คนซื้อบ้านแห่ร้องเรียนสคบ.ส่งช่วง6เดือนสูงเกือบ 3,000 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นโครงการที่อยู่อาศัยบริษัทขนาดกลางและเล็ก พร้อมเร่งล้างป้ายโฆษณาที่อยู่อาศัยที่ผิดกฎกระทรวง ลั่นหลัง 30 วันที่กำหนด เมื่อสุ่มตรวจแล้วยังผิด สั่งหยุดโฆษณา พร้อมปรับรายวัน
นางรัศมี วิศทเวทย์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมสัมมนาเรื่อง "โฆษณาทันสมัยต้องใส่ใจคุณธรรม"ว่า ช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 51 ทางสคบ.ได้รับร้องเรียนเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยรวมถึง 2,900 เรื่อง หรือคิดเป็น 49% ของเรื่องร้องเรียนทั้งหมด ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการจัดสรรระดับกลางถึงล่าง รวมถึงโครงการจัดสรรที่เลี่ยงกฎหมาย ซึ่งขณะนี้มีเรื่องร้องเรียนที่ต้องดำเนินคดีมีประมาณ 600-700 เรื่อง โดยที่ผ่านมา ศาลมีคำพิพากษาดำเนินคดีกับผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาฯที่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคจำนวน 9 โครงการ คืนเงินให้แก่ผู้บริโภคเป็นเงินทั้งสิ้น 12.096 ล้านบาท และทางคณะกรรมการฯมีมติดำเนินคดีแพ่งกับผู้ประกอบการ จำนวน 8 ราย จำนวนเงินทั้งสิ้น 733,068 บาท เป็นต้น
เลขาฯสคบ.กล่าวว่าสำหรับกรณีที่มีการโฆษณาที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยของธุรกิจอสังหาฯต่างๆที่ไม่ตรงกับโฆษณาไว้ว่า ทางสคบ.ได้กำหนดให้ป้ายโฆษณาที่อยู่อาศัยต่างๆ จะต้องดำเนินการปรับปรุงข้อความให้ถูกต้องครบถ้วนภายใน 30 วัน ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 โดยเฉพาะ ข้อความโฆษณาที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยผ่านป้ายโฆษณาจำนวนมาก ไม่ตรงกับข้อกำหนดของกฎกระทรวงฯ ซึ่งโดยภาพรวมมีป้ายโฆษณาที่ผิดกฎกระทรวงฯถึง 50% และในบางพื้นทำผิดสูงถึง 90% เช่น เส้นราชพฤกษ์ถึงวัดแก้ว ป้ายที่ตรวจสอบ 123 ป้าย ทำถูกต้องตามกฎกระทรวงฯ 25 ป้าย ผิด 98 ป้าย เส้นเกษตรนวมินทร์ สำรวจ 70 ป้าย ถูก 27 ป้าย ผิด 43 ป้าย เส้นงามวงศ์วาน จำนวน 30 ป้าย ถูก 11 ป้าย ผิด 19 ป้าย เส้นแจ้งวัฒนะ จำนวน 19 ป้าย ถูก 9 ป้าย ผิด 10 ป้าย และหากเป็นป้ายโฆษณาที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเมืองขนาดใหญ่ พบว่า 5 อำเภอเมืองที่สำรวจ มี 54 ป้าย ถูก 10 ป้าย ผิดถึง 44 ป้าย ส่วนใหญ่ไม่ได้ระบุวัน เดือน ปีที่จะก่อสร้างและจะแล้วเสร็จเมื่อไหร่
"เรื่องของป้ายโฆษณาที่อยู่อาศัย เราได้ว่างเว้นดำเนินการอย่างจริงจังมานานพอสมควร และจากสิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เราไม่สบายใจ มีป้ายโฆษณาที่ไม่เข้าข่ายกฎกระทรวงมากขึ้นเรื่อยๆและแนวโน้มที่จะผิดมีมากขึ้น ดังนั้น เรายืนยันที่จะให้ผู้ประกอบการและเจ้าของป้าย ดำเนินการแก้ไขให้ตรงกับกฎกระทรวงภายในระยะเวลาดังกล่าว ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้มีการเรียกผู้ประกอบการมาบางส่วนแล้ว แต่เมื่อครบกำหนดเวลา จะไปสุ่มตรวจอีก และเมื่อไม่มีการปรับปรุง ทางคณะกรรมการจะมีคำลังให้หยุดการโฆษณาต่อไป และอาจจะรวมถึงลงโทษปรับ "นางรัศมี กล่าว
