ผู้จัดการรายวัน - "สุเทพ"งัด ม.1330 กม.แพ่งตบหน้า "เป็ดเหลิม" ยันมีสิทธิ์ถูกต้องในที่ดิน"ศรีสุบรรณฟาร์ม" ยื่นที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาตั้งผู้ไต่สวนอิสระเอาผิดฐาน "ลุแก่อำนาจ" และสอบพฤติกรรมถอดถอนพ้นจากเก้าอี้ มท.1 เตรียมรวบรวมหลักฐานยื่นคัดค้านคำสั่งกรมที่ดิน ขู่หากเพิกเฉยเจอฟ้องศาลปกครอง ด้าน"บุญเชิด" เจอข้อหาหลับหูหลับตาสนองตัณหานักการเมือง ด้าน "เหลิม" แฉข้อมูลใหม่อีกมีนักการเมืองโอนที่ดินเกาะสมุยให้ลูก-เมียนอกสมรส
วานนี้ (29 เม.ย.) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้ถือหุ้นในบริษัท ศรีสุบรรณฟาร์ม จำกัด แถลงว่า ตนจะทำการยื่นหนังสือคัดค้านคำสั่งกรมที่ดินที่สั่งเพิกถอน นส.3 ก.ที่ดินจำนวน 59 แปลง เนื้อที่ 1,338 ไร่ ของบริษัทศรีสุบรรณฟาร์มฯ และฟ้องคดีแพ่งและอาญา นายบุญเชิด คิดเห็น รักษาการอธิบดีกรมที่ดิน รวมทั้งฟ้องต่อศาลฏีกาเพื่อให้ไต่สวนพฤติกรรมของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย เนื่องจากมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
นายสุเทพ ยืนยันว่า บริษัทดังกล่าวได้ซื้อที่ดินมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลเมื่อวันที่ 14 ก.ค.47 ในราคา 33 ล้านบาท และได้จดทะเบียนรับโอนถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีที่ดิน 81 แปลง เนื้อที่ 2,020 ไร่ โดยบริษัทได้ชำระค่าที่ดินให้แก่กรมบังคับคดี และรับโอนกรรมสิทธิ์โดยถูกต้อง เมื่อวันที่ 27 ต.ค.47 และต่อมาได้จดทะเบียนจำนองกับ ธ.กรุงไทย ซึ่งการออกเอกสารสิทธิ นส 3 ก.ที่ดินทั้งหมด บริษัทไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะมีการออกเอกสารสิทธิก่อนที่บริษัทจะเข้ามาซื้อประมาณ 20 ปี
ดังนั้น การได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวบริษัทได้สิทธิคุ้มครองตาม มาตรา 1330 ของกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และเมื่อบริษัทได้สิทธิ์ในที่ดินได้มีผู้บุกรุก 70 ราย โดยบริษัทได้ดำเนินคดี ซึ่งมี 30 ราย ที่ยอมความ 27 รายถูกศาลพิพากษาว่าไม่มีสิทธิ์ในที่ดินและอีก 10 รายอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล
นายสุเทพ กล่าวต่อว่า ได้มีความพยายามที่จะเพิกถอนสิทธิที่ดินดังกล่าวในสมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ครองอำนาจ โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ทำหนังสือไปถึงกรมที่ดิน ให้ทำการเพิกถอนสิทธิ์ แต่กรมที่ดินได้ตอบกลับมาว่าไม่สามารถเพิกถอนได้เพราะการออกเอกสารสิทธิ์นั้นถูกต้อง
นอกจากนี้ ศาลชั้นต้นของจังหวัดสุราษฏร์ธานี ยังได้มีคำพิพากษามาแล้วว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินสาธารณะประโยชน์ บริษัทได้มาจากการขายทอดตลาด จากคำสั่งของศาล จึงได้สิทธิ์คุ้มครองจึงไม่มีเหตุให้เพิกถอน แต่วันนี้กรมที่ดินกลับเปลี่ยนจุดยืนเพิกถอนที่ดินตามคำสั่งของนักการเมือง ดังนั้น ในสัปดาห์หน้า บริษัทจะไปยื่นหนังสือคัดค้านต่อกรมที่ดิน ในคำสั่งเพิกถอนดังกล่าว และหากกรมที่ดินยังเพิกเฉยก็จะดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลปกครองต่อไป อีกทั้งจะฟ้องดำเนินคดีทั้งแพ่ง และอาญากับนายบุญเชิด เพื่อให้ได้สังวรว่าการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่าไปรับใช้นักการเมืองแบบไม่ลืมหูลืมตา
