ผู้บริหารกรมบังคับคดีเดินหน้าผลักดันทรัพย์ ตั้งเป้าปีงบประมาณ 51 กว่า 1.1 แสนล้านบาท จากทรัพย์ทั้งหมดกว่า 2 แสนล้านบาท ยอมรับทรัพย์ที่มีศักยภาพ-ราคาแพงเหลือน้อย แถมเจ้าของคัดค้านขายทรัพย์ ผู้ซื้ออาศัยช่องว่างหาเงินกู้ เร่ขายทรัพย์ หวังได้ราคา
นางลางน้อย ปาลวัฒน์วิไชย รองอธิบดีกรมบังคับคดี (ฝ่ายบริหาร) เปิดเผยถึงผลการผลักดันทรัพย์ของกรมในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ต.ค.50- ก.พ.51) ว่า ทางกรมฯมีการบังคับคดี ยึดทรัพย์ และดำเนินการขายทอดตลาด รวมแล้วมีทรัพย์ไหลเข้ามาเพิ่มจำนวน 1.6 แสนล้านบาท และเมื่อรวมกับทรัพย์คงเหลือยกยอดมาจากสิ้นปีงบประมาณ 50 (ต.ค.49-ก.ย.50) จำนวน 4 หมื่นล้านบาท ทำให้ในขณะนี้ กรมบังคับคดีมีภาระในการดูแลทรัพย์ทั้งหมดกว่า 2 แสนล้านบาท
โดยในปีงบประมาณ 51 ทางกรมฯได้ตั้งเป้าหมายในการผลักดันทรัพย์ออกไปให้ได้ 1.1 แสนล้านบาท ทำให้คงเหลือทรัพย์คงค้างในกรมบังคับคดีที่จะยกยอดไปสมทบในปีงบประมาณ 2552 (ก.ย.51- ต.ค.52) ประมาณ 8-9 หมื่นล้านบาท
รองอธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวว่าเป้าหมายผลักดันทรัพย์ 1.1 แสนล้านบาท จะมาจากการขายทรัพย์จากส่วนกลาง 4.6 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 31% ของเป้าหมายรวม ส่วนที่เหลืออีก 6 หมื่นกว่าล้านบาท จะมาจากยอดขายทรัพย์ในต่างจังหวัด โดยในส่วนของยอดการขายทรัพย์ที่มีสัดส่วนมากที่สุด ยังเป็นการขายทรัพย์จากส่วนกลาง รองลงมา จะเป็นยอดการขายทรัพย์จากสำนักงานวางทรัพย์และบังคับคดีภาค 5 ซึ่งประกอบด้วย จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน โดยคาดว่าจะมียอดขายรวมประมาณ 7.7 พันล้านบาท จากจำนวนทรัพย์ที่มีอยู่ทั้งสิน 1.72 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ในรอบปีงบประมาณ 2550 กรมบังคับคดีสามารถผลักดันทรัพย์ออกไปได้ 1.65 แสนล้านบาท จากเป้าที่วางไว้ 1.6 แสนล้านบาท โดยสาเหตุที่ในปีงบประมาณ 51 กรมบังคับคดีลดเป้าการผลักดันทรัพย์ในมือลงมาเหลือ 1.1 แสนล้านบาทนั้น เนื่องจากในปีนี้ ทรัพย์ที่มีศักยภาพและราคาแพงมีจำนวนน้อยกว่าปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ทรัพย์ที่มีอยู่ส่วนมากเป็นทรัพย์เดิมที่ขายไม่ได้และถูกยกมารวมกับยอดทรัพย์ในปีงบประมาณนี้
สำหรับปัญหาที่ทำให้ยอดการผลักดันทรัพย์ไม่เป็นไปตามแผนนั้น นางลางน้อย กล่าวว่า เกิดจากการร้องขัดค้านทรัพย์ ทำให้เจ้าพนักงานต้องชะลอการขายทรัพย์ออกไป ซึ่งเป็นการประวิงเวลาของเจ้าของทรัพย์เดิม นอกจากนี้ เจ้าของทรัพย์เดิมยังมีการประวิงเวลา ด้วยการยอมเสียเงินประกัน หรือวงเงินค้ำประกันทรัพย์ในการประมูล โดยผู้ประมูลเสนอราคาซื้อและขอยืดระยะเวลาดำเนินการด้านการเงิน ซึ่งทางกรมฯอนุมัติระยะเวลาให้ดำเนินการเป็นเวลา 105 วัน
" ส่วนมากผู้ประมูลจะยอมเสียเงินค้ำประกัน และยอมนำทรัพย์ไปเร่ขายเอง ซึ่งหากไม่สามารถขายได้ตามกำหนดดังกล่าว ผู้ประมูลก็ยินยอมให้มีการยึดทรัพย์และเงินค้ำประกัน ส่งผลให้กรมฯต้องใช้เวลาในการผลักดันทรัพย์นานมากขึ้น ไม่เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ สถาบันการเงิน เป็นต้น "