นางรัศมี วิศทเวทย์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมสัมมนาเรื่อง "โฆษณาทันสมัยต้องใส่ใจคุณธรรม"ว่า ช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 51 ทางสคบ.ได้รับร้องเรียนเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยรวมถึง 2,900 เรื่อง หรือคิดเป็น 49% ของเรื่องร้องเรียนทั้งหมด ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการจัดสรรระดับกลางถึงล่าง รวมถึงโครงการจัดสรรที่เลี่ยงกฎหมาย ซึ่งขณะนี้มีเรื่องร้องเรียนที่ต้องดำเนินคดีมีประมาณ 600-700 เรื่อง โดยที่ผ่านมา ศาลมีคำพิพากษาดำเนินคดีกับผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาฯที่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคจำนวน 9 โครงการ คืนเงินให้แก่ผู้บริโภคเป็นเงินทั้งสิ้น 12.096 ล้านบาท และทางคณะกรรมการฯมีมติดำเนินคดีแพ่งกับผู้ประกอบการ จำนวน 8 ราย จำนวนเงินทั้งสิ้น 733,068 บาท เป็นต้น
เลขาฯสคบ.กล่าวว่าสำหรับกรณีที่มีการโฆษณาที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยของธุรกิจอสังหาฯต่างๆที่ไม่ตรงกับโฆษณาไว้ว่า ทางสคบ.ได้กำหนดให้ป้ายโฆษณาที่อยู่อาศัยต่างๆ จะต้องดำเนินการปรับปรุงข้อความให้ถูกต้องครบถ้วนภายใน 30 วัน ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 โดยเฉพาะ ข้อความโฆษณาที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยผ่านป้ายโฆษณาจำนวนมาก ไม่ตรงกับข้อกำหนดของกฎกระทรวงฯ ซึ่งโดยภาพรวมมีป้ายโฆษณาที่ผิดกฎกระทรวงฯถึง 50% และในบางพื้นทำผิดสูงถึง 90% เช่น เส้นราชพฤกษ์ถึงวัดแก้ว ป้ายที่ตรวจสอบ 123 ป้าย ทำถูกต้องตามกฎกระทรวงฯ 25 ป้าย ผิด 98 ป้าย เส้นเกษตรนวมินทร์ สำรวจ 70 ป้าย ถูก 27 ป้าย ผิด 43 ป้าย เส้นงามวงศ์วาน จำนวน 30 ป้าย ถูก 11 ป้าย ผิด 19 ป้าย เส้นแจ้งวัฒนะ จำนวน 19 ป้าย ถูก 9 ป้าย ผิด 10 ป้าย และหากเป็นป้ายโฆษณาที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเมืองขนาดใหญ่ พบว่า 5 อำเภอเมืองที่สำรวจ มี 54 ป้าย ถูก 10 ป้าย ผิดถึง 44 ป้าย ส่วนใหญ่ไม่ได้ระบุวัน เดือน ปีที่จะก่อสร้างและจะแล้วเสร็จเมื่อไหร่
"เรื่องของป้ายโฆษณาที่อยู่อาศัย เราได้ว่างเว้นดำเนินการอย่างจริงจังมานานพอสมควร และจากสิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เราไม่สบายใจ มีป้ายโฆษณาที่ไม่เข้าข่ายกฎกระทรวงมากขึ้นเรื่อยๆและแนวโน้มที่จะผิดมีมากขึ้น ดังนั้น เรายืนยันที่จะให้ผู้ประกอบการและเจ้าของป้าย ดำเนินการแก้ไขให้ตรงกับกฎกระทรวงภายในระยะเวลาดังกล่าว ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้มีการเรียกผู้ประกอบการมาบางส่วนแล้ว แต่เมื่อครบกำหนดเวลา จะไปสุ่มตรวจอีก และเมื่อไม่มีการปรับปรุง ทางคณะกรรมการจะมีคำลังให้หยุดการโฆษณาต่อไป และอาจจะรวมถึงลงโทษปรับ "นางรัศมี กล่าว