นายสุเทพ กล่าวอีกว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ตนได้ทำหลักฐานไปยื่นฟ้องต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฏีกา เพื่อให้ตั้งคณะกรรมาการขึ้นมาไต่สวนพฤติกรรมของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 275 และมาตรา 276 ฐานสั่งการให้ดำเนินการโดยลุแก่อำนาจ ให้เล่นงานพวกตน ถือเป็นการกระทำโดยมิชอบ และหากพบว่า ร.ต.อ.เฉลิม ผิด จะต้องถูกให้พ้นจากตำแหน่ง ซึ่งเป็นถือเป็นรายแรกที่ถูกฟ้องในลักษณะนี้ ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ
แหล่งข่าวจากศาลฎีกา เผยถึงกรณีนายสุเทพ ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาให้แต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 276 เพื่อตรวจสอบพฤติกรรม ร.ต.อ.เฉลิม ที่ถูกกล่าวหาว่าลุแก่อำนาจกรณีที่สั่งการให้นายบุญเชิด คิดเห็น ตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิที่ดินบริษัท ศรีสุบรรณฟาร์มฯว่า นายสุเทพ ได้ยื่นคำร้องต่อแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกาเมื่อวันที่ 25 เม.ย.และยื่นแก้ไขคำร้องอีกครั้งเมื่อวันที่ 28 เม.ย.ที่ผ่านมา
โดยคำร้อง นายสุเทพ ขอให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาดำเนินการแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระเพื่อวินิจฉัยที่นายสุเทพ ในฐานะผู้เสียหายกล่าวหาว่า รมว.มหาดไทย กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ซึ่งขณะนี้แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ส่งคำร้องไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาแล้ว โดยหลังจากนี้นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกาจะพิจารณาคำร้องว่าเข้าเงื่อนไขและมีเหตุผลเพียงพอให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาจะต้องดำเนินการตามมาตรา 276 หรือไม่ที่จะแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระ โดยการพิจารณาคำร้องประธานศาลฎีกา อาจมอบหมายให้คณะผู้พิพากษาศาลฎีกา คณะหนึ่งเป็นผู้พิจารณา หรืออาจแต่งตั้งผู้พิพากษา 5-6 คนเป็นคณะพิจารณาคำร้องแล้วทำความเห็นเสนอต่อประธานศาลฎีกาก็ได้ หากเห็นว่าคำร้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
จากนั้นประธานศาลฎีกาจึงจะมีคำสั่งให้ที่ประชุมใหญ่มีมติแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระ ซึ่งมีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ หรือจะส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนตา มาตรา 250 (2) แทนการแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระก็ได้ โดยจำนวนผู้ไต่สวนอิสระ จะมีจำนวนกี่คนจะเป็นผู้พิพากษาทั้งหมด หรือจะมาจากส่วนใดบ้างนั้นต้องให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาจะต้องพิจารณาอีกครั้ง
"แต่หากพิจารณาคำร้องในเบื้องต้นแล้วเห็นว่า ยังไม่เข้าเงื่อนไขและเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาอาจจะมีคำสั่งยกคำร้องก็ได้ ซึ่งขณะนี้กระบวนการยังต้องรอให้มีการตรวจสอบคำร้องเสียก่อนที่ยังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง โดยยังไม่มีคำสั่งใดๆ จากประธานศาลฎีกาที่จะนัดประชุมใหญ่เพื่อพิจารณาเรื่องนี้แต่อย่างใด" แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ คำร้องที่ยื่นถือเป็นครั้งแรกที่มีการอ้างถึงบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 275 และ 276 เพื่อร้องขอให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาดำเนินการแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระ ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐมนตรีหลังจากที่รัฐธรรมนูญปี 50 ได้มีการบังคับใช้ ซึ่งหากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีคำสั่งแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระแล้วรัฐมนตรีผู้นั้นต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ ต้องตรวจดูกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง
ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม ตอบโต้กรณีผลสอบการบุกรุกป่าสงวนที่ดินของบริษัทศรีสุบรรณฟาร์มฯโดยพรรคประชาธิปัตย์มองว่าเป็นประเด็นทางการเมืองว่า ไม่จริง ทุกอย่างทำตามกฎหมาย ที่นายสุเทพ พูดว่าทำไมเรื่องรวดเร็วนัก ขอเรียนว่า เรื่องนี้ได้มีการร้องเรียนไปยังสำนักพระราชวัง และได้ส่งเรื่องมายัง กรมดีเอสไอ สอบสวนแล้วเสร็จเมื่อปี 50 ส่งเรื่องไปยังกรมที่ดินให้เพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดินแปลงดังกล่าว กรมที่ดินเพิกเฉยจนมีการร้องเรียนมายังตน ซึ่งได้สั่งการ 3 เรื่องคือ ให้ยึดหลักกฎหมายเป็นที่ตั้ง ไม่กลั่นแกล้งใคร
" ที่สุราษฎร์ธานียังมีอีก เขาโทรมาหาผมบอกว่าวันอังคารจะมาพบ เกาะสมุยก็มีเอาที่ดินไปใส่ชื่อลูกเมียที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ถ้าตรวจสอบไม่ผิดก็จบ แต่ผมไม่ขอเปิดเผยรายชื่อคนที่มีการโอนที่ดินบนเกาะสมุยให้ลูกเมีย ไม่บอกลึกกว่านี้ใครก็ตามที่ทำผิดไว้หลับไม่สนิทหรอก ต้องกินยานอนหลับ ไม่บอกว่าอยู่ไหน ใส่ชื่อเมียที่ไม่จดทะเบียน"
น.ส.กัญญานุช สอทิพย์ อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวถึงกรณีกรมที่ดินมีมติให้เพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดิน ของบริษัทศรีสุบรรณฟาร์มฯว่า การขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี เป็นการดำเนินการตามหมายบังคับของศาล ซึ่งมีคำสั่งบังคับทรัพย์จำนองที่ดินทั้ง 81 แปลง ขั้นตอนการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดีจึงถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งกรมบังคับคดีจะไม่ปฏิเสธความรับผิดชอบ เมื่อปรากฏหลักฐานว่าอาจมีการได้มาซึ่งเอกสารสิทธิโดยไม่ถูกต้องก็ต้องไปหารือกับกรมที่ดินว่ามีปัญหาอย่างไร โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันตรวจสอบว่า ใครมีส่วนต้องรับผิดชอบกับกรณีความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
วานนี้ (29 เม.ย.) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้ถือหุ้นในบริษัท ศรีสุบรรณฟาร์ม จำกัด แถลงว่า ตนจะทำการยื่นหนังสือคัดค้านคำสั่งกรมที่ดินที่สั่งเพิกถอน นส.3 ก.ที่ดินจำนวน 59 แปลง เนื้อที่ 1,338 ไร่ ของบริษัทศรีสุบรรณฟาร์มฯ และฟ้องคดีแพ่งและอาญา นายบุญเชิด คิดเห็น รักษาการอธิบดีกรมที่ดิน รวมทั้งฟ้องต่อศาลฏีกาเพื่อให้ไต่สวนพฤติกรรมของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย เนื่องจากมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
นายสุเทพ ยืนยันว่า บริษัทดังกล่าวได้ซื้อที่ดินมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลเมื่อวันที่ 14 ก.ค.47 ในราคา 33 ล้านบาท และได้จดทะเบียนรับโอนถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีที่ดิน 81 แปลง เนื้อที่ 2,020 ไร่ โดยบริษัทได้ชำระค่าที่ดินให้แก่กรมบังคับคดี และรับโอนกรรมสิทธิ์โดยถูกต้อง เมื่อวันที่ 27 ต.ค.47 และต่อมาได้จดทะเบียนจำนองกับ ธ.กรุงไทย ซึ่งการออกเอกสารสิทธิ นส 3 ก.ที่ดินทั้งหมด บริษัทไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะมีการออกเอกสารสิทธิก่อนที่บริษัทจะเข้ามาซื้อประมาณ 20 ปี
ดังนั้น การได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวบริษัทได้สิทธิคุ้มครองตาม มาตรา 1330 ของกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และเมื่อบริษัทได้สิทธิ์ในที่ดินได้มีผู้บุกรุก 70 ราย โดยบริษัทได้ดำเนินคดี ซึ่งมี 30 ราย ที่ยอมความ 27 รายถูกศาลพิพากษาว่าไม่มีสิทธิ์ในที่ดินและอีก 10 รายอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล
นายสุเทพ กล่าวต่อว่า ได้มีความพยายามที่จะเพิกถอนสิทธิที่ดินดังกล่าวในสมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ครองอำนาจ โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ทำหนังสือไปถึงกรมที่ดิน ให้ทำการเพิกถอนสิทธิ์ แต่กรมที่ดินได้ตอบกลับมาว่าไม่สามารถเพิกถอนได้เพราะการออกเอกสารสิทธิ์นั้นถูกต้อง
นอกจากนี้ ศาลชั้นต้นของจังหวัดสุราษฏร์ธานี ยังได้มีคำพิพากษามาแล้วว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินสาธารณะประโยชน์ บริษัทได้มาจากการขายทอดตลาด จากคำสั่งของศาล จึงได้สิทธิ์คุ้มครองจึงไม่มีเหตุให้เพิกถอน แต่วันนี้กรมที่ดินกลับเปลี่ยนจุดยืนเพิกถอนที่ดินตามคำสั่งของนักการเมือง ดังนั้น ในสัปดาห์หน้า บริษัทจะไปยื่นหนังสือคัดค้านต่อกรมที่ดิน ในคำสั่งเพิกถอนดังกล่าว และหากกรมที่ดินยังเพิกเฉยก็จะดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลปกครองต่อไป อีกทั้งจะฟ้องดำเนินคดีทั้งแพ่ง และอาญากับนายบุญเชิด เพื่อให้ได้สังวรว่าการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่าไปรับใช้นักการเมืองแบบไม่ลืมหูลืมตา
นายสุเทพ กล่าวอีกว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ตนได้ทำหลักฐานไปยื่นฟ้องต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฏีกา เพื่อให้ตั้งคณะกรรมาการขึ้นมาไต่สวนพฤติกรรมของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 275 และมาตรา 276 ฐานสั่งการให้ดำเนินการโดยลุแก่อำนาจ ให้เล่นงานพวกตน ถือเป็นการกระทำโดยมิชอบ และหากพบว่า ร.ต.อ.เฉลิม ผิด จะต้องถูกให้พ้นจากตำแหน่ง ซึ่งเป็นถือเป็นรายแรกที่ถูกฟ้องในลักษณะนี้ ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ
แหล่งข่าวจากศาลฎีกา เผยถึงกรณีนายสุเทพ ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาให้แต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 276 เพื่อตรวจสอบพฤติกรรม ร.ต.อ.เฉลิม ที่ถูกกล่าวหาว่าลุแก่อำนาจกรณีที่สั่งการให้นายบุญเชิด คิดเห็น ตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิที่ดินบริษัท ศรีสุบรรณฟาร์มฯว่า นายสุเทพ ได้ยื่นคำร้องต่อแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกาเมื่อวันที่ 25 เม.ย.และยื่นแก้ไขคำร้องอีกครั้งเมื่อวันที่ 28 เม.ย.ที่ผ่านมา
โดยคำร้อง นายสุเทพ ขอให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาดำเนินการแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระเพื่อวินิจฉัยที่นายสุเทพ ในฐานะผู้เสียหายกล่าวหาว่า รมว.มหาดไทย กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ซึ่งขณะนี้แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ส่งคำร้องไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาแล้ว โดยหลังจากนี้นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกาจะพิจารณาคำร้องว่าเข้าเงื่อนไขและมีเหตุผลเพียงพอให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาจะต้องดำเนินการตามมาตรา 276 หรือไม่ที่จะแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระ โดยการพิจารณาคำร้องประธานศาลฎีกา อาจมอบหมายให้คณะผู้พิพากษาศาลฎีกา คณะหนึ่งเป็นผู้พิจารณา หรืออาจแต่งตั้งผู้พิพากษา 5-6 คนเป็นคณะพิจารณาคำร้องแล้วทำความเห็นเสนอต่อประธานศาลฎีกาก็ได้ หากเห็นว่าคำร้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
