กบข.หอบเงินหมื่นล้านลงทุนต่างประเทศ เน้นหุ้นอสังหาฯและอาหาร เพื่อเพิ่มสัดส่วนในพอร์ตเป็น 12% เหตุการเมืองไม่นิ่ง-ความเสี่ยงสูง ต่างชาติวิตกไม่กล้าลงทุนมาก ขณะที่ตลาดหุ้นก็มีเสน่ห์น้อยกว่าเพื่อนบ้าน ที่ช่วงก่อนราคาหุ้นรูดต่ำลงมากจนน่าซื้อสะสม "วิสิฐ"ระบุคงน้ำหนักลงทุนตราสารหนี้ และหุ้นไทยเท่าเดิม "ไม่ลด ไม่เพิ่ม" ส่วนปัจจัยภายนอกสถานการณ์ต่างๆเริ่มดีขึ้น ความผันผวนมีน้อยลงแม้ซับไพรม์ยังไม่สิ้นฤทธิ์
นาย วิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเด็นเรื่องการเมืองยังคงมีความเสี่ยงที่มีผลต่อความเชื่อมั่น และการเข้ามาลงทุนในหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากมองว่าการเมืองและหุ้นไม่สามารถแยกกันได้ ดังนั้น จึงมีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนต่างชาติในการกลับเข้ามาลงทุนในเอเชียรวมถึงประเทศไทย ขณะที่นักลงทุนในประเทศไม่ได้เป็นห่วงเรื่องภาวะการเมือง
อย่างไรก็ตาม สถานกาณ์เศรษฐกิจในต่างประเทศในขณะนี้ดีขึ้น และมีความผันผวนน้อยลงเห็นได้จากดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นสหรัฐที่มีการแกว่งตัวในลักษณะที่ผันผวนน้อยลง โดยในส่วนของปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพในสหรัฐฯ (ซับไพร์ม) แม้ยังไม่จบแต่ปัญหาก็เบาบางลงและมีการความนิ่งมากขึ้น เนื่องจากประเทศใหญ่ๆให้การสนับสนุนภาคการเงินและได้รับความร่วมมือในการแก้ปัญหาจากประเทศต่างๆ ซึ่งช่วยให้ปัญหาดังกล่าวคลี่คลายลง
“เมื่อปัญหาซับไพร์มเริ่มเบาบางเชื่อว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนต่างชาติไหลกลับเข้ามาในประเทศไทยบ้างส่วน เพราะตลาดหุ้นไทยเองเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นในเอเชียด้วยกันถือว่าไม่ถูก อย่าลืมว่าในช่วงที่ผ่านมามีตลาดหุ้นในเอเชียหลายตลาดที่ปรับตัวลงมามากกว่าไทย ซึ่งในแง่ของมูลค่าแล้วจะมีความน่าสนใจกว่า นักลงทุนต่างชาติโดยภาพรวมเขาคงมองกระจายไปทั้งเอเชีย แต่คงจะมีเม็ดเงินลงทุนบางส่วนไหลเข้ามาในไทยบ้าง”นายวิสิฐ กล่าว
นายวิสิฐกล่าวอีกว่า จากสถานการณ์ดังกล่าวที่ดีขึ้น กบข.จึงมีนโยบายที่จะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนหุ้นในต่างประเทศอีก 3% คิดเป็นมูลค่า 10,000 ล้านบาท ในหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และอาหาร ซึ่งจะทำให้สัดส่วนการลงทุนหุ้นในต่างประทศเพิ่มขึ้นเป็น 12% จากปัจจุบันที่อยู่ที่ 9% และคาดว่าในอีก 1-2 เดือนข้างหน้าจะสามารถเข้าไปลงทุนเพิ่มเติมในสัดส่วนดังกล่าวได้ ขณะที่สัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ 11-11.5% ของพอร์ตการลงทุน
" เงินที่จะนำไปลงทุนเพิ่มนั้น กบข.ได้มีการขายหุ้นในต่างประเทศบ้าง แต่เป็นการขายเพื่อนำเงินไปลงทุนในหุ้นอื่นต่อ เนื่องจากกบข.เองมีนโยบายว่าจะไม่มีการดึงเงินสดกลับ"นายวิสิฐกล่าว
**คงสัดส่วนลงทุนตราสารหนี้ที่ 4-5%**
ด้านการลงทุนในตราสารหนี้นั้น เลขาธิการกบข. กล่าวว่า กบข.ยังคงสัดส่วนไว้ที่ 4-5% โดยประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยของไทยจะยังทรงตัวในระดับสูงที่ประมาณ 3.25% เนื่องจากเงินเฟ้อที่คาดว่าจะสูงในปีนี้ ซึ่งกบข.ก็จะต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าวด้วยการเข้าไปลงทุนในหุ้น โดยคาดว่าในปีนี้สัดส่วนการลงทุนหุ้นทั้งในและต่างประเทศของกบข.จะอยู่ที่ 23-24% ของพอร์ตการลงทุนรวม
