"อัมมาร" อัดเละไอเดียข้าวธงฟ้า "เฮงซวย" ทำตลาดปั่นป่วน ใช้ภาพมายาบิดเบือนกลไกราคา ข้าวเปลือกแพง-ข้าวสารถูก เหมือนเล่นลิเกหลอกชาวบ้าน "เจ๊มิ่ง" ยอมรับโดน "หมัก" เชือดโชว์กลางที่ประชุม ครม.
นายอัมมาร สยามวาลา นักวิชาการอาวุโสจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวเสวนาเรื่อง "ข้าวแพง วิกฤติหรือโอกาส ชาวนาไทย" ที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ว่า ราคาข้าวจะดีหรือเลวไม่ได้ขึ้นอยู่กับประเทศไทย แต่ขึ้นอยู่กับตลาดโลก รัฐบาลที่ผ่านมาพยายามกดราคาข้าว และไม่สามารถยกราคาให้เป็นไปตามตลาดโลกได้ โดยพบว่าเมื่อปี 2516-2519 ราคาข้าวดีมาก แต่ลดลงต่อเนื่องเพราะประเทศไทยห้ามส่งออก ทำให้คนทั้งโลกคิดว่าประเทศไทยไว้ใจไม่ได้ ทุกประเทศเลยปลูกข้าวเอง
"ถามว่าครั้งนี้จะลดลง เช่นเดียวกันอีกหรือไม่ ผมคิดว่าราคาข้าวมีแต่ลดลง และไม่มีเพิ่มขึ้นอีก ยกเว้นมีเหตุการณ์ภัยใหญ่ๆ เหมือนที่เกิดในพม่า ตอนนี้ทุกคนแย่งกันปลูกข้าว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าขำมาก ทำให้ความต้องการปุ๋ยเพิ่มขึ้น เมื่อผลิตข้าวมากขึ้นในช่วงสิ้นปีอาจทำให้ราคาข้าวตกลงมามากด้วย แต่หากดินฟ้าอากาศไม่เอื้ออำนวยในประเทศผู้ผลิตอาจจะทำให้ราคาข้าวยังสูงอยู่ได้ แต่สิ่งที่รัฐบาลชุดนี้ทำผิดพลาดคือ พยายามทำให้ข้าวเปลือกแพง และข้าวสารถูก ซึ่งเป็นความฝันของนักการเมืองทุกยุคทุกสมัย แต่เป็นไป ไม่ได้"
นายอัมมาร กล่าวอีกว่า การที่ราคา ข้าวสารในตลาดมี 2 ราคา คือ มีข้าวธงฟ้า ของรัฐบาล จะทำให้เกิดความวุ่นวาย ซึ่งมีประสบการณ์ให้เห็นแล้วเมื่อปี 2516-2517 รัฐบาลต้องตัดสินใจว่าจะให้ข้าวแพงหรือข้าวถูก ถ้าต้องการข้าวถูกทำได้ง่ายมาก แต่จะให้ข้าวแพงกว่านี้ เป็นเรื่องยาก เพียงแต่ตอนนี้รัฐบาลออกมาเล่นลิเกแสดงบทบาทว่าฉันทำให้ข้าวแพง
นายอัมมาร กล่าวถึงกรณีข้าวธงฟ้าของรัฐบาล เป็นตัวการที่ทำให้เกิดความปั่นป่วน เพราะทำให้ข้าวในท้องตลาดมี 2 ราคา ที่แตกต่างกันมาก ทำให้คนแย่งกันซื้อ ต้องขอยืมคำของนายกรัฐมนตรีมาใช้ว่าเป็น "นโยบายเฮงซวย" และจนถึงขณะนี้ไม่แน่ใจว่ารัฐบาลต้องการให้ราคาข้าวถูกหรือแพงกันแน่ เพราะแก้ปัญหาแบบฝันกลางวัน สิ่งที่ดีที่สุดคือการปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด หากจะขึ้นก็ไม่ควรเกินร้อยละ 50 และควรจำกัดทั้งปริมาณและผู้ซื้อ
นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังร่วมสัมมนา การบูรณาการเพื่อการแก้ไขปัญหาบุกรุกที่ดินของรัฐ โดยระว่า รัฐบาลยังต้องเร่งผลักดันโครงการต่างๆ เข้าสู่รากหญ้า เพราะในช่วงปลายปี 2551 จนถึงต้นปี 2552 ราคาสินค้าเกษตรจะเริ่มปรับตัวลดลงจากปริมาณและความต้องการที่เริ่มทรงตัวและน่าจะทำให้ไทยเริ่มมีปัญหา
"น่าห่วงว่าปี 2552 สินค้าเกษตรจะกลับ ไปอยู่ที่เก่า ทางออกที่ดีคือรัฐบาลมีสต๊อคข้าวเอาไว้เท่าไหร่ก็ขายไปเถอะ แล้วเก็บเงินเอาไว้ เพราะผมเชื่อว่าปีหน้ามีปัญหาแน่ เกษตรกรที่คาดว่าจะขายได้ราคาเดิม ผมว่าไม่ได้แน่ เราควรหาเงิน และเร่งระบายสต๊อคไปเถอะ"
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง "ข้าวยากหมากแพง...คนจนจะอยู่อย่างไร" โดยสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) โดยยืนยันว่าประเทศไทยจะไม่มีปัญหาเรื่องขาดแคลนอาหารแน่นอน แม้ราคาอาหารในประเทศจะปรับตัวสูงขึ้น 30% และมองว่าราคาข้าวจะสูงต่อเนื่องไปอีก 1-2 ปี โดยน่าจะพุ่งขึ้นในไตรมาส 3-4 ของปี เนื่องจากจีนและพม่าประสบปัญหาภัยธรรมชาติ ทำให้ความต้องการข้าวเพิ่มขึ้น รัฐบาลจึงควรแก้ปัญหาให้กับผู้มีรายได้น้อยด้วยการเพิ่มค่าครองชีพให้อย่างน้อย 15-20% จึงจะเพียงพอกับราคาอาหารที่สูงขึ้น
นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) และคณะกรรมการนโยบายช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ที่มีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันที่ 15 พ.ค.นี้ จะหารือแนวทางและวิธีการปฏิบัติเพื่อรับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา ข้อเสนอที่จะให้ส่งออกข้าวสต็อกของรัฐบาล รวมถึงขออนุมัติปริมาณและวงเงินในการรับซื้อข้าวจากชาวนา โดยขณะนี้มีประเทศต่างๆ ติดต่อรัฐบาลขอซื้อข้าวเกินกว่าผลผลิตที่มีอยู่แล้ว เช่น ฮ่องกง มาเลเซีย ล่าสุดที่ไนจีเรีย หรือพม่าเองก็ขอซื้อ 5-6 แสนตันหลังเจอภัย
ทั้งนี้ ราคารับซื้อข้าวเปลือกหอมมะลิอยู่ที่ตันละ 1.9-2.0 หมื่นบาท ข้าวเปลือกเจ้าใช้ราคาเดียวที่ตันละ 1.4 หมื่นบาท ข้าวเปลือกเหนียว 9,000 บาท ความชื้นไม่เกิน 15% ราคานี้จะทำให้ราคาส่งออกข้าวหอมมะลิอยู่ที่ตันละ 3.9-4.0 หมื่นบาท ข้าวสารขาว 2.9-3.2 หมื่นบาท
นายมิ่งขวัญกล่าวถึงกรณีนายสมัครท้วงติงการทำข้าวถุงธงฟ้าทำให้ราคาข้าวเปลือกตกต่ำในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 13 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยยอมรับว่า นายกรัฐมนตรีถามขึ้นมาเฉยๆ ว่าไม่อยากให้ทำเป็นข่าวใหญ่โต และยืนยันว่าจะไม่ล้มเลิกการทำข้าวถุงธงฟ้าและยังทำต่อเนื่องถึงสิ้นปี หรือจนกว่าสถานการณ์ข้าวจะคลี่คลาย เพื่อลดภาระค่าครองชีพประชาชน