จากนั้นประธานศาลฎีกาจึงจะมีคำสั่งให้ที่ประชุมใหญ่มีมติแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระ ซึ่งมีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ หรือจะส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนตา มาตรา 250 (2) แทนการแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระก็ได้ โดยจำนวนผู้ไต่สวนอิสระ จะมีจำนวนกี่คนจะเป็นผู้พิพากษาทั้งหมด หรือจะมาจากส่วนใดบ้างนั้นต้องให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาจะต้องพิจารณาอีกครั้ง
"แต่หากพิจารณาคำร้องในเบื้องต้นแล้วเห็นว่า ยังไม่เข้าเงื่อนไขและเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาอาจจะมีคำสั่งยกคำร้องก็ได้ ซึ่งขณะนี้กระบวนการยังต้องรอให้มีการตรวจสอบคำร้องเสียก่อนที่ยังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง โดยยังไม่มีคำสั่งใดๆ จากประธานศาลฎีกาที่จะนัดประชุมใหญ่เพื่อพิจารณาเรื่องนี้แต่อย่างใด" แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ คำร้องที่ยื่นถือเป็นครั้งแรกที่มีการอ้างถึงบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 275 และ 276 เพื่อร้องขอให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาดำเนินการแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระ ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐมนตรีหลังจากที่รัฐธรรมนูญปี 50 ได้มีการบังคับใช้ ซึ่งหากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีคำสั่งแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระแล้วรัฐมนตรีผู้นั้นต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ ต้องตรวจดูกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง
ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม ตอบโต้กรณีผลสอบการบุกรุกป่าสงวนที่ดินของบริษัทศรีสุบรรณฟาร์มฯโดยพรรคประชาธิปัตย์มองว่าเป็นประเด็นทางการเมืองว่า ไม่จริง ทุกอย่างทำตามกฎหมาย ที่นายสุเทพ พูดว่าทำไมเรื่องรวดเร็วนัก ขอเรียนว่า เรื่องนี้ได้มีการร้องเรียนไปยังสำนักพระราชวัง และได้ส่งเรื่องมายัง กรมดีเอสไอ สอบสวนแล้วเสร็จเมื่อปี 50 ส่งเรื่องไปยังกรมที่ดินให้เพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดินแปลงดังกล่าว กรมที่ดินเพิกเฉยจนมีการร้องเรียนมายังตน ซึ่งได้สั่งการ 3 เรื่องคือ ให้ยึดหลักกฎหมายเป็นที่ตั้ง ไม่กลั่นแกล้งใคร
" ที่สุราษฎร์ธานียังมีอีก เขาโทรมาหาผมบอกว่าวันอังคารจะมาพบ เกาะสมุยก็มีเอาที่ดินไปใส่ชื่อลูกเมียที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ถ้าตรวจสอบไม่ผิดก็จบ แต่ผมไม่ขอเปิดเผยรายชื่อคนที่มีการโอนที่ดินบนเกาะสมุยให้ลูกเมีย ไม่บอกลึกกว่านี้ใครก็ตามที่ทำผิดไว้หลับไม่สนิทหรอก ต้องกินยานอนหลับ ไม่บอกว่าอยู่ไหน ใส่ชื่อเมียที่ไม่จดทะเบียน"
น.ส.กัญญานุช สอทิพย์ อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวถึงกรณีกรมที่ดินมีมติให้เพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดิน ของบริษัทศรีสุบรรณฟาร์มฯว่า การขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี เป็นการดำเนินการตามหมายบังคับของศาล ซึ่งมีคำสั่งบังคับทรัพย์จำนองที่ดินทั้ง 81 แปลง ขั้นตอนการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดีจึงถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งกรมบังคับคดีจะไม่ปฏิเสธความรับผิดชอบ เมื่อปรากฏหลักฐานว่าอาจมีการได้มาซึ่งเอกสารสิทธิโดยไม่ถูกต้องก็ต้องไปหารือกับกรมที่ดินว่ามีปัญหาอย่างไร โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันตรวจสอบว่า ใครมีส่วนต้องรับผิดชอบกับกรณีความผิดพลาดที่เกิดขึ้น