ทั้งนี้ หากธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมเมื่อวันที่ 29-30 เมษายน ตามที่ได้คาดการณ์ไว้นั้น คงไม่มีปัญหาเรื่องเงินทุนไหลมาในตลาดหุ้นไทย แม้ว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของไทยกับสหรัฐฯจะกว้างขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันตลาดหุ้นไทยไม่ได้ถูกมากเหมือนเมื่อก่อน อีกทั้งหุ้นในเอเชียเองก็มีการปรับตัวลดลงค่อนข้างมากก่อนหน้านี้ ดังนั้น เงินทุนที่จะเข้ามาคงจะไหลกระจายไปทั่วภูมิภาคเอเชียไม่ใช่ตลาดหุ้นไทยเพียงที่เดียว
สำหรับคาดว่าจีดีพีของไทยในปีนี้จะสามารถขยายตัวได้ 5-5.2% เนื่องจากมองว่าการบริโภคภายในประเทศจะดีขึ้น ประกอบกับราคาสินค้าเกษตร เช่น ข้าวมีราคาดีขึ้น ส่งผลให้มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นตามลำดับ และเป็นตัวที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการขยายตัวได้ในที่สุด
"อัตราดอกเบี้ยในประเทศคาดว่าแบงก์ชาติยังจะคงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย(RP 1 วัน)เอาไว้ที่ระดับ 3.25% เท่าเดิม จากปัจจัยกดดันทางด้านเงินเฟ้อ แต่ทางกบข.ยังมองว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี2551 จะเติบโตได้ในระดับ 5.0-5.25% ซึ่งเป็นระดับที่ดี อย่างไรก็ตามปัจจัยทางการเมืองยังคงเป็นความเสี่ยงที่มาบั่นทอนตลาดหุ้นไทยรวมทั้งตลาดหุ้นในเอเชียส่วนใหญ่อยู่ แม้ว่ากบข.ในฐานะนักลงทุนสถาบันในประเทศจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับปัจจัยเรื่องการเมืองมากนักก็ตาม แต่ต้องยอมรับว่านักลงทุนสถาบันต่างประเทศค่อนข้างเป็นกังวลกับปัจจัยเสี่ยงจากการเมือง ขณะเดียวกันคาดว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเองน่าจะใกล้อ่อนค่าถึงจุดต่ำสุดในเร็วๆ นี้ ซึ่งจะส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีระดับที่ทรงตัวมากขึ้น หลังจากช่วงที่ผ่านมาการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น เพราะกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันต้องการเม็ดเงินในสกุลเงินท้องถื่นในระดับเท่าเดิม จึงทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา”นายวิสิฐ กล่าว
ส่วน เงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้กบข.ต้องมองหาโอกาสในการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับสมาชิก โดยกบข.จะไม่ลดน้ำหนักากรลงทุนในหุ้นลง โดยจะคงน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นไทยประมาณ 11.0-12.5% และหุ้นในต่างประเทศประมาณ 12% ซึ่งเป็นสัดส่วนของหุ้นรวมกันประมาณ 23.0-24.5% ของพอร์ต ทั้งนี้เมื่อรวมกับการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจะคิดเป็นสัดส่วนรวมกันประมาณ 30.0% ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมที่กบข.คิดว่าจะสามารถสร้างผลตอบแทนเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อได้ เพราะ ในอนาคตหากกบข.ออกไปลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์โลก(Global REIT) จะทำให้สัดส่วนตรงนี้รวมกันเพิ่มขึ้นเป็น 35.0% ของพอร์ต ซึ่งมั่นใจว่าเพียงพอที่จะสร้างผลตอบแทนเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อให้กับสมาชิกได้อย่างแน่นอน