นายอัมมาร สยามวาลา นักวิชาการอาวุโสจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวเสวนาเรื่อง "ข้าวแพง วิกฤติหรือโอกาส ชาวนาไทย" ที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ว่า ราคาข้าวจะดีหรือเลวไม่ได้ขึ้นอยู่กับประเทศไทย แต่ขึ้นอยู่กับตลาดโลก รัฐบาลที่ผ่านมาพยายามกดราคาข้าว และไม่สามารถยกราคาให้เป็นไปตามตลาดโลกได้ โดยพบว่าเมื่อปี 2516-2519 ราคาข้าวดีมาก แต่ลดลงต่อเนื่องเพราะประเทศไทยห้ามส่งออก ทำให้คนทั้งโลกคิดว่าประเทศไทยไว้ใจไม่ได้ ทุกประเทศเลยปลูกข้าวเอง
"ถามว่าครั้งนี้จะลดลง เช่นเดียวกันอีกหรือไม่ ผมคิดว่าราคาข้าวมีแต่ลดลง และไม่มีเพิ่มขึ้นอีก ยกเว้นมีเหตุการณ์ภัยใหญ่ๆ เหมือนที่เกิดในพม่า ตอนนี้ทุกคนแย่งกันปลูกข้าว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าขำมาก ทำให้ความต้องการปุ๋ยเพิ่มขึ้น เมื่อผลิตข้าวมากขึ้นในช่วงสิ้นปีอาจทำให้ราคาข้าวตกลงมามากด้วย แต่หากดินฟ้าอากาศไม่เอื้ออำนวยในประเทศผู้ผลิตอาจจะทำให้ราคาข้าวยังสูงอยู่ได้ แต่สิ่งที่รัฐบาลชุดนี้ทำผิดพลาดคือ พยายามทำให้ข้าวเปลือกแพง และข้าวสารถูก ซึ่งเป็นความฝันของนักการเมืองทุกยุคทุกสมัย แต่เป็นไป ไม่ได้"
นายอัมมาร กล่าวอีกว่า การที่ราคา ข้าวสารในตลาดมี 2 ราคา คือ มีข้าวธงฟ้า ของรัฐบาล จะทำให้เกิดความวุ่นวาย ซึ่งมีประสบการณ์ให้เห็นแล้วเมื่อปี 2516-2517 รัฐบาลต้องตัดสินใจว่าจะให้ข้าวแพงหรือข้าวถูก ถ้าต้องการข้าวถูกทำได้ง่ายมาก แต่จะให้ข้าวแพงกว่านี้ เป็นเรื่องยาก เพียงแต่ตอนนี้รัฐบาลออกมาเล่นลิเกแสดงบทบาทว่าฉันทำให้ข้าวแพง
นายอัมมาร กล่าวถึงกรณีข้าวธงฟ้าของรัฐบาล เป็นตัวการที่ทำให้เกิดความปั่นป่วน เพราะทำให้ข้าวในท้องตลาดมี 2 ราคา ที่แตกต่างกันมาก ทำให้คนแย่งกันซื้อ ต้องขอยืมคำของนายกรัฐมนตรีมาใช้ว่าเป็น "นโยบายเฮงซวย" และจนถึงขณะนี้ไม่แน่ใจว่ารัฐบาลต้องการให้ราคาข้าวถูกหรือแพงกันแน่ เพราะแก้ปัญหาแบบฝันกลางวัน สิ่งที่ดีที่สุดคือการปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด หากจะขึ้นก็ไม่ควรเกินร้อยละ 50 และควรจำกัดทั้งปริมาณและผู้ซื้อ
นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังร่วมสัมมนา การบูรณาการเพื่อการแก้ไขปัญหาบุกรุกที่ดินของรัฐ โดยระว่า รัฐบาลยังต้องเร่งผลักดันโครงการต่างๆ เข้าสู่รากหญ้า เพราะในช่วงปลายปี 2551 จนถึงต้นปี 2552 ราคาสินค้าเกษตรจะเริ่มปรับตัวลดลงจากปริมาณและความต้องการที่เริ่มทรงตัวและน่าจะทำให้ไทยเริ่มมีปัญหา