นางลางน้อย ปาลวัฒน์วิไชย รองอธิบดีกรมบังคับคดี (ฝ่ายบริหาร) เปิดเผยถึงผลการผลักดันทรัพย์ของกรมในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ต.ค.50- ก.พ.51) ว่า ทางกรมฯมีการบังคับคดี ยึดทรัพย์ และดำเนินการขายทอดตลาด รวมแล้วมีทรัพย์ไหลเข้ามาเพิ่มจำนวน 1.6 แสนล้านบาท และเมื่อรวมกับทรัพย์คงเหลือยกยอดมาจากสิ้นปีงบประมาณ 50 (ต.ค.49-ก.ย.50) จำนวน 4 หมื่นล้านบาท ทำให้ในขณะนี้ กรมบังคับคดีมีภาระในการดูแลทรัพย์ทั้งหมดกว่า 2 แสนล้านบาท
โดยในปีงบประมาณ 51 ทางกรมฯได้ตั้งเป้าหมายในการผลักดันทรัพย์ออกไปให้ได้ 1.1 แสนล้านบาท ทำให้คงเหลือทรัพย์คงค้างในกรมบังคับคดีที่จะยกยอดไปสมทบในปีงบประมาณ 2552 (ก.ย.51- ต.ค.52) ประมาณ 8-9 หมื่นล้านบาท
รองอธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวว่าเป้าหมายผลักดันทรัพย์ 1.1 แสนล้านบาท จะมาจากการขายทรัพย์จากส่วนกลาง 4.6 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 31% ของเป้าหมายรวม ส่วนที่เหลืออีก 6 หมื่นกว่าล้านบาท จะมาจากยอดขายทรัพย์ในต่างจังหวัด โดยในส่วนของยอดการขายทรัพย์ที่มีสัดส่วนมากที่สุด ยังเป็นการขายทรัพย์จากส่วนกลาง รองลงมา จะเป็นยอดการขายทรัพย์จากสำนักงานวางทรัพย์และบังคับคดีภาค 5 ซึ่งประกอบด้วย จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน โดยคาดว่าจะมียอดขายรวมประมาณ 7.7 พันล้านบาท จากจำนวนทรัพย์ที่มีอยู่ทั้งสิน 1.72 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ในรอบปีงบประมาณ 2550 กรมบังคับคดีสามารถผลักดันทรัพย์ออกไปได้ 1.65 แสนล้านบาท จากเป้าที่วางไว้ 1.6 แสนล้านบาท โดยสาเหตุที่ในปีงบประมาณ 51 กรมบังคับคดีลดเป้าการผลักดันทรัพย์ในมือลงมาเหลือ 1.1 แสนล้านบาทนั้น เนื่องจากในปีนี้ ทรัพย์ที่มีศักยภาพและราคาแพงมีจำนวนน้อยกว่าปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ทรัพย์ที่มีอยู่ส่วนมากเป็นทรัพย์เดิมที่ขายไม่ได้และถูกยกมารวมกับยอดทรัพย์ในปีงบประมาณนี้
สำหรับปัญหาที่ทำให้ยอดการผลักดันทรัพย์ไม่เป็นไปตามแผนนั้น นางลางน้อย กล่าวว่า เกิดจากการร้องขัดค้านทรัพย์ ทำให้เจ้าพนักงานต้องชะลอการขายทรัพย์ออกไป ซึ่งเป็นการประวิงเวลาของเจ้าของทรัพย์เดิม นอกจากนี้ เจ้าของทรัพย์เดิมยังมีการประวิงเวลา ด้วยการยอมเสียเงินประกัน หรือวงเงินค้ำประกันทรัพย์ในการประมูล โดยผู้ประมูลเสนอราคาซื้อและขอยืดระยะเวลาดำเนินการด้านการเงิน ซึ่งทางกรมฯอนุมัติระยะเวลาให้ดำเนินการเป็นเวลา 105 วัน
" ส่วนมากผู้ประมูลจะยอมเสียเงินค้ำประกัน และยอมนำทรัพย์ไปเร่ขายเอง ซึ่งหากไม่สามารถขายได้ตามกำหนดดังกล่าว ผู้ประมูลก็ยินยอมให้มีการยึดทรัพย์และเงินค้ำประกัน ส่งผลให้กรมฯต้องใช้เวลาในการผลักดันทรัพย์นานมากขึ้น ไม่เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ สถาบันการเงิน เป็นต้น "