ก่อนหน้านี้ กบข.ตั้งเป้า ภายใน 3 เดือนนี้ จะเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในต่างประเทศเป็น 20% จากสัดส่วนการลงทุนในปัจจุบัน 15% หรือประมาณ 5.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนดังกล่าว จะทำให้ กบข.มีพอร์ตการลงทุนต่างประเทศรวมเป็น 7 หมื่นล้านบาท
โดยในช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา กบข.ได้โอนเงินบางส่วนไปลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นในต่างประเทศบ้างแล้ว เพื่อรอจังหวะการลงทุนในตลาดหุ้น การลงทุนใน Private Equity (การลงทุนทางเลือก) และการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลกในอีก 3 เดือนข้างหน้า โดยตราสารหนี้ดังกล่าวเป็นพันธบัตรต่างประเทศระยะสั้นอายุเฉลี่ยตั้งแต่ 1-3 เดือน ซึ่งรวมถึงการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ที่ให้ผลตอบแทนสูงในขณะนี้ด้วย
ส่วนสาเหตุที่ กบข. ต้องรอจังหวะอีก 3 เดือนก่อนเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในต่างประเทศเป็น 20% เนื่องจากภาวะการลงทุนทั่วโลกในขณะนี้ ยังผันผวนอยู่อย่างต่อเนื่องจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ในสหรัฐฯ โดยเฉพาะตลาดหุ้นทั่วโลก ซึ่งกบข. จะเพิ่มน้ำหนักการลงทุนเป็น 12-13% จาก 10% ในปัจจุบัน ส่วนที่เหลือจะเป็นการลงทุนใน Private Equity และการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก
ขณะที่เพดานการลงทุนในต่างประเทศของกบข. ปัจจุบันอยู่ที่ 25% ซึ่งภายในปีนี้ คาดว่าจะสามารถลงทุนได้เพิ่มขึ้นเป็น 22.5-23% ซึ่งสัดส่วนการลงทุนดังกล่าวเป็นการลงทุนเต็มที่ของกบข. เนื่องจากต้องช่องว่างเพื่อให้สัดส่วนการถือครองหุ้นสามารถเคลื่อนไหวได้
นาย วิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเด็นเรื่องการเมืองยังคงมีความเสี่ยงที่มีผลต่อความเชื่อมั่น และการเข้ามาลงทุนในหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากมองว่าการเมืองและหุ้นไม่สามารถแยกกันได้ ดังนั้น จึงมีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนต่างชาติในการกลับเข้ามาลงทุนในเอเชียรวมถึงประเทศไทย ขณะที่นักลงทุนในประเทศไม่ได้เป็นห่วงเรื่องภาวะการเมือง
อย่างไรก็ตาม สถานกาณ์เศรษฐกิจในต่างประเทศในขณะนี้ดีขึ้น และมีความผันผวนน้อยลงเห็นได้จากดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นสหรัฐที่มีการแกว่งตัวในลักษณะที่ผันผวนน้อยลง โดยในส่วนของปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพในสหรัฐฯ (ซับไพร์ม) แม้ยังไม่จบแต่ปัญหาก็เบาบางลงและมีการความนิ่งมากขึ้น เนื่องจากประเทศใหญ่ๆให้การสนับสนุนภาคการเงินและได้รับความร่วมมือในการแก้ปัญหาจากประเทศต่างๆ ซึ่งช่วยให้ปัญหาดังกล่าวคลี่คลายลง
“เมื่อปัญหาซับไพร์มเริ่มเบาบางเชื่อว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนต่างชาติไหลกลับเข้ามาในประเทศไทยบ้างส่วน เพราะตลาดหุ้นไทยเองเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นในเอเชียด้วยกันถือว่าไม่ถูก อย่าลืมว่าในช่วงที่ผ่านมามีตลาดหุ้นในเอเชียหลายตลาดที่ปรับตัวลงมามากกว่าไทย ซึ่งในแง่ของมูลค่าแล้วจะมีความน่าสนใจกว่า นักลงทุนต่างชาติโดยภาพรวมเขาคงมองกระจายไปทั้งเอเชีย แต่คงจะมีเม็ดเงินลงทุนบางส่วนไหลเข้ามาในไทยบ้าง”นายวิสิฐ กล่าว
นายวิสิฐกล่าวอีกว่า จากสถานการณ์ดังกล่าวที่ดีขึ้น กบข.จึงมีนโยบายที่จะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนหุ้นในต่างประเทศอีก 3% คิดเป็นมูลค่า 10,000 ล้านบาท ในหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และอาหาร ซึ่งจะทำให้สัดส่วนการลงทุนหุ้นในต่างประทศเพิ่มขึ้นเป็น 12% จากปัจจุบันที่อยู่ที่ 9% และคาดว่าในอีก 1-2 เดือนข้างหน้าจะสามารถเข้าไปลงทุนเพิ่มเติมในสัดส่วนดังกล่าวได้ ขณะที่สัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ 11-11.5% ของพอร์ตการลงทุน
" เงินที่จะนำไปลงทุนเพิ่มนั้น กบข.ได้มีการขายหุ้นในต่างประเทศบ้าง แต่เป็นการขายเพื่อนำเงินไปลงทุนในหุ้นอื่นต่อ เนื่องจากกบข.เองมีนโยบายว่าจะไม่มีการดึงเงินสดกลับ"นายวิสิฐกล่าว
**คงสัดส่วนลงทุนตราสารหนี้ที่ 4-5%**
ด้านการลงทุนในตราสารหนี้นั้น เลขาธิการกบข. กล่าวว่า กบข.ยังคงสัดส่วนไว้ที่ 4-5% โดยประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยของไทยจะยังทรงตัวในระดับสูงที่ประมาณ 3.25% เนื่องจากเงินเฟ้อที่คาดว่าจะสูงในปีนี้ ซึ่งกบข.ก็จะต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าวด้วยการเข้าไปลงทุนในหุ้น โดยคาดว่าในปีนี้สัดส่วนการลงทุนหุ้นทั้งในและต่างประเทศของกบข.จะอยู่ที่ 23-24% ของพอร์ตการลงทุนรวม
ทั้งนี้ หากธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมเมื่อวันที่ 29-30 เมษายน ตามที่ได้คาดการณ์ไว้นั้น คงไม่มีปัญหาเรื่องเงินทุนไหลมาในตลาดหุ้นไทย แม้ว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของไทยกับสหรัฐฯจะกว้างขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันตลาดหุ้นไทยไม่ได้ถูกมากเหมือนเมื่อก่อน อีกทั้งหุ้นในเอเชียเองก็มีการปรับตัวลดลงค่อนข้างมากก่อนหน้านี้ ดังนั้น เงินทุนที่จะเข้ามาคงจะไหลกระจายไปทั่วภูมิภาคเอเชียไม่ใช่ตลาดหุ้นไทยเพียงที่เดียว
สำหรับคาดว่าจีดีพีของไทยในปีนี้จะสามารถขยายตัวได้ 5-5.2% เนื่องจากมองว่าการบริโภคภายในประเทศจะดีขึ้น ประกอบกับราคาสินค้าเกษตร เช่น ข้าวมีราคาดีขึ้น ส่งผลให้มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นตามลำดับ และเป็นตัวที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการขยายตัวได้ในที่สุด
"อัตราดอกเบี้ยในประเทศคาดว่าแบงก์ชาติยังจะคงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย(RP 1 วัน)เอาไว้ที่ระดับ 3.25% เท่าเดิม จากปัจจัยกดดันทางด้านเงินเฟ้อ แต่ทางกบข.ยังมองว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี2551 จะเติบโตได้ในระดับ 5.0-5.25% ซึ่งเป็นระดับที่ดี อย่างไรก็ตามปัจจัยทางการเมืองยังคงเป็นความเสี่ยงที่มาบั่นทอนตลาดหุ้นไทยรวมทั้งตลาดหุ้นในเอเชียส่วนใหญ่อยู่ แม้ว่ากบข.ในฐานะนักลงทุนสถาบันในประเทศจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับปัจจัยเรื่องการเมืองมากนักก็ตาม แต่ต้องยอมรับว่านักลงทุนสถาบันต่างประเทศค่อนข้างเป็นกังวลกับปัจจัยเสี่ยงจากการเมือง ขณะเดียวกันคาดว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเองน่าจะใกล้อ่อนค่าถึงจุดต่ำสุดในเร็วๆ นี้ ซึ่งจะส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีระดับที่ทรงตัวมากขึ้น หลังจากช่วงที่ผ่านมาการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น เพราะกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันต้องการเม็ดเงินในสกุลเงินท้องถื่นในระดับเท่าเดิม จึงทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา”นายวิสิฐ กล่าว
ส่วน เงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้กบข.ต้องมองหาโอกาสในการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับสมาชิก โดยกบข.จะไม่ลดน้ำหนักากรลงทุนในหุ้นลง โดยจะคงน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นไทยประมาณ 11.0-12.5% และหุ้นในต่างประเทศประมาณ 12% ซึ่งเป็นสัดส่วนของหุ้นรวมกันประมาณ 23.0-24.5% ของพอร์ต ทั้งนี้เมื่อรวมกับการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจะคิดเป็นสัดส่วนรวมกันประมาณ 30.0% ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมที่กบข.คิดว่าจะสามารถสร้างผลตอบแทนเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อได้ เพราะ ในอนาคตหากกบข.ออกไปลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์โลก(Global REIT) จะทำให้สัดส่วนตรงนี้รวมกันเพิ่มขึ้นเป็น 35.0% ของพอร์ต ซึ่งมั่นใจว่าเพียงพอที่จะสร้างผลตอบแทนเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อให้กับสมาชิกได้อย่างแน่นอน
ก่อนหน้านี้ กบข.ตั้งเป้า ภายใน 3 เดือนนี้ จะเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในต่างประเทศเป็น 20% จากสัดส่วนการลงทุนในปัจจุบัน 15% หรือประมาณ 5.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนดังกล่าว จะทำให้ กบข.มีพอร์ตการลงทุนต่างประเทศรวมเป็น 7 หมื่นล้านบาท
โดยในช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา กบข.ได้โอนเงินบางส่วนไปลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นในต่างประเทศบ้างแล้ว เพื่อรอจังหวะการลงทุนในตลาดหุ้น การลงทุนใน Private Equity (การลงทุนทางเลือก) และการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลกในอีก 3 เดือนข้างหน้า โดยตราสารหนี้ดังกล่าวเป็นพันธบัตรต่างประเทศระยะสั้นอายุเฉลี่ยตั้งแต่ 1-3 เดือน ซึ่งรวมถึงการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ที่ให้ผลตอบแทนสูงในขณะนี้ด้วย
ส่วนสาเหตุที่ กบข. ต้องรอจังหวะอีก 3 เดือนก่อนเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในต่างประเทศเป็น 20% เนื่องจากภาวะการลงทุนทั่วโลกในขณะนี้ ยังผันผวนอยู่อย่างต่อเนื่องจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ในสหรัฐฯ โดยเฉพาะตลาดหุ้นทั่วโลก ซึ่งกบข. จะเพิ่มน้ำหนักการลงทุนเป็น 12-13% จาก 10% ในปัจจุบัน ส่วนที่เหลือจะเป็นการลงทุนใน Private Equity และการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก
ขณะที่เพดานการลงทุนในต่างประเทศของกบข. ปัจจุบันอยู่ที่ 25% ซึ่งภายในปีนี้ คาดว่าจะสามารถลงทุนได้เพิ่มขึ้นเป็น 22.5-23% ซึ่งสัดส่วนการลงทุนดังกล่าวเป็นการลงทุนเต็มที่ของกบข. เนื่องจากต้องช่องว่างเพื่อให้สัดส่วนการถือครองหุ้นสามารถเคลื่อนไหวได้