แห่ง ก่อนใช้พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินในวันที่ 4 ส.ค.นี้ พร้อมทั้งจัดระเบียบประกาศใหม่เหลือ 101 ฉบับ จาก 501 ฉบับ และแบ่งเป็น 6 หมวด เพื่อลดความซ้ำซ้อน ขณะเดียวกันผ่อนเกณฑ์การปล่อยกู้ของแบงก์ให้นับรวมเงินกองทุนขั้นที่ 1 และ 2 จากเดิมนับเฉพาะเงินกองทุนขั้นที่ 1 ซึ่งนัดหารืออีกครั้งในวันที่ 23 มิ.ย.นี้
เมื่อวานนี้(2 มิ.ย.) ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้เชิญตัวแทนและผู้บริหารของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน(บง.) และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์(บค.) รวมทั้งสิ้น 250 คน จำนวน 42 แห่ง ได้ประชุมชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นของสถาบันการเงินดังกล่าวเกี่ยวกับร่างประกาศหลักเกณฑ์การกำกับสถาบันการเงินทั้งหมด ภายใต้ พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินฉบับใหม่ ซึ่งจะลงในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 3 ส.ค.นี้และมีผลบังคับใช้ในวันถัดไป คือ วันที่ 4 ส.ค.นี้
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายนโยบายความเสี่ยง ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยภายหลังจากการหารือร่วมกับสถาบันการเงินว่าธปท.ได้มีการปรับปรุงจดหมายเวียนหรือประกาศต่างๆ ของกฎเกณฑ์สถาบันการเงินจาก 501 ฉบับให้เหลือเพียง 101 ฉบับ เพื่อลดความซ้ำซ้อนและความสะดวกในการค้นหาและอ้างอิง และให้สอดคล้องกับกฎหมายการเงินฉบับนี้ รวมทั้งเหมาะสมกับภาวะทางธุรกิจในปัจจุบัน
โดยได้จำแนกประกาศใหม่ตามหมวดต่างๆ เป็น 6 หมวด ได้แก่ 1.การจัดตั้งและการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน 2.ขอบเขตการประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน 3.การกำกับสถาบันการเงินเพื่อดูแลระบบเศรษฐกิจ 4.การกำกับสถาบันการเงิน เพื่อดูแลระบบเศรษฐกิจ 5.การกำกับสถาบันการเงิน เพื่อความเป็นธรรมต่อลูกค้า และ6.การตรวจสอบสถาบันการเงิน ขณะที่ประเด็นอื่นๆ ธปท.ได้ให้สถาบันการเงินแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมภายในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ ซึ่งธปท.จะมีการรวบรวมความคิดเห็นและการพิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสมต่อไป
สำหรับในการหารือในครั้งนี้มีการพูดคุยกัน 4 เรื่องหลัก ซึ่งประกอบด้วยการกำกับดูแลความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ซึ่งเน้นหลักธรรมาธิบาล การกำกับแบบรวมกลุ่ม และอนุพันธ์ทางการเงิน เพื่อให้การดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินสอดคล้องกับธุรกรรมการเงินที่ซับซ้อนมากขึ้น
ทั้งนี้ ในส่วนของการกำกับดูแลความเสี่ยงด้านเครดิต โดยหลักสำคัญ ธปท.ได้ผ่อนคลายให้สถาบันการมีความคล่องตัวในการให้สินเชื่อแก่ลูกค้ารายใหญ่มากขึ้น โดยธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยกู้ได้ในสัดส่วน 25%ของเงินกองทุนทั้งหมดที่นับรวมทั้งเงินกองทุนขั้นที่ 1 และ 2 จากเดิมนับเฉพาะเงินกองทุนขั้นที่ 1 อย่างเดียว ขณะที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย(ธย.)สามารถปล่อยกู้ได้ในสัดส่วน 11%ของเงินกองทุนทั้งหมดเช่นกัน ซึ่งปล่อยให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)ไม่เกิน 10% และประชาชนที่มีหรือไม่มีหลักประกันปล่อยกู้ได้ไม่เกิน 1% จากเดิมที่ปล่อยกู้ให้แก่ประชาชนที่มีหลักประกันไม่เกิน 1% และประชาชนที่ไม่มีหลักประกันไม่เกิน 0.05% นอกจากนี้ยังนับรวมตั๋วแลกเงิน(บี/อี)เป็นหลักประกันเพิ่มเติมได้ เป็นต้น
ขณะเดียวกันการให้สินเชื่อแก่กิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องให้ปล่อยกู้ได้ไม่เกิน 5%ของเงินกองทุนทั้งหมดเช่นกัน หรือปล่อยได้ไม่เกิน 25%ของหนี้สิน ซึ่งหลักเกณฑ์ใหม่ได้ตัดเกณฑ์เดิมที่มีการหักการปล่อยกู้ไม่เกิน 50%ของส่วนผู้ถือหุ้นออก เนื่องจากมองว่าหากเป็นบริษัทที่ก่อตั้งใหม่ในช่วงปีแรกที่ดำเนินธุรกิจจะมีปัญหาเรื่องงบการเงินติดลบ
