ราคาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเหนือระดับ 127 ดอลลาร์/บาร์เรล เมื่อคืนนี้ หลังจากกลุ่มโอเปก ส่งสัญญาณว่าจะไม่เพิ่มปริมาณการผลิต ในฤดูร้อนปีนี้
วันนี้ (20 พ.ค.) สำนักข่าวเอพีรายงานว่า สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) งวดส่งมอบเดือน มิ.ย. ปิดตลาดเมื่อคืนนี้เพิ่มขึ้น 76 เซนต์ หรือ 0.6% แตะระดับ 127.05 ดอลลาร์/บาร์เรล
ขณะที่สัญญาน้ำมันฮีทติ้งออยล์ส่งมอบเดือนมิ.ย.ปิดลดลง 2.77 เซนต์ แตะระดับ 3.6751 ดอลลาร์/แกลลอน และสัญญาน้ำมันเบนซินส่งมอบเดือนมิ.ย.ปิดเพิ่มขึ้น 1.31 เซนต์ แตะระดับ 3.2366 ดอลลาร์/แกลลอน
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ตลาด ICE กรุงลอนดอน ส่งมอบเดือนมิ.ย.ปิดเพิ่มขึ้น 7 เซนต์ แตะระดับ 125.06 ดอลลาร์/บาร์เรล
นายทอม เบนซ์ นักวิเคระห์จากบีเอ็นพี พาริบาส์ กล่าวว่า ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นหลังจากนายชากิบ เคลิล ประธานกลุ่มผู้ค้าน้ำมัน (โอเปก) กล่าวว่า โอเปกจะไม่ปรับเปลี่ยนเพดานการผลิตในการประชุมเดือน ก.ย.นี้
"แม้ว่าซาอุดิอาระเบียประกาศว่าได้เพิ่มการผลิตน้ำมันขึ้นอีก 300,000 บาร์เรล/วันตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพ.ค. แต่นักลงทุนก็ไม่ตอบรับข่าวดังกล่าว และกลับไปให้ความสนใจกับข่าวที่ว่าชาติมหาอำนาจในฝั่งตะวันตกเรียกร้องให้ซาอุดิอาระเบียและกลุ่มโอเปคส่งออกน้ำมันเพิ่มขึ้น" เบนซ์กล่าว
ก่อนหน้านี้ นายอับดุลเลาะห์ เอล อัล-บาดรี เลขาธิการโอเปก กล่าวว่า ปริมาณน้ำมันดิบสำรองของกลุ่มประเทศโอเปคยังมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งขณะนี้โอเปกมีกำลังการผลิตมากกว่า 3 ล้านบาร์เรล ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสามารถบ่งชี้ได้ว่า ประเทศสมาชิกโอเปกบางแห่งยังไม่สามารถหาทางระบายน้ำมันสำรองที่มีอยู่"
"โอเปกจะคอยจับตาความเคลื่อนไหวด้านการผลิตน้ำมันอย่างใกล้ชิด ซึ่งเราได้เตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆหากตลาดจำเป็นต้องใช้มาตรการอื่นเพิ่มมากขึ้น" เลขาธิการโอเปกกล่าว
นอกจากนี้ สำนักงานพลังงานสากล (IEA) ได้ปรับลดการคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันทั่วโลกในปี 2551 ลง 390,000 บาร์เรล/วัน และกล่าวว่าอาจจะมีการปรับลดคาดการณ์ความต้องการอีกในอนาคต โดย IEA คาดว่าความต้องการน้ำมันทั่วโลกในปีนี้จะอยู่ที่ 86.6 ล้านบาร์เรล/วัน เมื่อเทียบกับการคาดการณ์เมื่อเดือนที่แล้วที่ 87.2 ล้านบาร์เรล/วัน
นักลงทุนจับตาดูรายงานสต็อกน้ำมันประจำสัปดาห์ซึ่งกระทรวงพลังงานสหรัฐจะเปิดเผยในวันพุธนี้ โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าสต็อกน้ำมันดิบอาจเพิ่มขึ้น 600,000 บาร์เรล สต็อกน้ำมันเบนซินอาจเพิ่มขึ้น 500,000 บาร์เรล และสต็อกน้ำมันกลั่นอาจเพิ่มขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรล
วันนี้ (20 พ.ค.) สำนักข่าวเอพีรายงานว่า สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) งวดส่งมอบเดือน มิ.ย. ปิดตลาดเมื่อคืนนี้เพิ่มขึ้น 76 เซนต์ หรือ 0.6% แตะระดับ 127.05 ดอลลาร์/บาร์เรล
ขณะที่สัญญาน้ำมันฮีทติ้งออยล์ส่งมอบเดือนมิ.ย.ปิดลดลง 2.77 เซนต์ แตะระดับ 3.6751 ดอลลาร์/แกลลอน และสัญญาน้ำมันเบนซินส่งมอบเดือนมิ.ย.ปิดเพิ่มขึ้น 1.31 เซนต์ แตะระดับ 3.2366 ดอลลาร์/แกลลอน
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ตลาด ICE กรุงลอนดอน ส่งมอบเดือนมิ.ย.ปิดเพิ่มขึ้น 7 เซนต์ แตะระดับ 125.06 ดอลลาร์/บาร์เรล
นายทอม เบนซ์ นักวิเคระห์จากบีเอ็นพี พาริบาส์ กล่าวว่า ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นหลังจากนายชากิบ เคลิล ประธานกลุ่มผู้ค้าน้ำมัน (โอเปก) กล่าวว่า โอเปกจะไม่ปรับเปลี่ยนเพดานการผลิตในการประชุมเดือน ก.ย.นี้
"แม้ว่าซาอุดิอาระเบียประกาศว่าได้เพิ่มการผลิตน้ำมันขึ้นอีก 300,000 บาร์เรล/วันตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพ.ค. แต่นักลงทุนก็ไม่ตอบรับข่าวดังกล่าว และกลับไปให้ความสนใจกับข่าวที่ว่าชาติมหาอำนาจในฝั่งตะวันตกเรียกร้องให้ซาอุดิอาระเบียและกลุ่มโอเปคส่งออกน้ำมันเพิ่มขึ้น" เบนซ์กล่าว
ก่อนหน้านี้ นายอับดุลเลาะห์ เอล อัล-บาดรี เลขาธิการโอเปก กล่าวว่า ปริมาณน้ำมันดิบสำรองของกลุ่มประเทศโอเปคยังมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งขณะนี้โอเปกมีกำลังการผลิตมากกว่า 3 ล้านบาร์เรล ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสามารถบ่งชี้ได้ว่า ประเทศสมาชิกโอเปกบางแห่งยังไม่สามารถหาทางระบายน้ำมันสำรองที่มีอยู่"
"โอเปกจะคอยจับตาความเคลื่อนไหวด้านการผลิตน้ำมันอย่างใกล้ชิด ซึ่งเราได้เตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆหากตลาดจำเป็นต้องใช้มาตรการอื่นเพิ่มมากขึ้น" เลขาธิการโอเปกกล่าว
นอกจากนี้ สำนักงานพลังงานสากล (IEA) ได้ปรับลดการคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันทั่วโลกในปี 2551 ลง 390,000 บาร์เรล/วัน และกล่าวว่าอาจจะมีการปรับลดคาดการณ์ความต้องการอีกในอนาคต โดย IEA คาดว่าความต้องการน้ำมันทั่วโลกในปีนี้จะอยู่ที่ 86.6 ล้านบาร์เรล/วัน เมื่อเทียบกับการคาดการณ์เมื่อเดือนที่แล้วที่ 87.2 ล้านบาร์เรล/วัน
นักลงทุนจับตาดูรายงานสต็อกน้ำมันประจำสัปดาห์ซึ่งกระทรวงพลังงานสหรัฐจะเปิดเผยในวันพุธนี้ โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าสต็อกน้ำมันดิบอาจเพิ่มขึ้น 600,000 บาร์เรล สต็อกน้ำมันเบนซินอาจเพิ่มขึ้น 500,000 บาร์เรล และสต็อกน้ำมันกลั่นอาจเพิ่มขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรล