นายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายอู หม่อง มินท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่า ร่วมกันเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกการประชุมเรื่องการพิสูจน์สัญชาติและการนำเข้าแรงงานพม่า ครั้งที่ 7 โดยนายไพฑูรย์ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงความร่วมมือในการแก้ปัญหาและอุปสรรคในการพิสูจน์สัญชาติและนำเข้าแรงงานพม่า ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร โดยล่าสุดมีแรงงานชาวพม่าที่ผ่านพิสูจน์สัญชาติเพียงกว่า 2,000 คน จากที่มาขึ้นทะเบียนทั้งหมดกว่า 1 ล้านคน อุปสรรคสำคัญคือ ยังพบว่ามีการปล่อยข่าวลือว่าหากไปพิสูจน์สัญชาติแล้วแรงงานชาวพม่า หรือญาติพี่น้อง จะถูกจับตัวหรือเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ซึ่งได้รับความยืนยันจากทางการพม่าว่าไม่เป็นความจริง
นายไพฑูรย์ กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการ และแรงงานพม่าหลายคนยังคงรอที่จะให้ทางการไทยลดค่าธรรมเนียมการประทับตราวีซ่า จาก 2,000 บาท เหลือ 500 บาทซึ่งล่าสุดผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว อยู่ในระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติ เชื่อว่าเมื่อลดค่าธรรมเนียมลงจะทำให้แรงงานพม่าไปพิสูจน์สัญชาติมากขึ้น รวมถึงยังมีปัญหาเรื่อง การให้บริษัทเอกชนเป็นคนกลาง พาแรงงานชาวพม่าไปพิสูจน์สัญชาติ ที่ ก.แรงงานจะเข้าไปกำกับดูแล ไม่ให้เสียค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็นเบื้องต้น ควรจะไม่เกิน 4,000 บาทต่อคน
ด้านนายอู หม่อง มินท์ กล่าวว่า เคยชี้แจงและให้คำรับรองสวัสดิภาพและความปลอดภัยของแรงงานชาวพม่าที่จะเดินทางไปพิสูจน์สัญชาติ ณ ประเทศพม่าแล้วหลายครั้ง แต่ยังคงผู้ไม่หวังดีปล่อยข่าวลือ อย่างต่อเนื่อง ขอยืนยันว่าทางการพม่าจะไม่มีการทำร้ายหรือเรียกเอาทรัพย์สินจากชาวพม่า หากผู้ใดพบเห็นสามารถร้องเรียนหรือแจ้งได้ที่สถานเอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทย หรือแจ้งกับคณะกรรมการดูแลและแก้ไขปัญหาแรงงานชาวพม่าในไทย และกระทรวงการต่างประเทศพม่าได้ ส่วนการพิสูจน์สัญชาติซึ่งหลายฝ่ายเกรงว่า อาจทำไม่ทันภายในกำหนด 28 กุมภาพันธ์ปีหน้านั้น จะมีการหารือกับทางการไทยเพื่อขยายเวลาอีกครั้ง เพราะตนก็เชื่อว่าจะไม่สามารถทำได้ทัน
นายไพฑูรย์ กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการ และแรงงานพม่าหลายคนยังคงรอที่จะให้ทางการไทยลดค่าธรรมเนียมการประทับตราวีซ่า จาก 2,000 บาท เหลือ 500 บาทซึ่งล่าสุดผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว อยู่ในระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติ เชื่อว่าเมื่อลดค่าธรรมเนียมลงจะทำให้แรงงานพม่าไปพิสูจน์สัญชาติมากขึ้น รวมถึงยังมีปัญหาเรื่อง การให้บริษัทเอกชนเป็นคนกลาง พาแรงงานชาวพม่าไปพิสูจน์สัญชาติ ที่ ก.แรงงานจะเข้าไปกำกับดูแล ไม่ให้เสียค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็นเบื้องต้น ควรจะไม่เกิน 4,000 บาทต่อคน
ด้านนายอู หม่อง มินท์ กล่าวว่า เคยชี้แจงและให้คำรับรองสวัสดิภาพและความปลอดภัยของแรงงานชาวพม่าที่จะเดินทางไปพิสูจน์สัญชาติ ณ ประเทศพม่าแล้วหลายครั้ง แต่ยังคงผู้ไม่หวังดีปล่อยข่าวลือ อย่างต่อเนื่อง ขอยืนยันว่าทางการพม่าจะไม่มีการทำร้ายหรือเรียกเอาทรัพย์สินจากชาวพม่า หากผู้ใดพบเห็นสามารถร้องเรียนหรือแจ้งได้ที่สถานเอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทย หรือแจ้งกับคณะกรรมการดูแลและแก้ไขปัญหาแรงงานชาวพม่าในไทย และกระทรวงการต่างประเทศพม่าได้ ส่วนการพิสูจน์สัญชาติซึ่งหลายฝ่ายเกรงว่า อาจทำไม่ทันภายในกำหนด 28 กุมภาพันธ์ปีหน้านั้น จะมีการหารือกับทางการไทยเพื่อขยายเวลาอีกครั้ง เพราะตนก็เชื่อว่าจะไม่สามารถทำได้ทัน