เมื่อวานนี้(2 มิ.ย.) ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้เชิญตัวแทนและผู้บริหารของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน(บง.) และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์(บค.) รวมทั้งสิ้น 250 คน จำนวน 42 แห่ง ได้ประชุมชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นของสถาบันการเงินดังกล่าวเกี่ยวกับร่างประกาศหลักเกณฑ์การกำกับสถาบันการเงินทั้งหมด ภายใต้ พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินฉบับใหม่ ซึ่งจะลงในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 3 ส.ค.นี้และมีผลบังคับใช้ในวันถัดไป คือ วันที่ 4 ส.ค.นี้
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายนโยบายความเสี่ยง ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยภายหลังจากการหารือร่วมกับสถาบันการเงินว่าธปท.ได้มีการปรับปรุงจดหมายเวียนหรือประกาศต่างๆ ของกฎเกณฑ์สถาบันการเงินจาก 501 ฉบับให้เหลือเพียง 101 ฉบับ เพื่อลดความซ้ำซ้อนและความสะดวกในการค้นหาและอ้างอิง และให้สอดคล้องกับกฎหมายการเงินฉบับนี้ รวมทั้งเหมาะสมกับภาวะทางธุรกิจในปัจจุบัน
โดยได้จำแนกประกาศใหม่ตามหมวดต่างๆ เป็น 6 หมวด ได้แก่ 1.การจัดตั้งและการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน 2.ขอบเขตการประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน 3.การกำกับสถาบันการเงินเพื่อดูแลระบบเศรษฐกิจ 4.การกำกับสถาบันการเงิน เพื่อดูแลระบบเศรษฐกิจ 5.การกำกับสถาบันการเงิน เพื่อความเป็นธรรมต่อลูกค้า และ6.การตรวจสอบสถาบันการเงิน ขณะที่ประเด็นอื่นๆ ธปท.ได้ให้สถาบันการเงินแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมภายในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ ซึ่งธปท.จะมีการรวบรวมความคิดเห็นและการพิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสมต่อไป
สำหรับในการหารือในครั้งนี้มีการพูดคุยกัน 4 เรื่องหลัก ซึ่งประกอบด้วยการกำกับดูแลความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ซึ่งเน้นหลักธรรมาธิบาล การกำกับแบบรวมกลุ่ม และอนุพันธ์ทางการเงิน เพื่อให้การดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินสอดคล้องกับธุรกรรมการเงินที่ซับซ้อนมากขึ้น
ทั้งนี้ ในส่วนของการกำกับดูแลความเสี่ยงด้านเครดิต โดยหลักสำคัญ ธปท.ได้ผ่อนคลายให้สถาบันการมีความคล่องตัวในการให้สินเชื่อแก่ลูกค้ารายใหญ่มากขึ้น โดยธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยกู้ได้ในสัดส่วน 25%ของเงินกองทุนทั้งหมดที่นับรวมทั้งเงินกองทุนขั้นที่ 1 และ 2 จากเดิมนับเฉพาะเงินกองทุนขั้นที่ 1 อย่างเดียว ขณะที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย(ธย.)สามารถปล่อยกู้ได้ในสัดส่วน 11%ของเงินกองทุนทั้งหมดเช่นกัน ซึ่งปล่อยให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)ไม่เกิน 10% และประชาชนที่มีหรือไม่มีหลักประกันปล่อยกู้ได้ไม่เกิน 1% จากเดิมที่ปล่อยกู้ให้แก่ประชาชนที่มีหลักประกันไม่เกิน 1% และประชาชนที่ไม่มีหลักประกันไม่เกิน 0.05% นอกจากนี้ยังนับรวมตั๋วแลกเงิน(บี/อี)เป็นหลักประกันเพิ่มเติมได้ เป็นต้น
ขณะเดียวกันการให้สินเชื่อแก่กิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องให้ปล่อยกู้ได้ไม่เกิน 5%ของเงินกองทุนทั้งหมดเช่นกัน หรือปล่อยได้ไม่เกิน 25%ของหนี้สิน ซึ่งหลักเกณฑ์ใหม่ได้ตัดเกณฑ์เดิมที่มีการหักการปล่อยกู้ไม่เกิน 50%ของส่วนผู้ถือหุ้นออก เนื่องจากมองว่าหากเป็นบริษัทที่ก่อตั้งใหม่ในช่วงปีแรกที่ดำเนินธุรกิจจะมีปัญหาเรื่องงบการเงินติดลบ