แบงก์กสิกรไทยรุกคืบธุรกิจเอสเอ็มอี ส่งบริษัทร่วมทุน เค-เอสเอ็มอีร่วมลงทุนกับ 3 เอสเอ็มอีดาวรุ่ง วงเงินร่วมทุนเกือบ 44 ล้านบาท ชี้เป็นบริษัทที่อนาคตไกล เป็นแบบอย่างที่ดีของเอสเอ็มอีไทย คาดสิ้นปียอดร่วมลงทุนอยู่ที่กว่า 100 ล้านบาท
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า จากการที่ธนาคารกสิกรไทยได้ดำเนินโครงการ K SME Care เพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและเติบโตอย่างยั่งยืน โดยการสนับสนุนในรูปแบบหนึ่งก็คือ การจัดตั้งบริษัทร่วมทุน เค-เอสเอ็มอี จำกัด (K-SME Venture Capital) เพื่อร่วมลงทุนในเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพและต้องการเงินทุนในการขยายธุรกิจ โดยมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการเงินร่วมลงทุน ข้าวกล้า จำกัด (บลท.ข้าวกล้า ) เป็นผู้บริหารเงินร่วมลงทุนและพิจารณาคัดเลือกเอสเอ็มอีเพื่อร่วมถือหุ้น
สำหรับเอสเอ็มอีที่ผ่านการพิจารณาให้บริษัทร่วมทุน เค-เอสเอ็มอี จำกัด เข้าร่วมถือหุ้นเป็นครั้งแรก 3 บริษัท วงเงินลงทุนรวม 43.97 ล้านบาท ได้แก่ บริษัท เนอร์วาน่าฟูดส์ แอนด์ คอมเมิซ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ดำเนินธุรกิจผลิตชา กาแฟบรรจุขวดแก้ว บริษัทร่วมทุน เค-เอสเอ็มอี เข้าร่วมลงทุนจำนวน 30 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้น 15.38% ของทุนจดทะเบียน 195 ล้านบาท
บริษัท ฮิวแมนิก้า จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการด้านจัดการด้านไอทีและซอฟท์แวร์และที่ปรึกษาระบบงานในองค์กรและทรัพยากรบุคคล มีแผนที่จะนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายใน 3 ปี บริษัทร่วมทุน เค-เอสเอ็มอี ได้เข้าร่วมลงทุนจำนวน 8.97 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้น 15.60% ของทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท และบริษัท ทูสปอตคอมมิวนิเคชั่น จำกัด ประกอบธุรกิจด้านการออกแบบและพัฒนารูปแบบ Character โดยบริษัทร่วมทุน เค-เอสเอ็มอี ได้เข้าร่วมลงทุนจำนวน 5.004 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้น 20.17% จากทุนจดทะเบียน 20.67 ล้านบาท
นายประสาร กล่าวอีกว่า ภายในไตรมาส 3 ของปีนี้บริษัทร่วมทุนเค-เอสเอ็มอี จะร่วมลงทุนในเอสเอ็มอีเพิ่มอีก 3 บริษัท ซึ่งจะทำให้ยอดการเข้าร่วมลงทุนเพิ่มขึ้นจาก 43.97 ล้านบาท เป็น 60 ล้านบาท และสิ้นปีนี้จะเพิ่มเป็นกว่า 100 ล้านบาท จากจำนวนเงินที่จะเข้าไปร่วมลงทุนกับเอสเอ็มอี 200 ล้านบาท
นางสาวปฐมาพร ไชยกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการเงินร่วมลงทุน ข้าวกล้า จำกัด (บลท.ข้าวกล้า) ในฐานะผู้บริหารจัดการเงินร่วมลงทุนบริษัทร่วมทุน เค-เอสเอ็มอี จำกัด กล่าวว่า นโยบายหลักของธนาคารกสิกรไทย คือ การผลักดันให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างแท้จริง ซึ่งการร่วมถือหุ้นจะเป็นรูปแบบหนึ่งของการสร้างความแข็งแกร่งด้านการเงินให้กับเอสเอ็มอี โดยธนาคารได้กำหนด เงินทุนแรกเริ่ม 200 ล้านบาท สำหรับให้บริษัทร่วมทุน เค-เอสเอ็มอี จำกัดเข้าร่วมลงทุน
สำหรับการลงทุนในเอสเอ็มอี 3 รายแรกนี้ มีมูลค่าเงินลงทุนประมาณ 44 ล้านบาท นับเป็นแบบอย่างที่ดีของเอสเอ็มอีที่มีแนวความคิดในการดำเนินธุรกิจที่โดดเด่น หากได้รับการส่งเสริมด้านเงินทุนน่าจะสามารถดำเนินธุรกิจให้เติบโตและมั่นคงในระยะยาวได้ ในขณะนี้มีเอสเอ็มอีที่แสดงความสนใจเงินร่วมลงทุนไม่ต่ำกว่า 40 ราย ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาเข้าร่วมลงทุนในวงเงินรวมประมาณ 60 ล้านบาท
นอกจากการให้การสนับสนุนในส่วนของทุน (Equity) เพื่อขยายธุรกิจแล้ว ธนาคารฯ ยังพร้อมให้ความช่วยเหลือในการดำเนินธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จในด้านอื่น อาทิ การจัดหาพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิต การตลาด และการจัดการ ทั้งนี้ ธนาคารกสิกรไทยกำหนดนโยบายร่วมลงทุนในเอสเอ็มอีแต่ละบริษัทในสัดส่วน 10-50% ของทุนจดทะเบียนภายหลังการร่วมลงทุน มีระยะเวลาการร่วมทุน 3-5 ปี โดยจะให้อิสระในการบริหารกิจการแก่เจ้าของบริษัท และมีนโยบายกระจายความเสี่ยงในการลงทุน โดยจะลงทุนในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งไม่เกินหนึ่งในสามของเงินทุนทั้งหมดที่มีอยู่
