คลังเผยยอดจัดเก็บรายได้รัฐบาลประจำเดือน ก.พ.มีจำนวน 1.13 แสนล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 4.5 พันล้านบาท ดันยอดรายได้ 5 เดือนแรก สูงกว่าประมาณการ 6.2 พันล้านบาท แต่ยอดรวมทั้งปียังต้องลุ้น เหตุรัฐบาลออกมาตรการทางภาษีทำให้ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ ด้าน สศค.เล็งปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจปลายเดือนนี้ รับผลมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ยอดการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 113,538 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 4,589 ล้านบาท หรือ 4.2% สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 9.5% เนื่องจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ และอากรขาเข้าสูงกว่าเป้าหมายจำนวน 1,901 1,166 และ 893 ล้านบาท หรือ 14.0% 28.3% และ 13.5% ตามลำดับ
อีกทั้งรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าเป้าหมายถึง 1,856 ล้านบาท หรือ 41.5% เนื่องจากโรงงานยาสูบได้มีการทยอยส่งรายได้บางส่วน รวมทั้งได้รับผลตอบแทนจากกองทุนวายุภักษ์สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ด้วย โดยในเดือนนี้กรมจัดเก็บภาษีทั้ง 3 กรมสามารถจัดเก็บรายได้ได้เกินเป้า อย่างไรก็ดี ภาษีน้ำมัน ภาษียาสูบ และภาษีธุรกิจเฉพาะ จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้จำนวน 752 ล้าน, 747 ล้าน และ 675 ล้านบาท หรือ 11.2% 17.9% และ 21.5% ตามลำดับ
สำหรับในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550-กุมภาพันธ์ 2551) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 534,199 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 6,243 ล้านบาท หรือ 1.2% สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 5.2% เป็นผลจากการจัดเก็บภาษีกรมสรรพากรและกรมศุลกากรสูงกว่าเป้าหมายเป็นสาเหตุหลัก
โดยกรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 393,154 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 8,411 ล้านบาท คิดเป็น 2.2% สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 10.5% ภาษีที่เก็บได้สูงกว่าเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม โดยจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 9,121 ล้าน, 3,839 ล้าน และ 960 ล้านบาท หรือ 11.9% 2.0% และ 12.8% ตามลำดับ ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย เนื่องจากบริษัทต่างชาติส่งค่าบริการและจำหน่ายกำไรไปต่างประเทศมากขึ้น เพราะได้รับประโยชน์มากขึ้นจากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่า สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการเป็นผลจากการบริโภคที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องประกอบกับราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนการนำเข้าสินค้าก็มีการขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีธุรกิจเฉพาะจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 3,175 ล้าน และ 2,393 ล้านบาท หรือ 3.7% และ 14.3% ตามลำดับ เป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้อยู่ในระดับที่ต่ำ ประกอบกับมาตรการทางภาษีที่ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับจากธุรกรรมบางประเภทของสถาบันการเงินที่มีผลมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551
ด้านกรมสรรพสามิตจัดเก็บได้รวม 120,287 ล้านบาท ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยต่ำกว่าเพียง 588 ล้านบาท หรือ 0.5% ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 2.6% แต่ถ้าหักรายได้จากภาษีกิจการโทรคมนาคมของปีที่แล้วออก จะสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 2,992 ล้านบาท หรือ 2.6% โดยภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีสรรพสามิตรถยนต์จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 1,583 ล้านบาท หรือ 6.4%
ซึ่งเป็นผลจากการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์นั่งทุกประเภทที่สามารถใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 (E20) ลง 5% โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ทำให้รถยนต์นั่งประเภทดังกล่าวมีราคาลดลง จึงส่งผลให้ประชาชนชะลอการซื้อรถยนต์นั่งเพื่อรอรถยนต์ในราคาใหม่ในช่วงที่ผ่านมา แต่ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2551 ผลการจัดเก็บเริ่มดีขึ้น
และกรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 40,946 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3,626 ล้านบาท คิดเป็น 9.7% สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 10.1% โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 3,270 ล้านบาท หรือ 8.9% เนื่องจากมูลค่านำเข้าทั้งในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ และรูปเงินบาทยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องและสูงกว่าที่ประมาณการไว้ โดยใน 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 มูลค่านำเข้าในรูปเงินดอลดาร์สหรัฐและเงินบาทสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึง 23.2% และ 13.8% ตามลำดับ
ขณะที่รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้รวม 40,610 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2,340 ล้านบาท คิดเป็น 5.4% แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 5.1% เนื่องจากรัฐวิสาหกิจบางแห่งยังไม่ได้นำส่งรายได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ส่วนหน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 33,205 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2,459 ล้านบาท คิดเป็น 6.9% ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 2.7% เป็นผลจากค่าภาคหลวงปิโตรเลียมจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้