"น่าห่วงว่าปี 2552 สินค้าเกษตรจะกลับ ไปอยู่ที่เก่า ทางออกที่ดีคือรัฐบาลมีสต๊อคข้าวเอาไว้เท่าไหร่ก็ขายไปเถอะ แล้วเก็บเงินเอาไว้ เพราะผมเชื่อว่าปีหน้ามีปัญหาแน่ เกษตรกรที่คาดว่าจะขายได้ราคาเดิม ผมว่าไม่ได้แน่ เราควรหาเงิน และเร่งระบายสต๊อคไปเถอะ"
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง "ข้าวยากหมากแพง...คนจนจะอยู่อย่างไร" โดยสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) โดยยืนยันว่าประเทศไทยจะไม่มีปัญหาเรื่องขาดแคลนอาหารแน่นอน แม้ราคาอาหารในประเทศจะปรับตัวสูงขึ้น 30% และมองว่าราคาข้าวจะสูงต่อเนื่องไปอีก 1-2 ปี โดยน่าจะพุ่งขึ้นในไตรมาส 3-4 ของปี เนื่องจากจีนและพม่าประสบปัญหาภัยธรรมชาติ ทำให้ความต้องการข้าวเพิ่มขึ้น รัฐบาลจึงควรแก้ปัญหาให้กับผู้มีรายได้น้อยด้วยการเพิ่มค่าครองชีพให้อย่างน้อย 15-20% จึงจะเพียงพอกับราคาอาหารที่สูงขึ้น
นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) และคณะกรรมการนโยบายช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ที่มีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันที่ 15 พ.ค.นี้ จะหารือแนวทางและวิธีการปฏิบัติเพื่อรับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา ข้อเสนอที่จะให้ส่งออกข้าวสต็อกของรัฐบาล รวมถึงขออนุมัติปริมาณและวงเงินในการรับซื้อข้าวจากชาวนา โดยขณะนี้มีประเทศต่างๆ ติดต่อรัฐบาลขอซื้อข้าวเกินกว่าผลผลิตที่มีอยู่แล้ว เช่น ฮ่องกง มาเลเซีย ล่าสุดที่ไนจีเรีย หรือพม่าเองก็ขอซื้อ 5-6 แสนตันหลังเจอภัย
ทั้งนี้ ราคารับซื้อข้าวเปลือกหอมมะลิอยู่ที่ตันละ 1.9-2.0 หมื่นบาท ข้าวเปลือกเจ้าใช้ราคาเดียวที่ตันละ 1.4 หมื่นบาท ข้าวเปลือกเหนียว 9,000 บาท ความชื้นไม่เกิน 15% ราคานี้จะทำให้ราคาส่งออกข้าวหอมมะลิอยู่ที่ตันละ 3.9-4.0 หมื่นบาท ข้าวสารขาว 2.9-3.2 หมื่นบาท
นายมิ่งขวัญกล่าวถึงกรณีนายสมัครท้วงติงการทำข้าวถุงธงฟ้าทำให้ราคาข้าวเปลือกตกต่ำในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 13 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยยอมรับว่า นายกรัฐมนตรีถามขึ้นมาเฉยๆ ว่าไม่อยากให้ทำเป็นข่าวใหญ่โต และยืนยันว่าจะไม่ล้มเลิกการทำข้าวถุงธงฟ้าและยังทำต่อเนื่องถึงสิ้นปี หรือจนกว่าสถานการณ์ข้าวจะคลี่คลาย เพื่อลดภาระค่าครองชีพประชาชน