"ประดิษฐ์" ยืดอกสางปัญหาผู้นำเข้าเหล็กซิลิคอนที่ทำแจ้งเสียภาษีไม่ถูกต้อง ครวญค่าปรับ-สินบนนำจับสูง แถมคาราคาซังมานาน
กรณีผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าเหล็กซิลิคอนที่กระทำความผิดในการแจ้งเสียภาษีไม่ถูกต้อง โดยคาดว่าจะมีเม็ดเงินภาษีค้างจ่ายประมาณ 3 พันล้าน และสินบนนำจับกว่า 1.6 พันล้านบาท นั้น นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง เปิดเผยถึงแนวทางแก้ปัญหาว่า จะสะสางให้เสร็จสิ้นให้ได้โดยเร็ว โดยแนวทางในการจัดการปัญหานั้นจะเน้นที่ความถูกต้องตามกฏหมาย และจะต้องให้ความยุติธรรมต่อผู้ประกอบการทุกรายด้วย เรื่องนี้เป็นเรื่องเก่าที่มีปัญหาคาราซังกันมานาน เรื่องไปถึงกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และก็กลับมาที่กรมศุลกากรอีกครั้ง
"ผมมองว่าเป็นปัญหาที่ค่อนข้างร้อน เพราะค่าปรับมาก และ ค่าสินบนนำจับก็มาก แต่ก็ต้องแก้ใขให้มันจบ และต้องยุติธรรมและเป็นมาตรฐานเดียวกับที่ทำกับผู้ประกอบการรายอื่นที่เขายอมจ่ายมาแล้ว 2 รายก่อนหน้านี้" นายประดิษฐ์กล่าว
คดีดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจาก กรมศุลกากรได้ประกาศระเบียบการจัดเก็บภาษีเหล็กซิลิคอนใหม่ในวันที่ 1 มี.ค.2546 โดยจัดเก็บในอัตรา 12% และอัตรา 1%สำหรับเหล็กที่มีส่วนผสมของซิลิคอนต่ำกว่าและสูงกว่า 0.6% ตามลำดับ และหลังจากนั้นได้มีสายแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรเข้าตรวจค้นและแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรเข้าตรวจค้นและแจ้งข้อกล่าวหาต่อผู้ประกอบการนำเข้าเหล็กซิลิคอนว่ามีการสำแดงภาษีนำเข้าเป็นเท็จ เป็นเหตุให้ค่าภาษีอากรที่ชำระไว้ไม่ครบถ้วนและยึดเอกสารไปจากบริษัทผู้นำเข้าเหล็กซิลิคอนเบื้องต้นจำนวน 9 บริษัท แต่ต่อมาเมื่อดีเอสไอดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ก็มีผู้ประกอบการ 2 รายยอมเสียภาษี
แหล่งข่าวจากรมศุลกากรกล่าวว่า บริษัทเอกชนที่นำเข้าเหล็กซิลิคอนและสำแดงภาษีแตกต่างจากพิกัดมี 7 ราย ประกอบด้วย บริษัท พอสไทย สตีล เซอร์วิส เซ็นเตอร์, บริษัท สยามคอมเพรสเซอร์อุตสาหกรรม, บริษัท พานาโซนิค อีโคโลจี ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย), บริษัท ศูนย์บริการเหล็กสยาม, บริษัท ยูไนเต็ดคอยล์เซ็นเตอร์, บริษัท ไทยซูมิล็อคซ์ และบริษัท บางกอกแปซิฟิค สตีล
ทั้งนี้ กรมศุลกากรเรียกเก็บภาษีย้อนหลังเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 3 พันล้านบาท และมีค่าสินบนนำจับอยู่เกือบ 1.5 พันล้านบาท โดยผู้ที่จะได้รับสินบนดังกล่าว คือ นายชวลิต เศรษฐเมธีกุล อดีตอธิบดีกรมศุลกากร และทีมงานของศุลกากรร่วมกันจับกุมในเวลานั้น โดยที่ผ่านมาดีเอสไอได้เป็นเป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบคดีดังกล่าว โดยเมื่อเดือน ก.พ.ปีที่แล้ว ดีเอสไอมีหนังสือแจ้งยังกรมศุลากร โดยระบุว่าดีเอสไอได้สรุปสำนวนเพื่อดำเนินการฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าเหล็กซิลิคอน 6 ราย จาก 7 รายที่กระทำความผิดในการแจ้งเสียภาษีไม่ถูกต้อง
ความผิดที่ทางดีเอสไอระบุ คือ ผู้ประกอบการทั้ง 7 รายได้กระทำความผิดในการแจ้งรายการสินค้านำเข้าที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง กล่าวคือ แจ้งในรายการสินค้าว่ามีสัดส่วนของซิลิคอนในเหล็กเกินกว่า 0.6% ซึ่งตามกฎหมายจะเสียภาษีในอัตราที่ต่ำเพียง 1% ของมูลค่าสินค้า ขณะที่สินค้าเหล็กที่มีส่วนผสมของซิลิคอนต่ำกว่า 0.6% จะเสียภาษีนำเข้าในอัตรา 5-12% ของมูลค่าสินค้า
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการ 6 รายนั้น ทางดีเอสไอจะฟ้องร้องดำเนินคดีทั้งทางแฟงและอาญา ส่วน 1 รายที่เหลือ ได้ยอมความที่จะเสียภาษีให้ถูกต้องกับกรมศุลกากรแล้วแต่ล่าสุดผู้ประกอบการที่กระทำความผิด 6 ราย ได้ขอยอมความ โดยจะเสียภาษีให้ถูกต้อง
กรณีผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าเหล็กซิลิคอนที่กระทำความผิดในการแจ้งเสียภาษีไม่ถูกต้อง โดยคาดว่าจะมีเม็ดเงินภาษีค้างจ่ายประมาณ 3 พันล้าน และสินบนนำจับกว่า 1.6 พันล้านบาท นั้น นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง เปิดเผยถึงแนวทางแก้ปัญหาว่า จะสะสางให้เสร็จสิ้นให้ได้โดยเร็ว โดยแนวทางในการจัดการปัญหานั้นจะเน้นที่ความถูกต้องตามกฏหมาย และจะต้องให้ความยุติธรรมต่อผู้ประกอบการทุกรายด้วย เรื่องนี้เป็นเรื่องเก่าที่มีปัญหาคาราซังกันมานาน เรื่องไปถึงกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และก็กลับมาที่กรมศุลกากรอีกครั้ง
"ผมมองว่าเป็นปัญหาที่ค่อนข้างร้อน เพราะค่าปรับมาก และ ค่าสินบนนำจับก็มาก แต่ก็ต้องแก้ใขให้มันจบ และต้องยุติธรรมและเป็นมาตรฐานเดียวกับที่ทำกับผู้ประกอบการรายอื่นที่เขายอมจ่ายมาแล้ว 2 รายก่อนหน้านี้" นายประดิษฐ์กล่าว
คดีดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจาก กรมศุลกากรได้ประกาศระเบียบการจัดเก็บภาษีเหล็กซิลิคอนใหม่ในวันที่ 1 มี.ค.2546 โดยจัดเก็บในอัตรา 12% และอัตรา 1%สำหรับเหล็กที่มีส่วนผสมของซิลิคอนต่ำกว่าและสูงกว่า 0.6% ตามลำดับ และหลังจากนั้นได้มีสายแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรเข้าตรวจค้นและแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรเข้าตรวจค้นและแจ้งข้อกล่าวหาต่อผู้ประกอบการนำเข้าเหล็กซิลิคอนว่ามีการสำแดงภาษีนำเข้าเป็นเท็จ เป็นเหตุให้ค่าภาษีอากรที่ชำระไว้ไม่ครบถ้วนและยึดเอกสารไปจากบริษัทผู้นำเข้าเหล็กซิลิคอนเบื้องต้นจำนวน 9 บริษัท แต่ต่อมาเมื่อดีเอสไอดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ก็มีผู้ประกอบการ 2 รายยอมเสียภาษี
แหล่งข่าวจากรมศุลกากรกล่าวว่า บริษัทเอกชนที่นำเข้าเหล็กซิลิคอนและสำแดงภาษีแตกต่างจากพิกัดมี 7 ราย ประกอบด้วย บริษัท พอสไทย สตีล เซอร์วิส เซ็นเตอร์, บริษัท สยามคอมเพรสเซอร์อุตสาหกรรม, บริษัท พานาโซนิค อีโคโลจี ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย), บริษัท ศูนย์บริการเหล็กสยาม, บริษัท ยูไนเต็ดคอยล์เซ็นเตอร์, บริษัท ไทยซูมิล็อคซ์ และบริษัท บางกอกแปซิฟิค สตีล
ทั้งนี้ กรมศุลกากรเรียกเก็บภาษีย้อนหลังเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 3 พันล้านบาท และมีค่าสินบนนำจับอยู่เกือบ 1.5 พันล้านบาท โดยผู้ที่จะได้รับสินบนดังกล่าว คือ นายชวลิต เศรษฐเมธีกุล อดีตอธิบดีกรมศุลกากร และทีมงานของศุลกากรร่วมกันจับกุมในเวลานั้น โดยที่ผ่านมาดีเอสไอได้เป็นเป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบคดีดังกล่าว โดยเมื่อเดือน ก.พ.ปีที่แล้ว ดีเอสไอมีหนังสือแจ้งยังกรมศุลากร โดยระบุว่าดีเอสไอได้สรุปสำนวนเพื่อดำเนินการฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าเหล็กซิลิคอน 6 ราย จาก 7 รายที่กระทำความผิดในการแจ้งเสียภาษีไม่ถูกต้อง
ความผิดที่ทางดีเอสไอระบุ คือ ผู้ประกอบการทั้ง 7 รายได้กระทำความผิดในการแจ้งรายการสินค้านำเข้าที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง กล่าวคือ แจ้งในรายการสินค้าว่ามีสัดส่วนของซิลิคอนในเหล็กเกินกว่า 0.6% ซึ่งตามกฎหมายจะเสียภาษีในอัตราที่ต่ำเพียง 1% ของมูลค่าสินค้า ขณะที่สินค้าเหล็กที่มีส่วนผสมของซิลิคอนต่ำกว่า 0.6% จะเสียภาษีนำเข้าในอัตรา 5-12% ของมูลค่าสินค้า
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการ 6 รายนั้น ทางดีเอสไอจะฟ้องร้องดำเนินคดีทั้งทางแฟงและอาญา ส่วน 1 รายที่เหลือ ได้ยอมความที่จะเสียภาษีให้ถูกต้องกับกรมศุลกากรแล้วแต่ล่าสุดผู้ประกอบการที่กระทำความผิด 6 ราย ได้ขอยอมความ โดยจะเสียภาษีให้ถูกต้อง