DELTA อัดงบลงทุนกว่า 325 ล้านบาท จัดตั้งบริษัทในตุรกีและอินเดีย เพื่อผลิต ประกอบและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ พร้อมลุยเมืองจีนเน้นเพาเวอร์ซิสเต็มสำหรับระบบโทรคมนาคมและเครื่องสำรองไฟฟ้า คาดการลงทุนนี้จะสร้างโอกาสที่ดีมากในการขยายตลาดในประเทศดังกล่าว พร้อมประกาศจ่ายปันผลหุ้นละ 1.60 บาท กำหนดจ่าย 10 เมษายนนี้
นายหวัง หมิง เจิ้ง รองประธานกรรมการ บริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (DELTA) แจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 2/2551 ประชุมเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2551 เกี่ยวกับการลงทุนและจัดตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่ในตุรกี ซึ่งจะจัดตั้งในเดือนมิถุนายน นี้
โดยจะใช้ชื่อบริษัทว่า Delta Greentech Electronics Industry LLC.(ปัจจุบันอยู่ระหว่างขออนุมัติการตั้งชื่อกับทางการ) โดยจะทำการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในประเทศตุรกี เพื่อดำเนินธุรกิจทำการผลิตประกอบและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพาเวอร์ซิสเต็ม และเพื่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคมเป็นหลัก ด้วยทุนจดทะเบียน 500,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 15.75 ล้านบาท และมีทุนชำระแล้ว 100,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 3.15 ล้านบาท ผลประโยชน์ที่คาดว่าบริษัทจดทะเบียนจะได้รับ เพื่อสร้างเสริมและขยายธุรกิจในด้านเพาเวอร์ซิสเต็มของบริษัทฯ ในแถบภูมิภาคตะวันออกกลางและพื้นที่ใกล้เคียง
ขณะที่บริษัทย่อยใหม่ที่จะจัดตั้งในประเทศอินเดียนั้น คาดว่าจะมีการจัดตั้งภายในเดือนมิถุนายน 2551 โดยทางบริษัทอาจใช้ชื่อใดชื่อหนึ่งว่า 1. Delta Electronics India Pvt. Ltd., หรือ 2. Delta Electronics Corporation India Pvt. Ltd., หรือ 3. Delta Electronics Technologies Pvt. Ltd.(ปัจจุบันอยู่ระหว่างขออนุมัติการตั้งชื่อกับทางการ) โดยลักษณะการดำเนินธุรกิจนั้นจะดำเนินธุรกิจด้านการผลิต ประกอบและจัดหน่ายผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่รวมผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในกลุ่มที่เกี่ยวกับระบบพลังงาน (Energy system related products) ด้วยทุนจดทะเบียน 50 ล้านรูปีอินเดีย หรือมาณ 39.50 ล้านบาท)ซึ่งผลประโยชน์ที่คาดว่าบริษัทจดทะเบียนจะได้รับนั้น เพื่อขยายธุรกิจในประเทศอินเดีย โดยขยายเข้าสู่ตลาดของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ในกลุ่มที่เกี่ยวกับระบบพลังงาน ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทย่อยอีกแห่งหนึ่งคือ Delta Power Solutions India) Pvt. Ltd. ดำเนินงานอยู่
นอกจากนี้ DELTA ยังแจ้งถึงเรื่องของการลงทุนใน Outrival Plan Corporation นั้นก็จะเริ่มจัดตั้งภายในเดือนมิถุนายน 2551โดยผู้ซื้อคือ Delta Greentech SGP Pte. Ltd ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทฯถือหุ้นโดยอ้อม 100% และผู้ขายคือ Cimic Corporation ซึ่งไม่เป็นบุคคลเกี่ยวโยงโดยจะทำการซื้อหุ้นสามัญของบริษัท Outrival Plan Corp. ด้วยมูลค่า 60 ล้านหยวน หรือประมาณ 270 ล้านบาท เพราะธุรกิจของบริษัทจะเน้นการลงทุนในประเทศจีน และบริษัทฯ คาดว่าการลงทุนนี้จะสร้างโอกาสที่ดีมากในการขยายตลาดในประเทศดังกล่าว ผลประโยชน์ที่บริษัทจดทะเบียนคาดว่าจะได้รับคือ การขยายธุรกิจผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทเพาเวอร์ซิสเต็มสำหรับระบบโทรคมนาคมและเครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS) ในประเทศจีน
พร้อมกันนี้ บอร์ด DELTA ยังอนุมัติการจ่ายเงินปันผล แก่ผู้ถือหุ้นที่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 14 มีนาคม 2551 เวลา12.00 น. ในอัตราหุ้นละ 1.60 บาท โดยบริษัทฯ กำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 10 เมษายน 2551 ซึ่งการจ่ายเงินปันผลดังกล่าว เป็นการจ่ายจากกำไรส่วนที่ได้รับการส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนดังนั้น ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลที่ได้รับจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
