ราคาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์ก ปิดร่วงลง 2.36 ดอลลาร์/บาเรล เมื่อคืนนี้ เนื่องจากสกุลเงินดอลลาร์ที่แข็งแกร่งขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนเทขายทำกำไร โดยระหว่างการซื้อขายระดับราคาทำสถิติใหม่ โดยทะยานขึ้นแตะ 135 ดอลลาร์/บาร์เรล เป็นครั้งแรก
วันนี้ (23 พ.ค.) สำนักข่าวเอพีรายงานว่า สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กในสหรัฐ หรือ NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือน ก.ค.ร่วงลง 2.36 ดอลลาร์ หรือ 1.8% ปิดที่ 130.81 ดอลลาร์/บาร์เรล
ขณะที่สัญญาน้ำมันฮีทติ้งออยล์ส่งมอบเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 4.59 เซนต์ ปิดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3.9543 ดอลลาร์/แกลลอน และสัญญาน้ำมันเบนซินส่งมอบเดือนมิ.ย.ร่วงลง 6.68 เซนต์ แตะระดับ 3.397 ดอลลาร์/แกลลอน
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ตลาด ICE กรุงลอนดอน ส่งมอบเดือนก.ค.ร่วงลง 2.19 ดอลลาร์ ปิดที่ 130.51 ดอลลาร์/บาร์เรล
นายนูแมน บาราแคต นักวิเคราะห์จากบริษัทแมคควอรี ฟิวเจอร์ส ยูเอสเอ ในกรุงนิวยอร์ก กล่าวยอมรับปัจจัยสำคัญที่ฉุดราคาน้ำมันร่วงลงมาจากแรงขายทำกำไรหลังจากที่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งแกร่งขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนและยูโร ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ดอลลาร์ฟื้นตัวขึ้นมาจากรายงานที่ว่าตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการในระหว่างว่างงานของสหรัฐปรับตัวลดลงในรอบสัปดาห์ที่แล้ว
รายงานข่าวยังได้ระบุว่า กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการในระหว่างว่างงานรอบสัปดาห์ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 17 พ.ค.ลดลง 9,000 ราย สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือนที่ 365,000 ราย ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคระห์คาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะอยู่ที่ 375,000 ราย
"นอกจากนี้ ตลาดน้ำมัน NYMEX คลายความร้อนแรงลงเมื่อพลเอก เดวิด เปตราอูส แห่งกองทัพสหรัฐกล่าวว่า เขาจะแนะนำรัฐบาลสหรัฐให้ลดกองกำลังทหารในอิรักในปีนี้ ซึ่งข่าวดังกล่าวเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าการลำเลียงน้ำมันจากตะวันออกกลางจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น" บาราแคตกล่าว
ด้านข้อมูลจากออยล์ มูฟเมนท์ ระบุว่า การลำเลียงน้ำมันดิบจากกลุ่มโอเปคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก 360,000 บาร์เรลต่อวันในรอบสัปดาห์ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 7 มิ.ย. หลังจากซาอุดิอาระเบียประกาศเพิ่มปริมาณการผลิตอีก 300,000 บาร์เรล/วันตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา
เมื่อวันพุธที่ผ่านมา นักลงทุนทุ่มซื้อสัญญาน้ำมันดิบอย่างคับคั่ง ส่งผลให้ราคาทะยานขึ้นไปแตะระดับ 135 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากกระทรวงพลังงานสหรัฐเปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 16 พ.ค.ร่วงลง 5.4 ล้านบาร์เรล แตะระดับ 320.4 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์ในโพลล์ธอมสัน ไฟแนนเชียลคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 600,000 บาร์เรล
ขณะที่สต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 800,000 บาร์เรล แตะระดับ 209.4 ล้านบาร์เรล ตรงข้ามกับที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 600,000 บาร์เรล
วันนี้ (23 พ.ค.) สำนักข่าวเอพีรายงานว่า สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กในสหรัฐ หรือ NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือน ก.ค.ร่วงลง 2.36 ดอลลาร์ หรือ 1.8% ปิดที่ 130.81 ดอลลาร์/บาร์เรล
ขณะที่สัญญาน้ำมันฮีทติ้งออยล์ส่งมอบเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 4.59 เซนต์ ปิดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3.9543 ดอลลาร์/แกลลอน และสัญญาน้ำมันเบนซินส่งมอบเดือนมิ.ย.ร่วงลง 6.68 เซนต์ แตะระดับ 3.397 ดอลลาร์/แกลลอน
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ตลาด ICE กรุงลอนดอน ส่งมอบเดือนก.ค.ร่วงลง 2.19 ดอลลาร์ ปิดที่ 130.51 ดอลลาร์/บาร์เรล
นายนูแมน บาราแคต นักวิเคราะห์จากบริษัทแมคควอรี ฟิวเจอร์ส ยูเอสเอ ในกรุงนิวยอร์ก กล่าวยอมรับปัจจัยสำคัญที่ฉุดราคาน้ำมันร่วงลงมาจากแรงขายทำกำไรหลังจากที่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งแกร่งขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนและยูโร ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ดอลลาร์ฟื้นตัวขึ้นมาจากรายงานที่ว่าตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการในระหว่างว่างงานของสหรัฐปรับตัวลดลงในรอบสัปดาห์ที่แล้ว
รายงานข่าวยังได้ระบุว่า กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการในระหว่างว่างงานรอบสัปดาห์ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 17 พ.ค.ลดลง 9,000 ราย สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือนที่ 365,000 ราย ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคระห์คาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะอยู่ที่ 375,000 ราย
"นอกจากนี้ ตลาดน้ำมัน NYMEX คลายความร้อนแรงลงเมื่อพลเอก เดวิด เปตราอูส แห่งกองทัพสหรัฐกล่าวว่า เขาจะแนะนำรัฐบาลสหรัฐให้ลดกองกำลังทหารในอิรักในปีนี้ ซึ่งข่าวดังกล่าวเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าการลำเลียงน้ำมันจากตะวันออกกลางจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น" บาราแคตกล่าว
ด้านข้อมูลจากออยล์ มูฟเมนท์ ระบุว่า การลำเลียงน้ำมันดิบจากกลุ่มโอเปคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก 360,000 บาร์เรลต่อวันในรอบสัปดาห์ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 7 มิ.ย. หลังจากซาอุดิอาระเบียประกาศเพิ่มปริมาณการผลิตอีก 300,000 บาร์เรล/วันตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา
เมื่อวันพุธที่ผ่านมา นักลงทุนทุ่มซื้อสัญญาน้ำมันดิบอย่างคับคั่ง ส่งผลให้ราคาทะยานขึ้นไปแตะระดับ 135 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากกระทรวงพลังงานสหรัฐเปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 16 พ.ค.ร่วงลง 5.4 ล้านบาร์เรล แตะระดับ 320.4 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์ในโพลล์ธอมสัน ไฟแนนเชียลคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 600,000 บาร์เรล
ขณะที่สต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 800,000 บาร์เรล แตะระดับ 209.4 ล้านบาร์เรล ตรงข้ามกับที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 600,000 บาร์เรล