แบงก์กสิกรไทย เปิดตัว "สินเชื่อขายลดเช็คกสิกรไทย" เพิ่มทางเลือกสำหรับธุรกิจเช็ค คาดมีผู้สนใจใช้บริการนี้ 2,000 ล้านบาท ส่วนไตรมาสแรกปล่อยกู้เอสเอ็มอีไปแล้ว 5,000 ล้านบาทพร้อมคุมเอ็นพีแอลปีนี้ไม่เกิน 3%
นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า ธนาคารได้เปิดให้บริการ"สินเชื่อขายลดเช็คกสิกรไทย" ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่รวมวงเงินสินเชื่อระยะสั้นและบริการเช็คเรียกเก็บแบบพิเศษไว้ด้วยกัน เพื่อเพิ่มเงินทุนหมุนเวียนทางการค้าให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ โดยลูกค้าสามารถนำเช็คที่ยังไม่ครบกำหนดเรียกเก็บมาขายลดเช็ค ซึ่งธนาคารจะโอนเงินเท่ากับจำนวนที่ระบุหน้าเช็คหักด้วยดอกเบี้ยส่วนลดเข้าบัญชีลูกค้าในวันที่ยื่นขอกู้ทันที และเมื่อสามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้ก็จะนำมาชำระหนี้เงินกู้คืน
ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถขายลดเช็คได้ทุกประเภท ทั้งเช็คเงินสด เช็คหรือผู้ถือ และเช็ค A/C Payee Only ของทุกธนาคาร โดยเช็คเรียกเก็บต้องเป็นเช็คลงวันที่ล่วงหน้าไม่เกินระยะเวลา 180 วัน เบิกใช้วงเงินผ่านช่องทางบริการเช็คเรียกเก็บแบบพิเศษ (SQ) ซึ่งลูกค้าสามารถนำเช็คไปขายลดได้ทุกสาขาทั่วประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นสาขาที่ลูกค้ามีวงเงินรับซื้อลดกับธนาคาร นอกจากนี้ลูกค้ายังรับการแจ้งรายการข้อมูลการรับซื้อลดเช็คและผลการรับซื้อลดเช็คและผลการเรียกเก็บเช็คออนไลน์ผ่านทางอีเมล์ได้
สำหรับลูกค้าที่จะใช้บริการสินเชื่อขายลดเช็คกสิกรไทย ต้องเป็นลูกค้านิติบุคคล และบุคคลผู้ประกอบการที่จดทะเบียนพาณิชย์ มียอดขายตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป โดยอัตราดอกเบี้ยจะอิงกับ MLR ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 6.85 % และคิดอัตราดอกเบี้ยแบบหักส่วนลดล่วงหน้า โดยจะพิจารณาตามเครดิตของลูกค้าแต่ละราย
นายปกรณ์ กล่าวว่า ในปี 2551 ธนาคารตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีเพิ่ม 20% หรือประมาณ 60,000 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นสินเชื่อขายลดเช็คกสิกรไทยประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ที่ผ่านมา ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีสุทธิ 5,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตอยู่ที่ 2% ซึ่งคาดว่าจะทำได้ตามเป้าหมายเนื่องจากการเติบโตของธุรกิจเอสเอ็มอีของธนาคารมีการเติบโตในระดับนี้มาตลอด ทั้งนี้ ธนาคารตั้งเป้าเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดในปีนี้เป็น 30% จากปีที่แล้วที่มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 25-27%
สำหรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ตั้งเป้าหมายจะรักษาให้อยู่ที่ไม่เกิน 3% โดยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาตัวเลขยังอยู่ในระดับที่ไม่เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ และคาดว่าจะสามารถควบคุมให้อยู่ในระดับที่ต้องการได้
"สภาพตลาดเอสเอ็มอีโดยรวมในปีนี้น่าจะมีการขยายตัวมากกว่าปีก่อน โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการมีรัฐบาล การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยมาตรการภาษีต่าง ๆ รวมถึงการเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณของภาครัฐ และอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ปัจจัยที่ยังต้องติดตามคือค่าเงินบาทและราคาน้ำมัน เนื่องจากจะมีผลกระทบต่อการทำธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาธนาคารได้มีการให้คำปรึกษากับลูกค้าที่คาดว่าจะได้รับผลจากปัจจัยดังกล่าวมาโดยตลอด ทำให้ผู้ประกอบการมีการปรับตัวไว้แล้ว"
นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า ธนาคารได้เปิดให้บริการ"สินเชื่อขายลดเช็คกสิกรไทย" ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่รวมวงเงินสินเชื่อระยะสั้นและบริการเช็คเรียกเก็บแบบพิเศษไว้ด้วยกัน เพื่อเพิ่มเงินทุนหมุนเวียนทางการค้าให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ โดยลูกค้าสามารถนำเช็คที่ยังไม่ครบกำหนดเรียกเก็บมาขายลดเช็ค ซึ่งธนาคารจะโอนเงินเท่ากับจำนวนที่ระบุหน้าเช็คหักด้วยดอกเบี้ยส่วนลดเข้าบัญชีลูกค้าในวันที่ยื่นขอกู้ทันที และเมื่อสามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้ก็จะนำมาชำระหนี้เงินกู้คืน
ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถขายลดเช็คได้ทุกประเภท ทั้งเช็คเงินสด เช็คหรือผู้ถือ และเช็ค A/C Payee Only ของทุกธนาคาร โดยเช็คเรียกเก็บต้องเป็นเช็คลงวันที่ล่วงหน้าไม่เกินระยะเวลา 180 วัน เบิกใช้วงเงินผ่านช่องทางบริการเช็คเรียกเก็บแบบพิเศษ (SQ) ซึ่งลูกค้าสามารถนำเช็คไปขายลดได้ทุกสาขาทั่วประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นสาขาที่ลูกค้ามีวงเงินรับซื้อลดกับธนาคาร นอกจากนี้ลูกค้ายังรับการแจ้งรายการข้อมูลการรับซื้อลดเช็คและผลการรับซื้อลดเช็คและผลการเรียกเก็บเช็คออนไลน์ผ่านทางอีเมล์ได้
สำหรับลูกค้าที่จะใช้บริการสินเชื่อขายลดเช็คกสิกรไทย ต้องเป็นลูกค้านิติบุคคล และบุคคลผู้ประกอบการที่จดทะเบียนพาณิชย์ มียอดขายตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป โดยอัตราดอกเบี้ยจะอิงกับ MLR ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 6.85 % และคิดอัตราดอกเบี้ยแบบหักส่วนลดล่วงหน้า โดยจะพิจารณาตามเครดิตของลูกค้าแต่ละราย
นายปกรณ์ กล่าวว่า ในปี 2551 ธนาคารตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีเพิ่ม 20% หรือประมาณ 60,000 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นสินเชื่อขายลดเช็คกสิกรไทยประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ที่ผ่านมา ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีสุทธิ 5,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตอยู่ที่ 2% ซึ่งคาดว่าจะทำได้ตามเป้าหมายเนื่องจากการเติบโตของธุรกิจเอสเอ็มอีของธนาคารมีการเติบโตในระดับนี้มาตลอด ทั้งนี้ ธนาคารตั้งเป้าเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดในปีนี้เป็น 30% จากปีที่แล้วที่มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 25-27%
สำหรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ตั้งเป้าหมายจะรักษาให้อยู่ที่ไม่เกิน 3% โดยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาตัวเลขยังอยู่ในระดับที่ไม่เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ และคาดว่าจะสามารถควบคุมให้อยู่ในระดับที่ต้องการได้
"สภาพตลาดเอสเอ็มอีโดยรวมในปีนี้น่าจะมีการขยายตัวมากกว่าปีก่อน โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการมีรัฐบาล การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยมาตรการภาษีต่าง ๆ รวมถึงการเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณของภาครัฐ และอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ปัจจัยที่ยังต้องติดตามคือค่าเงินบาทและราคาน้ำมัน เนื่องจากจะมีผลกระทบต่อการทำธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาธนาคารได้มีการให้คำปรึกษากับลูกค้าที่คาดว่าจะได้รับผลจากปัจจัยดังกล่าวมาโดยตลอด ทำให้ผู้ประกอบการมีการปรับตัวไว้แล้ว"