นายหวัง หมิง เจิ้ง รองประธานกรรมการ บริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (DELTA) แจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 2/2551 ประชุมเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2551 เกี่ยวกับการลงทุนและจัดตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่ในตุรกี ซึ่งจะจัดตั้งในเดือนมิถุนายน นี้
โดยจะใช้ชื่อบริษัทว่า Delta Greentech Electronics Industry LLC.(ปัจจุบันอยู่ระหว่างขออนุมัติการตั้งชื่อกับทางการ) โดยจะทำการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในประเทศตุรกี เพื่อดำเนินธุรกิจทำการผลิตประกอบและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพาเวอร์ซิสเต็ม และเพื่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคมเป็นหลัก ด้วยทุนจดทะเบียน 500,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 15.75 ล้านบาท และมีทุนชำระแล้ว 100,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 3.15 ล้านบาท ผลประโยชน์ที่คาดว่าบริษัทจดทะเบียนจะได้รับ เพื่อสร้างเสริมและขยายธุรกิจในด้านเพาเวอร์ซิสเต็มของบริษัทฯ ในแถบภูมิภาคตะวันออกกลางและพื้นที่ใกล้เคียง
ขณะที่บริษัทย่อยใหม่ที่จะจัดตั้งในประเทศอินเดียนั้น คาดว่าจะมีการจัดตั้งภายในเดือนมิถุนายน 2551 โดยทางบริษัทอาจใช้ชื่อใดชื่อหนึ่งว่า 1. Delta Electronics India Pvt. Ltd., หรือ 2. Delta Electronics Corporation India Pvt. Ltd., หรือ 3. Delta Electronics Technologies Pvt. Ltd.(ปัจจุบันอยู่ระหว่างขออนุมัติการตั้งชื่อกับทางการ) โดยลักษณะการดำเนินธุรกิจนั้นจะดำเนินธุรกิจด้านการผลิต ประกอบและจัดหน่ายผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่รวมผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในกลุ่มที่เกี่ยวกับระบบพลังงาน (Energy system related products) ด้วยทุนจดทะเบียน 50 ล้านรูปีอินเดีย หรือมาณ 39.50 ล้านบาท)ซึ่งผลประโยชน์ที่คาดว่าบริษัทจดทะเบียนจะได้รับนั้น เพื่อขยายธุรกิจในประเทศอินเดีย โดยขยายเข้าสู่ตลาดของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ในกลุ่มที่เกี่ยวกับระบบพลังงาน ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทย่อยอีกแห่งหนึ่งคือ Delta Power Solutions India) Pvt. Ltd. ดำเนินงานอยู่
นอกจากนี้ DELTA ยังแจ้งถึงเรื่องของการลงทุนใน Outrival Plan Corporation นั้นก็จะเริ่มจัดตั้งภายในเดือนมิถุนายน 2551โดยผู้ซื้อคือ Delta Greentech SGP Pte. Ltd ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทฯถือหุ้นโดยอ้อม 100% และผู้ขายคือ Cimic Corporation ซึ่งไม่เป็นบุคคลเกี่ยวโยงโดยจะทำการซื้อหุ้นสามัญของบริษัท Outrival Plan Corp. ด้วยมูลค่า 60 ล้านหยวน หรือประมาณ 270 ล้านบาท เพราะธุรกิจของบริษัทจะเน้นการลงทุนในประเทศจีน และบริษัทฯ คาดว่าการลงทุนนี้จะสร้างโอกาสที่ดีมากในการขยายตลาดในประเทศดังกล่าว ผลประโยชน์ที่บริษัทจดทะเบียนคาดว่าจะได้รับคือ การขยายธุรกิจผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทเพาเวอร์ซิสเต็มสำหรับระบบโทรคมนาคมและเครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS) ในประเทศจีน
พร้อมกันนี้ บอร์ด DELTA ยังอนุมัติการจ่ายเงินปันผล แก่ผู้ถือหุ้นที่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 14 มีนาคม 2551 เวลา12.00 น. ในอัตราหุ้นละ 1.60 บาท โดยบริษัทฯ กำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 10 เมษายน 2551 ซึ่งการจ่ายเงินปันผลดังกล่าว เป็นการจ่ายจากกำไรส่วนที่ได้รับการส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนดังนั้น ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลที่ได้รับจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้