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า จากการที่ธนาคารกสิกรไทยได้ดำเนินโครงการ K SME Care เพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและเติบโตอย่างยั่งยืน โดยการสนับสนุนในรูปแบบหนึ่งก็คือ การจัดตั้งบริษัทร่วมทุน เค-เอสเอ็มอี จำกัด (K-SME Venture Capital) เพื่อร่วมลงทุนในเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพและต้องการเงินทุนในการขยายธุรกิจ โดยมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการเงินร่วมลงทุน ข้าวกล้า จำกัด (บลท.ข้าวกล้า ) เป็นผู้บริหารเงินร่วมลงทุนและพิจารณาคัดเลือกเอสเอ็มอีเพื่อร่วมถือหุ้น
สำหรับเอสเอ็มอีที่ผ่านการพิจารณาให้บริษัทร่วมทุน เค-เอสเอ็มอี จำกัด เข้าร่วมถือหุ้นเป็นครั้งแรก 3 บริษัท วงเงินลงทุนรวม 43.97 ล้านบาท ได้แก่ บริษัท เนอร์วาน่าฟูดส์ แอนด์ คอมเมิซ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ดำเนินธุรกิจผลิตชา กาแฟบรรจุขวดแก้ว บริษัทร่วมทุน เค-เอสเอ็มอี เข้าร่วมลงทุนจำนวน 30 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้น 15.38% ของทุนจดทะเบียน 195 ล้านบาท
บริษัท ฮิวแมนิก้า จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการด้านจัดการด้านไอทีและซอฟท์แวร์และที่ปรึกษาระบบงานในองค์กรและทรัพยากรบุคคล มีแผนที่จะนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายใน 3 ปี บริษัทร่วมทุน เค-เอสเอ็มอี ได้เข้าร่วมลงทุนจำนวน 8.97 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้น 15.60% ของทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท และบริษัท ทูสปอตคอมมิวนิเคชั่น จำกัด ประกอบธุรกิจด้านการออกแบบและพัฒนารูปแบบ Character โดยบริษัทร่วมทุน เค-เอสเอ็มอี ได้เข้าร่วมลงทุนจำนวน 5.004 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้น 20.17% จากทุนจดทะเบียน 20.67 ล้านบาท
นายประสาร กล่าวอีกว่า ภายในไตรมาส 3 ของปีนี้บริษัทร่วมทุนเค-เอสเอ็มอี จะร่วมลงทุนในเอสเอ็มอีเพิ่มอีก 3 บริษัท ซึ่งจะทำให้ยอดการเข้าร่วมลงทุนเพิ่มขึ้นจาก 43.97 ล้านบาท เป็น 60 ล้านบาท และสิ้นปีนี้จะเพิ่มเป็นกว่า 100 ล้านบาท จากจำนวนเงินที่จะเข้าไปร่วมลงทุนกับเอสเอ็มอี 200 ล้านบาท
นางสาวปฐมาพร ไชยกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการเงินร่วมลงทุน ข้าวกล้า จำกัด (บลท.ข้าวกล้า) ในฐานะผู้บริหารจัดการเงินร่วมลงทุนบริษัทร่วมทุน เค-เอสเอ็มอี จำกัด กล่าวว่า นโยบายหลักของธนาคารกสิกรไทย คือ การผลักดันให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างแท้จริง ซึ่งการร่วมถือหุ้นจะเป็นรูปแบบหนึ่งของการสร้างความแข็งแกร่งด้านการเงินให้กับเอสเอ็มอี โดยธนาคารได้กำหนด เงินทุนแรกเริ่ม 200 ล้านบาท สำหรับให้บริษัทร่วมทุน เค-เอสเอ็มอี จำกัดเข้าร่วมลงทุน
สำหรับการลงทุนในเอสเอ็มอี 3 รายแรกนี้ มีมูลค่าเงินลงทุนประมาณ 44 ล้านบาท นับเป็นแบบอย่างที่ดีของเอสเอ็มอีที่มีแนวความคิดในการดำเนินธุรกิจที่โดดเด่น หากได้รับการส่งเสริมด้านเงินทุนน่าจะสามารถดำเนินธุรกิจให้เติบโตและมั่นคงในระยะยาวได้ ในขณะนี้มีเอสเอ็มอีที่แสดงความสนใจเงินร่วมลงทุนไม่ต่ำกว่า 40 ราย ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาเข้าร่วมลงทุนในวงเงินรวมประมาณ 60 ล้านบาท
นอกจากการให้การสนับสนุนในส่วนของทุน (Equity) เพื่อขยายธุรกิจแล้ว ธนาคารฯ ยังพร้อมให้ความช่วยเหลือในการดำเนินธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จในด้านอื่น อาทิ การจัดหาพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิต การตลาด และการจัดการ ทั้งนี้ ธนาคารกสิกรไทยกำหนดนโยบายร่วมลงทุนในเอสเอ็มอีแต่ละบริษัทในสัดส่วน 10-50% ของทุนจดทะเบียนภายหลังการร่วมลงทุน มีระยะเวลาการร่วมทุน 3-5 ปี โดยจะให้อิสระในการบริหารกิจการแก่เจ้าของบริษัท และมีนโยบายกระจายความเสี่ยงในการลงทุน โดยจะลงทุนในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งไม่เกินหนึ่งในสามของเงินทุนทั้งหมดที่มีอยู่