สำหรับการคาดการณ์รายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2551 ถึงแม้ว่าผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 จะสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 6,243 ล้านบาท แต่รัฐบาลได้ออกมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551 ซึ่งคาดว่าผลของมาตรการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ในบางส่วนสำหรับช่วงระยะเวลาที่เหลืออยู่ของปีงบประมาณ 2551 อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า ผลของมาตรการจะมีส่วนช่วยเพิ่มอำนาจในการใช้จ่ายของประชาชนมากขึ้น
รวมทั้งมีการเร่งรัดการลงทุนของภาคเอกชน ส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จะทำให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีในส่วนอื่นมาทดแทนได้ ดังนั้น กระทรวงการคลังคาดว่าการจัดเก็บรายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2551 นี้ น่าจะอยู่ในวิสัยจัดเก็บได้ใกล้เคียงเป้าหมายที่ตั้งไว้จำนวน 1.495 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไปด้วย เช่น ภาวะเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท และการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
สศค.ปรับเป้าจีดีพีปลายเดือนนี้
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค.เตรียมประกาศผลการทบทวนคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจรอมใหม่ในปลายเดือนมีนาคมนี้ โดยมีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มจากระดับการขยายตัว 4.5-5.5% เนื่องจากมองว่าปัจจัยต่างๆ ภายในปีนี้น่าจะปรับตัวดีขึ้น และส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ โดยเฉพาะผลในเชิงบวกที่จะได้รับจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงภาคการลงทุนเช่นกันที่น่าจะเติบโตได้ดีกว่าปีก่อนที่ขยายตัวต่ำสุดแล้ว
“การที่รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ สศค.ต้องติดตามดูผลของแต่ละมาตรการดังกล่าวที่ออกมาใช้ โดยประเมินจากการสูญเสียรายได้และผลที่ได้รับมาชดเชยกันทั้งการขยายตัวของการบริโภคและการลงทุน โดยในช่วงปลาย มี.ค.นี้ จะมีการปรับเป้าเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าน่าจะดีขึ้นแต่ยังไม่สามารถเปิดเผยในรายละเอียดได้” นางพรรณี กล่าว
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องตามใกล้ชิด คือ การแข็งค่าของเงินบาท และราคาน้ำมันทีค่ปรับตัวสูงขึ้นกว่าประมาณการณ์เดิมที่ สศค.เคยประเมินไว้ว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเฉลี่ยปี 2551 จะอยุ่ที่ระดับ 80-85 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ปัจจุบันราคากลับสูงเกิน 100 ดอลลาร์/บาร์เรลแล้ว แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญจะวิเคราะห์ว่าน่จะอยู่ในระดับค่าเฉลี่ย แต่ สศค.ก็ยังไม่มีความมั่นใจนัก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อนั้น แม้เดือน ก.พ.ที่ผ่านมาจะโตถึง 5.4% แต่ทั้งปียังคาดว่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ 4% ซึ่งเงินเฟ้อจะพุ่งสูงหรือไม่คงขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันเป็นหลัก
นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ยอดการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 113,538 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 4,589 ล้านบาท หรือ 4.2% สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 9.5% เนื่องจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ และอากรขาเข้าสูงกว่าเป้าหมายจำนวน 1,901 1,166 และ 893 ล้านบาท หรือ 14.0% 28.3% และ 13.5% ตามลำดับ
อีกทั้งรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าเป้าหมายถึง 1,856 ล้านบาท หรือ 41.5% เนื่องจากโรงงานยาสูบได้มีการทยอยส่งรายได้บางส่วน รวมทั้งได้รับผลตอบแทนจากกองทุนวายุภักษ์สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ด้วย โดยในเดือนนี้กรมจัดเก็บภาษีทั้ง 3 กรมสามารถจัดเก็บรายได้ได้เกินเป้า อย่างไรก็ดี ภาษีน้ำมัน ภาษียาสูบ และภาษีธุรกิจเฉพาะ จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้จำนวน 752 ล้าน, 747 ล้าน และ 675 ล้านบาท หรือ 11.2% 17.9% และ 21.5% ตามลำดับ
สำหรับในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550-กุมภาพันธ์ 2551) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 534,199 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 6,243 ล้านบาท หรือ 1.2% สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 5.2% เป็นผลจากการจัดเก็บภาษีกรมสรรพากรและกรมศุลกากรสูงกว่าเป้าหมายเป็นสาเหตุหลัก
โดยกรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 393,154 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 8,411 ล้านบาท คิดเป็น 2.2% สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 10.5% ภาษีที่เก็บได้สูงกว่าเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม โดยจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 9,121 ล้าน, 3,839 ล้าน และ 960 ล้านบาท หรือ 11.9% 2.0% และ 12.8% ตามลำดับ ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย เนื่องจากบริษัทต่างชาติส่งค่าบริการและจำหน่ายกำไรไปต่างประเทศมากขึ้น เพราะได้รับประโยชน์มากขึ้นจากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่า สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการเป็นผลจากการบริโภคที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องประกอบกับราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนการนำเข้าสินค้าก็มีการขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีธุรกิจเฉพาะจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 3,175 ล้าน และ 2,393 ล้านบาท หรือ 3.7% และ 14.3% ตามลำดับ เป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้อยู่ในระดับที่ต่ำ ประกอบกับมาตรการทางภาษีที่ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับจากธุรกรรมบางประเภทของสถาบันการเงินที่มีผลมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551
ด้านกรมสรรพสามิตจัดเก็บได้รวม 120,287 ล้านบาท ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยต่ำกว่าเพียง 588 ล้านบาท หรือ 0.5% ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 2.6% แต่ถ้าหักรายได้จากภาษีกิจการโทรคมนาคมของปีที่แล้วออก จะสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 2,992 ล้านบาท หรือ 2.6% โดยภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีสรรพสามิตรถยนต์จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 1,583 ล้านบาท หรือ 6.4%
ซึ่งเป็นผลจากการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์นั่งทุกประเภทที่สามารถใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 (E20) ลง 5% โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ทำให้รถยนต์นั่งประเภทดังกล่าวมีราคาลดลง จึงส่งผลให้ประชาชนชะลอการซื้อรถยนต์นั่งเพื่อรอรถยนต์ในราคาใหม่ในช่วงที่ผ่านมา แต่ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2551 ผลการจัดเก็บเริ่มดีขึ้น
และกรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 40,946 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3,626 ล้านบาท คิดเป็น 9.7% สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 10.1% โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 3,270 ล้านบาท หรือ 8.9% เนื่องจากมูลค่านำเข้าทั้งในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ และรูปเงินบาทยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องและสูงกว่าที่ประมาณการไว้ โดยใน 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 มูลค่านำเข้าในรูปเงินดอลดาร์สหรัฐและเงินบาทสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึง 23.2% และ 13.8% ตามลำดับ
ขณะที่รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้รวม 40,610 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2,340 ล้านบาท คิดเป็น 5.4% แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 5.1% เนื่องจากรัฐวิสาหกิจบางแห่งยังไม่ได้นำส่งรายได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ส่วนหน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 33,205 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2,459 ล้านบาท คิดเป็น 6.9% ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 2.7% เป็นผลจากค่าภาคหลวงปิโตรเลียมจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้
สำหรับการคาดการณ์รายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2551 ถึงแม้ว่าผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 จะสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 6,243 ล้านบาท แต่รัฐบาลได้ออกมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551 ซึ่งคาดว่าผลของมาตรการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ในบางส่วนสำหรับช่วงระยะเวลาที่เหลืออยู่ของปีงบประมาณ 2551 อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า ผลของมาตรการจะมีส่วนช่วยเพิ่มอำนาจในการใช้จ่ายของประชาชนมากขึ้น
รวมทั้งมีการเร่งรัดการลงทุนของภาคเอกชน ส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จะทำให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีในส่วนอื่นมาทดแทนได้ ดังนั้น กระทรวงการคลังคาดว่าการจัดเก็บรายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2551 นี้ น่าจะอยู่ในวิสัยจัดเก็บได้ใกล้เคียงเป้าหมายที่ตั้งไว้จำนวน 1.495 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไปด้วย เช่น ภาวะเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท และการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
สศค.ปรับเป้าจีดีพีปลายเดือนนี้
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค.เตรียมประกาศผลการทบทวนคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจรอมใหม่ในปลายเดือนมีนาคมนี้ โดยมีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มจากระดับการขยายตัว 4.5-5.5% เนื่องจากมองว่าปัจจัยต่างๆ ภายในปีนี้น่าจะปรับตัวดีขึ้น และส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ โดยเฉพาะผลในเชิงบวกที่จะได้รับจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงภาคการลงทุนเช่นกันที่น่าจะเติบโตได้ดีกว่าปีก่อนที่ขยายตัวต่ำสุดแล้ว
“การที่รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ สศค.ต้องติดตามดูผลของแต่ละมาตรการดังกล่าวที่ออกมาใช้ โดยประเมินจากการสูญเสียรายได้และผลที่ได้รับมาชดเชยกันทั้งการขยายตัวของการบริโภคและการลงทุน โดยในช่วงปลาย มี.ค.นี้ จะมีการปรับเป้าเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าน่าจะดีขึ้นแต่ยังไม่สามารถเปิดเผยในรายละเอียดได้” นางพรรณี กล่าว
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องตามใกล้ชิด คือ การแข็งค่าของเงินบาท และราคาน้ำมันทีค่ปรับตัวสูงขึ้นกว่าประมาณการณ์เดิมที่ สศค.เคยประเมินไว้ว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเฉลี่ยปี 2551 จะอยุ่ที่ระดับ 80-85 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ปัจจุบันราคากลับสูงเกิน 100 ดอลลาร์/บาร์เรลแล้ว แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญจะวิเคราะห์ว่าน่จะอยู่ในระดับค่าเฉลี่ย แต่ สศค.ก็ยังไม่มีความมั่นใจนัก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อนั้น แม้เดือน ก.พ.ที่ผ่านมาจะโตถึง 5.4% แต่ทั้งปียังคาดว่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ 4% ซึ่งเงินเฟ้อจะพุ่งสูงหรือไม่คงขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันเป็นหลัก