กลุ่มพรีเมียร์ เล็งแตกไลน์ธุรกิจ ลุย "พลังงานทดแทน" จากเดิมมี5 ธุรกิจ เตรียมดัน "พรีเมียร์ โปรดักส์" เข้าจดทะเบียนในครึ่งปีหลัง เตรียมขยายธุรกิจบำบัดน้ำเสียไปจีน ขณะที่ 27 พ.ค.พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้งเข้าเทรดวันแรก
นายวิเชียร พงศธร กรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัท พรีเมียร์ เปิดเผยว่า กลุ่มบริษัท พรีเมียร์นั้น มีบริษัทย่อยประมาณ 17-18 บริษัท แบ่งเป็น 5 สายธุรกิจ แบ่งเป็น ธุรกิจด้านอุปโภคบริโภค ธุรกิจด้านเทคโนโลยี ธุรกิจด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจด้านการเงิน เช่าซื้อ โดยกลุ่มบริษัทฯ มีแผนที่จะนำบริษัท พรีเมียร์ โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งประกอบธุรกิจด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสีย เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าจะยื่นแสดงแบรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ โดยเงินที่ได้บริษัทจะนำไปขยายธุรกิจ และบริษัท พรีเมียร์ โปรดักส์ มีแผนที่จะขยายธุรกิจไปยังประเทศจีนในปีนี้ โดยส่วนใหญ่บริษัทจะรับบำบัดน้ำเสียให้กับโรงงานอุตสาหกรรมหลัก ซึ่งดำเนินการไปแล้ว 4 แห่ง และในปีนี้จะมีการดำเนินการอีก 6 แห่ง โดยมีขนาดมูลค่าแห่งละประมาณ 50-100 ล้านบาท และในขณะนี้ให้ความสนใจที่เกี่ยวกับพลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทน ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษา
"การดำเนินงานของกลุ่มบริษัทพรีเมียร์ในระยะยาวเน้นการเป็นบริษัทที่มีคุณภาพมากสุด ทั้งคุณภาพด้านการผลิต และการบริหาร รวมถึงรักษาคุณภาพและคุณธรรมไปพร้อมๆ กัน เพื่อการเติบโตที่ดี โดนในส่วนหุ้นของกลุ่มบริษัทฯ พยายามที่จะสร้างความพอใจให้กับนักลงทุน" นายวิเชียร กล่าว
สำหรับ ปัจจุบันกลุ่มบริษัทพรีเมียร์ มีบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯแล้ว 2 บริษัท พรีเมียร์เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ PE ในกลุ่มการเงิน และ บริษัท พรีเมียร์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ PT ในกลุ่มเทคโนโลยี และเตรียมที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯในวันที่ 27 พฤษภาคม 2551 อีก 1 บริษัทคือ บริษัท พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ PM
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของกลุ่มธุรกิจของบริษัทฯ ส่วนใหญ่จะนำบริษัทที่เป็นบริษัทแม่หรือเป็นแกนในสายธุรกิจนั้นๆ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจ สำหรับ PM ที่เตรียมจะเข้าจดซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์มีขนาดใหญ่ และมีความพร้อม โดยกระจายหุ้นให้กับนักลงทุนรายย่อยเป็นหลัก และในส่วนของสถาบันนั้นก็เน้นนักลงทุนสถาบันในประเทศ ซึ่งมีนักลงทุนต่างชาติเพียง 1-2 รายที่มีอาจจะเข้ามาถือหุ้น และนักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจมาโดยตลอด
นายวิเชียร พงศธร กรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัท พรีเมียร์ เปิดเผยว่า กลุ่มบริษัท พรีเมียร์นั้น มีบริษัทย่อยประมาณ 17-18 บริษัท แบ่งเป็น 5 สายธุรกิจ แบ่งเป็น ธุรกิจด้านอุปโภคบริโภค ธุรกิจด้านเทคโนโลยี ธุรกิจด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจด้านการเงิน เช่าซื้อ โดยกลุ่มบริษัทฯ มีแผนที่จะนำบริษัท พรีเมียร์ โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งประกอบธุรกิจด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสีย เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าจะยื่นแสดงแบรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ โดยเงินที่ได้บริษัทจะนำไปขยายธุรกิจ และบริษัท พรีเมียร์ โปรดักส์ มีแผนที่จะขยายธุรกิจไปยังประเทศจีนในปีนี้ โดยส่วนใหญ่บริษัทจะรับบำบัดน้ำเสียให้กับโรงงานอุตสาหกรรมหลัก ซึ่งดำเนินการไปแล้ว 4 แห่ง และในปีนี้จะมีการดำเนินการอีก 6 แห่ง โดยมีขนาดมูลค่าแห่งละประมาณ 50-100 ล้านบาท และในขณะนี้ให้ความสนใจที่เกี่ยวกับพลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทน ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษา
"การดำเนินงานของกลุ่มบริษัทพรีเมียร์ในระยะยาวเน้นการเป็นบริษัทที่มีคุณภาพมากสุด ทั้งคุณภาพด้านการผลิต และการบริหาร รวมถึงรักษาคุณภาพและคุณธรรมไปพร้อมๆ กัน เพื่อการเติบโตที่ดี โดนในส่วนหุ้นของกลุ่มบริษัทฯ พยายามที่จะสร้างความพอใจให้กับนักลงทุน" นายวิเชียร กล่าว
สำหรับ ปัจจุบันกลุ่มบริษัทพรีเมียร์ มีบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯแล้ว 2 บริษัท พรีเมียร์เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ PE ในกลุ่มการเงิน และ บริษัท พรีเมียร์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ PT ในกลุ่มเทคโนโลยี และเตรียมที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯในวันที่ 27 พฤษภาคม 2551 อีก 1 บริษัทคือ บริษัท พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ PM
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของกลุ่มธุรกิจของบริษัทฯ ส่วนใหญ่จะนำบริษัทที่เป็นบริษัทแม่หรือเป็นแกนในสายธุรกิจนั้นๆ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจ สำหรับ PM ที่เตรียมจะเข้าจดซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์มีขนาดใหญ่ และมีความพร้อม โดยกระจายหุ้นให้กับนักลงทุนรายย่อยเป็นหลัก และในส่วนของสถาบันนั้นก็เน้นนักลงทุนสถาบันในประเทศ ซึ่งมีนักลงทุนต่างชาติเพียง 1-2 รายที่มีอาจจะเข้ามาถือหุ้น และนักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจมาโดยตลอด